โอภาส เฉิดพันธุ์ ระบุ ตลาด อุปกรณ์เสริมช่วงนี้ชะลอตัว เพาเวอร์แบงก์ที่เมื่อก่อนจะมีความจุที่เป็นตัวขาย เช่น 1000 แอมป์ 5000 แอมป์ แต่มาวันนี้ไม่มีอะไรใหม่ ของเก่ายังดีอยู่ก็ใช้ไปก่อน
ประเด็นหลัก
หากในงานไทยแลนด์ โมบาย เอ็กซ์โป รอบที่ผ่านมา ชัดเจนว่าแม้จะมีสมาร์ทโฟนรุ่นแฟล็กชิพยกทัพมาเปิดตัวกันเกือบทุกแบรนด์ ยกเว้นไอโฟนที่ยังต้องรอจนกว่าจะกลางปี แต่ภาพรวมยอดขายอุปกรณ์เสริมภายในงานออกอาการฝืดอย่างเห็นได้ชัด ทั้งเพาเวอร์ แบงก์ ที่เคยเป็นไอเท่มฮอตก็ยังชะลอตัว เพราะของเก่าก็ยังใช้ได้
ขณะที่สินค้ากลุ่มใหม่อย่าง "อุปกรณ์ไอทีสำหรับสวมใส่บนร่างกาย หรือ Wearable Technology" ที่ถูกตั้งความหวังจะเป็นฮีโร่ช่วยสร้างความคึกคักในการใช้จ่ายเงิน แต่ผลตอบรับหลังการทำตลาดของหลายแบรนด์ช่วงนี่ต้องยอมรับว่า ยังไม่สามารถสร้างกระแสได้หวือหวาตามที่คาดหวัง
นายโอภาส เฉิดพันธุ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม วิชั่น จำกัด ผู้จัดงานไทยแลนด์ โมบาย เอ็กซ์โป กล่าวว่า ตลาดยังมองว่าอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย และเฉพาะกลุ่ม แม้จะราคาไม่สูงมากหลัก 5,000-8,000 บาทก็ซื้อได้ แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับที่ดีมาก ซึ่งอาจต้องรอจนกว่าจะมีแบรนด์ใหญ่ เช่น แอ๊ปเปิ้ลที่คาดว่าจะเปิดตัวนาฬิกาอัจฉริยะมาช่วยสร้างการรับรู้ในตลาดก่อน
"ตลาด อุปกรณ์เสริมช่วงนี้ชะลอตัว ซึ่งภาพรวมจากงานยอดตก อาจเพราะคนมองว่าไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่ เช่น เพาเวอร์แบงก์ที่เมื่อก่อนจะมีความจุที่เป็นตัวขาย เช่น 1000 แอมป์ 5000 แอมป์ แต่มาวันนี้ไม่มีอะไรใหม่ ของเก่ายังดีอยู่ก็ใช้ไปก่อน ส่วนที่ยังพอขายได้ก็ฟิล์มกันรอย หรือเคสที่ไปกับมือถือรุ่นใหม่ๆ แต่ส่วนใหญ่ก็จะอิงกับไอโฟน ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีรุ่นใหม่ เหลือแต่ไอโฟน 5 และไอโฟน 5เอส ที่ก็เริ่มนิ่งๆ แล้ว" นายโอภาสกล่าว
______________________________________
อุปกรณ์เสริมไอทีตลาดวูบ ผลพวงเศรษฐกิจ-การเมือง
\
จับกระแสตลาดอุปกรณ์เสริมไอที ท่ามกลางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ กำลังซื้อผู้บริโภคที่ชะลอตัว
นอกจากตลาดมือถือสินค้าไอทีที่ร้อนแรงที่สุดของ พ.ศ.นี้ แต่กลับมียอดขายชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัดจากปัจจัยแทรกซ้อนทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ กลุ่มสินค้าอีกรายการที่น่าจับตาคือ "ตลาดอุปกรณ์เสริมไอที" สินค้าที่มักเติบโตอิงตามสินค้าหลัก เช่น โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ
