การปลูกปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนคืออะไร ทำไม EU ถึงให้ความสำคัญ

พอดีได้ฟังข่าวทางวิทยุว่าทางสหภาพยุโรปมีการต่อต้านน้ำมันปาล์มจากทางมาเลเซียและอินโดนีเซีย และให้ความสำคัญกับน้ำมันปาล์มจากทางประเทศไทยเพิ่มขึ้น เพราะเรื่องการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน

มีใครพอจะให้ความกระจ่างได้หรือเปล่าคะว่า การผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนเป็นอย่างไร เริ่มจากกระบวนการไหนไปจนถึงกระบวนการไหน มีหลักเกณฑ์วิเคราะห์อย่างไร มีองค์กรไหนเป็นตัวรับรองหลักเกณฑ์

อีกอย่างคือเหตุการณ์การต่อต้านมันเริ่มมาจากตรงไหนหรือคะ แล้วทำไมเขาถึงให้ความสนใจไทยเพิ่มมากขึ้น ยังมีเรื่องอื่นหรือไม่ที่เกี่ยวข้อง

ปล. เราถามแบบไม่รู้เรื่องอะไรเลยนะคะ ถ้าข้อมูลตรงไหนผิดพลาด ต้องขออภัยล่วงหน้า อยากหาความรู้เอาไว้เพราะที่บ้านปลูกปาล์ม กับยาง หาข้อมูลแล้วก็ยังไม่ใช่ข้อมูลที่เป็นหลักเกณฑ์อะไร เป็นเพียงข่าวและการประชาสัมพันธ์

ปล.2 Tag ห้องหว้ากอเพราะอยากรู้เรื่องเกี่ยวกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์มและการนำไปใช้, ห้องสีลมเพราะเกี่ยวกับ AEC และการส่งออก, สีลมเพราะเรื่องเศรษฐศาสตร์

เพิ่มเติม หลังจากได้ไปอ่านที่ http://www.rspo.org/file/RSPO.pdf สามารถสรุปได้ว่า เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันต้องรวมกลุ่มกันในท้องถิ่น มีการให้ความรู้ ฝึกอบรม และศึกษาผลกระทบที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นที่เกิดจากการปลูกปาล์มน้ำมัน มีการจัดทำบันทึกการใช้สารเคมีที่ใช้ในสวน และหาแนวทางลดสารเคมีที่ไม่จำเป็น หรือสามารถหาวิธีอื่นมาทดแทนได้

ในความคิดของเจ้าของกระทู้ หากตลาดโลกเข้มงวดเรื่องนี้มากขึ้น การปรับตัวของเราตอนนี้ก็ควรเริ่มต้นอย่างจริงจังได้แล้ว เพราะวิธีนี้เป็นในวิธีกีดกันการค้าอย่างหนึ่ง แต่ในขณะเดียวก็ช่วยส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ศึกษา เรื่อง RSPO ครับ ในเวปมีครับ หลักหลัก คือ มีการขยายการปลูกปาล์มน้ำมัน ใน ประเทศ ปาปัวร์ นิวกินี และ อินโดนีเซีย ในเขตป่าฝนมาก ทางยุโรป โดยเฉพาะ EU กลัวว่า จะเป็นการทำลาย สภาพแวดล้อม ของโลก จึงร่างกฎ การปลูกปาล์มน้ำมันแบบยั่งยืน โดยคำนึง ถึงการทำลาย สภาพแวดล้อม ทำลายป่า แหล่งต้นน้ำ ทำลายที่อยู่สัตว์ที่เสี่ยงการสูญพันธุ์ เช่น อุรังอุตัง ตลอดจน การใช้แรงงาน เด็ก ผู้หญิง แต่ประเทศไทย นั้น ผ่านกฎหลายข้อ เช่นการทำลายป่า เพราะไม่มีป่าให้ทำลาย เพื่อปลูกปาล์มน้ำมันแล้ว เพราะพื้นที่ป่าแทบไม่มีแล้ว จึงทำตามกฎ RSPO ได้ง่าย การตอบโต้ของ EU โดยการรณรงค์ให้บริษัท ที่ค้าขาย เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เกี่ยวกับน้ำมันบริโภค เช่น แวนฮูเต็น (ทำชอคโกแลค) ประกาศว่า จะใช้เฉพาะ ผลิตภัณฑ์ จาก ประเทศ และ บริษัท ที่เข้าร่วม กับ RSPO เท่านั้น

(ความเห็นส่วนตัว เป้นการกีดกัน ทางการค้า รูปแบบหนึ่ง ที่อ้างเอา ความยั่งยืน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มาบีบบังคับ ประเทศด้อยพัฒนา เพราะ การเข้าเป็นสมาชิก RSPO นั้น ต้องเสียค่าสมาชิก ปีละไม่น้อยเลยครับ และอ้างว่าเป็นเรื่องสมัครใจ คล้าย เรื่อง มาตราฐาน ISO ต่าง ๆ ครับ)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่