ย้อนกลับไปเมื่อปี 1920 ซึ่งเป็นปีที่ อาดอล์ฟ ‘อาดิ’ ดาสส์เลอร์ วัย 20 ปี
ลูกชายคนโตของช่างทำรองเท้าคนหนึ่ง ในเมืองเล็กๆที่ชื่อ เฮอร์โซเกเนาราช
ในรัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ผลิตรองเท้าสำหรับวิ่งที่มีเดือยแหลมใต้รองเท้าคู่แรกขึ้น
รองเท้าของพวกเขามีโลโก้คือ แถบสี 2 เส้น
Adolf หรือ Adi Dassler เริ่มผลิตรองเท้ากีฬาของเขาเองหลังจากกลับมาจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
และน้องชายของเขา Rudolf (Rudi) Dassler
ในปี 1924 ‘อาดิ’ จึงร่วมก่อตั้งบริษัทรองเท้ากีฬาในชื่อ Dassler "Dassler Schuhfabrik (Dassler Brothers Shoe Factory)" ขึ้นมา
ซึ่งสามารถขายรองเท้าได้ 200,000 คู่ ต่อปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
เมื่อถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงงานถูกพวก Nazis เข้าครอบครองและสั่งให้ผลิตรองเท้าบูทเพื่อทหารของเยอรมัน
และRudi ถูกเรียกตัวให้ร่วมรบกับกองทัพเยอรมันด้วย และเขาก็ถูกทหารของ Allied จับในฐานะนักโทษสงคราม
เขาต้องใช้ชีวิตเป็นนักโทษสงครามอยู่ในค่ายทหารถึง 1 ปี
หลังสงครามจบเขาก็ได้กลับมาที่ โรงงาน แดสเลอร์ ด้วยอารมณ์ฉุนเฉียว
บ้างก็ว่า Rudi โกรธเรื่องแฟนสาวของตน มีใจให้พี่ ชาย
บ้างก็ว่า เพราะพี่ชายไม่ไปเจรจาต่อรองเพื่อขอแลกนักโทษ
บ้างก็ว่า อาจเป็นเพราะบริษัทเติบโตเร็วและไปได้ดีเกินไป
จนการจัดสรรผลประโยชน์กลายเป็นข้อขัดแย้งระหว่างสองพี่น้อง
ตรงนี้มีหลายกระแส แต่แล้ว ..................
ในปี 1948 รูดอล์ฟ ดาสส์เลอร์ ตัดสินใจแยกตัวออกมาตั้งบริษัทใหม่เอง
บริษัทของ Rudi แต่เดิมเรียกว่า Ruda แต่ภายหลังเปลี่ยนเป็น Puma เพื่อให้ฟังแล้ว แข๊งแกร่ง น่าเกรงขาม
และตั้งชื่อบริษัท "พูม่า อาเก รูดอล์ฟดาสส์เลอร์ สปอร์ต" ซึ่งเป็นผู้ผลิตรองเท้าและอุปกรณ์กีฬายี่ห้อพูม่า ในเวลาต่อมา
ในขณะที่ Adi ใช้ชื่อ Adidas โดยการรวมชื่อกับนามสกุลของเขา [Adi+Dassler=Adidas]
โดยใช้ลักษณะเฉพาะของแถบ 3 แถบเป็นโลโก้ โดยเพิ่มเข้าไปอีก 1 แถบจากโลโก้เดิมของ Dassler
ซึ่งความบาดหมางนี้ กลายเป็นทางแยกของพี่น้อง ตลอดกาล
ต่างคนต่างไป
Rudolf ก็หันไปสร้างแบรนด์ Puma
ส่วน Adolf ทำแบรนด์ Adidas
ในตลาดเดียวกัน ย่อมหนีกันไม่พ้น
ทั้ง 2 บริษัทต่อสู้กันอย่างดุเดือด(ในฐานคู่แข่งธุรกิจ)
ทั้ง 2 บริษัทมีทีมฟุตบอลเป็นของตัวเอง ตามที่ได้รู้มา กลุ่มคนงานของ
ทั้ง 2 บริษัทจะดื่มเบียร์ต่างกันและ
ให้ลูกหลานเรียนกันคนละที่
เป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่ 2 พี่น้องไม่เคยที่จะคืนดีกัน
ข้อโต้แย้ง(และคำพูด)ของพวก
เขาจะถูกแลกเปลี่ยนกันเฉพาะในชั้นศาลเท่านั้น
