พระธรรมเทศนาเรื่อง
มัชฌิมากิเลส มัชฌิมาธรรม
หลวงตามหาบัว ธรรมะชุดเตรียมพร้อม
เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๘
------------------------
(เนื้อหาบางส่วน)
มัชฌิมาของพระพุทธเจ้า กิเลสมันหนักขนาดไหน มัชฌิมาก็อย่างนั้น เอาให้ถึงกันๆ อันนั้นเรียกว่า มัชฌิมา
เราอย่าเอามัชฌิมาของกิเลสมาใช้เลย
ถ้าเราจะต้องการกับมัชฌิมาที่เหมือนกับพระพุทธเจ้าให้เล็งเห็นความหนักเบาของเราที่มันแสดงอยู่ภายในใจ
มันมีความหนักเบาแค่ไหน มีความดื้อด้านขนาดไหนภายในจิต ต้องใช้อุบายทรมานมันจนให้ถึงกันนั้น
นั่นแหละเป็นมัชฌิมาที่เหมาะกับการฆ่ากิเลสประเภทนั้นๆ
มัชฌิมาที่โลกหมายกันก็คือ ความขี้เกียจอ่อนแอนั้นเอง ขนาดนี้พอดีๆ พอดีแล้วมัชฌิมากิเลส มันจะไม่พอดียังไง
มัชฌิมาของธรรมให้เป็นอย่างนั้น ควรจะเอาตายว่า ก็ว่ามันลงไป ควรจะเอาอะไรมอบ ก็มอบมันลงไป ตามกาล ตามเวลา ตามสถานที่
ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และทำอย่างนั้น นั่น นั่นแหละเรียกว่า มัชฌิมา
นั่นมัชฌิมาของกิเลสที่เราๆท่านๆ เห็นกันอยู่นี้ นี่มัชฌิมาของกิเลส คือ ตา มันทำอะไรบ้างเล็กน้อยเพราะว่า มันเพลินไป
มันจะ เออ มันมัชฌิมา เนี่ยกิเลสมันเอาเรื่องพระพุทธเจ้ามาใส่ไว้ มันอยู่ข้างหลัง แล้วก็ขึ้นปีนบนหัวโขน บนหัวใจคน บนหัว
บนหัวอะไร คำว่า ธรรมะ นั้นเป็นของกลางก็จริง แต่ผู้ที่นำมาปฏิบัติต้องแยกมาตามประเภทให้เหมาะกับจริตนิสัยของตนที่จะนำไปใช้
คือ ธรรมะคำว่าเป็นของกลางมีทั้งอย่างหย่อน อย่างกลาง อย่างอุกฤษณ์ คือ อย่างเยี่ยม เด็ดขาด
สำหรับผู้ที่นำมาปฏิบัติ ก็ปฏิบัติทั้งสามอย่างนี้เหมือนกัน คือ ตามกาลเวลา หรือตามเหตุการณ์ สถานที่ที่ควรจะใช้ธรรมะประเภทนั้นๆ
ให้เหมาะกับกิเลสที่มีอยู่ภายในจิตใจของตน ไม่งั้นมันก็ไม่เหมาะสมกัน มันแก้กันไม่ได้ ควรจะหนักแต่ไปเบาเสีย มันก็ไม่ได้
ควรจะเบาแต่เราไปหนัก อย่างนี้มันก็ไม่ถูก
ก็เหมือนกับเครื่องมือทำงานนั้นเอง งานประเภทใดที่สมควรใช้เครื่องมือชนิดใด นายช่างต้องทราบเอง ควรจะหนักจะเบา
จะใช้เครื่องมือประเภทใดให้เหมาะสมกับงานนั้นๆ นายช่างนี่ก็ต้องทราบของเค้าเอง นี้เราเป็นนายช่างสำหรับเรา
เราก็ควรทราบของเราในตนเอง
ขณะไหนที่จิตมันดื้อดึง ขณะเวลานั้นเอาให้หนัก ขณะไหนที่มันอ่อนรวนลงไป หรือยอนลงไปแล้ว
ปฏิปทาก็ต้องหย่อนยานลงไปตามลำดับ ยามเข้าขั้นละเอียดที่ควรใช้จะความละเอียด ก็ต้องใช้ความละเอียดจะไปพาดโพนนั้นไม่ได้
ไม่อาจรู้ดีตัวเองนั่นแหละ ถึงเวลาเด็ดมันก็เด็ด ถึงเวลาหย่อนมันก็หย่อน แต่ไม่ใช่ว่าหย่อนด้วยความอ่อนแอ
หย่อนตามความเหมาะสมที่มันควรใช้ในกาลนั้นๆ กับสิ่งมันที่เกี่ยวข้องกับตน
คือ กิเลส นี่เรียกว่าการปฏิบัติเหมาะสม นี่เรียกว่า มัชฌิมา จะได้ผลไปโดยลำดับ
ขณะที่จิตมันมันหมอบราบลงไปด้วยการทรมานอย่างหนักเนี่ย ขณะที่มันหมอบราบเนี่ยเราจะตามตีมันยังไง มันหมอบราบเข้าสู่ความสงบ
แล้วก็เป็นผล เราก็ชมผล เสวยผลนั้น จนกว่ามันจะแสดงตัวออกมาอีกในท่าไหน พอถอยออกมาจากนั้นแล้วมันจะไปท่าไหน
แล้วเราค่อยตามมันอีก นั่น นี่ยกตัวอย่าง...........
