โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
ศูนย์ข่าวนครราชสีมา- ทภ.2 รวบแกนนำม็อบอีสานควบคุมตัวในเขตทหารจำนวนมาก รวมทั้ง “แรมโบ้อีสาน-ขวัญชัย” ด้าน เสธ. ทภ.2 เผยจับอาวุธสงครามขอนแก่นเป็นแผน“ขอนแก่นโมเดล” เตรียมก่อเหตุร้ายเมืองใหญ่อีสานหลายจังหวัด เร่งขยายผลจับเพิ่มคาดมีผู้ร่วมขบวนการอีกมาก พร้อมส่งทหารทลายหมู่บ้านเสื้อแดงทั่วอีสาน และมีเป้าหมายตรวจค้นอีกหลายจุด ขณะหัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ตร. ผู้นำท้องถิ่น โคราช แห่รายงานตัวที่ “มทบ.21”
วันนี้ (24 พ.ค.) ที่ห้องประชุมศรีพัชรินทร์ สโมสรร่วมเริงไชย ค่ายสุรนารี กองทัพภาคที่ 2 อ.เมือง จ.นครราชสีมา ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ ตำรวจ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารสถานศึกษา และ นายอำเภอทั้ง 32 อำเภอ ในจังหวัดนครราชสีมารวมกว่า 160 คน ได้เดินทางมารายงานตัว ที่ มณฑลทหารบกที่ 21 (มทบ.21) กองทัพภาคที่ 2 อ.เมือง จ.นครราชสีมา และ รับมอบนโยบายการปฏิบัติ หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ โดยมี พล.ต.วุฒิ แสงจักร ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 21 (ผบ.มทบ.21) เป็นประธานชี้แจง
พล.ต.วุฒิ แสงจัก ผบ.มทบ.21 กล่าวว่า มทบ. 21 ได้รับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ จ.นครราชสีมา ซึ่งได้มีการวางกำลังทหารเข้าดูแลความสงบเรียบร้อยตามจุดสำคัญต่างๆ มากกว่า 1,000 นาย ตั้งด่านตรวจรวม 22 จุด แบ่งเป็นในพื้นที่ อ.เมืองนครราชสีมา 14 จุด ประกอบด้วย ศาลากลางจังหวัด, ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี, สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 และแห่งที่ 2 ดูแลโดย พัน ร.มทบ.21
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ตาลคู่), โรงกรองประปาเทศบาลนครนครราชสีมา หลัง ไอที พลาซ่า , องค์การโทรศัพท์ (ตรงข้ามหอประชุมเปรม ติณสูลานนท์) ,ห้าแยกหัวรถไฟ, สามแยกนครราชสีมา (บิ๊กซี) ,สี่แยกประโดก, บายพาสปักธงชัย, แยกจอหอ ดูแลโดยกำลังทหารจาก พล.ร.3
สถานีรถไฟจิระ และ สถานีรถไฟนครราชสีมา ดูแลโดย ร้อย สห. มทบ.21
ส่วนพื้นที่รอบนอก มีการตั้งจุดตรวจร่วมกับกำลังตำรวจและอาสาสมัคร จำนวน 7 จุด ประกอบด้วย แยกบ้านกุดม่วง /พัน.กระสุน 22 บชร.2 , บ้านวังทองหลาง /ร้อย ม. (ลว.3), ด่านตรวจ ปปส. อ.สีคิ้ว /พันพัฒนา2, จุดตรวจร่วม อ.เฉลิมพระเกียรติ /ม.พัน8, สี่แยกอวยชัย อ.ปักธงชัย /พัน ร. มทบ.21,กลางดง อ.ปากช่อง /ม.พัน 8 และ หน้าค่ายปักธงชัย /กรม ทพ.226
“อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้ยังไม่พบความเคลื่อนไหวของมวลชนและพบการซุกซ่อนอาวุธสงครามในพื้นที่แต่อย่างใด แต่ไม่ประมาทยังคงติดตามหาข่าวความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา” พล.ต.วุฒิ กล่าว
ด้าน พล.ต.ประวิทย์ หูแก้ว เสนาธิการกองทัพภาคที่ 2 เปิดเผยว่า สถานการณ์โดยรวมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่มีการประกาศกฎอัยการศึกมาถึงการประกาศเข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ ของ คสช. พบแต่การเคลื่อนไหวในช่วงแรก หลังทำความเข้าใจแล้วได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
