จากกระทู้
http://ppantip.com/topic/31872782
อายตนะภายใน อายตนะภายนอก วิญญาณ
จักขุ รูป (รูปารมณ์) จักขุวิญญาณ
โสต สัททะ (สัททารมณ์) โสตวิญญาณ
ฆานะ คันธะ (คันธารมณ์) ฆานวิญญาณ
ชิวหา รสะ (รสารมณ์) ชิวหาวิญญาณ
กาย โผฎฐัพพะ (โผฏฐัพพารมณ์) กายวิญญาณ
มโน ธรรม (ธรรมารมณ์) มโนวิญญาณ
เฉพาะที่ยกมา 3 หมวดซึ่งเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ สามารถพิจารณาในหมวดว่าด้วยผัสสะ ปริญญา 3 และดูให้ไปถึงทุกข อนิจจ อัตตา ดังที่ปรากฏใน พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=1120&Z=1167&pagebreak=0
(เพิ่ม ปฏิฆสัมผัส (คือสัญญาเกิดแต่ปัญจทวาร) เป็นสัญญาหยาบ สัญญาอันเกิดแต่อธิวจนสัมผัส (คือสัญญเกิดแต่มโนทวาร) เป็นสัญญาละเอียด อนิมิตตะและอัปปณิหิตะ เป็นชื่อของพระนิพพาน อนิมิตตะ หมายถึงไม่มีนิมิต คือไม่มีสังขาร อัปปณิหิตะ หมายถึง ไม่มีที่ตั้งคือสังขารทั้งปวง คำศัพท์ได้จากเว็บบ้านธัมมะ และเว็บ E-Tipitaka))
ว่าด้วยผัสสะต่าง ๆ ดังนี้
คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้วเป็นผู้ไม่ตามติดใจ มีความว่า ผัสสะได้แก่จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส อธิวจนสัมผัส ปฏิฆสัมผัส สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ผัสสะอันสัปยุตด้วยกุศลจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอกุศลจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกามาวจรจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยรูปาวจรจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต ผัสสะเป็นสุญญตะ ผัสสะเป็นอนิมิตตะ ผัสสะเป็นอัปปณิหิตะ ผัสสะเป็นโลกิยะ ผัสสะเป็นโลกุตตระ ผัสสะเป็นอดีต ผัสสะเป็นอนาคต ผัสสะเป็นปัจจุบัน ผัสสะใดเห็นปานนี้คือความถูกต้อง ความถูกต้องพร้อม ความที่จิตถูกต้องพร้อมนี้ชื่อว่า ผัสสะ คำว่ากำหนดรู้ผัสสะแล้ว คือกำหนดรู้ซึ่งผัสสะโดยปริญญา ๓ ประการ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา
ว่าด้วยปริญญา ๓ ประการ
ญาตปริญญาเป็นไฉน? ธีรชนย่อมรู้ซึ่งผัสสะคือย่อมรู้ ย่อมเห็นว่า นี้จักขุสัมผัส นี้โสตสัมผัส นี้ฆานสัมผัส นี้ชิวหาสัมผัส นี้กายสัมผัส นี้มโนสัมผัส นี้อธิวจนสัมผัส นี้ปฏิฆสัมผัส นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกุศลจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอกุศลจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกามาวจรจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยรูปาวจรจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต นี้ผัสสะเป็นสุญญตะ นี้ผัสสะเป็นอนิมิตตะ นี้ผัสสะเป็นอัปปณิหิตะ นี้ผัสสะเป็นโลกิยะ นี้ผัสสะเป็นโลกุตตระ นี้ผัสสะเป็นอดีต นี้ผัสสะเป็นอนาคต นี้ผัสสะเป็นปัจจุบัน นี้เรียกว่าญาตปริญญา
ตีรณปริญญาเป็นไฉน? ธีรชนทำความรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณาซึ่งผัสสะ คือย่อมพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของแตกพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่ต้านทาน เป็นของไม่มีที่ช่อนเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นโทษ เป็นของมีความแปรไปเป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นมูลแห่งความลำบาก เป็นดังเพชฌฆาต เป็นของปราศจากความเจริญ เป็นของมีอาสวะ เป็นของอันเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อมาร เป็นของมีชาติเป็นธรรมดา เป็นของมีชราเป็นธรรมดา เป็นของมีพยาธิเป็นธรรมดา เป็นของมีมรณะเป็นธรรมดา เป็นของมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดา เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป เป็นของไม่ชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ นี้เรียกว่าตีรณปริญญา.