หากในงานไทยแลนด์ โมบาย เอ็กซ์โป รอบที่ผ่านมา ชัดเจนว่าแม้จะมีสมาร์ทโฟนรุ่นแฟล็กชิพยกทัพมาเปิดตัวกันเกือบทุกแบรนด์ ยกเว้นไอโฟนที่ยังต้องรอจนกว่าจะกลางปี แต่ภาพรวมยอดขายอุปกรณ์เสริมภายในงานออกอาการฝืดอย่างเห็นได้ชัด ทั้งเพาเวอร์ แบงก์ ที่เคยเป็นไอเท่มฮอตก็ยังชะลอตัว เพราะของเก่าก็ยังใช้ได้
ขณะที่สินค้ากลุ่มใหม่อย่าง "อุปกรณ์ไอทีสำหรับสวมใส่บนร่างกาย หรือ Wearable Technology" ที่ถูกตั้งความหวังจะเป็นฮีโร่ช่วยสร้างความคึกคักในการใช้จ่ายเงิน แต่ผลตอบรับหลังการทำตลาดของหลายแบรนด์ช่วงนี่ต้องยอมรับว่า ยังไม่สามารถสร้างกระแสได้หวือหวาตามที่คาดหวัง
นายโอภาส เฉิดพันธุ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม วิชั่น จำกัด ผู้จัดงานไทยแลนด์ โมบาย เอ็กซ์โป กล่าวว่า ตลาดยังมองว่าอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย และเฉพาะกลุ่ม แม้จะราคาไม่สูงมากหลัก 5,000-8,000 บาทก็ซื้อได้ แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับที่ดีมาก ซึ่งอาจต้องรอจนกว่าจะมีแบรนด์ใหญ่ เช่น แอ๊ปเปิ้ลที่คาดว่าจะเปิดตัวนาฬิกาอัจฉริยะมาช่วยสร้างการรับรู้ในตลาดก่อน
"ตลาดอุปกรณ์เสริมช่วงนี้ชะลอตัว ซึ่งภาพรวมจากงานยอดตก อาจเพราะคนมองว่าไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่ เช่น เพาเวอร์แบงก์ที่เมื่อก่อนจะมีความจุที่เป็นตัวขาย เช่น 1000 แอมป์ 5000 แอมป์ แต่มาวันนี้ไม่มีอะไรใหม่ ของเก่ายังดีอยู่ก็ใช้ไปก่อน ส่วนที่ยังพอขายได้ก็ฟิล์มกันรอย หรือเคสที่ไปกับมือถือรุ่นใหม่ๆ แต่ส่วนใหญ่ก็จะอิงกับไอโฟน ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีรุ่นใหม่ เหลือแต่ไอโฟน 5 และไอโฟน 5เอส ที่ก็เริ่มนิ่งๆ แล้ว" นายโอภาสกล่าว
การเมืองกระทบแผนธุรกิจ
นายสรศักดิ์ วงศ์ชินศรีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจนเนอเรชั่น เอส จํากัด ตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์เสริมไอที เช่น เคสมือถือก็อช และหูฟังเซ็นไฮเซอร์ กล่าวว่า ภาพรวมตลาดอุปกรณ์เสริมไตรมาสแรกที่ผ่านมายอดขายเติบโตลดราว 30% โดยเฉพาะกลุ่มหูฟัง เคสโทรศัพท์ และสไตลัส ซึ่งคาดว่าลูกค้าบางส่วนรอไอโฟนรุ่นใหม่เปิดตัวช่วงกลางปี ทั้งยังเป็นช่วงที่สถานการณ์การเมืองในประเทศไม่แน่นอน และกระทบกับบรรยากาศซื้อขายพอสมควร
ทั้งนี้ยังกระทบกับแผนการตลาดของบริษัทเช่นเดียวกัน เพราะไม่สามารถดำเนินการตามแผนการตลาดที่วางไว้ เช่น การจัดกิจกรรมกระตุ้นตลาด และการเปิดตัวสินค้าใหม่ๆ
นายสรศักดิ์ เผยว่า ช่วงนี้บริษัทต้องเร่งปรับตัวด้วยการเพิ่มไลน์สินค้าใหม่ๆ และจำนวนแบรนด์ที่เป็นตัวแทนจำหน่าย เนื่องจากสินค้าเดิมที่ทำตลาดอยู่แล้วยอดขายหดตัว โดยคาดว่าช่วงปลายเดือน พ.ค.นี้จะสามารถเปิดตัวหูฟังแบรนด์ใหม่ได้
ขณะเดียวกันก็วางแผนจะเปิดตลาดแกดเจ็ทใหม่ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า โดยเน้นตลาดอุปกรณ์เสริมสำหรับกลุ่มคนรักสุขภาพ หรือผู้ออกกำลังกายที่กำลังเป็นกระแสช่วงนี้
