สรุปสั้นๆ ให้เข้าใจง่ายๆ ที่สุดเลยแล้วกัน สำหรับหนังที่ดูแล้วต้องถอดรหัสเรื่อง Enemy มันคือเรื่องของชายคนหนึ่งที่จิตใต้สำนึกแตกแยกออกจากกันเป็น 2 ส่วน จนทำให้เขากลายเป็นคน 2 บุคลิค บางครั้งก็คิดว่าตัวเองเป็นดาราชื่อ แอนโทนี่ แคลร์ บางครั้งก็คิดว่าตัวเองเป็นอาจารย์ชื่อ อดัม เบลล์
แต่วันหนึ่งขณะที่อยู่ในบุคลิคของอาจารย์อดัม เบลล์ เขาได้เช่าหนังไปดู แล้วบังเอิญเห็นดาราที่มีหน้าตาเหมือนตัวเองเป๊ะๆ ทุกประการ เลยเกิดสงสัยขึ้นมาว่าไอ้หมอนี่มันเป็นใคร ถึงได้เหมือนกับตัวเองเสียเหลือเกิน อาจารย์อดัม เบลล์ จึงออกตามสืบหาข้อมูล จนพบว่ามันเป็นดาราชื่อ แอนโทนี่ แคลร์ ซึ่งก็คือตัวเขาเองนั่นแหละ แต่ที่ยังไม่รู้ว่าดาราชื่อ แอนโทนี่ คือตัวเอง เพราะเป็นช่วงที่จิตใต้สำนึกของเขากำลังอยู่ในบุคลิคของอาจารย์อดัม เบลล์
ถึงตอนนี้จิตใต้สำนึกที่เคยแยกขาดจากกันเป็น 2 ส่วน วนกลับมาเจอกัน โลกของแอนโทนี่ แคลร์ กับ อดัม เบลล์ จึงเริ่มทับซ้อนกัน และมีเพียงตัวตนเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นที่เป็นของจริง ซึ่งหนังก็วางระบบแบบแผนไว้ดีมาก ผ่านรายละเอียดของตัวละครทั้ง 2 ตัว ทำให้คนดูต้องนำมาครุ่นคิด หักล้างกันไปมาจนแทบจะตกอยู่ในภาวะสับสนเช่นเดียวกับตัวละคร
ถ้ามองว่าเรื่องที่เห็นทั้งหมดเป็นเรื่องที่ขึ้นบนโลกแห่งความจริง ชายคนนี้ก็คือ ดาราชื่อ แอนโทนี่ แคลร์
(เข้าไปอ่านเรื่องราวที่เรียบเรียงแบบละเอียดๆใน
http://www.facebook.com/pages/เกรียนหนัง/112834835539518)
แต่ผู้กำกับ เดนนิส วิลล์เนิฟ เล่นเงื่อนกับคนดูอีกชั้นด้วยการคุมบรรยากาศของหนังทั้งเรื่องในทุกฉากทุกตอนด้วยโทนดำอมเหลือง ซึ่งก็มีความเป็นไปได้สูงว่านี่คือการสูบผู้ชมเข้าไปอยู่ในโลกของจิตใต้สำนึกของผู้ชายคนหนึ่ง กับเรื่องราวอันบิดเบี้ยวที่เป็นการต่อสู้กันของตัวตนภายใน เหมือนกับหนังอย่าง Identity (2003) ซึ่งเราไม่อาจแน่ใจอะไรได้เลย