ปหานปริญญาเป็นไฉน? ธีรชนพิจารณาอย่างนี้แล้วย่อมละ บรรเทาทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลังซึ่งฉันทราคะในผัสสะ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในผัสสะใด เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะนั้น ผัสสะนั้นจักเป็นของอันเธอทั้งหลายละแล้ว มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วนถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นธรรมดา โดยประการอย่างนี้ นี้เรียกว่า ปหานปริญญา
คำว่ากำหนดรู้ผัสสะแล้ว คือกำหนดรู้ซึ่งผัสสะด้วยปริญญา ๓ นี้ คำว่า ไม่เป็นผู้ตามติดใจมีความว่า ตัณหาเรียกว่าความติดใจ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ความติดใจนั้นอันบุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่าเป็นผู้ไม่ติดใจ บุคคลนั้นไม่ติดใจคือ ไม่ถึงความติดใจ ไม่หลงใหล ไม่หมกมุ่น ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริฐ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีตกาล อนาคตกาล ปัจจุบันกาล ทิฏฐธรรม สุตธรรม มุตธรรม วิญญาตัพพธรรม คือเป็นผู้คลายปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนความติดใจแล้ว คลาย ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนความกำหนัดแล้ว หมดความอยาก ดับแล้ว เย็นแล้ว เสวยความสุข มีตนเป็นดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้วไม่เป็นผู้ตามติดใจ
เพิ่มเติมเอง: ในส่วนของตีรณปริญญา หากท่านผู้อ่านได้อ่าน ๆ ไปจะพบว่าส่วนที่ขึ้นต้นว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค ..............เป็นของไม่ชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ (อาทีนะวะ) เป็นนิสสรณะ นั้นคือที่เราอาจเคยได้ว่าที่เรียกว่า โต 40 (ในพระสูตรนี้จำนวน "เป็น" นับได้มากกว่า 40 (ที่เคยอ่านมาปกติพอว่าโต 40 ท่านจะอ้างถึงโต 40 วิสุทธิมรรค) ที่ปรากฏนี้คือครบทั้งทุกขลักษณะ อนิจจลักษณะ และอนัตตลักษณะ สำหรับท่านไว้เพ่งไตรลักษณะ
ในส่วนของคำว่า ทิฏฐธรรม สุตธรรม มุตธรรม วิญญาตัพพธรรม ผู้เขียนเวลานี้ค้นได้แต่เพียงทิฏฐัง โสตัง มุตตัง วิญญาตัง ทิฏฐังเป็นที่ได้เห็นทางตา โสตังเป็นเรื่องการที่ได้ยินทางหู มุตตังเป็นเรื่องการได้กลิ่นทางจมูก ได้รส (ลิ้ม) ทางลิ้น ถูกต้องด้วยกาย (ต้องกระทบปรากฏกับสรีระ ติดกับอายตนะ ต่างกับทางตา ทางจมูก) และวิญญาตัง รู้ด้วยใจ ก็คืออารมรณ์รู้ด้วยทวาร 6 (คำอธิบายได้จากเว็บบ้านธัมมะ)
ทำสำเนารูปข้อความบาลีเฉพาะ "โต" มาให้เผื่อบางท่านชอบคำบาลี ลองนับดูได้ 43 ดังนั้น (คาดว่า) ที่ว่า 40 คงลด อัสสาทะ อาทีนว นิสสารณะ (3 คำสุดท้าย) ท่านผู้อ่านอาจมีความพยายามเรียบเรียงโต 40 เป็นทุกขลักษณะ (มี 25) อนิจจลักษณะ (10) และอนัตตลักษณะ (5) ตามที่อธิบายกันไว้ก็ได้.... มีผู้เคยทำมาแล้วค้นในเน็ตได้ครับแต่เอาไปเปรียบเทียบหาคำตรง ๆ อาจงง ก็ลองดูครับ เราไม่ติดที่ชื่อพิจารณากันที่ลักษณะ สำหรับในวิสุทธิมรรคก็มีครับ วันหน้าถ้าว่างจะนำมาเทียบเคียงให้ (อยู่ในปัญญานิเทศ เล่มหลัง (แล้วแต่สำนักพิมพ์ไหน ปีไหน แต่ค้นได้ครับจากหัวข้อที่ให้ถัดไป) ถ้าเป็นฉบับพิมพ์ของมหามกุฏราชวิทยาลัยคือภาค 3 ตอนจบ ฉบับพิมพ์ปี 2553 อยู่ในเรื่องปฏิปทาญาณทัสนวิสุทธินิเทศ ในส่วนปฏิสังขานุปัสนาญาณ) ตรงนั้นท่านจำแนกละเอียดมากกว่าที่นำมาแสดงไว้ ณ ที่นี้
ปิยรูป สาตรูป (2) ผัสสะ โต 40+
อายตนะภายใน อายตนะภายนอก วิญญาณ
จักขุ รูป (รูปารมณ์) จักขุวิญญาณ
โสต สัททะ (สัททารมณ์) โสตวิญญาณ
ฆานะ คันธะ (คันธารมณ์) ฆานวิญญาณ
ชิวหา รสะ (รสารมณ์) ชิวหาวิญญาณ
