ทุนเมืองผู้ดีลุยผุดโรงไฟฟ้าขยะ1.2หมื่นล.
ทุนอังกฤษบุกไทย ผุดโรงไฟฟ้าขยะ มูลค่า 1.2 หมื่นล้านบาท เล็งตั้งในพื้นที่ภาคกลาง เดินหน้ายื่นขายไฟฟ้าขอ Adder จากภาครัฐกลางปีนี้ พร้อมจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในอีก 3 ปีข้างหน้า "เวสต์ทูทริซิตี้" ยันเกิดขึ้นแน่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงปลอดมลพิษ ขณะที่กระทรวงพลังงาน ชี้เกิดขึ้นได้ยาก มีปัญหาการรวบรวมขยะปริมาณมาก และมีเจ้าของดูแลผลประโยชน์อยู่แล้ว
นางสาวเพียงขวัญ ธรรมัครกุล กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เวสต์ทูทริซิตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล(ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการด้านการจัดการขยะและพลังงานทดแทน สัญชาติอังกฤษ เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ในช่วงกลางปีนี้บริษัทจะยื่นเสนอการรับซื้อขายไฟฟ้าไปยังการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ตามโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน ขนาด 60 เมกะวัตต์ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ที่มีปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นผู้พิจารณา เนื่องจากเป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ได้รับการสนับสนุนค่าไฟฟ้าส่วนเพิ่มหรือ Adder ในอัตรา 3.50 บาทต่อหน่วย โดยเชื่อมั่นว่าโครงการดังกล่าวจะได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ เนื่องจากโครงการมีความพร้อมด้านวัตถุดิบและแหล่งเงินทุน
สำหรับการเข้ามาลงทุนครั้งนี้ เนื่องจากนักลงทุนจากอังกฤษเห็นว่า ประเทศไทยมีการสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนที่วางเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากขยะไว้ถึง 400 เมกะวัตต์ ภายในปี 2564 และยังมีปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าที่ยังต้องพึ่งการนำเข้าจากต่างประเทศอยู่ ประกอบกับขยะมีปัญหาล้นเมือง และยังกำจัดได้ไม่หมด ทำให้มีวัตถุดิบเพียงพอที่จะผลิตไฟฟ้าได้ ประกอบกับบริษัทมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่จะลดการต่อต้านจากชุมชนได้ จึงสนใจที่จะเข้ามาลงทุน และยังมองถึงโอกาสที่จะใช้ไทยเป็นประตูสู่การลงทุนในอาเซียนอีกด้วย
"ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทศบาลต่างๆ ในจังหวัดภาคกลาง ที่จะเป็นผู้จัดหาขยะชุมชนป้อนโรงไฟฟ้า รวมทั้งพันธมิตรร่วมทุนไม่ต่ำกว่า 5 ราย ทั้งในและต่างประเทศ คาดว่าจะได้ข้อยุติก่อนที่จะยื่นเรื่องเสนอต่อ กฟผ.ได้ และจะสามารถลงนามซื้อขายไฟฟ้าหรือพีพีเอได้ประมาณไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ หลังจากนั้นจะเริ่มศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ ก่อนจะดำเนินการก่อสร้าง และคาดว่าจะแล้วเสร็จขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ภายในปี 2560"
ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าดังกล่าวจะใช้เงินลงทุนประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ใช้ขยะประมาณวันละ 1 พันตัน หรือปีละ 3.5 แสนตัน แหล่งเงินทุนจะมาจากบริษัทแม่ที่อยู่อังกฤษส่วนหนึ่งและจากพันธมิตรร่วมทุน ซึ่งบริษัทจะเป็นผู้บริหารโดยนำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่าพลาสมาก๊าซซิฟิเคชั่น ของบริษัท อัลเตอร์ เอ็นอาร์จี คอร์ปอเรชั่นฯ และเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงของบริษัท เอเอฟซี เอ็นเนอยี จำกัด มาใช้ที่เป็นการหลอมขยะด้วยความร้อนสูงอุณหภูมิตั้งแต่ 1,000 -10,000 องศาเซลเซียส เพื่อเปลี่ยนก๊าซ ผ่านกระบวนการทำความสะอาดและนำไปผลิตเป็นไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ในปริมาณมากกว่าเตาเผาขยะทั่วไป และสามารถลดมลพิษที่จะปล่อยออกมาได้เกือบทั้งหมด จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นางสาวเพียงขวัญ กล่าวอีกว่า แม้ว่าการลงทุนของโรงไฟฟ้าดังกล่าว จะสูงกว่าโรงไฟฟ้าขยะทั่วไป แต่เทคโนโลยีที่นำมาใช้จะช่วยให้ผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้นเกือบเท่าตัว เมื่อเทียบกับปริมาณขยะที่เท่ากัน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ออกมาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3.22 บาทต่อหน่วย เมื่อรวมกับ Adder ที่ภาครัฐให้แล้ว ค่าไฟฟ้าที่ขายให้ กฟผ.จะอยู่ประมาณ 6.72 บาทต่อหน่วย ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาเพียง 6 ปีเท่านั้น