พ้นไปจากความซ่อนเงื่อนของตัวละครแล้ว เมสเสจอันเป็นใจความสำคัญของหนังเรื่องนี้ก็คือเรื่องของชีวิตคู่ ที่หนังนำเสนอออกมาในมุมลบ จากสายตาของตัวละครเพศชาย ซึ่งหนังแทนภาพของผู้หญิงในเรื่องด้วยแมงมุม และการมีครอบครัวก็คือ กับดัก(ใย)แห่งพันธนาการ ในหนังเราจึงได้เห็นฉากประหลาดๆ อาทิ ผู้หญิงนำแมงมุมมาเสิร์ฟ ผู้หญิงเปิดจิมเปิดนมเดินกลับหัว แต่พอเดินเข้ามาใกล้ๆ เรากลับเห็นว่าหัวของเธอเป็นหัวแมงมุม หรือแม้แต่ฉากจบที่เป็นแมงมุมยักษ์ออกอาการน้อยใจจนห่อตัวงี้ดๆในห้องน้ำ
หนักข้อไปกว่านั้น หนังยังแอบเปรียบเปรยชีวิตคู่ให้เป็นรูปแบบหนึ่งของเผด็จการ ผ่านประโยคที่อดัมสอนเด็กในคลาสว่า เผด็จการนั้นจะหมกมุ่นอยู่กับการควบคุม ในสมัยกรีก-โรมัน เผด็จการจะควบคุมผู้คนด้วยอาหารและความบันเทิง ส่วนเผด็จการรูปแบบอื่นก็จะใช้วิธีอื่นๆ "เผด็จการรูปแบบอื่น" ในที่นี้ก็น่าจะหมายถึง "ผู้หญิง" ที่ควบคุมผู้ชายด้วยเซ็กส์ (และอาหาร) มองเผินๆ เหมือนผู้ชายเป็นฝ่ายหาเลี้ยง แต่จริงๆ แล้วผู้หญิงมักเป็นฝ่ายควบคุม
ซึ่งความหมายที่แท้จริงของคำว่า Enemy หรือ "ศัตรู" ตามชื่อหนังก็คือ "คนรัก" ของเรานั่นเอง
นี่เป็นหนังที่ จขกท. ชอบมากๆ เรื่องหนึ่งตั้งแต่เปิดปีมา แต่ถ้าย้อนไปปลายปีก่อน มีหนังอีกเรื่องหนึ่งที่ จขกท. ชอบเข้าขั้นหลงใหล แถมยังมีเนื้อหาเหมือนกันเป๊ะ แต่นำเสนอออกมาในรูปแบบของหนังตลกร้าย จนเป็นเหมือนคู่แฝดคนละขั้วของ Enemy นั่นก็คือ The Double (2013)
The Double เป็นหนังของ ริชาร์ด เอโยอาเด นักแสดงและผู้กำกับชาวอังกฤษ ที่เชื่อเหลือเกินว่าถ้า เอโยอาเด ทำหนังออกมาบ่อยกว่านี้ เวส แอนเดอร์สัน ต้องตกงานแน่นอน เราอาจจะหลงรักหนังของ เวส แอนเดอร์สัน ในบางเวลาจากงานโปรดักชั่นและงานภาพเท่ๆ ฮิพๆ แต่ในส่วนของเรื่องราวบ่อยครั้งที่งานของเวสมีความเฟคในตัวมากเกินไปจนแห้งแล้งเรื่องอารมณ์ กระทั่งกลายเป็นความน่าเบื่อ
ตรงกันข้ามกับงานของ เอโยอาเด ที่ครบถ้วนทั้งความความจัดจ้านของโปรดักชั่น และงานภาพเอาใจเด็กแนว แต่ยังรักษาอารมณ์จากเรื่องราวที่นำเสนอเอาไว้ได้ ผลงานก่อนหน้านี้อย่าง Submarine (2010) คือหลักฐานยืนยันชั้นดี ซึ่งในผลงานล่าสุดอย่าง The Double ก็ทำออกมาได้ยอมเยี่ยมไม่แพ้กัน
The Double เล่าถึงเรื่องของ ไซมอนส์ เจมส์ (เจสซี ไอเซนเบิร์ก) ที่ต้องตกอกตกใจเมื่ออยู่ดีๆ ก็มีพนักงานใหม่ชื่อ เจมส์ ไซมอนส์ โผล่มาในออฟฟิศ ซึ่งมีรูปร่างหน้าตาเหมือนเขาทุกกระเบียดนิ้ว แต่ที่ไม่เหมือนก็คือนิสัยใจคอ (เพื่อความไม่สับสนต่อไปนี้จะขอเรียกคนแรกว่าเจมส์ คนหลังว่า ไซมอนส์)