รวมทั้งปรับโฟกัสตลาดสำหรับสินค้าแบรนด์ใหม่ให้เข้าถึงกลุ่มผู้ซื้อจำนวนมากๆ ได้ จากเดิมสินค้าส่วนใหญ่ที่ทำตลาดจะเป็นผู้ซื่อระดับพรีเมียม
"แบรนด์ใหม่ๆ ที่เข้ามาทำตลาดจะครอบคลุมตลาดทุกเซคเมนท์มากขึ้น หรือเป็นแมส ไม่แพงมาก และก็พยายามหาสินค้าที่เข้ามาเจาะกลุ่มเฉพาะ เช่น เทรนด์สุขภาพที่กำลังมาแรงตอนนี้ ดังนั้นสินค้าที่จะเข้ามาก็จะไปสนับสนุนตลาดสุขภาพมากขึ้น เช่น หูฟังสำหรับใส่เล่นกีฬา เพราะตอนนี้ยังไม่มีแบรนด์ใดโฟกัสกับตลาดนี้จริงจัง และตอนนี่เราก็เริ่มทดลองวางตลาดแล้วบางที่ เช่น ตามร้านค้าเจมาร์ท" นายสรศักดิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตามผู้บริหารเจนเนอเรชั่น เอส ยอมรับว่า ปกติช่วงไตรมาส 2 ของทุกปีจะเป็นช่วงลำบากสำหรับตลาดอุปกรณ์เสริมไอที เพื่อรอการเปิดตัวสินค้ารุ่นใหม่ แต่บริษัทก็ยังคาดว่าการเพิ่มสินค้าใหม่ๆ จะช่วยดึงยอดขายกลับมาได้ รวมทั้งปัญหาทางการเมืองที่หากกลับสู่สภาวะปกติได้เร็วจะช่วยให้ตลาดอุปกรณ์เสริมไอทีฟื้นตัวได้เร็วมากขึ้น
ซีเอสซี รับตลาดไม่โตแต่มีดีมานด์
นายวงศ์สมรรถ สรรเพชุดาญาณ รองประธานบริหาร บริษัท คอมพิวเตอร์ ซิสเท็ม คอนเน็คชั่น อินเตอร์แนชั่นแนล จำกัด (ซีเอสซี) กล่าวว่า ตลาดภาพรวมของแอสเซสซอรี่ ยังมีแนวโน้มเติบโตได้อีกมาก แต่โดนปัจจัยทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ กำลังซื้อผู้บริโภคที่ชะลอตัว ทำให้ตลาดแอสเซอรี่ ไม่เติบโตเท่าที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่ตลาดยังมีดีมานด์อยู่มาก
"การชุมนุมทางการเมือง รวมไปถึงการยิงอาวุธเข้าไปตามอาคารสถานที่ต่างๆ หรือกระแสการให้ผู้บริโภคเก็บเงินสดเอาไว้ ประเด็นเหล่านี้ มีผลกระทบต่อบรรยากาศการจับจ่ายสินค้าของผู้บริโภค คนตัดสินใจชะลอการซื้อ แม้ว่าดีมานด์ยังมีอยู่มาก เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคเมื่อซื้อมือถือใหม่ จะต้องหาส่วนประกอบเพิ่มให้ เช่น สายชาร์จ เพาเวอร์แบงก์ เคสต่างๆ เชื่อว่าตลาดมีโอกาสเติบโตได้อีก แต่ถ้ายังมีปัจจัยลบต่างๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอด การเติบโต รวมถึงยอดขายคงไม่ได้เติบโตมาก"
ทั้งนี้ เขาคาดว่า มูลค่าตลาดแอสเซสซอรี่มือถือปัจจุบัน น่าจะมีมูลค่าอย่างน้อย 5-10% ของตลาดมือถือทั้งหมด
ในส่วนของบริษัทซีเอสซี จากนี้จะมุ่งเน้นการทำการตลาดให้มากขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นกำลังซื้อที่ยอมรับว่า ขณะนี้ตลาดทั้งในส่วนมือถือ แทบเล็ต และตลาดไอทีชะลอตัว จากปัจจัยลบต่างๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ คือพยายามอัดแคมเปญการตลาดกระตุ้น ล่าสุด ลูกค้าที่ซื้อมือถือซัมซุง เอส5 ในร้านของซีเอสซี จะได้รับกิฟต์เซ็ตเพิ่มอีก 7 ชิ้น เช่น สายชาร์จ หูฟัง และแอสเซสซอรี่อื่นๆ เป็นของแถม เป็นต้น
