ครอบแก้ว คืออะไร
ครอบ แก้ว คือ วิธีการรักษาตำรับแพทย์แผนจีนโบราณซึ่งใช้แก้วครอบลงบนผิว จากนั้น จึงลดความดันภายใน โดยการใช้ความร้อนหรือการดูดอากาศออก จนผิวหนังและกล้ามเนื้อถูกดูดเข้าไปในแก้ว อาจมีการใช้น้ำมันสมุนไพรทาผิวหนังก่อน เพื่อให้การเคลื่อนแก้วเป็นไปโดยง่ายขึ้น แก้วอาจถูกครอบนานประมาณ ๕-๑๕นาที จากนั้นผิวหนังจะแดง เมื่อเอาแก้วที่ครอบออกแล้วผิวจะแดงช้ำ นั่นหมายความว่าเลือดคั่งอย่างจงใจเพื่อการรักษาโรค และแม้ว่าผิวหนังบริเวณที่ถูกครอบแก้วจะมีสีน่ากลัว แต่ก็ไม่ได้เจ็บอย่างที่เห็น เนื่องจากผิวของคนไข้หลายคนช้ำง่ายอยู่แล้ว และแก้วที่ครอบก็อาจปรับให้เหมาะกับคนไข้ได้ สิ่งสำคัญก็คือคุณควรบอกกับแพทย์ หากรู้สึกเจ็บปวดจริง ๆ
ชนิดของขวด หรือกระบอกที่ใช้ครอบแก้วมีอยู่มากมาย ในปัจจุบันที่ใช้กันบ่อย ๆ มีอยู่สามชนิด ได้แก่ ไม้ไผ่ กระเบื้อง และแก้ว ซึ่งมีคุณสมบัติต่างกันไป อย่างเช่น ไม้ไผ่ ถึงแม้จะถูกแต่ก็มีแรงดูดไม่พอ ร้าว และรั่วง่าย ส่วนกระเบื้องนั้นมีแรงดูดดี ปากเรียบ ไม่คม แต่ตกแตกง่าย จนถึงขวดแบบแก้วที่มีลักษณะคล้ายลูกบอล มีข้อดีก็คือ แก้วใสจึงสามารถสังเกตผิวหนังเวลาครอบได้ชัดเจน ส่วนข้อเสียก็คือแตกง่าย
อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วว่า การครอบแก้วจะใช้ความร้อนเพื่อลดแรงดันภายในขวดแก้ว (หรือขวดอื่น ๆ) และก็มีหลายวิธีเช่นกันในการให้ความร้อน เช่น ส่านหั่น หรือการจุดไฟเผาลำสีแอลกอฮอล์แล้วนำเข้าไปวนในกระบอกแก้วก่อนครอบ ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างปลอดภัย เช่นเดียวกับวิธีการต้มด้วยน้ำ ซึ่งจะทำกับกระบอกไม้ไผ่ แต่หากเป็นวิธีอื่น ๆ แล้วภายในขวดแก้วที่ครอบอาจมีเปลวไฟอยู่ด้วยซ้ำ จึงต้องระมัดระวังอย่างมาก ไม่ให้ลวกหรือโดนผิวหนัง และคุณก็ไม่ควรลองครอบแก้วด้วยตนเองที่บ้านเด็ดขาดด้วย
ครอบแก้วทำอย่างไร?