เจมส์ นั้นเป็นคนขี้อาย ทำอะไรก็ไม่สำเร็จ คนรอบข้างไม่ค่อยชอบขี้หน้า ขณะที่ ไซมอนส์ เป็นคนเก่งกล้า ทำอะไรก็ราบรื่น จนเป็นที่รักของทุกคน วันดีคืนดี เจมส์ เผลอหลุดปากบอกไซมอนส์ว่า แอบชอบผู้หญิงชื่อ ฮันนาห์ (มีอา วาซิโควสกา) แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรดี ไซมอนส์ ซึ่งเป็นคนมั่นใจจึงอาสาเป็นโค๊ซคอยสอน เจมส์ ให้จีบสาว แต่ไปๆ มาๆ เจมส์ ก็เริ่มจับได้ว่า ไซมอนส์ ก็หวังจะฟีเจอริ่ง ฮันนาห์ อยู่เหมือนกัน เลยกลายเป็นความขัดแย้งของคนทั้งคู่ ที่นำไปสู่การชิงไหวชิงพริบ ทั้งในเรื่องความรัก และหน้าที่การงาน
เทียบกับ Enemy แล้ว The Double ดูง่ายกว่าลิบลับ โลกใน The Double ค่อนข้างชัดเจนว่าเป็นโลกในจิตใต้สำนึก เหนือกาลเวลา ไม่มีฉากกลางวัน มีแต่กลางคืน ออฟฟิศทึมๆ สีดำอมเหลือง และข้าวของเครื่องใช้แนววินเทจ ซึ่งเงื่อนไขที่หนังนำมาเป็นไคลแมกซ์ในความขัดแย้งของตัวละครทั้งสองฝ่าย ก็คือ เจมส์ กับ ไซมอนส์ นั้นไม่สามารถฆ่าอีกฝ่ายได้ เพราะทั้งคู่เชื่อมโยงถึงกัน คนนึงเจ็บอีกคนก็เจ็บ คนนึงเกิดแผลคนนึงก็ได้แผลเหมือนกัน ถ้าจะลงมือฆ่า นั่นก็เท่ากับว่าตัวเองอาจจะเจ็บปวดถึงตายด้วย แต่สุดท้ายฝ่ายนึงก็สามารถคิดวิธีการที่จะทำให้ฝ่ายนึงต้องตายไปเพียงลำพังขึ้นมาได้
นอกจากทั้ง Enemy และ The Double จะเป็นเหมือนหนังแฝดคนละขั้วที่ออกมาฉายในเวลาไล่เลี่ยกันแล้ว ยังใช้โทนสีดำอมเหลืองคุมหนังทั้งเรื่องเหมือนๆ กัน แถมทั้งสองเรื่องยังมีต้นฉบับเป็นหนังสือชื่อเหมือนๆ กันอีกต่างหาก คือหนังสือนิยายชื่อ The Double แต่เป็น The Double คนละเล่ม คนแต่งคนละคน
หนัง Enemy ของ เดนนิส วิลล์เนิฟ ได้แรงบันดาลใจมาจากหนังสือชื่อ The Double ปี 2002 ของ โจเซ่ ซารามาโก
ขณะที่หนัง The Double ของ เอโยอาเด นั้นดัดแปลงมาจากหนังสือชื่อ The Double ของ ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกี ที่เขียนไว้ตั้งแต่ปี 1846
นี่มันบังเอิญ มันนัดแนะกัน หรือของทุกอย่างบนโลกนี้ต้องมีเป็นคู่จริงๆ กันแน่เนี่ย!!!!!
