๔. ทีฆนขสูตร
เรื่องทีฆนขปริพาชก
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
---------------------
(บางส่วน)
[๒๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ถ้ำสุกรขาตาเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์.
ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อทีฆนขะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว. ได้กราบทูลว่า
ท่านพระโคดม
ความจริงข้าพเจ้ามีปกติกล่าวอย่างนี้ มีปกติเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อัคคิเวสสนะ แม้ความเห็นของท่านว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรานั้น ก็ไม่ควรแก่ท่าน.
ท่านพระโคดม
ถ้าความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น.
อัคคิเวสสนะ
ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้
ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้ และยังยึดถือความเห็นอื่นนั้น มีมาก คือมากกว่าคนที่ละได้.
อัคคิเวสสนะ
ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่าแม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้
ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นได้ และไม่ยึดถือความเห็นอื่นนั้น มีน้อยคือน้อยกว่าคนที่ยังละไม่ได้.
ทิฏฐิเป็นเหตุให้เกิดวิวาท
[๒๗๐] อัคคิเวสสนะ
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี.
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี
อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น
ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า
สิ่งทั้งปวงควรแก่เรานั้น
ใกล้ข้างกิเลส อันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลิน
ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุยึดมั่น.
อัคคิเวสสนะ
บรรดาความเห็นนั้น ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า
สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรานั้น
ใกล้ข้างธรรม ไม่เป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้
ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ทีฆนขปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า.
อัคคิเวสสนะ
ในความเห็นนั้นๆ ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า
บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรานั้น
ส่วนที่เห็นว่าควร ใกล้ข้างกิเลสอันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้
ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุยึดมั่น
ส่วนที่เห็นว่าไม่ควร ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้
ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น.
[๒๗๑] อัคคิเวสสนะ
บรรดาความเห็นนั้น ในความเห็นของสมณพราหมณ์ผู้ที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรานั้น
วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า เราจะยึดมั่น ถือมั่นซึ่งทิฏฐิของเราว่าสิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้
แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้
คือ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า
สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ๑
สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้มักเห็นอย่างนี้ว่า
บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ๑.
เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี.
เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี. วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน
ความแก่งแย่งกันและความเบียดเบียนกัน ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย
การละการสละคืนทิฏฐิเหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.
อัคคิเวสสนะ
บรรดาความเห็นนั้น ในทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้ที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า
สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น
วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่นถือมั่นซึ่งทิฏฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้
แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้
คือ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า
สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ๑
สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า
บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ๑.
เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี
เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี. วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน
และความเบียดเบียนกัน ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วยไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย.
การละ การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.
อัคคิเวสสนะ
บรรดาความเห็นนั้น ในทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า
บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่นถือมั่น
ซึ่งทิฏฐิของเราว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เราดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า
เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ๑
สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ๑.
เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี เมื่อมีความแก่งแย่งกัน
ความเบียดเบียนกันก็มี. วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน
และความเบียดเบียนกันในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย การละ การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น
ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.
[๒๗๒] อัคคิเวสสนะ
ก็กายนี้มีรูป เป็นที่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญด้วยข้าวสุกและขนมสด
ต้องอบและขัดสีกันเป็นนิจ มีความแตกกระจัดกระจายเป็นธรรมดา ท่านควรพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม
เป็นของว่างเปล่าเป็นของมิใช่ตน. เมื่อท่านพิจารณาเห็นกายนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค
เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรมเป็นของว่างเปล่า เป็นของมิใช่ตนอยู่
ท่านย่อมละความพอใจในกาย ความเยื่อใยในกาย ความอยู่ในอำนาจของกายในกายได้.....................
...............................................................................................................................................
................. [๒๗๔] ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งถวายอยู่งานพัด ณ เบื้องพระปฤษฎางค์พระผู้มีพระภาค.
ได้มีความดำริว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคตรัสการละธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย
ได้ยินว่า พระสุคตตรัสการสละคืนธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย
เมื่อท่านพระสารีบุตรเห็นตระหนักดังนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ทีฆนขปริพาชกว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๔๖๖๑ - ๔๗๖๘. หน้าที่ ๒๐๔ - ๒๐๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=4661&Z=4768&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=269
เมื่อท่านพระสารีบุตรเห็นตระหนักดังนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
เรื่องทีฆนขปริพาชก
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
---------------------
(บางส่วน)
[๒๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ถ้ำสุกรขาตาเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์.
ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อทีฆนขะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว. ได้กราบทูลว่า
ท่านพระโคดม
ความจริงข้าพเจ้ามีปกติกล่าวอย่างนี้ มีปกติเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อัคคิเวสสนะ แม้ความเห็นของท่านว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรานั้น ก็ไม่ควรแก่ท่าน.
ท่านพระโคดม
ถ้าความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น.
อัคคิเวสสนะ
ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้
ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้ และยังยึดถือความเห็นอื่นนั้น มีมาก คือมากกว่าคนที่ละได้.
อัคคิเวสสนะ
ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่าแม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้
ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นได้ และไม่ยึดถือความเห็นอื่นนั้น มีน้อยคือน้อยกว่าคนที่ยังละไม่ได้.
ทิฏฐิเป็นเหตุให้เกิดวิวาท
[๒๗๐] อัคคิเวสสนะ
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี.
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี
อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น
ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรานั้น
ใกล้ข้างกิเลส อันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลิน
ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุยึดมั่น.
อัคคิเวสสนะ
บรรดาความเห็นนั้น ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรานั้น
ใกล้ข้างธรรม ไม่เป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้
ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ทีฆนขปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า.
อัคคิเวสสนะ
ในความเห็นนั้นๆ ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า
บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรานั้น
ส่วนที่เห็นว่าควร ใกล้ข้างกิเลสอันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้
ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุยึดมั่น
ส่วนที่เห็นว่าไม่ควร ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้
ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น.
[๒๗๑] อัคคิเวสสนะ
บรรดาความเห็นนั้น ในความเห็นของสมณพราหมณ์ผู้ที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรานั้น
วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า เราจะยึดมั่น ถือมั่นซึ่งทิฏฐิของเราว่าสิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้
แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้
คือ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ๑
สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ๑.
เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี.
เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี. วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน
ความแก่งแย่งกันและความเบียดเบียนกัน ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย
การละการสละคืนทิฏฐิเหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.
อัคคิเวสสนะ
บรรดาความเห็นนั้น ในทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้ที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น
วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่นถือมั่นซึ่งทิฏฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้
แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้
คือ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ๑
สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ๑.
เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี
เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี. วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน
และความเบียดเบียนกัน ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วยไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย.
การละ การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.
อัคคิเวสสนะ
บรรดาความเห็นนั้น ในทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า
บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่นถือมั่น
ซึ่งทิฏฐิของเราว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เราดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า
เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ๑
สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ๑.
เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี เมื่อมีความแก่งแย่งกัน
ความเบียดเบียนกันก็มี. วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน
และความเบียดเบียนกันในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย การละ การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น
ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.
[๒๗๒] อัคคิเวสสนะ
ก็กายนี้มีรูป เป็นที่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญด้วยข้าวสุกและขนมสด
ต้องอบและขัดสีกันเป็นนิจ มีความแตกกระจัดกระจายเป็นธรรมดา ท่านควรพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม
เป็นของว่างเปล่าเป็นของมิใช่ตน. เมื่อท่านพิจารณาเห็นกายนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค
เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรมเป็นของว่างเปล่า เป็นของมิใช่ตนอยู่
ท่านย่อมละความพอใจในกาย ความเยื่อใยในกาย ความอยู่ในอำนาจของกายในกายได้.....................
...............................................................................................................................................
................. [๒๗๔] ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งถวายอยู่งานพัด ณ เบื้องพระปฤษฎางค์พระผู้มีพระภาค.
ได้มีความดำริว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคตรัสการละธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย
ได้ยินว่า พระสุคตตรัสการสละคืนธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย
เมื่อท่านพระสารีบุตรเห็นตระหนักดังนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ทีฆนขปริพาชกว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๔๖๖๑ - ๔๗๖๘. หน้าที่ ๒๐๔ - ๒๐๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=4661&Z=4768&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=269