มูดี้ส์อินเวสเตอร์เซอร์วิส บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำ ออกบทวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยล่าสุด โดยใช้ชื่อว่า "A Bump in the Road" มีประเด็นที่เกิดขึ้นสำคัญคือ
1. ความต้องการหรืออุปสงค์ภายในชะลอลงไม่สามารถชดเชยเศรษฐกิจโลกชะลดลง เศรษฐกิจไทยจะเติบโตต่ำกว่าแนวโน้มในปี 2556 แต่ยังอยู่ในกรอบที่ประเมินไว้ในปี 2557
2. นโยบายการเงินยังเอื้อต่อการเติบโต ขณะที่เงินเฟ้อไม่ได้เป็นประเด็นที่น่าห่วง การเติบโตของสินเชื่อทำให้หมดโอกาสจะปรับลดดอกเบี้ยในอนาคต
3. จากการประเมินเศรษฐกิจจีนชะลออย่างรุนแรง 1.3% จะกระทบต่อภาคส่งออกของไทยอย่างมาก
เศรษฐกิจไทยได้ชะลอลงอย่างรวดเร็ว การแก้ปัญหาของรัฐบาลและการฟื้นฟูจากน้ำท่วมที่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2555 ได้หมดไป การบริโภคภาคครัวเรือน การส่งออกและการผลิตชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัว 4.1% ในไตรมาสสองเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจาก 5.3% ในไตรมาสแรก
อุปสงค์จากยุโรป สหรัฐและจีนกำลังส่งผลกระทบต่อส่งออกในระยะสั้น วัฏจักรการลงทุนของโลกชะลอตัวได้ส่งผลกระทบต่อพีซีและอาร์ดไดร์ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเนื่องตลอดปี 2556 อย่างไรก็ตาม อุปสงค์จากการบริโภคสำหรับรถยนต์ แทบเล็ตและสมาร์ทโฟนจากสหรัฐ จีนและญี่ปุ่น ปรับตัวดีขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนนี้ และอาจส่งผลให้การส่งออกฟื้นตัวขึ้น
เศรษฐกิจภายในชะลอตัวจากการปี 2555 ที่ขยายตัวได้ดี พร้อมๆ กับสภาพแวดล้อมภายนอกชะลอลง ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่น การลงทุนและการใช้จ่ายภาคครัวเรือน โดยคาดว่ายังมีแนวโน้มชะลอตัวในช่วงที่เหลือของปีนี้ การกู้ยืมเพื่อการบริโภคที่อ่อนลงชี้ว่าการบริโภคภาครัวเรือนหยุดชะงัก แม้ค่าจ้างขั้นต่ำจะช่วยหนุนการบริโภค
สัญญาณเหล่านี้บ่งบอกว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 4.3 ในปี 2556 ต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริงที่ระดับ 4.5% ในปี 2557 ขณะเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวจากภาคส่งออก
จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง อัตราเงินเฟ้อสามารถดูแลได้ แม้ว่าค่าจ้างขั้นต่ำจะทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น สิ่งนี้คาดว่าจะทำให้รักษาอัตราดอกเบี้ยในระดับที่เหมาะสมตลอดช่วงที่เหลือของปีนี้
อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังลังเลจะลดดอกเบี้ยในระยะต่อไป ขณะที่ความไม่แน่นอนในนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังเป็นสาเหตุให้นักลงทุนเทขายหุ้นไทย ซึ่งนำไปสู่การอ่อนค่าของเงินบาท นอกจากนี้ ธปท.ยังมีความกังวลความต้องการสินเชื่อที่ยังอยู่ในระดับสูง แม้ว่าการเติบโตสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคในไตรมาสสองเพิ่มชะลอตัว
หนี้ต่างประเทศระยะสั้นของไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ทำการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับผู้ส่งออกประกันความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน สิ่งนี้ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องสำรองเงินหรือกู้ยืมจากตลาดต่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้หนี้ต่างประเทศในระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้น
เงินทุนจากต่างประเทศค่อนข้างตึงตัวในไทย กระตุ้นให้มีการกู้ยืมจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผ่านสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยในต่างประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้กับบริษัทแม่และให้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศกู้ยืมด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าที่กู้ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ในทางตรงกันข้าม การส่งออกเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2553-2554 กระตุ้นให้ภาคส่งออกประกันความเสี่ยงค่าเงินบาทมากขึ้น ส่งผลให้หนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้น ซึ่งสัญญาซื้อขายเงินตราล่วงหน้าขึ้นกับยอดขายสินค้าในหนึ่งหรือสองเดือนข้างหน้า