คะแนน ★★★★★
อ่านเรื่องอื่นเพิ่มเติมที่
http://www.facebook.com/pages/เกรียนหนัง/112834835539518
(รีวิวคู่) Enemy (2013) และ The Double (2013) : แฝดคนละขั้ว หนัง 2 เรื่อง จากหนังสือ 2 เล่ม แต่เจ๋งเหมือนกัน
สรุปสั้นๆ ให้เข้าใจง่ายๆ ที่สุดเลยแล้วกัน สำหรับหนังที่ดูแล้วต้องถอดรหัสเรื่อง Enemy มันคือเรื่องของชายคนหนึ่งที่จิตใต้สำนึกแตกแยกออกจากกันเป็น 2 ส่วน จนทำให้เขากลายเป็นคน 2 บุคลิค บางครั้งก็คิดว่าตัวเองเป็นดาราชื่อ แอนโทนี่ แคลร์ บางครั้งก็คิดว่าตัวเองเป็นอาจารย์ชื่อ อดัม เบลล์
แต่วันหนึ่งขณะที่อยู่ในบุคลิคของอาจารย์อดัม เบลล์ เขาได้เช่าหนังไปดู แล้วบังเอิญเห็นดาราที่มีหน้าตาเหมือนตัวเองเป๊ะๆ ทุกประการ เลยเกิดสงสัยขึ้นมาว่าไอ้หมอนี่มันเป็นใคร ถึงได้เหมือนกับตัวเองเสียเหลือเกิน อาจารย์อดัม เบลล์ จึงออกตามสืบหาข้อมูล จนพบว่ามันเป็นดาราชื่อ แอนโทนี่ แคลร์ ซึ่งก็คือตัวเขาเองนั่นแหละ แต่ที่ยังไม่รู้ว่าดาราชื่อ แอนโทนี่ คือตัวเอง เพราะเป็นช่วงที่จิตใต้สำนึกของเขากำลังอยู่ในบุคลิคของอาจารย์อดัม เบลล์
ถึงตอนนี้จิตใต้สำนึกที่เคยแยกขาดจากกันเป็น 2 ส่วน วนกลับมาเจอกัน โลกของแอนโทนี่ แคลร์ กับ อดัม เบลล์ จึงเริ่มทับซ้อนกัน และมีเพียงตัวตนเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นที่เป็นของจริง ซึ่งหนังก็วางระบบแบบแผนไว้ดีมาก ผ่านรายละเอียดของตัวละครทั้ง 2 ตัว ทำให้คนดูต้องนำมาครุ่นคิด หักล้างกันไปมาจนแทบจะตกอยู่ในภาวะสับสนเช่นเดียวกับตัวละคร
ถ้ามองว่าเรื่องที่เห็นทั้งหมดเป็นเรื่องที่ขึ้นบนโลกแห่งความจริง ชายคนนี้ก็คือ ดาราชื่อ แอนโทนี่ แคลร์
(เข้าไปอ่านเรื่องราวที่เรียบเรียงแบบละเอียดๆใน http://www.facebook.com/pages/เกรียนหนัง/112834835539518)
แต่ผู้กำกับ เดนนิส วิลล์เนิฟ เล่นเงื่อนกับคนดูอีกชั้นด้วยการคุมบรรยากาศของหนังทั้งเรื่องในทุกฉากทุกตอนด้วยโทนดำอมเหลือง ซึ่งก็มีความเป็นไปได้สูงว่านี่คือการสูบผู้ชมเข้าไปอยู่ในโลกของจิตใต้สำนึกของผู้ชายคนหนึ่ง กับเรื่องราวอันบิดเบี้ยวที่เป็นการต่อสู้กันของตัวตนภายใน เหมือนกับหนังอย่าง Identity (2003) ซึ่งเราไม่อาจแน่ใจอะไรได้เลย
