คำว่า
มัชฌิมา คือ สายกลาง
คำว่าสายกลางนั้น โลกทั้งหลายจะต้องคิดกันแบบว่า ตรงไปตรงมาเฉย ๆ
ไม่ได้คำนึงถึงว่ากิเลสมันตรงไปตรงมาไหม อันใดจะมีความปลิ้นปล้อนหลอกลวงร้อยสันพันคม
พลิกแพลงเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วยิ่งกว่ากิเลสในโลกนี้ไม่มี
เพราะฉะนั้นคำว่ามัชฌิมาจึงจะเป็นธรรมแบบเถรตรงไปไม่ได้ จะถูกกิเลสจูงจมูก
ธรรมทั้งหลายกลายเป็นบ๋อยของกิเลสไปหมด ธรรมจะเหนือกิเลสเหนือโลกไปไม่ได้
เพราะฉะนั้นคำว่ามัชฌิมาจึงต้องเหนือกิเลสทุกประเภท
คำว่ามัชฌิมาคือเครื่องมืออันเหมาะสมกับการปราบกิเลสทุกประเภทไป
กิเลสอย่างหยาบแสดงขึ้นภายในจิตใจ เราจะเอาอะไรเข้าไปปราบความหยาบโลนของกิเลส
ความดื้อด้านของกิเลส ซึ่งแสดงขึ้นมาในจิตใจของเราโดยแท้ อุบายวิธีใดที่จะทันกับกิเลสประเภทดื้อด้านหาญสู้ต่อธรรม
เราต้องนำประเภทที่เหี้ยมโหดต่อกิเลส ประเภทที่แหลมคมกว่ากิเลสเข้าต่อสู้กับกิเลสประเภทนั้น ๆ
ด้วยเหตุนี้เองการประพฤติปฏิบัติจึงมีความทรหดอดทน มีความเฉลียวฉลาดรอบตัวอยู่เสมอ มีความตั้งหน้าตั้งตา
มีความต้านทาน มีความอุตส่าห์พยายาม มีความคิดไหวพริบปัญญาให้ทันกับอาการของจิต
ซึ่งกิเลสผลักดันออกมาเป็นลวดลายแห่งการต่อสู้กับธรรมแต่ละอาการ ๆ ให้ทันกัน ไม่เช่นนั้นไม่ทัน
นี่คือวิธีการที่ถูกต้องแท้กับคำว่ามัชฌิมา
อันเรื่องเครื่องมือที่จะปราบกิเลสนั้น ในวงปฏิบัติถ้าผู้ปฏิบัติให้เป็นไปตามอรรถตามธรรม
ตามสวากขาตธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว จะพอฟัดพอเหวี่ยงกันไปตั้งแต่ต้นทาง
เมื่อได้เหตุได้ผลได้ต้นทุนเข้ามาเป็นหลักเป็นเกณฑ์ภายในจิตใจ
ด้วยการปฏิบัติด้วยการต่อสู้กับกิเลสประเภทนั้น ๆ พอสมควรแล้ว
จะทราบวิธีการปฏิบัติต่อกิเลสประเภทที่ละเอียดยิ่งกว่านั้นเข้าไปโดยลำดับ ๆ ด้วยเครื่องมือ
คืออุบาย สติ ปัญญา ศรัทธา ความเพียรของตนเอง
นี่การนำมัชฌิมามาใช้ให้เหมาะสมกับกิเลสประเภทต่าง ๆ นี่เรียกว่าเหมาะสม
มัชฌิมาคือความเหมาะสม กิเลสหยาบมัชฌิมาต้องหนักมือ
กิเลสกลางมัชฌิมาก็ให้เป็นขนาดเหมาะสมกับการปราบกิเลสให้อยู่ในเงื้อมมือ
กิเลสละเอียดลงไป มัชฌิมามีสติปัญญาเป็นต้น จะละเอียดแหลมคมเข้าไปโดยลำดับ ๆ ทันกันไปโดยลำดับ
และฆ่ากันไปเรื่อย ๆ หมดไปเรื่อย ๆ ภายในจิตใจ นี่ให้พากันเข้าใจคำว่ามัชฌิมาในหลักธรรมชาติ
หรือในหลักของการปฏิบัติที่ประสบเหตุการณ์จริง ๆ เป็นอย่างนี้ ไม่ใช่เป็นแบบเถรตรง
จะทำความพากเพียรบ้าง อุตส่าห์พยายามบ้าง มีความทุกข์ความลำบากต่อการประกอบความเพียรบ้าง
ก็ถูกกิเลสมันหลอกเสียว่านี่มันจะเคร่งเกินไป แน่ะทำพอดี คำว่าพอดีนั้นคือมัชฌิมาของกิเลสเราหาได้ทราบไม่
มัชฌิมาของกิเลสมันแทรกอยู่ทุกแง่ทุกมุมแห่งมัชฌิมาของธรรม
เพราะฉะนั้นคำว่ามัชฌิมาของธรรมอันแท้จริงที่จะปราบกิเลสนั้นจึงก้าวไม่ออก
เพราะถูกมัชฌิมาของกิเลสกล่อมไปเสียหมด จะนั่งภาวนาชั่วกาลชั่วเวลากี่ชั่วโมง
ก็ถูกกิเลสมากล่อมเสียว่ามันจะเกินมัชฌิมาไป เคร่งเกินไป หนักเกินไป
ไม่เหมาะไม่ถูกต้องกับหลักมัชฌิมา ถูกกล่อมไปเสียอย่างนี้
-----------------------------------
นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา - พระธรรมเทศนาโดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๔
อ่านเนื้อหาเต็มได้จาก
http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=933&CatID=3