มีคนลือกระทั่ง ฝ่ายน้องชายให้ทนายถามสารทุกข์สุขดิบของ ญาติคนนึง ที่อาศัยอยู่กับ อาดิ ดาสเลอร์
ผ่านทางศาล ด้วยซ้ำ
แต่ทั้ง 2 บริษัทกลับประสบความสำเร็จอย่างไม่น่าเชื่อ.....................................ในแง่ธุรกิจ
ในเวลาต่อมาต่อมาRudolf เสียชีวิต
ลูกชายสานงานต่อ แต่กิจการย่ำแย่ลง เมื่อขาดเสาหลัก นาย Bernard Tapie ก็ซื้อกิจการไป
และมีการขายให้ธนาคารและเปลี่ยนมือพอสมควร จนกระทั่ง กลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ จากการควบรวมกิจการ
กับบริษัท ผลิตเสื้อผ้าสกี และ การคิดค้นรองเท้ารุ่นใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง
แต่ทั้ง 2 ไม่เคยยอมให้กัน
PUMA ทำการตลาดครั้งใหญ่ โดยเน้นที่ "ไข่มุกดำ" เปเล่ ของบราซิล ที่เคยใส่รองเท้า พูม่า ลงในนัดชิงชนะเลิศ ฟุตบอลโลก 1970
มาทำการตลาดประกาศศักดาความยิ่งใหญ่
อาดิดาส สวนกลับทันที
ให้ มาร์ค สปิตซ์ ยอดนักว่ายน้ำอะเมริกัน ถือรองเท้าอาดิดาส รุ่น Gazelles ในพิธีรับเหรียญทองโอลิมปิก ปี 1972
และทั้งคู่ ก็ยังดำเนินสงคราม ทั้งสิทธิการฟ้องร้อง การลอกเลียนแบบ ความโกรธแค้นและอื่นๆ ต่อมายาวนาน กว่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้""61 ปี""
ซึ่ง ความบาดหมางยาวนาน
เพิ่งสิ้นสุดลงเมื่อ ปี 2009
CEO และผู้ถือหุ้น ของทั้ง 2 บริษัท
เพิ่งจะเตะบอลกระชับมิตร เพื่อฟื้นความสัมพันธ์แทน
2 พี่น้องผู้ให้กำเนิดรองเท้ามากกว่า 1,000 ล้านคู่ บนโลกใบนี้
ซีตซ์ CEO ของ อาดิดาสกล่าวกับนักข่าวว่า
"พี่น้อง 2 คนไม่ยอมคุยกันจนกระทั่งจากโลกไป
และ เรื่องนี้ถือว่าโชคร้ายมาก เราเป็นบริษัทมหาชน และ เรามุ่งเน้นในธุรกิจของเราเองเป็นส่วนใหญ่
แต่ตอนนี้ไอเดียคือรวมกัน และ เล่นฟุตบอลด้วยกันในนามของสันติภาพ"
ปัจจุบัน
จากรองเท้าและอุปกรณ์กีฬา พูม่าแตกไลน์มาผลิตเสื้อผ้า และกลายเป็นยี่ห้อที่ได้รับความนิยมอย่างสูง
ในแวดวงดนตรีฮิปฮอปและการทำกราฟฟิตี ทั้งในและนอกสหรัฐอเมริกา
ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970-1980 และยังคงความนิยมไม่เสื่อมคลายจนถึงทุกวันนี้
ปัจจุบันพูม่ามีพนักงานทั้งหมดประมาณ 3,910 คน และมีสินค้าวางจำหน่ายมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก
และยังผลิตสินค้าด้วยการว่าจ้างโรงงานใน 30 ประเทศเป็นผู้ผลิตสินค้าให้ ซึ่งในปีงบประมาณ 2004
พูม่ามีรายได้ทั้งหมด 1,530.3 ล้านยูโร
แต่เมื่อนำไปเทียบกับบริษัทผู้พี่อย่างอาดิดาส
(ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น อาดิดาส-ซาโลมอน เอจี หลังจากได้เข้าร่วมกิจการกับกลุ่มซาโลมอน
ซึ่งเป็นผู้นำด้านเครื่องแต่งกายกีฬาของฝรั่งเศส ตั้งแต่เมื่อปี 1997)