สำหรับการเชิญแกนนำมวลชนแต่ละฝ่ายเข้ามาพบนั้น มีทั้งที่ติดต่อมาเองและทางกองทัพเชิญมา โดยเป็นแกนนำที่เป็นตัวหลัก ซึ่งต้องใช้เวลาในการพูดคุยกัน จึงต้องเชิญตัวมาพักในเขตทหารหลายราย เช่น นายสุภรณ์ อัตถาวงษ์ “แรมโบ้อีสาน” ประธาน อพปช. นายขวัญชัย ไพรพนา ประธานชมรมคนรักอุดร แกนนำคนเสื้อแดงอีสาน เป็นต้น ซึ่งได้ดูแลอำนวยความสะดวกให้เป็นอย่างดี ไม่ได้จำกัดสิทธิแต่อย่างใด
ส่วนการจับกุมอาวุธสงครามและ ผู้ต้องหาเป็นการ์ดเสื้อแดง 22 คนพร้อม ยึดรถยนต์ได้กว่า 10 คัน ที่ จ.ขอนแก่นนั้น จากรายงานเบื้องต้นทราบว่า ได้ของกลางเป็นยุทโธปกรณ์หลายชนิด เครื่องมือสื่อสาร และผ้าผูกคอ เสื้อสีแดงที่แสดงฝ่าย ขณะนี้ได้ให้หน่วยทหารในพื้นที่ควบคุมตัวไว้เพื่อซักถามเพื่อให้ได้ความจริง ซึ่งในขั้นต้นน่าจะเป็นการดำเนินการรูปแบบ “ขอนแก่นโมเดล” คือ แผนการสร้างความไม่สงบในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะในขั้นต้นมุ่งในพื้นที่จังหวัดใหญ่ เช่น จ.ขอนแก่น, อุดรธานี,นครราชสีมา , อุบลราชธานี และ กาฬสินธุ์ เป็นต้น และ กลุ่มคนที่ถูกจับได้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งดูได้จากของกลางที่มาใช้ก่อเหตุมีเป็นจำนวนมาก
การก่อเหตุของกลุ่มดังกล่าว คาดว่าจะมีเป้าหมายในการก่อกวนในเขตเมืองเพื่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้น ซึ่งหลังจากนี้จะได้สั่งการให้กำลังทหารทุกหน่วยที่ประจำอยู่ในพื้นที่ได้เพิ่มมาตรการเข้มงวดมากขึ้นในจังหวัดใหญ่โดยเพิ่มทั้งกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ และการหาข่าวเพื่อป้องกันการก่อเหตุร้าย เพราะเราเชื่อว่ายังมีผู้ร่วมขบวนการดังกล่าวอยู่อีกมาก ซึ่งเราพยายามจะค้นหาอยู่ ขณะนี้เราก็เฝ้าระวังจุดสำคัญ ๆ ต่าง ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันการเงินต่าง ๆ โดยส่งกำลังทหารเข้าไปคุ้มครองในช่วงที่มีการขนเงิน
พล.ต.ประวิทย์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของหมู่บ้านเสื้อแดงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคอีสานจำนวนมาก นั้น ขณะนี้หน่วยทหารแต่ละพื้นที่ได้เข้าไปทำความเข้าใจกับประชาชนและนำเอาธงเสื้อแดงและป้ายหมู่บ้านเสื้อแดงลงทั้งหมดแล้ว พร้อมประสานการปฏิบัติกับแกนนำในพื้นที่ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
ส่วนการตรวจค้นจุดสำคัญต่างๆ นั้น ที่ผ่านมาทหารได้เข้าทำการตรวจค้นไปแล้วหลายจุดโดยเฉพาะวิทยุชุมชน รวมถึงตรวจค้นบ้านพักของแกนนำ ผู้ก่อเหตุล่าสุดที่ จ.ขอนแก่น ซึ่งมีบ้านพักอยู่ที่ จ.ร้อยเอ็ด ด้วย และเรามีเป้าหมายจะเข้าตรวจค้นอีกหลายจุดในพื้นที่ภาคอีสาน
สำหรับ ในส่วนพื้นที่ตามแนวชายแดนนั้น ยืนยันว่าทุกด่านผ่านแดนยังไม่ปิด ยังคงเปิดทำการตามปกติ แต่มีมาตรการเข้มงวดมากขึ้นเพื่อเฝ้าระวังการป้องกันการเคลื่อนย้าย ขนย้ายอาวุธยุทโธปกรณ์เข้ามาและป้องกันบุคคลที่ต้องห้ามไม่ให้ไปต่างประเทศ ซึ่งจากรายงานล่าสุดยังไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด พล.ต.ประวิทย์ กล่าวในตอนท้าย