พ้นไปจากความซ่อนเงื่อนของตัวละครแล้ว เมสเสจอันเป็นใจความสำคัญของหนังเรื่องนี้ก็คือเรื่องของชีวิตคู่ ที่หนังนำเสนอออกมาในมุมลบ จากสายตาของตัวละครเพศชาย ซึ่งหนังแทนภาพของผู้หญิงในเรื่องด้วยแมงมุม และการมีครอบครัวก็คือ กับดัก(ใย)แห่งพันธนาการ ในหนังเราจึงได้เห็นฉากประหลาดๆ อาทิ ผู้หญิงนำแมงมุมมาเสิร์ฟ ผู้หญิงเปิดจิมเปิดนมเดินกลับหัว แต่พอเดินเข้ามาใกล้ๆ เรากลับเห็นว่าหัวของเธอเป็นหัวแมงมุม หรือแม้แต่ฉากจบที่เป็นแมงมุมยักษ์ออกอาการน้อยใจจนห่อตัวงี้ดๆในห้องน้ำ
หนักข้อไปกว่านั้น หนังยังแอบเปรียบเปรยชีวิตคู่ให้เป็นรูปแบบหนึ่งของเผด็จการ ผ่านประโยคที่อดัมสอนเด็กในคลาสว่า เผด็จการนั้นจะหมกมุ่นอยู่กับการควบคุม ในสมัยกรีก-โรมัน เผด็จการจะควบคุมผู้คนด้วยอาหารและความบันเทิง ส่วนเผด็จการรูปแบบอื่นก็จะใช้วิธีอื่นๆ "เผด็จการรูปแบบอื่น" ในที่นี้ก็น่าจะหมายถึง "ผู้หญิง" ที่ควบคุมผู้ชายด้วยเซ็กส์ (และอาหาร) มองเผินๆ เหมือนผู้ชายเป็นฝ่ายหาเลี้ยง แต่จริงๆ แล้วผู้หญิงมักเป็นฝ่ายควบคุม
ซึ่งความหมายที่แท้จริงของคำว่า Enemy หรือ "ศัตรู" ตามชื่อหนังก็คือ "คนรัก" ของเรานั่นเอง
นี่เป็นหนังที่ จขกท. ชอบมากๆ เรื่องหนึ่งตั้งแต่เปิดปีมา แต่ถ้าย้อนไปปลายปีก่อน มีหนังอีกเรื่องหนึ่งที่ จขกท. ชอบเข้าขั้นหลงใหล แถมยังมีเนื้อหาเหมือนกันเป๊ะ แต่นำเสนอออกมาในรูปแบบของหนังตลกร้าย จนเป็นเหมือนคู่แฝดคนละขั้วของ Enemy นั่นก็คือ The Double (2013)
The Double เป็นหนังของ ริชาร์ด เอโยอาเด นักแสดงและผู้กำกับชาวอังกฤษ ที่เชื่อเหลือเกินว่าถ้า เอโยอาเด ทำหนังออกมาบ่อยกว่านี้ เวส แอนเดอร์สัน ต้องตกงานแน่นอน เราอาจจะหลงรักหนังของ เวส แอนเดอร์สัน ในบางเวลาจากงานโปรดักชั่นและงานภาพเท่ๆ ฮิพๆ แต่ในส่วนของเรื่องราวบ่อยครั้งที่งานของเวสมีความเฟคในตัวมากเกินไปจนแห้งแล้งเรื่องอารมณ์ กระทั่งกลายเป็นความน่าเบื่อ
ตรงกันข้ามกับงานของ เอโยอาเด ที่ครบถ้วนทั้งความความจัดจ้านของโปรดักชั่น และงานภาพเอาใจเด็กแนว แต่ยังรักษาอารมณ์จากเรื่องราวที่นำเสนอเอาไว้ได้ ผลงานก่อนหน้านี้อย่าง Submarine (2010) คือหลักฐานยืนยันชั้นดี ซึ่งในผลงานล่าสุดอย่าง The Double ก็ทำออกมาได้ยอมเยี่ยมไม่แพ้กัน
The Double เล่าถึงเรื่องของ ไซมอนส์ เจมส์ (เจสซี ไอเซนเบิร์ก) ที่ต้องตกอกตกใจเมื่ออยู่ดีๆ ก็มีพนักงานใหม่ชื่อ เจมส์ ไซมอนส์ โผล่มาในออฟฟิศ ซึ่งมีรูปร่างหน้าตาเหมือนเขาทุกกระเบียดนิ้ว แต่ที่ไม่เหมือนก็คือนิสัยใจคอ (เพื่อความไม่สับสนต่อไปนี้จะขอเรียกคนแรกว่าเจมส์ คนหลังว่า ไซมอนส์)
