มาชวนไปเที่ยวเกาะสีชังในวันหยุดยาวกันค่ะ เคยไปครั้งหนึ่งเมื่อนานมากๆ แล้ว น้าพาไปไหว้เจ้าพ่อเขาใหญ่บนเกาะ ไหว้เสร็จแล้วก็ได้ไปเที่ยวพระจุฑาธุชราชฐานแป๊บนึงก่อนกลับ จำภาพลั่นทมบานทั่วบริเวณพระราชฐานได้ดี อยากกลับไปที่นี่มากแต่ด้วยประสบการณ์เกี่ยวกับเรือบางอย่างที่ทำเอาขยาด เลยลังเลและทำเอาความอยากไปที่เกาะลดลงทุกที มาได้โอกาสดีที่ทางชมรมจัดกิจกรรมไปเกาะสีชังขึ้น จึงได้กลับมาชมความงามของที่นี่อีกครั้ง พร้อมได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์มากมาย ขอบคุณข้อมูลจากเอกสารประกอบกิจกรรมของชมรมพิพิธสยาม และเว็ปไซต์ของพระจุฑาธุชราชฐานค่ะ
http://phrachudadhuj.com/index.htm
เริ่มจากชื่อเกาะเลย คำว่า "สีชัง" นั้น มีข้อสันนิษฐานมากมากหลายประการ ทั้งจากนิทานและการเลือนมาจากคำภาษาต่างๆ
จากนิทาน:-
1. เรื่องตาม่องล่าย - เกาะนี้เกิดจากเงินสี่ชั่งที่เจ้าพ่อหอมสิงห์จะเอาไปขอหมั้นลูกสาวตาม่องล่าย จากเกาะสี่ชั่งได้เลือนมาเป็นสีชัง
2. เรื่องตาหมื่น ยายท้าว - เดิมบนเกาะมีฤาษีตนหนึ่งจำศีลอยู่ ต่อมาได้มีตาหมื่น ยายท้าว ซึ่งเป็นชู้กัน และถูกลอยแพจากกรุงศรีอยุธยามาติดเกาะที่นี่ จึงขึ้นมาอาศัยบนเกาะ ฤาษีที่ไม่ชอบทางโลกีย์จึงออกไปจากเกาะ เลยได้ชื่อว่า เกาะฤาษีชัง ต่อมาความว่า ฤา หายไป เหลือคำว่า ษีชัง แล้วจึงเปลี่ยนเป็น สีชัง อีกที
3. เรื่องตาสี ยายชัง - เดิมบนเกาะมีคู่สามีภรรยาชื่อตาสีกับยายชังมาตั้งบ้านเรือนทำมาหากิน เกาะจึงได้ชื่อตามสามีภรรยาคู่นี้ แต่ต่อมาดินฟ้าไม่ดำอวย ตาสียายชังจึงบ้ายไปอยู่ที่ศรีราชา
จากคำภาษาต่างๆ:-
1. คำจีน - เดิมเกาะนี้เป็นเกาะร้าง ต่อมาชาวจีน 4 คนแล่นเรือจากเมืองจีนมาแวะพัก ต่อมาได้ทำการเพาะปลูกและอยู่อาศัย จึงเรียกเกาะแห่งนี้ว่า "ซีชั่น" อันหมายถึงสี่สหาย แต่คนไทยรู้สึกว่าพูดยาก จึงออกเสียงว่า สีชัง
2. คำบาลี - สีชัง อาจจะเลือนมาจากภาษาบาลีว่า “สีห์ชังฆ์” แปลว่า “แข้งสิงห์” เนื่องจากรูปร่างของเกาะนี้มองแต่ไกลคล้ายสิงห์หมอบ
3. คำโบราณ - นามเกาะสีชังมีปรากฏมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏอยู่ในกำสรวลศรีปราชญ์บทหนึ่งที่ว่า
มุ่งเห็นละล่ายน้ำ ตาตก แม่ฮา
เกาะสระชงง( สระชัง )ชลธี โอบอ้อม
มลกกเห็นไผ่รยงรก( เรืองรก) เกาะไผ่ พู้นแม่
ขยว( เขียว)สระดื้อล้ำย้อม ยอดคราม
ซึ่งเข้าใจว่าต่อมากการออกเสียงจะเพี้ยนจาก เกาะสระชงง(สระชัง) เป็น เกาะสีชัง โดยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าการเลือนของชื่อเกาะนั้นเกิดขึ้นในสมัยใด จากหลักฐานทางวรรณคดีเท่าที่พบปรากกฎว่าได้มีการใช้คำว่า สีชัง เมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช ๒๓๗๐ อันเป็นปีที่ นายมี ศิษย์ของท่านสุนทรภู่ เดินทางไปเมืองถลาง และได้แต่งนิราศถลางไว้ ดังปรากฏในคำกลอนตอนหนึ่งว่า
