ภาพถ่ายจักรวาลของจริงหรือเปล่า หรือมีเทคนิคอย่างไร ?

สงสัยว่าภาพถ่ายอวกาศไกล ๆ ระดับหมื่นล้านปีแสง หรือเอาแค่กาแลคซี่เพื่อนบ้านไม่ถึงล้านปีแสง มันภาพถ่ายจริงหรือจินตนาการแล้วให้คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นมา ? มันเปรียบเสมือนกล้องโทรทัศน์มีขนาดเท่าขี้ฝุ่นอยู่บนผิวดวงอาทิตย์แล้วส่องเห็นเม็ดทรายบนผิวอีกด้านหนึ่งของดวงอาทิตย์ มันเป็นไปได้หรือ ? มันไกลมากกกกกกกกกกก เลยนะ แสงจากขอบจักรวาลมันเข้มข้นพอที่จะเดินทางมาถึงโลกเราหรือ ? มันน่าจะกระเจิงหายไปหมดแล้ว

อยากทราบว่าเขาทำได้อย่างไรครับ ?
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
1. สงสัยว่าภาพถ่ายอวกาศไกล ๆ ระดับหมื่นล้านปีแสง หรือเอาแค่กาแลคซี่เพื่อนบ้านไม่ถึงล้านปีแสง
มันภาพถ่ายจริงหรือจินตนาการแล้วให้คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นมา ?
- เป็นภาพจริงทั้งหมดครับ  หรือจะพูดอีกอย่างคือภาพจริงเหล่านั้นมีแน่นอน 100%  แต่ภาพที่สร้างจาก computer graphic ก็มีครับ
  ภาพเหล่านั้นเป็นภาพถ่ายจริงจากเทคนิคการถ่ายภาพ UDH (Ultra Deep Field) ของกล้องโทรทรรศน์ Hubble
  ภาพ UDF เหล่านี้ Hubble สามารถถ่ายได้ด้วยวิธีบันทึกภาพซ้ำ ๆ ในจุดเดิม โดยเปิดหน้ากล้องให้นานมากพอ
  
  อย่างเช่นภาพ UDF ที่มีชื่อเสียง กล้อง Hubble จะเล็งไปที่ทิศทางเล็ก ๆ ในกลุ่มดาวหมีใหญ่
และบันทึกภาพโดยใช้เวลา 10 วันระหว่าง 18 - 28 ธันวาคม 1995  จำนวนมากถึง 400 รอบการโคจรรอบโลก
ได้ภาพมาจำนวน 342 ภาพ และนำมาวิเคราะห์และรวมกันเป็นภาพใหญ่


และนี่คือภาพ UDF ที่ได้มาครับ  หากเรามองด้วยตาเปล่าแล้ว ในอวกาศช่องเล็ก ๆ นี้จะมืดมิดไปหมดสิ้น
แต่ด้วยเทคนิคการถ่ายภาพ UDF ด้วยวิธีที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เปิดเผยว่ายังมีแกแลคซี่อีกมาก
ในระยะทางอันไกลโพ้นทีเดียว

  

2. มันเปรียบเสมือนกล้องโทรทัศน์มีขนาดเท่าขี้ฝุ่นอยู่บนผิวดวงอาทิตย์แล้วส่องเห็นเม็ดทรายบนผิวอีกด้านหนึ่งของดวงอาทิตย์
มันเป็นไปได้หรือ ?
- คือว่า .... หาก จขกท.เทียบอย่างนี้ก็จะไม่ถูกต้องครับ เพราะว่า ถึงแม้วัตถุเหล่านั้นจะห่างไกลจากโลก
  เป็นหน่วยล้าน หรือ 10 - 100 ล้านปีแสง แต่ ... วัตถุเหล่านั้นมีขนาดใหญ่มากนับหลายหมื่น - แสน ปีแสงเช่นกัน
  การที่วัตถุมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเป็นแสน ๆ ปีแสงนั้น กล้องโทรทรรศน์จะสามารถจับ "แสง" ที่มาถึงโลกได้
  และที่สำคัญ คือ จะมีเรื่อง resolution มาเกี่ยวข้องด้วย วัตถุเหล่านั้นมีขนาดใหญ่พอที่ sensor ของกล้องจะจับได้
  เทียบกับที่ จขกท.บอกว่าเม็ดทรายบนดวงอาทิตย์นั้น ตัวเม็ดทรายเอง หรือเอาง่าย ๆ คือธงอเมริกันบนดวงจันทร์
  มันมีขนาดเล็กเกินกว่าที่ sensor กล้องจะจับได้ คือหากเทียบระยะทางมาที่โลกแล้ว เม็ดทรายบนดวงอาทิตย์หรือธงบนดวงจันทร์
  จะมีขนาดเป็นมุม ARC เล็กกว่า pixel ของ sensor กล้องเสียอีก ....