อ่านถอดเทปแบบเต็มกัณฑ์เทศได้จากที่นี่ค่ะ
http://buaready.com/id25181116/
มัชฌิมากิเลส มัชฌิมาธรรม
หลวงตามหาบัว ธรรมะชุดเตรียมพร้อม
เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๘
------------------------
(เนื้อหาบางส่วน)
มัชฌิมาของพระพุทธเจ้า กิเลสมันหนักขนาดไหน มัชฌิมาก็อย่างนั้น เอาให้ถึงกันๆ อันนั้นเรียกว่า มัชฌิมา
เราอย่าเอามัชฌิมาของกิเลสมาใช้เลย
ถ้าเราจะต้องการกับมัชฌิมาที่เหมือนกับพระพุทธเจ้าให้เล็งเห็นความหนักเบาของเราที่มันแสดงอยู่ภายในใจ
มันมีความหนักเบาแค่ไหน มีความดื้อด้านขนาดไหนภายในจิต ต้องใช้อุบายทรมานมันจนให้ถึงกันนั้น
นั่นแหละเป็นมัชฌิมาที่เหมาะกับการฆ่ากิเลสประเภทนั้นๆ
มัชฌิมาที่โลกหมายกันก็คือ ความขี้เกียจอ่อนแอนั้นเอง ขนาดนี้พอดีๆ พอดีแล้วมัชฌิมากิเลส มันจะไม่พอดียังไง
มัชฌิมาของธรรมให้เป็นอย่างนั้น ควรจะเอาตายว่า ก็ว่ามันลงไป ควรจะเอาอะไรมอบ ก็มอบมันลงไป ตามกาล ตามเวลา ตามสถานที่
ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และทำอย่างนั้น นั่น นั่นแหละเรียกว่า มัชฌิมา
นั่นมัชฌิมาของกิเลสที่เราๆท่านๆ เห็นกันอยู่นี้ นี่มัชฌิมาของกิเลส คือ ตา มันทำอะไรบ้างเล็กน้อยเพราะว่า มันเพลินไป
มันจะ เออ มันมัชฌิมา เนี่ยกิเลสมันเอาเรื่องพระพุทธเจ้ามาใส่ไว้ มันอยู่ข้างหลัง แล้วก็ขึ้นปีนบนหัวโขน บนหัวใจคน บนหัว
บนหัวอะไร คำว่า ธรรมะ นั้นเป็นของกลางก็จริง แต่ผู้ที่นำมาปฏิบัติต้องแยกมาตามประเภทให้เหมาะกับจริตนิสัยของตนที่จะนำไปใช้
คือ ธรรมะคำว่าเป็นของกลางมีทั้งอย่างหย่อน อย่างกลาง อย่างอุกฤษณ์ คือ อย่างเยี่ยม เด็ดขาด
สำหรับผู้ที่นำมาปฏิบัติ ก็ปฏิบัติทั้งสามอย่างนี้เหมือนกัน คือ ตามกาลเวลา หรือตามเหตุการณ์ สถานที่ที่ควรจะใช้ธรรมะประเภทนั้นๆ
ให้เหมาะกับกิเลสที่มีอยู่ภายในจิตใจของตน ไม่งั้นมันก็ไม่เหมาะสมกัน มันแก้กันไม่ได้ ควรจะหนักแต่ไปเบาเสีย มันก็ไม่ได้
ควรจะเบาแต่เราไปหนัก อย่างนี้มันก็ไม่ถูก
ก็เหมือนกับเครื่องมือทำงานนั้นเอง งานประเภทใดที่สมควรใช้เครื่องมือชนิดใด นายช่างต้องทราบเอง ควรจะหนักจะเบา
จะใช้เครื่องมือประเภทใดให้เหมาะสมกับงานนั้นๆ นายช่างนี่ก็ต้องทราบของเค้าเอง นี้เราเป็นนายช่างสำหรับเรา
เราก็ควรทราบของเราในตนเอง
ขณะไหนที่จิตมันดื้อดึง ขณะเวลานั้นเอาให้หนัก ขณะไหนที่มันอ่อนรวนลงไป หรือยอนลงไปแล้ว
ปฏิปทาก็ต้องหย่อนยานลงไปตามลำดับ ยามเข้าขั้นละเอียดที่ควรใช้จะความละเอียด ก็ต้องใช้ความละเอียดจะไปพาดโพนนั้นไม่ได้
ไม่อาจรู้ดีตัวเองนั่นแหละ ถึงเวลาเด็ดมันก็เด็ด ถึงเวลาหย่อนมันก็หย่อน แต่ไม่ใช่ว่าหย่อนด้วยความอ่อนแอ
หย่อนตามความเหมาะสมที่มันควรใช้ในกาลนั้นๆ กับสิ่งมันที่เกี่ยวข้องกับตน
คือ กิเลส นี่เรียกว่าการปฏิบัติเหมาะสม นี่เรียกว่า มัชฌิมา จะได้ผลไปโดยลำดับ
ขณะที่จิตมันมันหมอบราบลงไปด้วยการทรมานอย่างหนักเนี่ย ขณะที่มันหมอบราบเนี่ยเราจะตามตีมันยังไง มันหมอบราบเข้าสู่ความสงบ
แล้วก็เป็นผล เราก็ชมผล เสวยผลนั้น จนกว่ามันจะแสดงตัวออกมาอีกในท่าไหน พอถอยออกมาจากนั้นแล้วมันจะไปท่าไหน
แล้วเราค่อยตามมันอีก นั่น นี่ยกตัวอย่าง...........
อ่านถอดเทปแบบเต็มกัณฑ์เทศได้จากที่นี่ค่ะ
http://buaready.com/id25181116/