คำถามว่าด้วยเรื่องค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย

พอดีผมกำลังศึกษาเรื่องค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ผมไม่แน่ใจว่าผมเข้าใจถูกหรือไม่
   สมมติว่า บ.A ลงทุนในทรัพย์สินถาวรชนิดหนึ่ง (อาคาร ที่ดิน เครื่องจักร บลาๆๆๆๆ) เป็นเงิน 10 ล้านบาท เมื่อคิดว่าทรัพย์สินดังกล่าวมีอายุประมาณ 10 ปี และให้มูลค่าซากเป็น 2 ล้านบาท ก็จะได้ว่า ค่าเสื่อมราคาต่อปี = (10-2)/10 = 8 แสนบาทต่อปี แต่ในการซื้อก็ต้องจ่ายค่าทรัพย์สินดังกล่าวให้กับเจ้าหนี้เต็มจำนวน คือ 10 ล้านบาท พอนำไปลงในบัญชีงบกำไรขาดทุนก็จะนำไปลงในหัวข้อ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ(ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย)สำหรับปีบัญชีนั้นๆ และถือว่าเป็นรายจ่ายจึงต้องไปลบออกจากรายได้ ??? (คำถามที่ 1) แต่เมื่อไปอยู่ในงบกระแสเงินสดกลับนำไปบวกกลับเข้าไปเสมือนหนึ่งว่าเป็นรายได้ และถูกรวมเข้าไปในหัวข้อ เงินสดได้มาจาก (ใช้ไปใน) การดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน ซึ่งก็จะบวกต่อไปเป็นเวลา 10 ปี ปีละ 8 แสนบาท แต่ในบัญชีงบดุลจะถูกนำไปรวมไว้ในหัวข้อ ทรัพย์สินไม่หมุนเวียนใช่ไหมครับ???
คำถามต่อยอด
1. ถ้าบริษัท 2 บริษัท ทำกิจการคล้ายๆ กัน แต่ตัดค่าเสื่อมราคาต่างกันก็จะมีผลไปถึงงบกำไรขาดทุน ซึ่งถ้าตัดมาก กำไรก็จะน้อยในช่วงแรก เมื่อเทียบกับอีกบริษัทซึ่งงบจะดูดีกว่า แล้วดีหรือไม่ถ้าตัดเร็วๆ
2. ในกรณีที่มีสินค้าคงเหลือมากๆ และมีผลให้สินค้าดังกล่าวด้อยค่า เช่น กลุ่มไอที ที่ Cycle เร็วมากๆ อย่างนี้เขานำไปคิดค่าเสื่อมราคาด้วยไหม???
3. ผมสงสัยว่าค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายที่นำมาบวกกลับเข้าไปในงบกระแสเงินสดนั้น ก็จุดประสงค์เพื่อที่จะตั้งงบไว้ซื้อทดแทนเมื่อทรัพย์สินถาวรดังกล่าวครบอายุตามปีที่กำหนดในการหักค่าเสื่อมราคาใช่หรือไม่ ก็เหมือนกับว่าเงินดังกล่าวไม่ต้องไปกระทบกับค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน เพราะมีการวางแผนแต่แรกแล้วว่าจะซื้อ พอถึงเวลาก็มีเงินที่สำรองไว้ออกมาซื้อเลย
    และก็มีอีกพวกคือมูลค่าอาจจะสูงกว่าตอนผลิตเช่น บ้าน คอนโด ซึ่งราคาจะสูงขึ้นไปเรื่อย อย่างนี้เวลาคิด จะคิดอย่างไร
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่