เจมส์ นั้นเป็นคนขี้อาย ทำอะไรก็ไม่สำเร็จ คนรอบข้างไม่ค่อยชอบขี้หน้า ขณะที่ ไซมอนส์ เป็นคนเก่งกล้า ทำอะไรก็ราบรื่น จนเป็นที่รักของทุกคน วันดีคืนดี เจมส์ เผลอหลุดปากบอกไซมอนส์ว่า แอบชอบผู้หญิงชื่อ ฮันนาห์ (มีอา วาซิโควสกา) แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรดี ไซมอนส์ ซึ่งเป็นคนมั่นใจจึงอาสาเป็นโค๊ซคอยสอน เจมส์ ให้จีบสาว แต่ไปๆ มาๆ เจมส์ ก็เริ่มจับได้ว่า ไซมอนส์ ก็หวังจะฟีเจอริ่ง ฮันนาห์ อยู่เหมือนกัน เลยกลายเป็นความขัดแย้งของคนทั้งคู่ ที่นำไปสู่การชิงไหวชิงพริบ ทั้งในเรื่องความรัก และหน้าที่การงาน
เทียบกับ Enemy แล้ว The Double ดูง่ายกว่าลิบลับ โลกใน The Double ค่อนข้างชัดเจนว่าเป็นโลกในจิตใต้สำนึก เหนือกาลเวลา ไม่มีฉากกลางวัน มีแต่กลางคืน ออฟฟิศทึมๆ สีดำอมเหลือง และข้าวของเครื่องใช้แนววินเทจ ซึ่งเงื่อนไขที่หนังนำมาเป็นไคลแมกซ์ในความขัดแย้งของตัวละครทั้งสองฝ่าย ก็คือ เจมส์ กับ ไซมอนส์ นั้นไม่สามารถฆ่าอีกฝ่ายได้ เพราะทั้งคู่เชื่อมโยงถึงกัน คนนึงเจ็บอีกคนก็เจ็บ คนนึงเกิดแผลคนนึงก็ได้แผลเหมือนกัน ถ้าจะลงมือฆ่า นั่นก็เท่ากับว่าตัวเองอาจจะเจ็บปวดถึงตายด้วย แต่สุดท้ายฝ่ายนึงก็สามารถคิดวิธีการที่จะทำให้ฝ่ายนึงต้องตายไปเพียงลำพังขึ้นมาได้
นอกจากทั้ง Enemy และ The Double จะเป็นเหมือนหนังแฝดคนละขั้วที่ออกมาฉายในเวลาไล่เลี่ยกันแล้ว ยังใช้โทนสีดำอมเหลืองคุมหนังทั้งเรื่องเหมือนๆ กัน แถมทั้งสองเรื่องยังมีต้นฉบับเป็นหนังสือชื่อเหมือนๆ กันอีกต่างหาก คือหนังสือนิยายชื่อ The Double แต่เป็น The Double คนละเล่ม คนแต่งคนละคน
หนัง Enemy ของ เดนนิส วิลล์เนิฟ ได้แรงบันดาลใจมาจากหนังสือชื่อ The Double ปี 2002 ของ โจเซ่ ซารามาโก
ขณะที่หนัง The Double ของ เอโยอาเด นั้นดัดแปลงมาจากหนังสือชื่อ The Double ของ ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกี ที่เขียนไว้ตั้งแต่ปี 1846
นี่มันบังเอิญ มันนัดแนะกัน หรือของทุกอย่างบนโลกนี้ต้องมีเป็นคู่จริงๆ กันแน่เนี่ย!!!!!
คะแนน ★★★★★
อ่านเรื่องอื่นเพิ่มเติมที่ http://www.facebook.com/pages/เกรียนหนัง/112834835539518