คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
1 ที่ดินมีโฉนดหรือไม่ 2 ปู่เสียเมื่อไหร่ 3 แบ่งเป็นมรดกอย่างไร ทำเป็นพินัยกรรม หรือยกให้ปากเปล่า หรือจดทะเบียนโอนแยกโฉนดที่สำนักงานที่ดิน
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
กฎหมายชาวบ้าน
อสังหาริมทรัพย์
คดีแพ่ง : ที่ดินมรดก
ปู่เป็นเจ้าของที่ดิน และมีลูกจำนวน 9 คน ลูกคนที่ 3 มาขอปลูกบ้าน ปู่ก็อนุญาต
ต่อมาปี 2538 ปู่รังวัดที่ดินดังกล่าวแบ่งเป็นมรดกให้กับลูกๆ แต่ลูกคนที่ 3 ไม่ได้รับเนื่องจากลูกคนที่ 3 ไม่ซื่อตรง ไปโกงที่ดินของย่าเปลี่ยนเป็นชื่อตัวทั้งหมด จึงทำให้ปู่ไม่ยกมรดกให้
ซึ่งจากการรังวัดและยกเป็นมรดกให้ลูกๆ นั้น ปรากฏว่า บ้านของลูกคนที่ 3 ที่ขอปลูกนั้น ตั้งอยู่บนที่ดินของลูกคนที่ 1 และ ลูกคนที่ 6
ต่อมาปี 2556 ลูกคนที่ 6 ได้ยกที่ดินซึ่งได้รับมาจากปู่ ให้เป็นมรดกแก่ทายาท
นับจากวันที่ปู่แบ่งมรดกให้ลูกคนที่6 เมื่อปี 2538 และลูกคนที่6 ยกให้ทายาทเมื่อปี 2556 จนถึงปัจจุบัน(2557) รวม 19 ปี
ประเด็นคืน
1.ทายาทของลูกคนที่ 6 จะฟ้องขับไล่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างได้หรือไม่ (ปัจจุบัน ลูกคนที่ 3 ได้เสียชีวิตแล้ว เหลือแต่ภรรยาและลูกๆ)
2.ภรรยาและลูกๆของ "ลูกคนที่ 3 " สามารถใช้เหตุการครอบครองปรปักษ์เพื่อต่อสู้การฟ้องขับไล่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างได้หรือไม่
3.ทายาทของลูกคนที่ 6 มีสิทธิ์จะชนะคดีไหม
4.หากมีการไกล่เกลี่ย ทายาทของลูกคนที่ 6 สามารถเรียกร้องค่าตอบแทน หรือ ไม่จ่ายค่ารื้อถอนได้หรือไม่
ป.ล. ทายาทของลูกคนที่ 6 ได้เคยแสดงเจตจำนงค์ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง โดยจะจ่ายค่ารื้อถอนให้ 30,000 บาท แต่ไม่เป็นผล
ต่อมาได้ไปทำเรื่องที่สำนักงานอัยการจังหวัด เพื่อขอไกล่เกลี่ย โดยสำนักงานอัยการฯได้ทำหนังสือ 2 ฉบับ แต่ก็ไม่เป็นผล