ในการรักษาโดยการครอบแก้ว แพทย์จะเป็นผู้กำหนดว่า จะใช้วิธีใดจึงจะเหมาะ ซึ่งอาจยกตัวอย่างการครอบแก้วได้ดังนี้ :
๑.โจ่วก้วน
หรือเรียกอีกอย่างว่าทุยก้วน เป็นการครอบแก้วแบบเคลื่อนไหว คือจะใช้วาสลีน หรือน้ำมันหล่อลื่นทาลงไปบนตำแหน่งที่จะทำการครอบแก้ว หรือทาไว้ที่ปากกระบอก จากนั้น จึงนำแก้วครอบลงไปแล้วเคลื่อนไปยังตำแหน่งขึ้น-ลง หรือซ้าย-ขวา ตามที่ต้องการจนกว่าผิวหนังจะแดงจากการที่เลือดคั่ง จึงเอากระบอกแก้วออก มักใช้กับเนื้อที่ขนาดใหญ่และมีกล้ามเนื้อมาก เช่น แผ่นหลัง เอว ก้น ต้นขา เพื่อรักษาโรคปวดจากลมและความชื้น รวดทั้งอาการชาด้วย
๒.ส่านก้วน
คือการครอบแก้วแบบดึงเร็ว หลังจากครอบแก้วเสร็จแล้วจะต้องรีบดึงเอาแก้วออก และทำเช่นนี้ซ้ำ ๆ หลายครั้งจนกว่าผิวหนังบริเวณดังกล่าว จะเปลี่ยนเป็นสีแดงคือ มีภาวะเลือดคั่งแล้วจึงหยุด ส่วนมากใช้รักษาผู้ป่วย ที่มีอาการปวดและชาที่ผิวหนังหรือสมรรถภาพเสื่อมถอย
๓.ชื่อเซียวะเป๋าก้วน
เป็นการครอบแก้วที่ประสานกับการใช้เข็มเพื่อแทงสะกิดเลือด หลังจากการฆ่าเชื้อตำแหน่งที่ต้องการทำการครอบแก้วแล้ว จะมีการใช้เข็มซานหลิงจิ้มให้เลือดออก หรือใช้เข็มดอกเหมยเคาะตี หลังจากนั้น จึงครอบแก้วลงไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษา ส่วนมากใช้รักษาโรคไฟลามทุ่ง ฝีหนอง ที่เต้านม หรือเคล็ดขัดยอก เป็นต้น
๔.หลิวเจินป๋าก้วน
คือการครอบแก้วที่ใช้คู่กับการฝังเข็ม เรียกง่าย ๆ ว่า เจินก้วน วิธีการรักษานี้ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการฝังเข็ม และการครอบแก้วควบคู่กัน คือ หลังจากปักเข็มลงไปแล้ว จากนั้น จึงนำแก้ว ครอบลงไปโดยมีเข็มที่ปักอยู่เป็นจุดศูนย์กลาง ประมาณ ๕-๑๐ นาที รอจนผิวเป็นสีแดงหรือมีเลือดคั่งจึงเอาแก้วและเข็มออกสีผิวสะท้อนอาการ
สุขภาพและสะท้อนถึงของเสียสารพิษร่างกายดึงดูดออกมาเกาะติดอยู่กับผิวหนัง หลังวางถ้วยดูดทิ้งระยะเวลาสักพักหลีกเลี่ยงไม่พ้นจะมีสีผิวเกิดขึ้นภายในบริเวณถ้วยดูดบนผิวหนัง นอกจากสะท้อนถึงของเสียสารพิษในร่างกายได้ถูกขจัดออกจากอวัยวะภายใน แล้วมาเกาะติดอยู่กับผิวหนัง ยังได้สะท้อนถึงอาการผิดปกติของอวัยวะภายในร่างกาย และการปฏิบัติหน้าที่งานบกพร่องของลมปราณ เช่น
สีขาว - ผิวสีขาวสัมผัสแล้วรู้สึกเย็น สะท้อนถึงอาการพร่องของลมปราณและเลือดที่หล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ
สีแดง - สะท้อนถึงการไหลเวียนผิดระเบียบของเลือดลม อิน(หยิน)พร่อง หยางสูง ความร้อนพุ่งสูงทำให้เกิดอาการ
