นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางและวิธีการในติดตามตรวจสอบคุณภาพของวิทยาลัยเอกชนที่เปลี่ยนประเภทเป็นมหาวิทยาลัย โดยจะเข้าไปติดตามผลการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่มหาวิทยาลัยเสนอมาหรือไม่ น 35 แห่ง
เบื้องต้นจะลงไปตรวจสอบสถาบันที่เปลี่ยนประเภทมาเป็นมหาวิทยาลัยแล้ว ไม่เกิน 10 ปี และได้รับการร้องเรียนในเรื่องของคุณภาพมาตรฐาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยราชธานี มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยปทุมธานี มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น มหาวิทยาลัยเนชั่น มหาวิทยาลัยธนบุรี มหาวิทยาลัยฟาฏอนี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น สถาบันรัชภาคย์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ มหาวิทยาลัยตาปี และมหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา ส่วนที่เหลืออีก 20 แห่งจะดำเนินการในระยะต่อไป
อย่างไรก็ตามสำหรับ 16 แห่งแรกที่สกอ.จะเข้าไปตรวจสอบ หากพบว่ามีปัญหาเรื่องคุณภาพจริง ตามที่ถูกร้องเรียน มหาวิทยาลัยจะต้องเสนอแผนปรับปรุงและดำเนินการแก้ไขตั้งแต่ 1 ภาคการศึกษาขึ้นไปแต่ไม่เกิน 2 ภาคการศึกษาหรือ 1 ปี หากยังไม่ได้คุณภาพตามที่สกอ.กำหนด ก็ต้องให้งดรับนักศึกษาทันที หรือเพิกถอนการรับรองวิทยฐานะ หรืออาจถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาต
“การดำเนินการครั้งนี้เป็นการติดตามตรวจสอบเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษา โดยยึดหลักความเป็นธรรม โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพจริง และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ โดยจะพิจารณาข้อมูลตามแผนดำเนินงานที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้เสนอขอไว้ ในตอนขอเปลี่ยนประเภทสถาบัน ที่จะปรากฏในข้อกำหนดของสถาบันนั้นๆ อาทิ ข้อมูลการจัดการศึกษามีความสอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลพื้นฐานและแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และข้อมูลการประกันคุณภาพภายในของสถาบันนั้นๆ ในรอบปีที่ผ่านมา ว่าเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามนั้นมหาวิทยาลัยก็ต้องจัดทำแผนเสนอขอปรับปรุงมายังสกอ.”
มติชน
กกอ.เตรียมเช็ค ม.เอกชน ถูกร้องขาดคุณภาพ
เบื้องต้นจะลงไปตรวจสอบสถาบันที่เปลี่ยนประเภทมาเป็นมหาวิทยาลัยแล้ว ไม่เกิน 10 ปี และได้รับการร้องเรียนในเรื่องของคุณภาพมาตรฐาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยราชธานี มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยปทุมธานี มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น มหาวิทยาลัยเนชั่น มหาวิทยาลัยธนบุรี มหาวิทยาลัยฟาฏอนี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น สถาบันรัชภาคย์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ มหาวิทยาลัยตาปี และมหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา ส่วนที่เหลืออีก 20 แห่งจะดำเนินการในระยะต่อไป
อย่างไรก็ตามสำหรับ 16 แห่งแรกที่สกอ.จะเข้าไปตรวจสอบ หากพบว่ามีปัญหาเรื่องคุณภาพจริง ตามที่ถูกร้องเรียน มหาวิทยาลัยจะต้องเสนอแผนปรับปรุงและดำเนินการแก้ไขตั้งแต่ 1 ภาคการศึกษาขึ้นไปแต่ไม่เกิน 2 ภาคการศึกษาหรือ 1 ปี หากยังไม่ได้คุณภาพตามที่สกอ.กำหนด ก็ต้องให้งดรับนักศึกษาทันที หรือเพิกถอนการรับรองวิทยฐานะ หรืออาจถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาต
“การดำเนินการครั้งนี้เป็นการติดตามตรวจสอบเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษา โดยยึดหลักความเป็นธรรม โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพจริง และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ โดยจะพิจารณาข้อมูลตามแผนดำเนินงานที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้เสนอขอไว้ ในตอนขอเปลี่ยนประเภทสถาบัน ที่จะปรากฏในข้อกำหนดของสถาบันนั้นๆ อาทิ ข้อมูลการจัดการศึกษามีความสอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลพื้นฐานและแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และข้อมูลการประกันคุณภาพภายในของสถาบันนั้นๆ ในรอบปีที่ผ่านมา ว่าเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามนั้นมหาวิทยาลัยก็ต้องจัดทำแผนเสนอขอปรับปรุงมายังสกอ.”
มติชน