“ทภ.2”ส่งทหารทลายหมู่บ้านเสื้อแดงเกลี้ยง แฉ“ขอนแก่นโมเดล”เตรียมก่อเหตุร้ายเมืองใหญ่อีสาน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
ศูนย์ข่าวนครราชสีมา- ทภ.2 รวบแกนนำม็อบอีสานควบคุมตัวในเขตทหารจำนวนมาก รวมทั้ง “แรมโบ้อีสาน-ขวัญชัย” ด้าน เสธ. ทภ.2 เผยจับอาวุธสงครามขอนแก่นเป็นแผน“ขอนแก่นโมเดล” เตรียมก่อเหตุร้ายเมืองใหญ่อีสานหลายจังหวัด เร่งขยายผลจับเพิ่มคาดมีผู้ร่วมขบวนการอีกมาก พร้อมส่งทหารทลายหมู่บ้านเสื้อแดงทั่วอีสาน และมีเป้าหมายตรวจค้นอีกหลายจุด ขณะหัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ตร. ผู้นำท้องถิ่น โคราช แห่รายงานตัวที่ “มทบ.21”
วันนี้ (24 พ.ค.) ที่ห้องประชุมศรีพัชรินทร์ สโมสรร่วมเริงไชย ค่ายสุรนารี กองทัพภาคที่ 2 อ.เมือง จ.นครราชสีมา ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ ตำรวจ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารสถานศึกษา และ นายอำเภอทั้ง 32 อำเภอ ในจังหวัดนครราชสีมารวมกว่า 160 คน ได้เดินทางมารายงานตัว ที่ มณฑลทหารบกที่ 21 (มทบ.21) กองทัพภาคที่ 2 อ.เมือง จ.นครราชสีมา และ รับมอบนโยบายการปฏิบัติ หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ โดยมี พล.ต.วุฒิ แสงจักร ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 21 (ผบ.มทบ.21) เป็นประธานชี้แจง
พล.ต.วุฒิ แสงจัก ผบ.มทบ.21 กล่าวว่า มทบ. 21 ได้รับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ จ.นครราชสีมา ซึ่งได้มีการวางกำลังทหารเข้าดูแลความสงบเรียบร้อยตามจุดสำคัญต่างๆ มากกว่า 1,000 นาย ตั้งด่านตรวจรวม 22 จุด แบ่งเป็นในพื้นที่ อ.เมืองนครราชสีมา 14 จุด ประกอบด้วย ศาลากลางจังหวัด, ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี, สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 และแห่งที่ 2 ดูแลโดย พัน ร.มทบ.21
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ตาลคู่), โรงกรองประปาเทศบาลนครนครราชสีมา หลัง ไอที พลาซ่า , องค์การโทรศัพท์ (ตรงข้ามหอประชุมเปรม ติณสูลานนท์) ,ห้าแยกหัวรถไฟ, สามแยกนครราชสีมา (บิ๊กซี) ,สี่แยกประโดก, บายพาสปักธงชัย, แยกจอหอ ดูแลโดยกำลังทหารจาก พล.ร.3
สถานีรถไฟจิระ และ สถานีรถไฟนครราชสีมา ดูแลโดย ร้อย สห. มทบ.21
ส่วนพื้นที่รอบนอก มีการตั้งจุดตรวจร่วมกับกำลังตำรวจและอาสาสมัคร จำนวน 7 จุด ประกอบด้วย แยกบ้านกุดม่วง /พัน.กระสุน 22 บชร.2 , บ้านวังทองหลาง /ร้อย ม. (ลว.3), ด่านตรวจ ปปส. อ.สีคิ้ว /พันพัฒนา2, จุดตรวจร่วม อ.เฉลิมพระเกียรติ /ม.พัน8, สี่แยกอวยชัย อ.ปักธงชัย /พัน ร. มทบ.21,กลางดง อ.ปากช่อง /ม.พัน 8 และ หน้าค่ายปักธงชัย /กรม ทพ.226
“อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้ยังไม่พบความเคลื่อนไหวของมวลชนและพบการซุกซ่อนอาวุธสงครามในพื้นที่แต่อย่างใด แต่ไม่ประมาทยังคงติดตามหาข่าวความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา” พล.ต.วุฒิ กล่าว
ด้าน พล.ต.ประวิทย์ หูแก้ว เสนาธิการกองทัพภาคที่ 2 เปิดเผยว่า สถานการณ์โดยรวมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่มีการประกาศกฎอัยการศึกมาถึงการประกาศเข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ ของ คสช. พบแต่การเคลื่อนไหวในช่วงแรก หลังทำความเข้าใจแล้วได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