ผนึก "ไลน์" หนุนยอดขาย
นายอมรศักดิ์ แดงแสงทอง รองประธานกรรมการฝ่ายการตลาด บริษัท ดีพลัส อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุปกรณ์เสริมไอที ภายใต้เครื่องหมายการค้าแบรนด์ FOCUS, RIZZ และ POWERMAX กล่าวว่า ตลาดอุปกรณ์เสริมสมาร์ทโฟนและแทบเล็ต ในช่วงปีที่ผ่านมามีอัตราเติบโตสูงขึ้นมาก จากการที่ผู้ใช้งานทั่วประเทศเปลี่ยนมาใช้สมาร์ทโฟน และเข้าถึงบริการดาต้า และแอพพลิเคชั่นสูงขึ้นอย่างมาก
แม้ช่วงไตรมาสแรกของปีจะเติบโตลดลงเล็กน้อยจากช่วงปลายปีที่แล้วด้วยปัจจัยทางการเมืองและเศรษฐกิจภายในประเทศ
ล่าสุด บริษัทได้รับคัดสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวจากเอไอ ไทยแลนด์ และไลน์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไอทีลายลิขสิทธิ์ ไลน์ เฟรนด์ พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ไม่ว่าจะเป็นเคสโทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่สำรอง ลำโพง ชาร์จเจอร์ และอุปกรณ์เสริมไอทีอื่นๆ เพื่อเอาใจกลุ่มเป้าหมายที่ชื่นชอบคาแรคเตอร์ไลน์ โดยเฉพาะ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20140514/582024/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B9%E0%B8%9A-%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87.html
โอภาส เฉิดพันธุ์ ระบุ ตลาด อุปกรณ์เสริมชะลอตัว เพาเวอร์แบงก์ที่เมื่อก่อนขายความจุ แต่ตอนนี้ของเก่ายังดีอยู่ก็ใช้ไปก่อน
ประเด็นหลัก
หากในงานไทยแลนด์ โมบาย เอ็กซ์โป รอบที่ผ่านมา ชัดเจนว่าแม้จะมีสมาร์ทโฟนรุ่นแฟล็กชิพยกทัพมาเปิดตัวกันเกือบทุกแบรนด์ ยกเว้นไอโฟนที่ยังต้องรอจนกว่าจะกลางปี แต่ภาพรวมยอดขายอุปกรณ์เสริมภายในงานออกอาการฝืดอย่างเห็นได้ชัด ทั้งเพาเวอร์ แบงก์ ที่เคยเป็นไอเท่มฮอตก็ยังชะลอตัว เพราะของเก่าก็ยังใช้ได้
ขณะที่สินค้ากลุ่มใหม่อย่าง "อุปกรณ์ไอทีสำหรับสวมใส่บนร่างกาย หรือ Wearable Technology" ที่ถูกตั้งความหวังจะเป็นฮีโร่ช่วยสร้างความคึกคักในการใช้จ่ายเงิน แต่ผลตอบรับหลังการทำตลาดของหลายแบรนด์ช่วงนี่ต้องยอมรับว่า ยังไม่สามารถสร้างกระแสได้หวือหวาตามที่คาดหวัง
นายโอภาส เฉิดพันธุ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม วิชั่น จำกัด ผู้จัดงานไทยแลนด์ โมบาย เอ็กซ์โป กล่าวว่า ตลาดยังมองว่าอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย และเฉพาะกลุ่ม แม้จะราคาไม่สูงมากหลัก 5,000-8,000 บาทก็ซื้อได้ แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับที่ดีมาก ซึ่งอาจต้องรอจนกว่าจะมีแบรนด์ใหญ่ เช่น แอ๊ปเปิ้ลที่คาดว่าจะเปิดตัวนาฬิกาอัจฉริยะมาช่วยสร้างการรับรู้ในตลาดก่อน