เพราะฉะนั้นคำว่า"มัชฌิมา" จึงต้องเหนือกิเลสทุกประเภท
คำว่ามัชฌิมา คือ สายกลาง
คำว่าสายกลางนั้น โลกทั้งหลายจะต้องคิดกันแบบว่า ตรงไปตรงมาเฉย ๆ
ไม่ได้คำนึงถึงว่ากิเลสมันตรงไปตรงมาไหม อันใดจะมีความปลิ้นปล้อนหลอกลวงร้อยสันพันคม
พลิกแพลงเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วยิ่งกว่ากิเลสในโลกนี้ไม่มี
เพราะฉะนั้นคำว่ามัชฌิมาจึงจะเป็นธรรมแบบเถรตรงไปไม่ได้ จะถูกกิเลสจูงจมูก
ธรรมทั้งหลายกลายเป็นบ๋อยของกิเลสไปหมด ธรรมจะเหนือกิเลสเหนือโลกไปไม่ได้
เพราะฉะนั้นคำว่ามัชฌิมาจึงต้องเหนือกิเลสทุกประเภท
คำว่ามัชฌิมาคือเครื่องมืออันเหมาะสมกับการปราบกิเลสทุกประเภทไป
กิเลสอย่างหยาบแสดงขึ้นภายในจิตใจ เราจะเอาอะไรเข้าไปปราบความหยาบโลนของกิเลส
ความดื้อด้านของกิเลส ซึ่งแสดงขึ้นมาในจิตใจของเราโดยแท้ อุบายวิธีใดที่จะทันกับกิเลสประเภทดื้อด้านหาญสู้ต่อธรรม
เราต้องนำประเภทที่เหี้ยมโหดต่อกิเลส ประเภทที่แหลมคมกว่ากิเลสเข้าต่อสู้กับกิเลสประเภทนั้น ๆ
ด้วยเหตุนี้เองการประพฤติปฏิบัติจึงมีความทรหดอดทน มีความเฉลียวฉลาดรอบตัวอยู่เสมอ มีความตั้งหน้าตั้งตา
มีความต้านทาน มีความอุตส่าห์พยายาม มีความคิดไหวพริบปัญญาให้ทันกับอาการของจิต
ซึ่งกิเลสผลักดันออกมาเป็นลวดลายแห่งการต่อสู้กับธรรมแต่ละอาการ ๆ ให้ทันกัน ไม่เช่นนั้นไม่ทัน
นี่คือวิธีการที่ถูกต้องแท้กับคำว่ามัชฌิมา
อันเรื่องเครื่องมือที่จะปราบกิเลสนั้น ในวงปฏิบัติถ้าผู้ปฏิบัติให้เป็นไปตามอรรถตามธรรม
ตามสวากขาตธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว จะพอฟัดพอเหวี่ยงกันไปตั้งแต่ต้นทาง
เมื่อได้เหตุได้ผลได้ต้นทุนเข้ามาเป็นหลักเป็นเกณฑ์ภายในจิตใจ
ด้วยการปฏิบัติด้วยการต่อสู้กับกิเลสประเภทนั้น ๆ พอสมควรแล้ว
จะทราบวิธีการปฏิบัติต่อกิเลสประเภทที่ละเอียดยิ่งกว่านั้นเข้าไปโดยลำดับ ๆ ด้วยเครื่องมือ
คืออุบาย สติ ปัญญา ศรัทธา ความเพียรของตนเอง
นี่การนำมัชฌิมามาใช้ให้เหมาะสมกับกิเลสประเภทต่าง ๆ นี่เรียกว่าเหมาะสม
มัชฌิมาคือความเหมาะสม กิเลสหยาบมัชฌิมาต้องหนักมือ
กิเลสกลางมัชฌิมาก็ให้เป็นขนาดเหมาะสมกับการปราบกิเลสให้อยู่ในเงื้อมมือ
กิเลสละเอียดลงไป มัชฌิมามีสติปัญญาเป็นต้น จะละเอียดแหลมคมเข้าไปโดยลำดับ ๆ ทันกันไปโดยลำดับ
และฆ่ากันไปเรื่อย ๆ หมดไปเรื่อย ๆ ภายในจิตใจ นี่ให้พากันเข้าใจคำว่ามัชฌิมาในหลักธรรมชาติ
หรือในหลักของการปฏิบัติที่ประสบเหตุการณ์จริง ๆ เป็นอย่างนี้ ไม่ใช่เป็นแบบเถรตรง
จะทำความพากเพียรบ้าง อุตส่าห์พยายามบ้าง มีความทุกข์ความลำบากต่อการประกอบความเพียรบ้าง
ก็ถูกกิเลสมันหลอกเสียว่านี่มันจะเคร่งเกินไป แน่ะทำพอดี คำว่าพอดีนั้นคือมัชฌิมาของกิเลสเราหาได้ทราบไม่
มัชฌิมาของกิเลสมันแทรกอยู่ทุกแง่ทุกมุมแห่งมัชฌิมาของธรรม
เพราะฉะนั้นคำว่ามัชฌิมาของธรรมอันแท้จริงที่จะปราบกิเลสนั้นจึงก้าวไม่ออก
เพราะถูกมัชฌิมาของกิเลสกล่อมไปเสียหมด จะนั่งภาวนาชั่วกาลชั่วเวลากี่ชั่วโมง
ก็ถูกกิเลสมากล่อมเสียว่ามันจะเกินมัชฌิมาไป เคร่งเกินไป หนักเกินไป
ไม่เหมาะไม่ถูกต้องกับหลักมัชฌิมา ถูกกล่อมไปเสียอย่างนี้
-----------------------------------
นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา - พระธรรมเทศนาโดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๔
อ่านเนื้อหาเต็มได้จาก http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=933&CatID=3