ปวดท้องประจำเดือน เรื่องประจำที่อย่าละเลย

กระทู้สนทนา
ปวดท้องประจำเดือน(Dysmenorrhea) เรื่องประจำที่อย่าละเลย
ปวดท้องประจำเดือน (痛经)
      อาการปวดท้องน้อยในผู้หญิงช่วงที่มีรอบเดือนหรือก่อน – หลัง ของการมีรอบเดือน อาจจะปวดถึงบริเวณกระเบนเหน็บ ถ้าปวดมากอาจจะเป็นลมได้ โดยอาการที่ปวดสืบเนื่องจากขณะที่มีประจำเดือนนั้น มดลูกจะมีการบีบตัวเพื่อไล่เลือดประจำเดือนออกมา ซึ่งในระหว่างนั้นเองผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีเลือดบางส่วนไหลย้อนกลับเข้าไปยังมดลูก ซึ่งเลือดนี้จะไหลไปตามปีกมดลูกและเข้าไปในรังไข่ที่มีขนาดเล็กมาก พอเข้าไปแล้วก็จะไม่ยอมไหลออกมา จนเกิดการสะสมทุกช่วงที่มีประจำเดือน พร้อมทั้งมีการผลิตฮอร์โมนของร่างกายออกมาตามปกติ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องมากขึ้นหากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นซ้ำๆบ่อยๆ ถือเป็นสัญญาณที่ผิดปกติควรทำการรักษา หากละเลยอาจจะเกิดโรคร้ายแรงตามมาอย่างเช่น มะเร็ง ช็อกโกแลตซีสต์ เป็นต้น (ส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นมา)
สาเหตุและกลไกการเกิดโรค ตามทรรศนะแพทย์แผนจีน
    1.ชี่ไตพร่อง(肾气亏损) ชี่ไตไม่พอตั้งแต่กำเนิด หรือมีเพศสัมพันธ์มากเกินไป หรือคลอดบุตรหลายครั้ง หรือป่วยเป็นระยะเวลานานๆ ชี่ไตถูกทำลาย ชี่ไตพร่องทำให้จิงและเลือดลดน้อยลง เส้นลมปราณชงเริ่นไม่อยู่ในสมดุลเมื่อมีรอบเดือน มดลูกจึงได้รับการหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ “หล่อเลี้ยงไม่เพียงพอทำให้เกิดการปวด” จึงปวดประจำเดือน
    2.ชี่และเลือดพร่อง (气血虚弱) ร่างกายอ่อนแอ หรือป่วยเป็นระยะเวลานานๆ จะทำลายชี่และเลือดหรือม้ามและกระเพาะอาหารพร่อง การย่อยดูดซึมสารอาหารไม่ดี สร้างชี่และเลือดได้น้อยลง เมื่อมีรอบเดือนเส้นลมปราณชงเริ่น ชี่และเลือดยิ่งพร่องเพิ่มมากขึ้น “หล่อเลี้ยงไม่เพียงพอทำให้เกิดการปวด” จึงปวดประจำเดือน
    3.ชี่ติดขัดเกิดเลือดคั่ง (气滞血瘀) อารมณ์สับสนโกรธ ทำลายตับ ชี่ตับติดขัด เมื่อชี่ตับติดขัดทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดีจึงเกิดเลือดคั่ง ติดขัดที่เส้นลมปราณชงเริ่น เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ก่อนรอบเดือนหรือช่วงรอบเดือนเลือดจะไหลเวียนไปที่เส้นลมปราณชงเริ่น ทำให้การไหลเวียนของเลือดที่มดลูกติดขัดเพิ่มมากขึ้น “ติดขัดทำให้ปวด” จึงปวดประจำเดือน
    4.ความหนาวเย็นเกิดเลือดคั่ง(寒凝血瘀) ก่อนมีรอบเดือนได้รับความหนาวเย็น หรือทานอาหารที่เย็นความเย็นจะไปอุดกั้นที่เส้นลมปราณชงเริ่น ทำให้เลือดจับตัวกันเป็นก้อนไหลเวียนไม่สะดวก ก่อนรอบเดือนเลือดจะไหลเวียนไปที่เส้นลมปราณชงเริ่น ทำให้การไหลเวียนของเลือดที่มดลูกติดขัดเพิ่มขึ้น “ติดขัดทำให้ปวด” จึงปวดประจำเดือน
    5.ความร้อนชื้นสะสมอยู่ภายใน(温热蕴结) ช่วงรอบเดือนได้รับความร้อนชื้น ความร้อนชื้นสะสมอยู่ภายในเส้นลมปราณชงเริ่นและมดลูก  เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ก่อนรอบเดือนหรือช่วงรอบเดือนเลือดจะไหลเวียนไปที่เส้นลมปราณชงเริ่น ทำให้การไหลเวียนของเลือดที่มดลูกติดขัดเพิ่มขึ้น “ติดขัดทำให้ปวด” จึงปวดประจำเดือน
การวินิจฉัยกลุ่มของอาการของโรค
    สยามแพทย์ทางเลือกคลินิก จะทำการรักษาโรคโดยแยกอาการตามกลุ่มอาการของโรค โดยใช้การทานยาสมุนไพร  ฝังเข็ม  และการกดจุดนวดคลาย อาการปวดตามแต่ละกลุ่มอาการ