"ตลาด อุปกรณ์เสริมช่วงนี้ชะลอตัว ซึ่งภาพรวมจากงานยอดตก อาจเพราะคนมองว่าไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่ เช่น เพาเวอร์แบงก์ที่เมื่อก่อนจะมีความจุที่เป็นตัวขาย เช่น 1000 แอมป์ 5000 แอมป์ แต่มาวันนี้ไม่มีอะไรใหม่ ของเก่ายังดีอยู่ก็ใช้ไปก่อน ส่วนที่ยังพอขายได้ก็ฟิล์มกันรอย หรือเคสที่ไปกับมือถือรุ่นใหม่ๆ แต่ส่วนใหญ่ก็จะอิงกับไอโฟน ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีรุ่นใหม่ เหลือแต่ไอโฟน 5 และไอโฟน 5เอส ที่ก็เริ่มนิ่งๆ แล้ว" นายโอภาสกล่าว
______________________________________
อุปกรณ์เสริมไอทีตลาดวูบ ผลพวงเศรษฐกิจ-การเมือง
\
จับกระแสตลาดอุปกรณ์เสริมไอที ท่ามกลางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ กำลังซื้อผู้บริโภคที่ชะลอตัว
นอกจากตลาดมือถือสินค้าไอทีที่ร้อนแรงที่สุดของ พ.ศ.นี้ แต่กลับมียอดขายชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัดจากปัจจัยแทรกซ้อนทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ กลุ่มสินค้าอีกรายการที่น่าจับตาคือ "ตลาดอุปกรณ์เสริมไอที" สินค้าที่มักเติบโตอิงตามสินค้าหลัก เช่น โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ
หากในงานไทยแลนด์ โมบาย เอ็กซ์โป รอบที่ผ่านมา ชัดเจนว่าแม้จะมีสมาร์ทโฟนรุ่นแฟล็กชิพยกทัพมาเปิดตัวกันเกือบทุกแบรนด์ ยกเว้นไอโฟนที่ยังต้องรอจนกว่าจะกลางปี แต่ภาพรวมยอดขายอุปกรณ์เสริมภายในงานออกอาการฝืดอย่างเห็นได้ชัด ทั้งเพาเวอร์ แบงก์ ที่เคยเป็นไอเท่มฮอตก็ยังชะลอตัว เพราะของเก่าก็ยังใช้ได้
ขณะที่สินค้ากลุ่มใหม่อย่าง "อุปกรณ์ไอทีสำหรับสวมใส่บนร่างกาย หรือ Wearable Technology" ที่ถูกตั้งความหวังจะเป็นฮีโร่ช่วยสร้างความคึกคักในการใช้จ่ายเงิน แต่ผลตอบรับหลังการทำตลาดของหลายแบรนด์ช่วงนี่ต้องยอมรับว่า ยังไม่สามารถสร้างกระแสได้หวือหวาตามที่คาดหวัง
นายโอภาส เฉิดพันธุ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม วิชั่น จำกัด ผู้จัดงานไทยแลนด์ โมบาย เอ็กซ์โป กล่าวว่า ตลาดยังมองว่าอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย และเฉพาะกลุ่ม แม้จะราคาไม่สูงมากหลัก 5,000-8,000 บาทก็ซื้อได้ แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับที่ดีมาก ซึ่งอาจต้องรอจนกว่าจะมีแบรนด์ใหญ่ เช่น แอ๊ปเปิ้ลที่คาดว่าจะเปิดตัวนาฬิกาอัจฉริยะมาช่วยสร้างการรับรู้ในตลาดก่อน
"ตลาดอุปกรณ์เสริมช่วงนี้ชะลอตัว ซึ่งภาพรวมจากงานยอดตก อาจเพราะคนมองว่าไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่ เช่น เพาเวอร์แบงก์ที่เมื่อก่อนจะมีความจุที่เป็นตัวขาย เช่น 1000 แอมป์ 5000 แอมป์ แต่มาวันนี้ไม่มีอะไรใหม่ ของเก่ายังดีอยู่ก็ใช้ไปก่อน ส่วนที่ยังพอขายได้ก็ฟิล์มกันรอย หรือเคสที่ไปกับมือถือรุ่นใหม่ๆ แต่ส่วนใหญ่ก็จะอิงกับไอโฟน ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีรุ่นใหม่ เหลือแต่ไอโฟน 5 และไอโฟน 5เอส ที่ก็เริ่มนิ่งๆ แล้ว" นายโอภาสกล่าว
