ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้
มีอยู่ในบุคคลผู้พูดมาก ๕ ประการเป็นไฉน คือ
พูดเท็จ ๑
พูดส่อเสียด ๑
พูดคำหยาบ ๑
พูดเพ้อเจ้อ ๑
เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้พูดมาก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้
มีอยู่ในบุคคลผู้พูดพอประมาณ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ไม่พูดเท็จ ๑
ไม่พูดส่อเสียด ๑
ไม่พูดคำหยาบ ๑
ไม่พูดเพ้อเจ้อ ๑
เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
มีอยู่ในบุคคลผู้พูดพอประมาณ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๒๒๗/๔๐๗หัวข้อที่ ๒๑๔
เป็นผู้กล่าวเท็จเป็นอย่างไร
บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติกล่าวเท็จไปสู่สภาก็ดี ไปสู่บริษัทก็ดี
ไปสู่ท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี ไปสู่ท่ามกลางศาลาประชาคมก็ดี ไปสู่ท่ามกลางราชสกุลก็ดี
อันเขานำไปเป็นพยาน ถามว่า “บุรุษผู้เจริญ ! ท่านรู้อย่างไรท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น” ดังนี้,
บุรุษนั้น เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น,
เพราะเหตุตนเอง เพราะเหตุผู้อื่นหรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสไรๆ ก็เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่
เป็นผู้มีวาจาส่อเสียดเป็นอย่างไร
เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือฟังจากฝ่ายนี้แล้วไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้
หรือฟังจากฝ่ายโน้นแล้วมาบอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น
เป็นผู้ทำคนที่สามัคคีกันให้แตกกันหรือทำคนที่แตกกันแล้วให้แตกกันยิ่งขึ้น พอใจยินดี
เพลิดเพลินในการแตกกันเป็นพวก เป็นผู้กล่าววาจาที่กระทำให้แตกกันเป็นพวก
เป็นผู้มีวาจาหยาบเป็นอย่างไร
เป็นผู้มีวาจาหยาบ อันเป็นวาจาหยาบคาย กล้าแข็ง แสบเผ็ดต่อผู้อื่น กระทบกระเทียบผู้อื่น
แวดล้อมอยู่ด้วยความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เขาเป็นผู้กล่าววาจามีรูปลักษณะเช่นนั้น
เป็นผู้มีวาจาเพ้อเจ้อเป็นอย่างไร
เป็นผู้มีวาจาเพ้อเจ้อ คือเป็นผู้กล่าวไม่ถูกกาลไม่กล่าวตามจริง กล่าวไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม
ไม่อิงวินัยเป็นผู้กล่าววาจาไม่มีที่ตั้งอาศัย ไม่ถูกกาละเทศะ ไม่มีจุดจบไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทสก. อํ. ๒๔/๒๘๓ – ๒๘๙/๑๖๕.
โทษของบุคคลผู้พูดมาก
มีอยู่ในบุคคลผู้พูดมาก ๕ ประการเป็นไฉน คือ
พูดเท็จ ๑
พูดส่อเสียด ๑
พูดคำหยาบ ๑
พูดเพ้อเจ้อ ๑
เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้พูดมาก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้
มีอยู่ในบุคคลผู้พูดพอประมาณ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ไม่พูดเท็จ ๑
ไม่พูดส่อเสียด ๑
ไม่พูดคำหยาบ ๑
ไม่พูดเพ้อเจ้อ ๑
เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
มีอยู่ในบุคคลผู้พูดพอประมาณ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๒๒๗/๔๐๗หัวข้อที่ ๒๑๔
เป็นผู้กล่าวเท็จเป็นอย่างไร
บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติกล่าวเท็จไปสู่สภาก็ดี ไปสู่บริษัทก็ดี
ไปสู่ท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี ไปสู่ท่ามกลางศาลาประชาคมก็ดี ไปสู่ท่ามกลางราชสกุลก็ดี
อันเขานำไปเป็นพยาน ถามว่า “บุรุษผู้เจริญ ! ท่านรู้อย่างไรท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น” ดังนี้,
บุรุษนั้น เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น,
เพราะเหตุตนเอง เพราะเหตุผู้อื่นหรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสไรๆ ก็เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่
เป็นผู้มีวาจาส่อเสียดเป็นอย่างไร
เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือฟังจากฝ่ายนี้แล้วไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้
หรือฟังจากฝ่ายโน้นแล้วมาบอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น
เป็นผู้ทำคนที่สามัคคีกันให้แตกกันหรือทำคนที่แตกกันแล้วให้แตกกันยิ่งขึ้น พอใจยินดี
เพลิดเพลินในการแตกกันเป็นพวก เป็นผู้กล่าววาจาที่กระทำให้แตกกันเป็นพวก
เป็นผู้มีวาจาหยาบเป็นอย่างไร
เป็นผู้มีวาจาหยาบ อันเป็นวาจาหยาบคาย กล้าแข็ง แสบเผ็ดต่อผู้อื่น กระทบกระเทียบผู้อื่น
แวดล้อมอยู่ด้วยความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เขาเป็นผู้กล่าววาจามีรูปลักษณะเช่นนั้น
เป็นผู้มีวาจาเพ้อเจ้อเป็นอย่างไร
เป็นผู้มีวาจาเพ้อเจ้อ คือเป็นผู้กล่าวไม่ถูกกาลไม่กล่าวตามจริง กล่าวไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม
ไม่อิงวินัยเป็นผู้กล่าววาจาไม่มีที่ตั้งอาศัย ไม่ถูกกาละเทศะ ไม่มีจุดจบไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทสก. อํ. ๒๔/๒๘๓ – ๒๘๙/๑๖๕.