เหลียวเห็นเกาะสีชังนั่งพินิจ
เฉลียวคิดถึงนุชที่สุดหวัง
ให้นึกกลัวน้องหญิงจะชิงชัง
ถ้าเป็นดังชื่อเกาะแล้วเคราะห์กรรม
[CR] *~**~*สีชัง.....รอยความทรงจำครั้งแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง*~**~*
เริ่มจากชื่อเกาะเลย คำว่า "สีชัง" นั้น มีข้อสันนิษฐานมากมากหลายประการ ทั้งจากนิทานและการเลือนมาจากคำภาษาต่างๆ
จากนิทาน:-
1. เรื่องตาม่องล่าย - เกาะนี้เกิดจากเงินสี่ชั่งที่เจ้าพ่อหอมสิงห์จะเอาไปขอหมั้นลูกสาวตาม่องล่าย จากเกาะสี่ชั่งได้เลือนมาเป็นสีชัง
2. เรื่องตาหมื่น ยายท้าว - เดิมบนเกาะมีฤาษีตนหนึ่งจำศีลอยู่ ต่อมาได้มีตาหมื่น ยายท้าว ซึ่งเป็นชู้กัน และถูกลอยแพจากกรุงศรีอยุธยามาติดเกาะที่นี่ จึงขึ้นมาอาศัยบนเกาะ ฤาษีที่ไม่ชอบทางโลกีย์จึงออกไปจากเกาะ เลยได้ชื่อว่า เกาะฤาษีชัง ต่อมาความว่า ฤา หายไป เหลือคำว่า ษีชัง แล้วจึงเปลี่ยนเป็น สีชัง อีกที
3. เรื่องตาสี ยายชัง - เดิมบนเกาะมีคู่สามีภรรยาชื่อตาสีกับยายชังมาตั้งบ้านเรือนทำมาหากิน เกาะจึงได้ชื่อตามสามีภรรยาคู่นี้ แต่ต่อมาดินฟ้าไม่ดำอวย ตาสียายชังจึงบ้ายไปอยู่ที่ศรีราชา
จากคำภาษาต่างๆ:-
1. คำจีน - เดิมเกาะนี้เป็นเกาะร้าง ต่อมาชาวจีน 4 คนแล่นเรือจากเมืองจีนมาแวะพัก ต่อมาได้ทำการเพาะปลูกและอยู่อาศัย จึงเรียกเกาะแห่งนี้ว่า "ซีชั่น" อันหมายถึงสี่สหาย แต่คนไทยรู้สึกว่าพูดยาก จึงออกเสียงว่า สีชัง
2. คำบาลี - สีชัง อาจจะเลือนมาจากภาษาบาลีว่า “สีห์ชังฆ์” แปลว่า “แข้งสิงห์” เนื่องจากรูปร่างของเกาะนี้มองแต่ไกลคล้ายสิงห์หมอบ
3. คำโบราณ - นามเกาะสีชังมีปรากฏมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏอยู่ในกำสรวลศรีปราชญ์บทหนึ่งที่ว่า
มุ่งเห็นละล่ายน้ำ ตาตก แม่ฮา
เกาะสระชงง( สระชัง )ชลธี โอบอ้อม
มลกกเห็นไผ่รยงรก( เรืองรก) เกาะไผ่ พู้นแม่
ขยว( เขียว)สระดื้อล้ำย้อม ยอดคราม
ซึ่งเข้าใจว่าต่อมากการออกเสียงจะเพี้ยนจาก เกาะสระชงง(สระชัง) เป็น เกาะสีชัง โดยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าการเลือนของชื่อเกาะนั้นเกิดขึ้นในสมัยใด จากหลักฐานทางวรรณคดีเท่าที่พบปรากกฎว่าได้มีการใช้คำว่า สีชัง เมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช ๒๓๗๐ อันเป็นปีที่ นายมี ศิษย์ของท่านสุนทรภู่ เดินทางไปเมืองถลาง และได้แต่งนิราศถลางไว้ ดังปรากฏในคำกลอนตอนหนึ่งว่า
เหลียวเห็นเกาะสีชังนั่งพินิจ
เฉลียวคิดถึงนุชที่สุดหวัง
ให้นึกกลัวน้องหญิงจะชิงชัง
ถ้าเป็นดังชื่อเกาะแล้วเคราะห์กรรม