นักวิชาการ ชี้นโยบายรถคันแรก ทำรัฐขาดทุนสูงถึง 2.8 หมื่นล้าน คาดส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในอนาคต
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2557 นายภาวิน ศิริประภานุกูล นักวิชาการ โครงการส่งเสริมการจัดตั้งสำนักงบประมาณประจำรัฐสภา หรือ Thai PBO กล่าวถึงผลการวิเคราะห์ผลกระทบทางการคลังของนโยบายรถใหม่คันแรก ว่า นโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายที่ได้รับความนิยมจากคนไทยจำนวนมาก และจากการวิเคราะห์ตั้งแต่เริ่มโครงการปี 2555 จนส่งมอบต่อเนื่องในปี 2556 พบว่า มีรถยนต์จดทะเบียนใหม่สูงขึ้นอย่างชัดเจน แต่ลดลงถึง 36% ในปีงบประมาณ 2557 ทำให้คาดว่าการจัดเก็บภาษีสรรสามิตรถยนต์ลดลง 7,000 ล้านบาทด้วย และลดลงอีก 7,000 ล้านบาทอย่างต่อเนื่อง จนถึงปีงบประมาณ 2558
ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ผลการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กลับไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เช่นเดียวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งผลกระทบของโครงการนี้ต่อการจัดเก็บรายได้สรรพสามิตรถยนต์ของรัฐบาลสร้างความแตกต่างจากตัวเลขประมาณการในเอกสารงบประมาณของรัฐบาลค่อนข้างชัดเจน โดยตามผลวิเคราะห์ของ Thai PBO พบว่า มูลค่าการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรวมในปีงบประมาณ 2557 ปรับเพิ่ม 3.5% เมื่อเทียบกับปี 2556 แต่ตัวเลขในเอกสารงบประมาณของรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 7.2%
และเมื่อวิเคราะห์ในเรื่องการคืนภาษีสรรพสามิตในโครงการดังกล่าว ยังพบอีกว่า โครงการดังกล่าวทำให้รัฐบาลขาดทุนสุทธิประมาณ 28,000 ล้านบาท แม้ กรมสรรพสามิต จะมีรายได้จากการเก็บภาษีรถยนต์เพิ่ม 54,000 ล้านบาท แต่รัฐบาลยังมีรายจ่ายที่ต้องตั้งงบคืนภาษีถึง 82,000 หมื่นล้านบาท ซึ่งจากการประเมินในภาพรวม คาดว่า ต้นทุนสุทธิของโครงการน่าจะอยู่ที่ประมาณ 20,000-30,000 ล้านบาท
credit .
http://money.kapook.com/view88055.html
เจ๊งไม่เป็นท่า ! นโยบายรถคันแรก ทำรัฐขาดทุน 2.8 หมื่นล้าน
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2557 นายภาวิน ศิริประภานุกูล นักวิชาการ โครงการส่งเสริมการจัดตั้งสำนักงบประมาณประจำรัฐสภา หรือ Thai PBO กล่าวถึงผลการวิเคราะห์ผลกระทบทางการคลังของนโยบายรถใหม่คันแรก ว่า นโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายที่ได้รับความนิยมจากคนไทยจำนวนมาก และจากการวิเคราะห์ตั้งแต่เริ่มโครงการปี 2555 จนส่งมอบต่อเนื่องในปี 2556 พบว่า มีรถยนต์จดทะเบียนใหม่สูงขึ้นอย่างชัดเจน แต่ลดลงถึง 36% ในปีงบประมาณ 2557 ทำให้คาดว่าการจัดเก็บภาษีสรรสามิตรถยนต์ลดลง 7,000 ล้านบาทด้วย และลดลงอีก 7,000 ล้านบาทอย่างต่อเนื่อง จนถึงปีงบประมาณ 2558
ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ผลการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กลับไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เช่นเดียวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งผลกระทบของโครงการนี้ต่อการจัดเก็บรายได้สรรพสามิตรถยนต์ของรัฐบาลสร้างความแตกต่างจากตัวเลขประมาณการในเอกสารงบประมาณของรัฐบาลค่อนข้างชัดเจน โดยตามผลวิเคราะห์ของ Thai PBO พบว่า มูลค่าการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรวมในปีงบประมาณ 2557 ปรับเพิ่ม 3.5% เมื่อเทียบกับปี 2556 แต่ตัวเลขในเอกสารงบประมาณของรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 7.2%
และเมื่อวิเคราะห์ในเรื่องการคืนภาษีสรรพสามิตในโครงการดังกล่าว ยังพบอีกว่า โครงการดังกล่าวทำให้รัฐบาลขาดทุนสุทธิประมาณ 28,000 ล้านบาท แม้ กรมสรรพสามิต จะมีรายได้จากการเก็บภาษีรถยนต์เพิ่ม 54,000 ล้านบาท แต่รัฐบาลยังมีรายจ่ายที่ต้องตั้งงบคืนภาษีถึง 82,000 หมื่นล้านบาท ซึ่งจากการประเมินในภาพรวม คาดว่า ต้นทุนสุทธิของโครงการน่าจะอยู่ที่ประมาณ 20,000-30,000 ล้านบาท
credit . http://money.kapook.com/view88055.html