การเมืองกระทบแผนธุรกิจ
นายสรศักดิ์ วงศ์ชินศรีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจนเนอเรชั่น เอส จํากัด ตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์เสริมไอที เช่น เคสมือถือก็อช และหูฟังเซ็นไฮเซอร์ กล่าวว่า ภาพรวมตลาดอุปกรณ์เสริมไตรมาสแรกที่ผ่านมายอดขายเติบโตลดราว 30% โดยเฉพาะกลุ่มหูฟัง เคสโทรศัพท์ และสไตลัส ซึ่งคาดว่าลูกค้าบางส่วนรอไอโฟนรุ่นใหม่เปิดตัวช่วงกลางปี ทั้งยังเป็นช่วงที่สถานการณ์การเมืองในประเทศไม่แน่นอน และกระทบกับบรรยากาศซื้อขายพอสมควร
ทั้งนี้ยังกระทบกับแผนการตลาดของบริษัทเช่นเดียวกัน เพราะไม่สามารถดำเนินการตามแผนการตลาดที่วางไว้ เช่น การจัดกิจกรรมกระตุ้นตลาด และการเปิดตัวสินค้าใหม่ๆ
นายสรศักดิ์ เผยว่า ช่วงนี้บริษัทต้องเร่งปรับตัวด้วยการเพิ่มไลน์สินค้าใหม่ๆ และจำนวนแบรนด์ที่เป็นตัวแทนจำหน่าย เนื่องจากสินค้าเดิมที่ทำตลาดอยู่แล้วยอดขายหดตัว โดยคาดว่าช่วงปลายเดือน พ.ค.นี้จะสามารถเปิดตัวหูฟังแบรนด์ใหม่ได้
ขณะเดียวกันก็วางแผนจะเปิดตลาดแกดเจ็ทใหม่ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า โดยเน้นตลาดอุปกรณ์เสริมสำหรับกลุ่มคนรักสุขภาพ หรือผู้ออกกำลังกายที่กำลังเป็นกระแสช่วงนี้
รวมทั้งปรับโฟกัสตลาดสำหรับสินค้าแบรนด์ใหม่ให้เข้าถึงกลุ่มผู้ซื้อจำนวนมากๆ ได้ จากเดิมสินค้าส่วนใหญ่ที่ทำตลาดจะเป็นผู้ซื่อระดับพรีเมียม
"แบรนด์ใหม่ๆ ที่เข้ามาทำตลาดจะครอบคลุมตลาดทุกเซคเมนท์มากขึ้น หรือเป็นแมส ไม่แพงมาก และก็พยายามหาสินค้าที่เข้ามาเจาะกลุ่มเฉพาะ เช่น เทรนด์สุขภาพที่กำลังมาแรงตอนนี้ ดังนั้นสินค้าที่จะเข้ามาก็จะไปสนับสนุนตลาดสุขภาพมากขึ้น เช่น หูฟังสำหรับใส่เล่นกีฬา เพราะตอนนี้ยังไม่มีแบรนด์ใดโฟกัสกับตลาดนี้จริงจัง และตอนนี่เราก็เริ่มทดลองวางตลาดแล้วบางที่ เช่น ตามร้านค้าเจมาร์ท" นายสรศักดิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตามผู้บริหารเจนเนอเรชั่น เอส ยอมรับว่า ปกติช่วงไตรมาส 2 ของทุกปีจะเป็นช่วงลำบากสำหรับตลาดอุปกรณ์เสริมไอที เพื่อรอการเปิดตัวสินค้ารุ่นใหม่ แต่บริษัทก็ยังคาดว่าการเพิ่มสินค้าใหม่ๆ จะช่วยดึงยอดขายกลับมาได้ รวมทั้งปัญหาทางการเมืองที่หากกลับสู่สภาวะปกติได้เร็วจะช่วยให้ตลาดอุปกรณ์เสริมไอทีฟื้นตัวได้เร็วมากขึ้น
ซีเอสซี รับตลาดไม่โตแต่มีดีมานด์
นายวงศ์สมรรถ สรรเพชุดาญาณ รองประธานบริหาร บริษัท คอมพิวเตอร์ ซิสเท็ม คอนเน็คชั่น อินเตอร์แนชั่นแนล จำกัด (ซีเอสซี) กล่าวว่า ตลาดภาพรวมของแอสเซสซอรี่ ยังมีแนวโน้มเติบโตได้อีกมาก แต่โดนปัจจัยทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ กำลังซื้อผู้บริโภคที่ชะลอตัว ทำให้ตลาดแอสเซอรี่ ไม่เติบโตเท่าที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่ตลาดยังมีดีมานด์อยู่มาก