  ดังนั้น จึงไม่มีกล้องตัวใดที่จะจับวัตถุในมุม ARC แค่นั้นได้ครับ

  เทียบกับขนาดของแกแลคซี่ในระยะหลายล้านปีแสง วัตถุพวกนี้มีขนาดมุม ARC
  ที่ใหญ่พอที่จะปรากฏใน sensor ได้ครับ

3. มันไกลมากกกกกกกกกกก เลยนะ แสงจากขอบจักรวาลมันเข้มข้นพอที่จะเดินทางมาถึงโลกเราหรือ ? มันน่าจะกระเจิงหายไปหมดแล้ว
อยากทราบว่าเขาทำได้อย่างไรครับ ?
- ไกลขนาดนั้นจริง แต่แสงเหล่านั้นยังไม่กระเจิงหรือสูญเสียมากจนเกินกว่าที่จะจับภาพได้ครับ
  กล้อง Hubble นั้น Primary Lense ขนาดใหญ่ 2.4 เมตร ซึ่งจะใหญ่เพียงพอที่จะจับแสงอันริบหรี่นั้นได้
  ในชีวิตประจำวันของเรา เราจะไม่มีโอกาสได้สัมผัสกับอุปกรณ์เทพ ๆ แบบนี้ครับ
  ซึ่งที่จริงแล้วกล้องที่มี primary lense 2 เมตรอย่าง Hubble เนี่ย หากนำไปบันทึกภาพอวกาศ
  พร้อมเทคนิคขั้นสูงตามที่กล่าวไปแล้ว มันสามารถได้ภาพอย่างนั้นจริงครับ

  เดี๋ยวรอประมาณปี 2018 - 2020 จะมีกล้องโทรทรรศน์ James Webb Space Telescope
  ซึ่งจะมีเลนส์ขนาดใหญ่ 6.5 เมตร เราจะได้เห็นภาพอันตื่นตาของจักรวาลยิ่งกว่านี้อีก
  อ่านรายละเอียดของ James Webb Space Telescope ที่กระทู้เก่าของผมได้ครับ
http://topicstock.ppantip.com/wahkor/topicstock/2012/09/X12613638/X12613638.html

ผมขอยกตัวอย่างภาพนึงให้ดูครับ เป็นภาพจริงของทางช้างเผือกที่ถ่ายด้วยกล้อง DSLR Nikon ทั่วไป
เพียงแต่ใช้เทคนิคการเปิดหน้ากล้องนาน 1 นาที และ process ภาพเพื่อลด noise เท่านั้น
นี่เป็นตัวอย่างให้เห็นว่า หากเราแหงนหน้ามองฟ้าด้วยตาเปล่าแล้ว แกนกลางทางช้างเผือกจะไม่เห็นเลย
เราจะเห็นแค่ท้องฟ้ามืด ๆ ที่มีดาวเป็นจุด ๆ เท่านั้น แต่พอถ่ายด้วยเทคนิคแบบนี้ เราก็สามารถเห็นภาพสวยงามแบบนี้ได้
เทียบกับกล้องโทรทรรศน์อวกาศขนาดใหญ่ ก็ย่อมต้องถ่ายภาพวัตถุไกลได้ในแบบที่เราแปลกใจครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่