ใครๆก็บอกว่าคนกรุงเทพฯเห็นแก่ตัว แต่ผมสงสัยมากเลยว่า....

ช่วงนี้ไปเที่ยวต่างจังหวัดเจอมนุษย์ป้าคนนึงแอบเหน็บโทษฐานไม่ยอมให้ป้าแกแซงคิวดีๆ ว่าคนกทม.มันเห็นแก่ตัวไม่มีน้ำใจ ผมเลยกลับมานั่งคิดต่อว่าปัจจุบันประชากรใน กทม. ผมว่า 80-90% มาจากต่างหวัดนะครับ เลยสงสัยว่าแท้จริงแล้ว คนเห็นแก่ตัว คือต้องเป็นคน กทม. โดยกำเนิด หรือเป็นคนที่มาอยู่อาศัยทำงาน หรือคนที่ย้ายมาตั้งรกรากใน กทม. หรือเหมารวมดีครับ แล้วน้ำใจของคนต่างจังหวัดคือ ต้องให้ผู้สูงอายุแซงคิวรึเปล่าครับ หรือการโดนวัยรุ่นต่างจังหวัดขี่มอเตอร์ไซด์ปาดหน้ารถ แล้วไม่บีบแตรใส่ หรือการไม่ไปบอกข้างๆบ้านให้เบาเสียงลำโพงหน่อยตอนดึกๆ จนผมกลับมาถึงบ้านแล้ว ผมก็ยังไม่ค่อยเข้าใจนิยามคำว่าน้ำใจของคนต่างจังหวัดเท่าไรเลยครับ
                           มีใครพอจะนิยามคำว่าน้ำใจของคนต่างหวัดให้ผมได้มั่งครับ คราวหน้าผมจะได้ทำตัวถูกเวลาไปต่างจังหวัด จะได้ไม่โดนด่าว่าคน กทม. เห็นแก่ตัว และจะได้ไม่เสียชื่อกระทบไปถึงประชากร กทม. อีก 5 ล้านกว่าคนครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
คน กทม ในนิยามของเราไม่ได้มาจากจังหวัดเกิด. แต่มาจากพฤติกรรมสไตล์คนกรุงเทพ
อะไรคือพฤติกรรมสไตล์คนกรุงเทพ?
การใช้ชีวิตเร่งรีบ นี่คือคนกรุงเทพ พอเร่งรีบ + คนบางกลุ่มเห็นแก่ตัวนิดๆหน่อยๆ + ประชากรเยอะ จึงเจอกลุ่มนิสัยการขับรถสไตล์กรุงเทพ ขับจี้ตูด เปลี่ยนเลนส์ถี่ๆ สับเลนส์เป็นว่าเล่น ซึ่งเราไม่รวมพฤติกรรมปาดหน้ารถ เพราะแบบนี้มันเป็นสันดานเสียส่วนบุคคลมีทั้ง ตจว และ กทม. เหมือนมนุษย์ป้า ที่ไม่ควรเอาคำพูดพวกนี้เป็นบรรทัดฐาน
และการใช้ชีวิตเร่งรีบ ทำให้กระทบคนอื่นๆ โดยคนกรุงเทพแท้ไม่รู้ตัว แต่คนตจว. อย่างเราก็ไม่อาจเขียนละเอียดได้ขนาดนั้น

ใครเป็นคนตจว. ถามตนเองว่านิสัยเปลี่ยนไปขนาดไหน ลองแชร์กันดู ล่ะกัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่