-ไปกอปชาวบ้านมาอีกที-
อิทัปปัจจยตามองว่าโลกเป็นเพียงการไหลต่อเนื่องของเหตุและผล (cause-effect) โลกไม่มีซ้าย ไม่มีขวา ไม่มีบุญ ไม่มีบาป ไม่มีความดี ไม่มีความชั่ว ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ ไม่มีแพ้ ไม่มีชนะ ไม่มีได้ ไม่มีเสีย ไม่มีเทวดา ไม่มีสัตว์นรก ไม่มีอะไรมีอยู่จริงหรือไม่มีอยู่จริง การมีหรือไม่มีถือเป็นทิฏฐิทั้งคู่ ทั้งนี้เพราะสรรพสิ่งเป็นปัจจัยต่อเนื่องกัน เหตุทำให้เกิดผล ผลนั้นทำให้เกิดเหตุ ซึ่งทำให้เกิดผลและเหตุต่อไปไม่สิ้นสุด การไปหลงติดกับความเป็นคู่เป็นความเขลาอย่างหนึ่งเพราะมันเป็นสิ่งสมมุติ ทั้งสิ้น
หากใช้คำของพุทธทาสภิกขุที่เขียนไว้ในหนังสือ อิทัปปัจจยตา ก็คือ "[หลักอิทัปปัจจยตา] มุ่งที่จะขจัดความเห็นผิดสำคัญผิดว่ามีตัวตน สัตว์บุคคล ตามที่คนเรารู้สึกกันได้เองตามสัญชาตญาณ หรือที่ยิ่งไปว่านั้นอีกก็คือ มุ่งแสดงให้เห็นว่า ไม่มีดี ไม่มีชั่ว ไม่มีบุญ ไม่มีบาป ไม่มีการได้ ไม่มีการเสีย และอื่นๆ ที่เป็นคู่ตรงกันข้าม เพราะนั่นมนุษย์บัญญัติขึ้นเอง ตามความรู้สึกของมนุษย์ โดยที่แท้แล้ว ทั้งหมดทุกๆ คู่ ล้วนเป็นเพียงกระแสแห่งอิทัปปัจจยตาเสมอกันหมด"
พูดง่ายๆ คือ สิ่งต่างๆ ในโลกมนุษย์นี้เป็นเพียงสิ่งที่เราสมมุติขึ้นมาเอง
บางคนอาจแย้งว่า ถ้ามนุษย์เห็นว่าโลกนี้ไม่มีบุญ ไม่มีบาป จะมิพากันทำความชั่วทั้งหมดหรือ นี่เป็นการจับความไม่ครบเหมือนตาบอดคลำช้าง 'ไม่มีบุญ ไม่มีบาป' บอกเราว่า ระวังอย่าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งสมมุติ มิได้แปลว่าคุณต้องไปสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น เพราะอิทัปปัจจยตาคือการไหลต่อเนื่องของเหตุและผล (cause-effect) ทุกการกระทำ (action) ย่อมมีผลต่อเนื่อง (consequence) เสมอ และหลายผลต่อเนื่องที่ตามมาก็คือ 'กรรมตามสนอง' นั่นเอง
อิทัปปัจจยตา แสดงให้เราเข้าใจในธรรมะ แบบไหนครับ
อิทัปปัจจยตามองว่าโลกเป็นเพียงการไหลต่อเนื่องของเหตุและผล (cause-effect) โลกไม่มีซ้าย ไม่มีขวา ไม่มีบุญ ไม่มีบาป ไม่มีความดี ไม่มีความชั่ว ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ ไม่มีแพ้ ไม่มีชนะ ไม่มีได้ ไม่มีเสีย ไม่มีเทวดา ไม่มีสัตว์นรก ไม่มีอะไรมีอยู่จริงหรือไม่มีอยู่จริง การมีหรือไม่มีถือเป็นทิฏฐิทั้งคู่ ทั้งนี้เพราะสรรพสิ่งเป็นปัจจัยต่อเนื่องกัน เหตุทำให้เกิดผล ผลนั้นทำให้เกิดเหตุ ซึ่งทำให้เกิดผลและเหตุต่อไปไม่สิ้นสุด การไปหลงติดกับความเป็นคู่เป็นความเขลาอย่างหนึ่งเพราะมันเป็นสิ่งสมมุติ ทั้งสิ้น
หากใช้คำของพุทธทาสภิกขุที่เขียนไว้ในหนังสือ อิทัปปัจจยตา ก็คือ "[หลักอิทัปปัจจยตา] มุ่งที่จะขจัดความเห็นผิดสำคัญผิดว่ามีตัวตน สัตว์บุคคล ตามที่คนเรารู้สึกกันได้เองตามสัญชาตญาณ หรือที่ยิ่งไปว่านั้นอีกก็คือ มุ่งแสดงให้เห็นว่า ไม่มีดี ไม่มีชั่ว ไม่มีบุญ ไม่มีบาป ไม่มีการได้ ไม่มีการเสีย และอื่นๆ ที่เป็นคู่ตรงกันข้าม เพราะนั่นมนุษย์บัญญัติขึ้นเอง ตามความรู้สึกของมนุษย์ โดยที่แท้แล้ว ทั้งหมดทุกๆ คู่ ล้วนเป็นเพียงกระแสแห่งอิทัปปัจจยตาเสมอกันหมด"
พูดง่ายๆ คือ สิ่งต่างๆ ในโลกมนุษย์นี้เป็นเพียงสิ่งที่เราสมมุติขึ้นมาเอง
บางคนอาจแย้งว่า ถ้ามนุษย์เห็นว่าโลกนี้ไม่มีบุญ ไม่มีบาป จะมิพากันทำความชั่วทั้งหมดหรือ นี่เป็นการจับความไม่ครบเหมือนตาบอดคลำช้าง 'ไม่มีบุญ ไม่มีบาป' บอกเราว่า ระวังอย่าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งสมมุติ มิได้แปลว่าคุณต้องไปสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น เพราะอิทัปปัจจยตาคือการไหลต่อเนื่องของเหตุและผล (cause-effect) ทุกการกระทำ (action) ย่อมมีผลต่อเนื่อง (consequence) เสมอ และหลายผลต่อเนื่องที่ตามมาก็คือ 'กรรมตามสนอง' นั่นเอง