ปวดหัวตัวร้อน เป็นต้น
สีแดงอ่อนควบสีเหลือง - สะท้อนถึงความชื้นเกาะติด หรืออาจกระทบกระเทือนจากความเย็น และความร้อนภายนอก
สีม่วงและมีรอยของสีเทา - สะท้อนถึงมีความหนาวเย็น และมีลิ่มเลือดเกาะติด
ผิวสีเป็นสีม่วงเข้มอ่อนกระจาย - สะท้อนถึงลมปราณติดขัด และมีลิ่มเลือดเกาะติดบางส่วน
สีดำคล้ำ - สะท้อนถึงลิ่มเลือดเกาะติด เลือดลมไหลเวียนติดขัด ปวดประจำเดือนหรือเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ
ของเสียสารพิษต่างๆ ที่ถูกดึงดูดออกมาเกาะติดอยู่ตามผิวหนัง บางส่วนจะถูกขับออกโดยทางผิวหนังออกเป็นเหงื่อ บางส่วนจะถูกขับออกไหลเวียนไปตามเลือดลมที่ไหลเวียนในระบบหลอดเลือดออกทางปัสสาวะและอุจจาระ ถ้าหากทำการดูดบำบัดต่อเนื่องของเสียสารพิษ ทยอยถูกขจัดถูกสลาย ผิวสีต่างๆ ก็จะทยอยจางหายปรับกลมกลืนดั่งผิวสีปกติ สอดคล้องกับสุขภาพร่างกายที่ถูกปรับปรุงแข็งแรงดีขึ้น แต่ถ้าหากเป็นสีม่วงคล้ำหรือสีดำคล้ำหลังทำการดูดต่อเนื่องหลายวัน ผิวสียังไม่ถูกปรับปรุงดีขึ้นสะท้อนถึงบริเวณดังกล่าวลิ่มเลือดที่เกาะติดมาและเกาะลึก จำเป็นต้องใช้เข็มเฉพาะเคาะตีบริเวณผิวหนังดังกล่าว และทยอยดูดเอาลิ่มเลือดออก (กรณีพิเศษของผู้ป่วยบางรายที่มีอาการบวม วางถ้วยดูดที่จุดลมปราณที่มีอาการเจ็บปวดต่อเนื่องหลายวันไม่สะท้อนออกเป็นสีม่วงคล้ำหรือดำคล้ำ แต่สะท้อนออกเป็นสีผิวขาวหรือสีแดงอ่อนสัมผัสกดนวดถูกยังรู้สึกเจ็บปวดมาก เป็นอาการอีกรูปแบบหนึ่งที่สะท้อนถึงมีความชื้นและลิ่มเลือดเกาะติด)
หมายเหตุ กรณีของผู้ป่วยที่มีสีผิวหรือบริเวณสะท้อนออกมีลิ่มเลือดเกาะติด ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำการวินิจฉัยและกำจัดลิ่มเลือดออกให้
(อ้างอิงจาก 'การรักษาโรคด้วยวิธีการครอบแก้ว' คลินิกหัวเฉียวไทย-จีน แพทย์แผนไทย มูลนิธป่อเต็กตึ้ง)
ครอบแก้วรักษาอะไรได้บ้าง
ปัจจุบันมักใช้การครอบแก้วเพื่อบรรเทาอาการปวด แต่ก็สามารถรักษาอาการเจ็บป่วยอื่นได้เช่นกัน อย่างเช่น โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะไอเรื้อรัง หรือหอบ และอัมพฤกษ์หรืออัมพาต นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าความร้อนจากถ้วยที่ไปกระตุ้นพลังงานชิ (Qi) จะทำให้จิตใจของผู้ป่วยรู้สึกเหมือนได้รับการเยียวยา จึงอาจเป็นอีกหนทางหนึ่งในการรักษาโรคซึมเศร้า