    1.กลุ่มอาการชี่ไตพร่อง(肾气亏损)  อาการหลัก มีอาการปวดบริเวณท้องน้อยในช่วงก่อนรอบเดือน หรือช่วงรอบเดือน ปวดน้อยๆ ในระดับที่ทนได้ หากกดคลึงบริเวณที่ปวดจะรู้สึกดีขึ้น ประจำเดือนมีปริมาณน้อย สีซีด เวียนศีรษะ หูอื้อๆ เมื่อยบริเวณเอวและขา ปัสสาวะใสปริมาณมาก
    2.กลุ่มอาการชี่ติดขัดเลือดคั่ง(气血虚弱)  อาการหลัก มีอาการปวดบริเวณท้องน้อยในช่วงรอบเดือนหรือช่วงหลังรอบเดือน ปวดน้อยๆในระดับที่ทนได้ชอบกดคลึงบริเวณที่ปวดจะรู้สึกดีขึ้น ประจำเดือนมีปริมาณน้อย สีซีด อ่อนเพลียไม่มีแรง ใจสั่นเวียนศีรษะ นอนไม่หลับ ฝันมาก สีหน้าขาวซีด
    3.กลุ่มอาการชี่ติดขัดเลือดคั่ง(气滞血瘀) อาการหลัก มีอาการปวดบริเวณท้องน้อยในช่วงก่อนรอบเดือนหรือช่วงรอบเดือน ไม่ชอบให้กดบริเวณที่ปวดรู้สึกแน่นหน้าอกและชายโครง คัดเต้านม ประจำเดือนมาไม่คล่อง สีคล้ำและมีลิ่มเลือด เมื่อมีลิ่มเลือดออกมาพร้อมกับประจำเดือนจะทำให้อาการปวดดีขึ้น
    4.กลุ่มอาการความเย็นสะสมและเลือดคั่ง(寒凝血瘀) อาการหลัก มีอาการปวดเย็นๆ บริเวณท้องน้อยในช่วงก่อนรอบเดือนหรือช่วงรอบเดือน ไม่ชอบให้กดบริเวณที่ปวด เมื่อได้รับความร้อนอาการปวดจะทุเลาลง ประจำเดือนมีปริมาณน้อย สีเข้มมีลิ่มเลือด แขนขาเย็น สีหน้าขาวหรือออกเขียว
    5.กลุ่มอาการความร้อนชื้นสะสม(温热蕴结)  อาการหลัก มีอาการปวดร้อนบริเวณท้องน้อยในช่วงก่อนรอบเดือนหรือช่วงรอบเดือน ไม่ชอบให้กดบริเวณที่ปวด ปวดตั้งแต่เอว ถึงกระเบนเหน็บ ในเวลาปกติทั่วไปจะปวดบริเวณท้องน้อย แต่เมื่อถึงก่อนรอบเดือนอาการปวดจะเพิ่มมากขึ้น ประจำเดือนมีปริมาณมากหรือมานานกว่าปกติ ประจำเดือนสีแดงเข้ม ข้นเป็นก้อนหรือมีลิ่มเลือด ตามปกติจะมีตกขาวเป็นจำนวนมาก สีเหลืองข้นมีกลิ่นเหม็น หรืออาจมีไข้ตัวร้อนต่ำๆ ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม
การบำบัดรักษาทางแพทย์จีนของ Siam TCM Clinic
1.การทานยาสมุนไพรจีนที่มีความปลอดภัยและไม่มีสารตกค้าง ตามแต่ละกลุ่มอาการที่ผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์จีน
2.การฝังเข็ม ตามแต่ละกลุ่มอาการ เพื่อบำบัดรักษาอาการปวดประจำเดือน โดยมีการฝังเข็มตามจุดเส้นลมปราณ เช่น
    - จุดซานอินเจียว (ตำแหน่งอยู่เหนือตาตุ่มด้านในขึ้นมาข้างขาประมาณ 3 นิ้ว)
    - จุดชี่ไห่(ตำแหน่งใต้สะดือ 1.5 นิ้ว), จุดกวนหยวน(ตำแหน่งใต้สะดือ 3 นิ้ว)
         - และจุดอื่นๆ ตามเส้นลมปราณที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการนั้นๆ
3.การนวดกดจุด นวดคลายอาการปวด นวดบริเวณท้องน้อย หรือนวดกดจุดตามจุดฝังเข็มดังที่กล่าวมา (อาทิ ซานอินเจียว ชี่ไห่ กวนหยวน)

เคล็ด(ไม่)ลับ ในเรื่องของประจำเดือน
1.ก่อนประจำเดือนมา 7 วัน ช่วงที่มีประจำเดือนและหลังมีประจำเดือนมา 7 วัน ควรทานน้ำอุ่น งดของเย็นๆทั้งหลาย
2.ก่อนประจำเดือนมา 7 วัน ช่วงที่มีประจำเดือนและหลังมีประจำเดือนมา 7 วัน ไม่ควรสระผมด้วยน้ำเย็น ให้ใช้น้ำอุ่นสระผม หลังสระผมเสร็จต้องเป่าให้แห้ง
3. ดื่มน้ำขิงอุ่นวันละประมาณ 1 แก้ว
4. เอากระเป๋าน้ำร้อนประคบช่วงท้องก่อนนอน หรือเมื่อมีอาการปวดประจำเดือน
5.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ (ไม่นอนดึก)

ก็ลองพิจารณาดูนะครับว่า ที่เราพบเจอทุกวันนั้นจะมีสาเหตุจากอะไรบ้าง หากปวดมากขึ้นหรือเป็นทุกๆ เดือนควรปรึกษาคุณหมอเอาไว้ก่อน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่