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจึงมีไม่มาก การปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวและทุนสำรองระดับสูงช่วยปกป้องการโจมตีค่าเงินเหมือนที่เกิดขึ้นในปี 2540 อย่างไรก็ตาม หนี้ต่างประเทศระยะสั้นยังคงเพิ่มขึ้นแม้การค้าต่างประเทศชะลอ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเกิดความไม่สมดุลมากขึ้นและเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงิน
หนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้นไม่ส่งผลทางลบตราบใดที่ไม่นำไปใช้ให้กู้ยืมระยะยาว เหมือนที่เกิดขึ้นในปี 2540 เมื่อธุรกิจไทยกู้เงินตราต่างประเทศ แต่ไม่สามารถชำระคืนได้เมื่อค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ส่งผลให้ภาคธุรกิจล้มละลาย ขณะที่ ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งกู้ยืมเงินตราต่างประเทศระยะสั้น ไม่สามารถชำระคืนได้ ทำให้ส่งผลกระทบต่อฐานะธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย
รัฐบาลต้องดำเนินนโยบายที่รอบคอบ
นโยบายการคลังเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเติบโตระยะยาว แต่การใช้จ่ายของรัฐบาลที่ผ่านมาไม่ชัดเจน การใช้จ่ายเพื่อโครงสร้างพื้นฐานส่วนมากมีประโยชน์ในระยะยาว แต่การเอาใจเกษตรกรในนโยบายรับจำนำข้าวใช้เงินถึง 4.4 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 1.3 แสนล้านบาท เป็นมีประโยชน์ไม่มากนักในระยะยาว
เสถียรภาพทางการเมืองยังเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะประเทศไทยในอดีตที่เผชิญกับการรัฐประหารและความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง หากสามารถลดความไม่แน่นอนทางการเมืองและดำเนินนโยบายทางการคลังที่ยั่งยืนได้ ประเทศไทยอาจผลักดันตัวเองออกจากประเทศตลาดเกิดใหม่อื่นๆ และดึงดูดเม็ดเงินจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ยกระดับไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง
การต่อต้านเรื่องร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ที่มีเป้าหมายเพื่อลบล้างความผิดให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะส่งผลให้การเมืองไทยยังมีความเสี่ยงในระยะต่อไป
ผลกระทบจากเศรษฐกิจจีนชะลอตัว
เศรษฐกิจจีนเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตเศรษฐกิจโลกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าจีดีพีของจีนชะลอตัวและมีความเสี่ยงชะลอลงอีกระหว่างช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ผลของการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนต่อเศรษฐกิจไทย หากใช้ตัวแบบการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของจีดีพีในอดีตระหว่างไทย จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐ ซึ่งมีผลต่ออุตสาหกรรมหลักของไทยนั้น แสดงให้เห็นว่าการชะลอตัวของประเทศเศรษฐกิจใหญ่ส่งผลกระทบต่อจีดีพีของไทย
ภายใต้สมมติฐาน หากเศรษฐกิจจีนร่วงลงสู่ระดับ 5.1% หรือลดลงประมาณ 2.5% จากระดับที่ประมาณการไว้ จะกระทบต่อจีดีพีของญี่ปุ่น 0.2% และกระทบเศรษฐกิจสหรัฐ 0.5% สิ่งนี้มีความหมายสำหรับเศรษฐกิจไทย เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำหรับสินค้าพื้นฐาน และสหรัฐเป็นตลาดส่งออกสำหรับสินค้าเพื่อผู้บริโภคโดยตรง
เศรษฐกิจญี่ปุ่นและสหรัฐชะลอตัว ส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมไทยเกือบทั้งหมด โดยภาคผลิตจะลดลง 1.8% ซึ่งทั้งหมดเป็นผู้ส่งออก และจะส่งผลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยภาพรวม
สำหรับเศรษฐกิจภายในประเทศได้รับผลกระทบน้อยกว่า แต่ก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย เนื่องจากรายได้ส่งออกลดลง การบริโภคและความเชื่อมั่นทางธุรกิจจะชะลอการจับจ่ายใช้สอย
อย่างไรก็ตาม ภาคก่อสร้างชะลอตัวมากกว่าภาคธุรกิจอื่น เนื่องจากการตัดสินใจลงทุนในเศรษฐกิจพึ่งพาส่งออกขึ้นกับการค้าและความเชื่อมั่นธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/finance/20130810/522613/%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2!%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%81.%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C.html