สำหรับการเชิญแกนนำมวลชนแต่ละฝ่ายเข้ามาพบนั้น มีทั้งที่ติดต่อมาเองและทางกองทัพเชิญมา โดยเป็นแกนนำที่เป็นตัวหลัก ซึ่งต้องใช้เวลาในการพูดคุยกัน จึงต้องเชิญตัวมาพักในเขตทหารหลายราย เช่น นายสุภรณ์ อัตถาวงษ์ “แรมโบ้อีสาน” ประธาน อพปช. นายขวัญชัย ไพรพนา ประธานชมรมคนรักอุดร แกนนำคนเสื้อแดงอีสาน เป็นต้น ซึ่งได้ดูแลอำนวยความสะดวกให้เป็นอย่างดี ไม่ได้จำกัดสิทธิแต่อย่างใด
ส่วนการจับกุมอาวุธสงครามและ ผู้ต้องหาเป็นการ์ดเสื้อแดง 22 คนพร้อม ยึดรถยนต์ได้กว่า 10 คัน ที่ จ.ขอนแก่นนั้น จากรายงานเบื้องต้นทราบว่า ได้ของกลางเป็นยุทโธปกรณ์หลายชนิด เครื่องมือสื่อสาร และผ้าผูกคอ เสื้อสีแดงที่แสดงฝ่าย ขณะนี้ได้ให้หน่วยทหารในพื้นที่ควบคุมตัวไว้เพื่อซักถามเพื่อให้ได้ความจริง ซึ่งในขั้นต้นน่าจะเป็นการดำเนินการรูปแบบ “ขอนแก่นโมเดล” คือ แผนการสร้างความไม่สงบในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะในขั้นต้นมุ่งในพื้นที่จังหวัดใหญ่ เช่น จ.ขอนแก่น, อุดรธานี,นครราชสีมา , อุบลราชธานี และ กาฬสินธุ์ เป็นต้น และ กลุ่มคนที่ถูกจับได้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งดูได้จากของกลางที่มาใช้ก่อเหตุมีเป็นจำนวนมาก
การก่อเหตุของกลุ่มดังกล่าว คาดว่าจะมีเป้าหมายในการก่อกวนในเขตเมืองเพื่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้น ซึ่งหลังจากนี้จะได้สั่งการให้กำลังทหารทุกหน่วยที่ประจำอยู่ในพื้นที่ได้เพิ่มมาตรการเข้มงวดมากขึ้นในจังหวัดใหญ่โดยเพิ่มทั้งกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ และการหาข่าวเพื่อป้องกันการก่อเหตุร้าย เพราะเราเชื่อว่ายังมีผู้ร่วมขบวนการดังกล่าวอยู่อีกมาก ซึ่งเราพยายามจะค้นหาอยู่ ขณะนี้เราก็เฝ้าระวังจุดสำคัญ ๆ ต่าง ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันการเงินต่าง ๆ โดยส่งกำลังทหารเข้าไปคุ้มครองในช่วงที่มีการขนเงิน
พล.ต.ประวิทย์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของหมู่บ้านเสื้อแดงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคอีสานจำนวนมาก นั้น ขณะนี้หน่วยทหารแต่ละพื้นที่ได้เข้าไปทำความเข้าใจกับประชาชนและนำเอาธงเสื้อแดงและป้ายหมู่บ้านเสื้อแดงลงทั้งหมดแล้ว พร้อมประสานการปฏิบัติกับแกนนำในพื้นที่ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
ส่วนการตรวจค้นจุดสำคัญต่างๆ นั้น ที่ผ่านมาทหารได้เข้าทำการตรวจค้นไปแล้วหลายจุดโดยเฉพาะวิทยุชุมชน รวมถึงตรวจค้นบ้านพักของแกนนำ ผู้ก่อเหตุล่าสุดที่ จ.ขอนแก่น ซึ่งมีบ้านพักอยู่ที่ จ.ร้อยเอ็ด ด้วย และเรามีเป้าหมายจะเข้าตรวจค้นอีกหลายจุดในพื้นที่ภาคอีสาน
สำหรับ ในส่วนพื้นที่ตามแนวชายแดนนั้น ยืนยันว่าทุกด่านผ่านแดนยังไม่ปิด ยังคงเปิดทำการตามปกติ แต่มีมาตรการเข้มงวดมากขึ้นเพื่อเฝ้าระวังการป้องกันการเคลื่อนย้าย ขนย้ายอาวุธยุทโธปกรณ์เข้ามาและป้องกันบุคคลที่ต้องห้ามไม่ให้ไปต่างประเทศ ซึ่งจากรายงานล่าสุดยังไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด พล.ต.ประวิทย์ กล่าวในตอนท้าย