"การชุมนุมทางการเมือง รวมไปถึงการยิงอาวุธเข้าไปตามอาคารสถานที่ต่างๆ หรือกระแสการให้ผู้บริโภคเก็บเงินสดเอาไว้ ประเด็นเหล่านี้ มีผลกระทบต่อบรรยากาศการจับจ่ายสินค้าของผู้บริโภค คนตัดสินใจชะลอการซื้อ แม้ว่าดีมานด์ยังมีอยู่มาก เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคเมื่อซื้อมือถือใหม่ จะต้องหาส่วนประกอบเพิ่มให้ เช่น สายชาร์จ เพาเวอร์แบงก์ เคสต่างๆ เชื่อว่าตลาดมีโอกาสเติบโตได้อีก แต่ถ้ายังมีปัจจัยลบต่างๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอด การเติบโต รวมถึงยอดขายคงไม่ได้เติบโตมาก"
ทั้งนี้ เขาคาดว่า มูลค่าตลาดแอสเซสซอรี่มือถือปัจจุบัน น่าจะมีมูลค่าอย่างน้อย 5-10% ของตลาดมือถือทั้งหมด
ในส่วนของบริษัทซีเอสซี จากนี้จะมุ่งเน้นการทำการตลาดให้มากขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นกำลังซื้อที่ยอมรับว่า ขณะนี้ตลาดทั้งในส่วนมือถือ แทบเล็ต และตลาดไอทีชะลอตัว จากปัจจัยลบต่างๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ คือพยายามอัดแคมเปญการตลาดกระตุ้น ล่าสุด ลูกค้าที่ซื้อมือถือซัมซุง เอส5 ในร้านของซีเอสซี จะได้รับกิฟต์เซ็ตเพิ่มอีก 7 ชิ้น เช่น สายชาร์จ หูฟัง และแอสเซสซอรี่อื่นๆ เป็นของแถม เป็นต้น
ผนึก "ไลน์" หนุนยอดขาย
นายอมรศักดิ์ แดงแสงทอง รองประธานกรรมการฝ่ายการตลาด บริษัท ดีพลัส อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุปกรณ์เสริมไอที ภายใต้เครื่องหมายการค้าแบรนด์ FOCUS, RIZZ และ POWERMAX กล่าวว่า ตลาดอุปกรณ์เสริมสมาร์ทโฟนและแทบเล็ต ในช่วงปีที่ผ่านมามีอัตราเติบโตสูงขึ้นมาก จากการที่ผู้ใช้งานทั่วประเทศเปลี่ยนมาใช้สมาร์ทโฟน และเข้าถึงบริการดาต้า และแอพพลิเคชั่นสูงขึ้นอย่างมาก
แม้ช่วงไตรมาสแรกของปีจะเติบโตลดลงเล็กน้อยจากช่วงปลายปีที่แล้วด้วยปัจจัยทางการเมืองและเศรษฐกิจภายในประเทศ
ล่าสุด บริษัทได้รับคัดสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวจากเอไอ ไทยแลนด์ และไลน์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไอทีลายลิขสิทธิ์ ไลน์ เฟรนด์ พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ไม่ว่าจะเป็นเคสโทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่สำรอง ลำโพง ชาร์จเจอร์ และอุปกรณ์เสริมไอทีอื่นๆ เพื่อเอาใจกลุ่มเป้าหมายที่ชื่นชอบคาแรคเตอร์ไลน์ โดยเฉพาะ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20140514/582024/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B9%E0%B8%9A-%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87.html