มูดี้ส์ถล่มไทย!มาตการกระตุ้นศก.สิ้นฤทธิ์
มูดี้ส์อินเวสเตอร์เซอร์วิส บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำ ออกบทวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยล่าสุด โดยใช้ชื่อว่า "A Bump in the Road" มีประเด็นที่เกิดขึ้นสำคัญคือ
1. ความต้องการหรืออุปสงค์ภายในชะลอลงไม่สามารถชดเชยเศรษฐกิจโลกชะลดลง เศรษฐกิจไทยจะเติบโตต่ำกว่าแนวโน้มในปี 2556 แต่ยังอยู่ในกรอบที่ประเมินไว้ในปี 2557
2. นโยบายการเงินยังเอื้อต่อการเติบโต ขณะที่เงินเฟ้อไม่ได้เป็นประเด็นที่น่าห่วง การเติบโตของสินเชื่อทำให้หมดโอกาสจะปรับลดดอกเบี้ยในอนาคต
3. จากการประเมินเศรษฐกิจจีนชะลออย่างรุนแรง 1.3% จะกระทบต่อภาคส่งออกของไทยอย่างมาก
เศรษฐกิจไทยได้ชะลอลงอย่างรวดเร็ว การแก้ปัญหาของรัฐบาลและการฟื้นฟูจากน้ำท่วมที่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2555 ได้หมดไป การบริโภคภาคครัวเรือน การส่งออกและการผลิตชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัว 4.1% ในไตรมาสสองเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจาก 5.3% ในไตรมาสแรก
อุปสงค์จากยุโรป สหรัฐและจีนกำลังส่งผลกระทบต่อส่งออกในระยะสั้น วัฏจักรการลงทุนของโลกชะลอตัวได้ส่งผลกระทบต่อพีซีและอาร์ดไดร์ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเนื่องตลอดปี 2556 อย่างไรก็ตาม อุปสงค์จากการบริโภคสำหรับรถยนต์ แทบเล็ตและสมาร์ทโฟนจากสหรัฐ จีนและญี่ปุ่น ปรับตัวดีขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนนี้ และอาจส่งผลให้การส่งออกฟื้นตัวขึ้น
เศรษฐกิจภายในชะลอตัวจากการปี 2555 ที่ขยายตัวได้ดี พร้อมๆ กับสภาพแวดล้อมภายนอกชะลอลง ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่น การลงทุนและการใช้จ่ายภาคครัวเรือน โดยคาดว่ายังมีแนวโน้มชะลอตัวในช่วงที่เหลือของปีนี้ การกู้ยืมเพื่อการบริโภคที่อ่อนลงชี้ว่าการบริโภคภาครัวเรือนหยุดชะงัก แม้ค่าจ้างขั้นต่ำจะช่วยหนุนการบริโภค
สัญญาณเหล่านี้บ่งบอกว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 4.3 ในปี 2556 ต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริงที่ระดับ 4.5% ในปี 2557 ขณะเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวจากภาคส่งออก
จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง อัตราเงินเฟ้อสามารถดูแลได้ แม้ว่าค่าจ้างขั้นต่ำจะทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น สิ่งนี้คาดว่าจะทำให้รักษาอัตราดอกเบี้ยในระดับที่เหมาะสมตลอดช่วงที่เหลือของปีนี้
อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังลังเลจะลดดอกเบี้ยในระยะต่อไป ขณะที่ความไม่แน่นอนในนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังเป็นสาเหตุให้นักลงทุนเทขายหุ้นไทย ซึ่งนำไปสู่การอ่อนค่าของเงินบาท นอกจากนี้ ธปท.ยังมีความกังวลความต้องการสินเชื่อที่ยังอยู่ในระดับสูง แม้ว่าการเติบโตสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคในไตรมาสสองเพิ่มชะลอตัว
หนี้ต่างประเทศระยะสั้นของไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ทำการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับผู้ส่งออกประกันความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน สิ่งนี้ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องสำรองเงินหรือกู้ยืมจากตลาดต่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้หนี้ต่างประเทศในระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้น
เงินทุนจากต่างประเทศค่อนข้างตึงตัวในไทย กระตุ้นให้มีการกู้ยืมจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผ่านสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยในต่างประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้กับบริษัทแม่และให้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศกู้ยืมด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าที่กู้ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ในทางตรงกันข้าม การส่งออกเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2553-2554 กระตุ้นให้ภาคส่งออกประกันความเสี่ยงค่าเงินบาทมากขึ้น ส่งผลให้หนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้น ซึ่งสัญญาซื้อขายเงินตราล่วงหน้าขึ้นกับยอดขายสินค้าในหนึ่งหรือสองเดือนข้างหน้า