แต่ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีไข้ขึ้นสูง เป็นหวัด มีอาการชักมีเนื้องอกหรือมีแนวโน้มว่าจะมี จะถูกห้ามไม่ให้รักษาด้วยวิธีการนี้โดยเด็ดขาด เช่นเดียวกับหญิงที่ตั้งครรภ์สามเดือนแรก (หลังจากนั้นก็ห้ามไม่ให้ใช้การครอบแก้วบริเวณครรภ์ หรือบริเวณหลังเอว และกระเบนเหน็บเด็ดขาด)
ที่มาจาก
หนังสือลิซ่า
ตอนแรกที่ทำรู้สึกเจ็บมา แต่พอทำไปซัก 5 นาที่จะรู้สึกสะบายและผ่อนคลาย ถึงขนาดหลับได้เลย
แผลไม่ได้เป็นแผลเป็น 3-4 วันหายค่ะ ไม่น่าเชื่อว่าจะหายเร็วขนาดนี้ แพทย์บอกว่า ระยะในการหาย
ขึ้นอยู่กับ พิษในตัวของคนด้วย
ครอบแก้ว ล้างพิษ
ครอบ แก้ว คือ วิธีการรักษาตำรับแพทย์แผนจีนโบราณซึ่งใช้แก้วครอบลงบนผิว จากนั้น จึงลดความดันภายใน โดยการใช้ความร้อนหรือการดูดอากาศออก จนผิวหนังและกล้ามเนื้อถูกดูดเข้าไปในแก้ว อาจมีการใช้น้ำมันสมุนไพรทาผิวหนังก่อน เพื่อให้การเคลื่อนแก้วเป็นไปโดยง่ายขึ้น แก้วอาจถูกครอบนานประมาณ ๕-๑๕นาที จากนั้นผิวหนังจะแดง เมื่อเอาแก้วที่ครอบออกแล้วผิวจะแดงช้ำ นั่นหมายความว่าเลือดคั่งอย่างจงใจเพื่อการรักษาโรค และแม้ว่าผิวหนังบริเวณที่ถูกครอบแก้วจะมีสีน่ากลัว แต่ก็ไม่ได้เจ็บอย่างที่เห็น เนื่องจากผิวของคนไข้หลายคนช้ำง่ายอยู่แล้ว และแก้วที่ครอบก็อาจปรับให้เหมาะกับคนไข้ได้ สิ่งสำคัญก็คือคุณควรบอกกับแพทย์ หากรู้สึกเจ็บปวดจริง ๆ
ชนิดของขวด หรือกระบอกที่ใช้ครอบแก้วมีอยู่มากมาย ในปัจจุบันที่ใช้กันบ่อย ๆ มีอยู่สามชนิด ได้แก่ ไม้ไผ่ กระเบื้อง และแก้ว ซึ่งมีคุณสมบัติต่างกันไป อย่างเช่น ไม้ไผ่ ถึงแม้จะถูกแต่ก็มีแรงดูดไม่พอ ร้าว และรั่วง่าย ส่วนกระเบื้องนั้นมีแรงดูดดี ปากเรียบ ไม่คม แต่ตกแตกง่าย จนถึงขวดแบบแก้วที่มีลักษณะคล้ายลูกบอล มีข้อดีก็คือ แก้วใสจึงสามารถสังเกตผิวหนังเวลาครอบได้ชัดเจน ส่วนข้อเสียก็คือแตกง่าย
อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วว่า การครอบแก้วจะใช้ความร้อนเพื่อลดแรงดันภายในขวดแก้ว (หรือขวดอื่น ๆ) และก็มีหลายวิธีเช่นกันในการให้ความร้อน เช่น ส่านหั่น หรือการจุดไฟเผาลำสีแอลกอฮอล์แล้วนำเข้าไปวนในกระบอกแก้วก่อนครอบ ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างปลอดภัย เช่นเดียวกับวิธีการต้มด้วยน้ำ ซึ่งจะทำกับกระบอกไม้ไผ่ แต่หากเป็นวิธีอื่น ๆ แล้วภายในขวดแก้วที่ครอบอาจมีเปลวไฟอยู่ด้วยซ้ำ จึงต้องระมัดระวังอย่างมาก ไม่ให้ลวกหรือโดนผิวหนัง และคุณก็ไม่ควรลองครอบแก้วด้วยตนเองที่บ้านเด็ดขาดด้วย
ครอบแก้วทำอย่างไร?