ก็จะเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน เนื่องจาก ในปีงบประมาณ 2003
อาดิดาสมีพนักงานทั้งหมด 15,686 คน และมีรายได้ถึง 6,267 ล้านยูโร แถมยังเป็นผู้ผลิตรองเท้าและ
เครื่องแต่งกายกีฬาที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองเพียง ไนกี้ เท่านั้น
เอาละครับ จบเพียงเท่านี้
ถ้าเทียบกับภาษิตไทย ก็คงเรียกได้ว่า ทั้ง 2 คน บาดหมางกันแบบว่า "ไม่เผาผีกันเลย" ทีเดียว
ซึ่ง แรงแค้นระหว่างพี่น้องนี้ กลับเป็นตัวพลักดัน ให้เกิดการแข่งขัน บนพื้นฐาน การสร้าง "รองเท้า"
ที่ดีที่สุด ฮิตที่สุด โดยมีเป้าหมายเดียวกันในใจของผู้สร้างทั้ง 2
"ชั้นไม่ยอมแพ้แกหรอก"
ซึ่งผลกระทบจากการโกรธกันของคู่นี้ ทำให้โลกได้พบกับ รองเท้ามากมายหลายรุ่น ที่มีจุดกำเนิดภายใต้
นโยบายและวิสัยทัศน์จาก พี่น้องทั้ง 2 มาจนปัจจุบันนี้
จ ญ น ห อ ดม
เรียบเรียง
เครดิตจาก
WIKI
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9480000145252
บทความต้นกำเนิดยี่ห้อต่าง หน้า ต้นกำเนิด พูม่า และ หน้า ต้นกำเนิด อาดิดาส
ภาพจากกูเกิ้ล
ประวัติความเป็นมาของ ADIDAS และ PUMA แบรนด์ระดับโลกที่ถือกำเนิดมาจาก "2 พี่น้องทะเลาะกัน"
ย้อนกลับไปเมื่อปี 1920 ซึ่งเป็นปีที่ อาดอล์ฟ ‘อาดิ’ ดาสส์เลอร์ วัย 20 ปี
ลูกชายคนโตของช่างทำรองเท้าคนหนึ่ง ในเมืองเล็กๆที่ชื่อ เฮอร์โซเกเนาราช
ในรัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ผลิตรองเท้าสำหรับวิ่งที่มีเดือยแหลมใต้รองเท้าคู่แรกขึ้น
รองเท้าของพวกเขามีโลโก้คือ แถบสี 2 เส้น
Adolf หรือ Adi Dassler เริ่มผลิตรองเท้ากีฬาของเขาเองหลังจากกลับมาจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
และน้องชายของเขา Rudolf (Rudi) Dassler
ในปี 1924 ‘อาดิ’ จึงร่วมก่อตั้งบริษัทรองเท้ากีฬาในชื่อ Dassler "Dassler Schuhfabrik (Dassler Brothers Shoe Factory)" ขึ้นมา
ซึ่งสามารถขายรองเท้าได้ 200,000 คู่ ต่อปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
เมื่อถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงงานถูกพวก Nazis เข้าครอบครองและสั่งให้ผลิตรองเท้าบูทเพื่อทหารของเยอรมัน
และRudi ถูกเรียกตัวให้ร่วมรบกับกองทัพเยอรมันด้วย และเขาก็ถูกทหารของ Allied จับในฐานะนักโทษสงคราม
เขาต้องใช้ชีวิตเป็นนักโทษสงครามอยู่ในค่ายทหารถึง 1 ปี
หลังสงครามจบเขาก็ได้กลับมาที่ โรงงาน แดสเลอร์ ด้วยอารมณ์ฉุนเฉียว
บ้างก็ว่า Rudi โกรธเรื่องแฟนสาวของตน มีใจให้พี่ ชาย
บ้างก็ว่า เพราะพี่ชายไม่ไปเจรจาต่อรองเพื่อขอแลกนักโทษ
บ้างก็ว่า อาจเป็นเพราะบริษัทเติบโตเร็วและไปได้ดีเกินไป
จนการจัดสรรผลประโยชน์กลายเป็นข้อขัดแย้งระหว่างสองพี่น้อง
ตรงนี้มีหลายกระแส แต่แล้ว ..................