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจึงมีไม่มาก การปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวและทุนสำรองระดับสูงช่วยปกป้องการโจมตีค่าเงินเหมือนที่เกิดขึ้นในปี 2540 อย่างไรก็ตาม หนี้ต่างประเทศระยะสั้นยังคงเพิ่มขึ้นแม้การค้าต่างประเทศชะลอ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเกิดความไม่สมดุลมากขึ้นและเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงิน
หนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้นไม่ส่งผลทางลบตราบใดที่ไม่นำไปใช้ให้กู้ยืมระยะยาว เหมือนที่เกิดขึ้นในปี 2540 เมื่อธุรกิจไทยกู้เงินตราต่างประเทศ แต่ไม่สามารถชำระคืนได้เมื่อค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ส่งผลให้ภาคธุรกิจล้มละลาย ขณะที่ ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งกู้ยืมเงินตราต่างประเทศระยะสั้น ไม่สามารถชำระคืนได้ ทำให้ส่งผลกระทบต่อฐานะธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย
รัฐบาลต้องดำเนินนโยบายที่รอบคอบ
นโยบายการคลังเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเติบโตระยะยาว แต่การใช้จ่ายของรัฐบาลที่ผ่านมาไม่ชัดเจน การใช้จ่ายเพื่อโครงสร้างพื้นฐานส่วนมากมีประโยชน์ในระยะยาว แต่การเอาใจเกษตรกรในนโยบายรับจำนำข้าวใช้เงินถึง 4.4 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 1.3 แสนล้านบาท เป็นมีประโยชน์ไม่มากนักในระยะยาว
เสถียรภาพทางการเมืองยังเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะประเทศไทยในอดีตที่เผชิญกับการรัฐประหารและความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง หากสามารถลดความไม่แน่นอนทางการเมืองและดำเนินนโยบายทางการคลังที่ยั่งยืนได้ ประเทศไทยอาจผลักดันตัวเองออกจากประเทศตลาดเกิดใหม่อื่นๆ และดึงดูดเม็ดเงินจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ยกระดับไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง
การต่อต้านเรื่องร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ที่มีเป้าหมายเพื่อลบล้างความผิดให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะส่งผลให้การเมืองไทยยังมีความเสี่ยงในระยะต่อไป
ผลกระทบจากเศรษฐกิจจีนชะลอตัว
เศรษฐกิจจีนเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตเศรษฐกิจโลกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าจีดีพีของจีนชะลอตัวและมีความเสี่ยงชะลอลงอีกระหว่างช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ผลของการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนต่อเศรษฐกิจไทย หากใช้ตัวแบบการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของจีดีพีในอดีตระหว่างไทย จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐ ซึ่งมีผลต่ออุตสาหกรรมหลักของไทยนั้น แสดงให้เห็นว่าการชะลอตัวของประเทศเศรษฐกิจใหญ่ส่งผลกระทบต่อจีดีพีของไทย
ภายใต้สมมติฐาน หากเศรษฐกิจจีนร่วงลงสู่ระดับ 5.1% หรือลดลงประมาณ 2.5% จากระดับที่ประมาณการไว้ จะกระทบต่อจีดีพีของญี่ปุ่น 0.2% และกระทบเศรษฐกิจสหรัฐ 0.5% สิ่งนี้มีความหมายสำหรับเศรษฐกิจไทย เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำหรับสินค้าพื้นฐาน และสหรัฐเป็นตลาดส่งออกสำหรับสินค้าเพื่อผู้บริโภคโดยตรง
เศรษฐกิจญี่ปุ่นและสหรัฐชะลอตัว ส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมไทยเกือบทั้งหมด โดยภาคผลิตจะลดลง 1.8% ซึ่งทั้งหมดเป็นผู้ส่งออก และจะส่งผลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยภาพรวม
สำหรับเศรษฐกิจภายในประเทศได้รับผลกระทบน้อยกว่า แต่ก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย เนื่องจากรายได้ส่งออกลดลง การบริโภคและความเชื่อมั่นทางธุรกิจจะชะลอการจับจ่ายใช้สอย
อย่างไรก็ตาม ภาคก่อสร้างชะลอตัวมากกว่าภาคธุรกิจอื่น เนื่องจากการตัดสินใจลงทุนในเศรษฐกิจพึ่งพาส่งออกขึ้นกับการค้าและความเชื่อมั่นธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/finance/20130810/522613/%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2!%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%81.%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C.html