กาย โผฎฐัพพะ (โผฏฐัพพารมณ์) กายวิญญาณ
มโน ธรรม (ธรรมารมณ์) มโนวิญญาณ
เฉพาะที่ยกมา 3 หมวดซึ่งเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ สามารถพิจารณาในหมวดว่าด้วยผัสสะ ปริญญา 3 และดูให้ไปถึงทุกข อนิจจ อัตตา ดังที่ปรากฏใน พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=1120&Z=1167&pagebreak=0
(เพิ่ม ปฏิฆสัมผัส (คือสัญญาเกิดแต่ปัญจทวาร) เป็นสัญญาหยาบ สัญญาอันเกิดแต่อธิวจนสัมผัส (คือสัญญเกิดแต่มโนทวาร) เป็นสัญญาละเอียด อนิมิตตะและอัปปณิหิตะ เป็นชื่อของพระนิพพาน อนิมิตตะ หมายถึงไม่มีนิมิต คือไม่มีสังขาร อัปปณิหิตะ หมายถึง ไม่มีที่ตั้งคือสังขารทั้งปวง คำศัพท์ได้จากเว็บบ้านธัมมะ และเว็บ E-Tipitaka))
ว่าด้วยผัสสะต่าง ๆ ดังนี้
คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้วเป็นผู้ไม่ตามติดใจ มีความว่า ผัสสะได้แก่จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส อธิวจนสัมผัส ปฏิฆสัมผัส สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ผัสสะอันสัปยุตด้วยกุศลจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอกุศลจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกามาวจรจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยรูปาวจรจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต ผัสสะเป็นสุญญตะ ผัสสะเป็นอนิมิตตะ ผัสสะเป็นอัปปณิหิตะ ผัสสะเป็นโลกิยะ ผัสสะเป็นโลกุตตระ ผัสสะเป็นอดีต ผัสสะเป็นอนาคต ผัสสะเป็นปัจจุบัน ผัสสะใดเห็นปานนี้คือความถูกต้อง ความถูกต้องพร้อม ความที่จิตถูกต้องพร้อมนี้ชื่อว่า ผัสสะ คำว่ากำหนดรู้ผัสสะแล้ว คือกำหนดรู้ซึ่งผัสสะโดยปริญญา ๓ ประการ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา
ว่าด้วยปริญญา ๓ ประการ
ญาตปริญญาเป็นไฉน? ธีรชนย่อมรู้ซึ่งผัสสะคือย่อมรู้ ย่อมเห็นว่า นี้จักขุสัมผัส นี้โสตสัมผัส นี้ฆานสัมผัส นี้ชิวหาสัมผัส นี้กายสัมผัส นี้มโนสัมผัส นี้อธิวจนสัมผัส นี้ปฏิฆสัมผัส นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกุศลจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอกุศลจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกามาวจรจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยรูปาวจรจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต นี้ผัสสะเป็นสุญญตะ นี้ผัสสะเป็นอนิมิตตะ นี้ผัสสะเป็นอัปปณิหิตะ นี้ผัสสะเป็นโลกิยะ นี้ผัสสะเป็นโลกุตตระ นี้ผัสสะเป็นอดีต นี้ผัสสะเป็นอนาคต นี้ผัสสะเป็นปัจจุบัน นี้เรียกว่าญาตปริญญา
ตีรณปริญญาเป็นไฉน? ธีรชนทำความรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณาซึ่งผัสสะ คือย่อมพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของแตกพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่ต้านทาน เป็นของไม่มีที่ช่อนเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นโทษ เป็นของมีความแปรไปเป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นมูลแห่งความลำบาก เป็นดังเพชฌฆาต เป็นของปราศจากความเจริญ เป็นของมีอาสวะ เป็นของอันเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อมาร เป็นของมีชาติเป็นธรรมดา เป็นของมีชราเป็นธรรมดา เป็นของมีพยาธิเป็นธรรมดา เป็นของมีมรณะเป็นธรรมดา เป็นของมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดา เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป เป็นของไม่ชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ นี้เรียกว่าตีรณปริญญา.