ในปี 1948 รูดอล์ฟ ดาสส์เลอร์ ตัดสินใจแยกตัวออกมาตั้งบริษัทใหม่เอง
บริษัทของ Rudi แต่เดิมเรียกว่า Ruda แต่ภายหลังเปลี่ยนเป็น Puma เพื่อให้ฟังแล้ว แข๊งแกร่ง น่าเกรงขาม
และตั้งชื่อบริษัท "พูม่า อาเก รูดอล์ฟดาสส์เลอร์ สปอร์ต" ซึ่งเป็นผู้ผลิตรองเท้าและอุปกรณ์กีฬายี่ห้อพูม่า ในเวลาต่อมา
ในขณะที่ Adi ใช้ชื่อ Adidas โดยการรวมชื่อกับนามสกุลของเขา [Adi+Dassler=Adidas]
โดยใช้ลักษณะเฉพาะของแถบ 3 แถบเป็นโลโก้ โดยเพิ่มเข้าไปอีก 1 แถบจากโลโก้เดิมของ Dassler
ซึ่งความบาดหมางนี้ กลายเป็นทางแยกของพี่น้อง ตลอดกาล
ต่างคนต่างไป
Rudolf ก็หันไปสร้างแบรนด์ Puma
ส่วน Adolf ทำแบรนด์ Adidas
ในตลาดเดียวกัน ย่อมหนีกันไม่พ้น
ทั้ง 2 บริษัทต่อสู้กันอย่างดุเดือด(ในฐานคู่แข่งธุรกิจ)
ทั้ง 2 บริษัทมีทีมฟุตบอลเป็นของตัวเอง ตามที่ได้รู้มา กลุ่มคนงานของ
ทั้ง 2 บริษัทจะดื่มเบียร์ต่างกันและ
ให้ลูกหลานเรียนกันคนละที่
เป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่ 2 พี่น้องไม่เคยที่จะคืนดีกัน
ข้อโต้แย้ง(และคำพูด)ของพวก
เขาจะถูกแลกเปลี่ยนกันเฉพาะในชั้นศาลเท่านั้น
มีคนลือกระทั่ง ฝ่ายน้องชายให้ทนายถามสารทุกข์สุขดิบของ ญาติคนนึง ที่อาศัยอยู่กับ อาดิ ดาสเลอร์
ผ่านทางศาล ด้วยซ้ำ
แต่ทั้ง 2 บริษัทกลับประสบความสำเร็จอย่างไม่น่าเชื่อ.....................................ในแง่ธุรกิจ
ในเวลาต่อมาต่อมาRudolf เสียชีวิต
ลูกชายสานงานต่อ แต่กิจการย่ำแย่ลง เมื่อขาดเสาหลัก นาย Bernard Tapie ก็ซื้อกิจการไป
และมีการขายให้ธนาคารและเปลี่ยนมือพอสมควร จนกระทั่ง กลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ จากการควบรวมกิจการ
กับบริษัท ผลิตเสื้อผ้าสกี และ การคิดค้นรองเท้ารุ่นใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง
แต่ทั้ง 2 ไม่เคยยอมให้กัน
PUMA ทำการตลาดครั้งใหญ่ โดยเน้นที่ "ไข่มุกดำ" เปเล่ ของบราซิล ที่เคยใส่รองเท้า พูม่า ลงในนัดชิงชนะเลิศ ฟุตบอลโลก 1970
มาทำการตลาดประกาศศักดาความยิ่งใหญ่
อาดิดาส สวนกลับทันที
ให้ มาร์ค สปิตซ์ ยอดนักว่ายน้ำอะเมริกัน ถือรองเท้าอาดิดาส รุ่น Gazelles ในพิธีรับเหรียญทองโอลิมปิก ปี 1972
และทั้งคู่ ก็ยังดำเนินสงคราม ทั้งสิทธิการฟ้องร้อง การลอกเลียนแบบ ความโกรธแค้นและอื่นๆ ต่อมายาวนาน กว่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ซึ่ง ความบาดหมางยาวนาน
เพิ่งสิ้นสุดลงเมื่อ ปี 2009
