จากบทความของ พนิดา สงวนเสรีวานิช
หน้า 17 มติชนรายวัน ฉบับวันศุกร์ที่ 18 เมษายน 2557
และ
http://m.matichon.co.th/readnews.php?newsid=1397807190&grpid=03&catid=08
นี่คือ...บางส่วน
ใครว่า บทกวีตายแล้ว!
แม้ว่าปัจจุบันแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่จะตั้งข้อสังเกตว่า บทกวีตายแล้วหรืออย่างไร?
เมื่อหยิบคำถามนี้ยื่นให้กับนักกลอนอย่าง "นิภา บางยี่ขัน" คำตอบคือ...
แน่นอน ถ้าเป็นกลอนอย่างสายลมแสงแดดก็คงตายแล้ว
อย่างไรก็ตาม ป้านิภายอมรับว่า หนังสือรวมกวีในปัจจุบันขายยากมาก
นอกจากจะเป็นหนังสือที่ส่งประกวดของกระทรวง
เล่มที่ได้รางวัลจะมีคนมาจองขอพิมพ์จำหน่าย หรือหนังสือซีไรต์ก็พิมพ์ขายได้
แต่งานนั้นๆ จะต้องเป็นที่ยอมรับด้วย
บางคนจึงเลือกที่จะพิมพ์แล้วขายเอง
เพราะไม่ต้องเสียให้กับสายส่ง 30% (ใกล้ 40 % แล้วป้าจ๋า -จขกท.)
ทำให้ได้ทุนคืนเร็ว
"...แต่มันจะตายเฉพาะบทกวีที่เข้าไม่ถึงใจคนอ่านปัจจุบัน
อ่านแล้วมันไม่มีค่าพอแก่การเก็บไว้
ไม่มีค่าพอแก่การรำลึกถึง แค่อ่านผ่านๆ เท่านั้น เดี๋ยวมันก็ตาย"
แล้วตั้งข้อสังเกตว่า นักกลอนรุ่นใหม่
มีศัพท์ที่เหมือนบัญญัติขึ้นมาเองบ้าง
ตามแต่สไตล์ของนักเขียนแต่ละคน
"สมัยก่อนจะใส่ภาษาต่างประเทศ อาจารย์จะไม่ค่อยยอมรับ
แต่ในเฟซบุ๊กปัจจุบันเราต้องตามให้ทัน
ภาษาสมัยใหม่ที่เป็นสแลง
ไม่ต้องกังวลหรอกเพราะมันมาเดี๋ยวเดียวก็ไป
ก็พยายามเรียนรู้
เพียงแต่เราจะไม่ใส่ลงไปในงานที่พิมพ์เป็นหนังสือ
"บางคำที่หยิบมาใช้ได้กลมกลืนแล้ว
จะหมายเหตุอยู่ข้างท้ายก็ไม่เป็นไร
เพราะเมื่อมาอ่านย้อนหลัง
เราจะได้รู้ว่ามีคำพูดคำนี้นะ ก็ไม่น่าจะเสียหาย"
.....................................................................
และ "เทาชมพู" (ว.วินิจฉัยกุล-แก้วเก้า)
ได้เคยเขียนถึง ′นิภา บางยี่ขัน′ ไว้ในเว็บเรือนไทย
ที่นี่ครับ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2652.15
จับเข่าคุย ′กวีหวานรัตนโกสินทร์′ 75 กะรัต ′นิภา บางยี่ขัน′
หน้า 17 มติชนรายวัน ฉบับวันศุกร์ที่ 18 เมษายน 2557
และ http://m.matichon.co.th/readnews.php?newsid=1397807190&grpid=03&catid=08
นี่คือ...บางส่วน
ใครว่า บทกวีตายแล้ว!
แม้ว่าปัจจุบันแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่จะตั้งข้อสังเกตว่า บทกวีตายแล้วหรืออย่างไร?
เมื่อหยิบคำถามนี้ยื่นให้กับนักกลอนอย่าง "นิภา บางยี่ขัน" คำตอบคือ...
แน่นอน ถ้าเป็นกลอนอย่างสายลมแสงแดดก็คงตายแล้ว
อย่างไรก็ตาม ป้านิภายอมรับว่า หนังสือรวมกวีในปัจจุบันขายยากมาก
นอกจากจะเป็นหนังสือที่ส่งประกวดของกระทรวง
เล่มที่ได้รางวัลจะมีคนมาจองขอพิมพ์จำหน่าย หรือหนังสือซีไรต์ก็พิมพ์ขายได้
แต่งานนั้นๆ จะต้องเป็นที่ยอมรับด้วย
บางคนจึงเลือกที่จะพิมพ์แล้วขายเอง
เพราะไม่ต้องเสียให้กับสายส่ง 30% (ใกล้ 40 % แล้วป้าจ๋า -จขกท.)
ทำให้ได้ทุนคืนเร็ว
"...แต่มันจะตายเฉพาะบทกวีที่เข้าไม่ถึงใจคนอ่านปัจจุบัน
อ่านแล้วมันไม่มีค่าพอแก่การเก็บไว้
ไม่มีค่าพอแก่การรำลึกถึง แค่อ่านผ่านๆ เท่านั้น เดี๋ยวมันก็ตาย"
แล้วตั้งข้อสังเกตว่า นักกลอนรุ่นใหม่
มีศัพท์ที่เหมือนบัญญัติขึ้นมาเองบ้าง
ตามแต่สไตล์ของนักเขียนแต่ละคน
"สมัยก่อนจะใส่ภาษาต่างประเทศ อาจารย์จะไม่ค่อยยอมรับ
แต่ในเฟซบุ๊กปัจจุบันเราต้องตามให้ทัน
ภาษาสมัยใหม่ที่เป็นสแลง
ไม่ต้องกังวลหรอกเพราะมันมาเดี๋ยวเดียวก็ไป
ก็พยายามเรียนรู้
เพียงแต่เราจะไม่ใส่ลงไปในงานที่พิมพ์เป็นหนังสือ
"บางคำที่หยิบมาใช้ได้กลมกลืนแล้ว
จะหมายเหตุอยู่ข้างท้ายก็ไม่เป็นไร
เพราะเมื่อมาอ่านย้อนหลัง
เราจะได้รู้ว่ามีคำพูดคำนี้นะ ก็ไม่น่าจะเสียหาย"
.....................................................................
และ "เทาชมพู" (ว.วินิจฉัยกุล-แก้วเก้า)
ได้เคยเขียนถึง ′นิภา บางยี่ขัน′ ไว้ในเว็บเรือนไทย
ที่นี่ครับ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2652.15