"ราชบัณฑิต" แฉแผนสร้างสุญญากาศ หวังใช้รธน.มาตรา 7 จวก"คิดไม่เข้าท่า" ชี้ถ้าไม่ยอมกันเสี่ยงนองเลือด

กระทู้สนทนา



ดร. ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์กรณีข้อเสนอนายชัยเกษม นิติสิริ ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้ใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา 7 ว่า    หลักการแล้ว การใช้มาตรา 7   จะต้องไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่สถานการณ์ขณะนี้เป็นเพราะมีฝ่ายการเมืองบางกลุ่มต้องการทำให้เกิดสุญญากาศ มีการกระทำในลักษณะเป็นลูกระนาด เป็นการวางแผนให้เกิดรัฐธรรมนูญมาตรา 7 เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาล คณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) หรือฝ่ายใดก็ตามที่จะเสนอให้ใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 7 เป็นความคิดที่ไม่เข้าท่า และไม่ว่าฝ่ายใดก็ตาม ไม่มีสิทธิเสนอรัฐธรรมนูญมาตรา 7 ทั้งสิ้น

  "ส่วนทางออกจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับว่าทั้งสองฝ่ายจะยอมหรือไม่ เพราะถ้าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอม ก็ต้องพัง เช่น การเจรจา ซึ่งการเจรจานั้น ผู้เจรจาจะต้องเป็นผู้มีอำนาจที่แท้จริง ไม่ใช่นอมินี หากไม่ยอมกันก็ไม่มีทางเลี่ยงที่จะเกิดการนองเลือด ทั้งนี้ คิดว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะตัดสินอย่างไรนั้น ต้องถามว่าศาลตัดสินหรือมีคำสั่งให้ตัดสิน ซึ่งมันคนละเรื่องกัน" นายลิขิตกล่าว

สำหรับมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติไว้ดังนี้

“มาตรา 7 ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”

    ดร. ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์กรณีข้อเสนอนายชัยเกษม นิติสิริ ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้ใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา 7 ว่า    หลักการแล้ว การใช้มาตรา 7   จะต้องไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่สถานการณ์ขณะนี้เป็นเพราะมีฝ่ายการเมืองบางกลุ่มต้องการทำให้เกิดสุญญากาศ มีการกระทำในลักษณะเป็นลูกระนาด เป็นการวางแผนให้เกิดรัฐธรรมนูญมาตรา 7 เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาล คณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) หรือฝ่ายใดก็ตามที่จะเสนอให้ใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 7 เป็นความคิดที่ไม่เข้าท่า และไม่ว่าฝ่ายใดก็ตาม ไม่มีสิทธิเสนอรัฐธรรมนูญมาตรา 7 ทั้งสิ้น

"ส่วนทางออกจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับว่าทั้งสองฝ่ายจะยอมหรือไม่ เพราะถ้าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอม ก็ต้องพัง เช่น การเจรจา ซึ่งการเจรจานั้น ผู้เจรจาจะต้องเป็นผู้มีอำนาจที่แท้จริง ไม่ใช่นอมินี หากไม่ยอมกันก็ไม่มีทางเลี่ยงที่จะเกิดการนองเลือด ทั้งนี้ คิดว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะตัดสินอย่างไรนั้น ต้องถามว่าศาลตัดสินหรือมีคำสั่งให้ตัดสิน ซึ่งมันคนละเรื่องกัน" นายลิขิตกล่าว

สำหรับมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติไว้ดังนี้

“มาตรา 7 ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"

    http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1397446648&grpid=&catid=01&subcatid=0100   
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่