CEO และผู้ถือหุ้น ของทั้ง 2 บริษัท
เพิ่งจะเตะบอลกระชับมิตร เพื่อฟื้นความสัมพันธ์แทน
2 พี่น้องผู้ให้กำเนิดรองเท้ามากกว่า 1,000 ล้านคู่ บนโลกใบนี้
ซีตซ์ CEO ของ อาดิดาสกล่าวกับนักข่าวว่า
"พี่น้อง 2 คนไม่ยอมคุยกันจนกระทั่งจากโลกไป
และ เรื่องนี้ถือว่าโชคร้ายมาก เราเป็นบริษัทมหาชน และ เรามุ่งเน้นในธุรกิจของเราเองเป็นส่วนใหญ่
แต่ตอนนี้ไอเดียคือรวมกัน และ เล่นฟุตบอลด้วยกันในนามของสันติภาพ"
ปัจจุบัน
จากรองเท้าและอุปกรณ์กีฬา พูม่าแตกไลน์มาผลิตเสื้อผ้า และกลายเป็นยี่ห้อที่ได้รับความนิยมอย่างสูง
ในแวดวงดนตรีฮิปฮอปและการทำกราฟฟิตี ทั้งในและนอกสหรัฐอเมริกา
ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970-1980 และยังคงความนิยมไม่เสื่อมคลายจนถึงทุกวันนี้
ปัจจุบันพูม่ามีพนักงานทั้งหมดประมาณ 3,910 คน และมีสินค้าวางจำหน่ายมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก
และยังผลิตสินค้าด้วยการว่าจ้างโรงงานใน 30 ประเทศเป็นผู้ผลิตสินค้าให้ ซึ่งในปีงบประมาณ 2004
พูม่ามีรายได้ทั้งหมด 1,530.3 ล้านยูโร
แต่เมื่อนำไปเทียบกับบริษัทผู้พี่อย่างอาดิดาส
(ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น อาดิดาส-ซาโลมอน เอจี หลังจากได้เข้าร่วมกิจการกับกลุ่มซาโลมอน
ซึ่งเป็นผู้นำด้านเครื่องแต่งกายกีฬาของฝรั่งเศส ตั้งแต่เมื่อปี 1997)
ก็จะเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน เนื่องจาก ในปีงบประมาณ 2003
อาดิดาสมีพนักงานทั้งหมด 15,686 คน และมีรายได้ถึง 6,267 ล้านยูโร แถมยังเป็นผู้ผลิตรองเท้าและ
เครื่องแต่งกายกีฬาที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองเพียง ไนกี้ เท่านั้น
เอาละครับ จบเพียงเท่านี้
ถ้าเทียบกับภาษิตไทย ก็คงเรียกได้ว่า ทั้ง 2 คน บาดหมางกันแบบว่า "ไม่เผาผีกันเลย" ทีเดียว
ซึ่ง แรงแค้นระหว่างพี่น้องนี้ กลับเป็นตัวพลักดัน ให้เกิดการแข่งขัน บนพื้นฐาน การสร้าง "รองเท้า"
ที่ดีที่สุด ฮิตที่สุด โดยมีเป้าหมายเดียวกันในใจของผู้สร้างทั้ง 2
"ชั้นไม่ยอมแพ้แกหรอก"
ซึ่งผลกระทบจากการโกรธกันของคู่นี้ ทำให้โลกได้พบกับ รองเท้ามากมายหลายรุ่น ที่มีจุดกำเนิดภายใต้
นโยบายและวิสัยทัศน์จาก พี่น้องทั้ง 2 มาจนปัจจุบันนี้
จ ญ น ห อ ดม
เรียบเรียง
เครดิตจาก
WIKI
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9480000145252
บทความต้นกำเนิดยี่ห้อต่าง หน้า ต้นกำเนิด พูม่า และ หน้า ต้นกำเนิด อาดิดาส
ภาพจากกูเกิ้ล