ปหานปริญญาเป็นไฉน? ธีรชนพิจารณาอย่างนี้แล้วย่อมละ บรรเทาทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลังซึ่งฉันทราคะในผัสสะ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในผัสสะใด เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะนั้น ผัสสะนั้นจักเป็นของอันเธอทั้งหลายละแล้ว มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วนถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นธรรมดา โดยประการอย่างนี้ นี้เรียกว่า ปหานปริญญา
คำว่ากำหนดรู้ผัสสะแล้ว คือกำหนดรู้ซึ่งผัสสะด้วยปริญญา ๓ นี้ คำว่า ไม่เป็นผู้ตามติดใจมีความว่า ตัณหาเรียกว่าความติดใจ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ความติดใจนั้นอันบุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่าเป็นผู้ไม่ติดใจ บุคคลนั้นไม่ติดใจคือ ไม่ถึงความติดใจ ไม่หลงใหล ไม่หมกมุ่น ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริฐ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีตกาล อนาคตกาล ปัจจุบันกาล ทิฏฐธรรม สุตธรรม มุตธรรม วิญญาตัพพธรรม คือเป็นผู้คลายปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนความติดใจแล้ว คลาย ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนความกำหนัดแล้ว หมดความอยาก ดับแล้ว เย็นแล้ว เสวยความสุข มีตนเป็นดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้วไม่เป็นผู้ตามติดใจ
เพิ่มเติมเอง: ในส่วนของตีรณปริญญา หากท่านผู้อ่านได้อ่าน ๆ ไปจะพบว่าส่วนที่ขึ้นต้นว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค ..............เป็นของไม่ชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ (อาทีนะวะ) เป็นนิสสรณะ นั้นคือที่เราอาจเคยได้ว่าที่เรียกว่า โต 40 (ในพระสูตรนี้จำนวน "เป็น" นับได้มากกว่า 40 (ที่เคยอ่านมาปกติพอว่าโต 40 ท่านจะอ้างถึงโต 40 วิสุทธิมรรค) ที่ปรากฏนี้คือครบทั้งทุกขลักษณะ อนิจจลักษณะ และอนัตตลักษณะ สำหรับท่านไว้เพ่งไตรลักษณะ
ในส่วนของคำว่า ทิฏฐธรรม สุตธรรม มุตธรรม วิญญาตัพพธรรม ผู้เขียนเวลานี้ค้นได้แต่เพียงทิฏฐัง โสตัง มุตตัง วิญญาตัง ทิฏฐังเป็นที่ได้เห็นทางตา โสตังเป็นเรื่องการที่ได้ยินทางหู มุตตังเป็นเรื่องการได้กลิ่นทางจมูก ได้รส (ลิ้ม) ทางลิ้น ถูกต้องด้วยกาย (ต้องกระทบปรากฏกับสรีระ ติดกับอายตนะ ต่างกับทางตา ทางจมูก) และวิญญาตัง รู้ด้วยใจ ก็คืออารมรณ์รู้ด้วยทวาร 6 (คำอธิบายได้จากเว็บบ้านธัมมะ)
ทำสำเนารูปข้อความบาลีเฉพาะ "โต" มาให้เผื่อบางท่านชอบคำบาลี ลองนับดูได้ 43 ดังนั้น (คาดว่า) ที่ว่า 40 คงลด อัสสาทะ อาทีนว นิสสารณะ (3 คำสุดท้าย) ท่านผู้อ่านอาจมีความพยายามเรียบเรียงโต 40 เป็นทุกขลักษณะ (มี 25) อนิจจลักษณะ (10) และอนัตตลักษณะ (5) ตามที่อธิบายกันไว้ก็ได้.... มีผู้เคยทำมาแล้วค้นในเน็ตได้ครับแต่เอาไปเปรียบเทียบหาคำตรง ๆ อาจงง ก็ลองดูครับ เราไม่ติดที่ชื่อพิจารณากันที่ลักษณะ สำหรับในวิสุทธิมรรคก็มีครับ วันหน้าถ้าว่างจะนำมาเทียบเคียงให้ (อยู่ในปัญญานิเทศ เล่มหลัง (แล้วแต่สำนักพิมพ์ไหน ปีไหน แต่ค้นได้ครับจากหัวข้อที่ให้ถัดไป) ถ้าเป็นฉบับพิมพ์ของมหามกุฏราชวิทยาลัยคือภาค 3 ตอนจบ ฉบับพิมพ์ปี 2553 อยู่ในเรื่องปฏิปทาญาณทัสนวิสุทธินิเทศ ในส่วนปฏิสังขานุปัสนาญาณ) ตรงนั้นท่านจำแนกละเอียดมากกว่าที่นำมาแสดงไว้ ณ ที่นี้