ในการรักษาโดยการครอบแก้ว แพทย์จะเป็นผู้กำหนดว่า จะใช้วิธีใดจึงจะเหมาะ ซึ่งอาจยกตัวอย่างการครอบแก้วได้ดังนี้ :
๑.โจ่วก้วน
หรือเรียกอีกอย่างว่าทุยก้วน เป็นการครอบแก้วแบบเคลื่อนไหว คือจะใช้วาสลีน หรือน้ำมันหล่อลื่นทาลงไปบนตำแหน่งที่จะทำการครอบแก้ว หรือทาไว้ที่ปากกระบอก จากนั้น จึงนำแก้วครอบลงไปแล้วเคลื่อนไปยังตำแหน่งขึ้น-ลง หรือซ้าย-ขวา ตามที่ต้องการจนกว่าผิวหนังจะแดงจากการที่เลือดคั่ง จึงเอากระบอกแก้วออก มักใช้กับเนื้อที่ขนาดใหญ่และมีกล้ามเนื้อมาก เช่น แผ่นหลัง เอว ก้น ต้นขา เพื่อรักษาโรคปวดจากลมและความชื้น รวดทั้งอาการชาด้วย
๒.ส่านก้วน
คือการครอบแก้วแบบดึงเร็ว หลังจากครอบแก้วเสร็จแล้วจะต้องรีบดึงเอาแก้วออก และทำเช่นนี้ซ้ำ ๆ หลายครั้งจนกว่าผิวหนังบริเวณดังกล่าว จะเปลี่ยนเป็นสีแดงคือ มีภาวะเลือดคั่งแล้วจึงหยุด ส่วนมากใช้รักษาผู้ป่วย ที่มีอาการปวดและชาที่ผิวหนังหรือสมรรถภาพเสื่อมถอย
๓.ชื่อเซียวะเป๋าก้วน
เป็นการครอบแก้วที่ประสานกับการใช้เข็มเพื่อแทงสะกิดเลือด หลังจากการฆ่าเชื้อตำแหน่งที่ต้องการทำการครอบแก้วแล้ว จะมีการใช้เข็มซานหลิงจิ้มให้เลือดออก หรือใช้เข็มดอกเหมยเคาะตี หลังจากนั้น จึงครอบแก้วลงไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษา ส่วนมากใช้รักษาโรคไฟลามทุ่ง ฝีหนอง ที่เต้านม หรือเคล็ดขัดยอก เป็นต้น
๔.หลิวเจินป๋าก้วน
คือการครอบแก้วที่ใช้คู่กับการฝังเข็ม เรียกง่าย ๆ ว่า เจินก้วน วิธีการรักษานี้ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการฝังเข็ม และการครอบแก้วควบคู่กัน คือ หลังจากปักเข็มลงไปแล้ว จากนั้น จึงนำแก้ว ครอบลงไปโดยมีเข็มที่ปักอยู่เป็นจุดศูนย์กลาง ประมาณ ๕-๑๐ นาที รอจนผิวเป็นสีแดงหรือมีเลือดคั่งจึงเอาแก้วและเข็มออกสีผิวสะท้อนอาการ
สุขภาพและสะท้อนถึงของเสียสารพิษร่างกายดึงดูดออกมาเกาะติดอยู่กับผิวหนัง หลังวางถ้วยดูดทิ้งระยะเวลาสักพักหลีกเลี่ยงไม่พ้นจะมีสีผิวเกิดขึ้นภายในบริเวณถ้วยดูดบนผิวหนัง นอกจากสะท้อนถึงของเสียสารพิษในร่างกายได้ถูกขจัดออกจากอวัยวะภายใน แล้วมาเกาะติดอยู่กับผิวหนัง ยังได้สะท้อนถึงอาการผิดปกติของอวัยวะภายในร่างกาย และการปฏิบัติหน้าที่งานบกพร่องของลมปราณ เช่น
สีขาว - ผิวสีขาวสัมผัสแล้วรู้สึกเย็น สะท้อนถึงอาการพร่องของลมปราณและเลือดที่หล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ
สีแดง - สะท้อนถึงการไหลเวียนผิดระเบียบของเลือดลม อิน(หยิน)พร่อง หยางสูง ความร้อนพุ่งสูงทำให้เกิดอาการ
ปวดหัวตัวร้อน เป็นต้น
สีแดงอ่อนควบสีเหลือง - สะท้อนถึงความชื้นเกาะติด หรืออาจกระทบกระเทือนจากความเย็น และความร้อนภายนอก
สีม่วงและมีรอยของสีเทา - สะท้อนถึงมีความหนาวเย็น และมีลิ่มเลือดเกาะติด
ผิวสีเป็นสีม่วงเข้มอ่อนกระจาย - สะท้อนถึงลมปราณติดขัด และมีลิ่มเลือดเกาะติดบางส่วน
สีดำคล้ำ - สะท้อนถึงลิ่มเลือดเกาะติด เลือดลมไหลเวียนติดขัด ปวดประจำเดือนหรือเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ
ของเสียสารพิษต่างๆ ที่ถูกดึงดูดออกมาเกาะติดอยู่ตามผิวหนัง บางส่วนจะถูกขับออกโดยทางผิวหนังออกเป็นเหงื่อ บางส่วนจะถูกขับออกไหลเวียนไปตามเลือดลมที่ไหลเวียนในระบบหลอดเลือดออกทางปัสสาวะและอุจจาระ ถ้าหากทำการดูดบำบัดต่อเนื่องของเสียสารพิษ ทยอยถูกขจัดถูกสลาย ผิวสีต่างๆ ก็จะทยอยจางหายปรับกลมกลืนดั่งผิวสีปกติ สอดคล้องกับสุขภาพร่างกายที่ถูกปรับปรุงแข็งแรงดีขึ้น แต่ถ้าหากเป็นสีม่วงคล้ำหรือสีดำคล้ำหลังทำการดูดต่อเนื่องหลายวัน ผิวสียังไม่ถูกปรับปรุงดีขึ้นสะท้อนถึงบริเวณดังกล่าวลิ่มเลือดที่เกาะติดมาและเกาะลึก จำเป็นต้องใช้เข็มเฉพาะเคาะตีบริเวณผิวหนังดังกล่าว และทยอยดูดเอาลิ่มเลือดออก (กรณีพิเศษของผู้ป่วยบางรายที่มีอาการบวม วางถ้วยดูดที่จุดลมปราณที่มีอาการเจ็บปวดต่อเนื่องหลายวันไม่สะท้อนออกเป็นสีม่วงคล้ำหรือดำคล้ำ แต่สะท้อนออกเป็นสีผิวขาวหรือสีแดงอ่อนสัมผัสกดนวดถูกยังรู้สึกเจ็บปวดมาก เป็นอาการอีกรูปแบบหนึ่งที่สะท้อนถึงมีความชื้นและลิ่มเลือดเกาะติด)
หมายเหตุ กรณีของผู้ป่วยที่มีสีผิวหรือบริเวณสะท้อนออกมีลิ่มเลือดเกาะติด ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำการวินิจฉัยและกำจัดลิ่มเลือดออกให้
(อ้างอิงจาก 'การรักษาโรคด้วยวิธีการครอบแก้ว' คลินิกหัวเฉียวไทย-จีน แพทย์แผนไทย มูลนิธป่อเต็กตึ้ง)
ครอบแก้วรักษาอะไรได้บ้าง
ปัจจุบันมักใช้การครอบแก้วเพื่อบรรเทาอาการปวด แต่ก็สามารถรักษาอาการเจ็บป่วยอื่นได้เช่นกัน อย่างเช่น โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะไอเรื้อรัง หรือหอบ และอัมพฤกษ์หรืออัมพาต นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าความร้อนจากถ้วยที่ไปกระตุ้นพลังงานชิ (Qi) จะทำให้จิตใจของผู้ป่วยรู้สึกเหมือนได้รับการเยียวยา จึงอาจเป็นอีกหนทางหนึ่งในการรักษาโรคซึมเศร้า
แต่ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีไข้ขึ้นสูง เป็นหวัด มีอาการชักมีเนื้องอกหรือมีแนวโน้มว่าจะมี จะถูกห้ามไม่ให้รักษาด้วยวิธีการนี้โดยเด็ดขาด เช่นเดียวกับหญิงที่ตั้งครรภ์สามเดือนแรก (หลังจากนั้นก็ห้ามไม่ให้ใช้การครอบแก้วบริเวณครรภ์ หรือบริเวณหลังเอว และกระเบนเหน็บเด็ดขาด)
ที่มาจาก
หนังสือลิซ่า
ตอนแรกที่ทำรู้สึกเจ็บมา แต่พอทำไปซัก 5 นาที่จะรู้สึกสะบายและผ่อนคลาย ถึงขนาดหลับได้เลย
แผลไม่ได้เป็นแผลเป็น 3-4 วันหายค่ะ ไม่น่าเชื่อว่าจะหายเร็วขนาดนี้ แพทย์บอกว่า ระยะในการหาย
ขึ้นอยู่กับ พิษในตัวของคนด้วย