ดังนั้น หากโครงการแรกนี้ประสบความสำเร็จทางบริษัทแม่ที่อังกฤษ มีแผนที่จะขยายโครงการโรงไฟฟ้าขยะในไทยต่อไปปีละ 3-4 แห่ง ขนาดขึ้นกับปริมาณขยะที่จะมีในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้ภาครัฐบรรลุเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากขยะตามที่วางไว้ได้ ขณะเดียวกันบริษัทก็ยังสนใจที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศแถบอาเซียนด้วย ซึ่งขณะนี้ก็เริ่มมีการวิจัยและศึกษาการเข้าไปลงทุนบ้างแล้ว
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การตั้งโรงไฟฟ้าขยะขนาด 60 เมกะวัตต์ ถือว่าเป็นโรงไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่มาก เกรงว่าจะเกิดขึ้นได้ยาก เพราะต้องใช้ปริมาณขยะจำนวนมาก ซึ่งจะมีปัญหาต่อการรวบรวมขยะให้ได้ตามที่ต้องการ เนื่องจากขยะแต่ละพื้นที่มีเจ้าของที่บริหารงานโดยท้องถิ่น แต่หากภาคเอกชนดำเนินการได้จริง ก็จะเป็นเรื่องดีที่จะทำให้การผลิตไฟฟ้าจากขยะไปสู่เป้าหมายได้ ซึ่งการจะอนุมัติให้ค่า Adder หรือไม่นั้นก็ต้องพิจารณาจากสถานที่ ปริมาณขยะที่แน่นอน และมีแหล่งเงินทุนที่น่าเชื่อถือหรือไม่ เป็นต้น
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,925 วันที่ 23 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ปล. วัตถุดิบที่ไม่มีวันหมด นับวันมีแต่จะมากขึ้น สงครามแย่งชิงขยะอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตก็ได้ เคยเห็นแต่ adder จากพลังงานแสงอาทิตย์ ผมเพิ่งรู้ว่ามี adder จากการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะด้วย
ขุมทรัพย์พลังงานทางเลือกต้นทุนต่ำ
ทุนเมืองผู้ดีลุยผุดโรงไฟฟ้าขยะ1.2หมื่นล.
ทุนอังกฤษบุกไทย ผุดโรงไฟฟ้าขยะ มูลค่า 1.2 หมื่นล้านบาท เล็งตั้งในพื้นที่ภาคกลาง เดินหน้ายื่นขายไฟฟ้าขอ Adder จากภาครัฐกลางปีนี้ พร้อมจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในอีก 3 ปีข้างหน้า "เวสต์ทูทริซิตี้" ยันเกิดขึ้นแน่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงปลอดมลพิษ ขณะที่กระทรวงพลังงาน ชี้เกิดขึ้นได้ยาก มีปัญหาการรวบรวมขยะปริมาณมาก และมีเจ้าของดูแลผลประโยชน์อยู่แล้ว
นางสาวเพียงขวัญ ธรรมัครกุล กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เวสต์ทูทริซิตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล(ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการด้านการจัดการขยะและพลังงานทดแทน สัญชาติอังกฤษ เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ในช่วงกลางปีนี้บริษัทจะยื่นเสนอการรับซื้อขายไฟฟ้าไปยังการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ตามโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน ขนาด 60 เมกะวัตต์ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ที่มีปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นผู้พิจารณา เนื่องจากเป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ได้รับการสนับสนุนค่าไฟฟ้าส่วนเพิ่มหรือ Adder ในอัตรา 3.50 บาทต่อหน่วย โดยเชื่อมั่นว่าโครงการดังกล่าวจะได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ เนื่องจากโครงการมีความพร้อมด้านวัตถุดิบและแหล่งเงินทุน
สำหรับการเข้ามาลงทุนครั้งนี้ เนื่องจากนักลงทุนจากอังกฤษเห็นว่า ประเทศไทยมีการสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนที่วางเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากขยะไว้ถึง 400 เมกะวัตต์ ภายในปี 2564 และยังมีปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าที่ยังต้องพึ่งการนำเข้าจากต่างประเทศอยู่ ประกอบกับขยะมีปัญหาล้นเมือง และยังกำจัดได้ไม่หมด ทำให้มีวัตถุดิบเพียงพอที่จะผลิตไฟฟ้าได้ ประกอบกับบริษัทมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่จะลดการต่อต้านจากชุมชนได้ จึงสนใจที่จะเข้ามาลงทุน และยังมองถึงโอกาสที่จะใช้ไทยเป็นประตูสู่การลงทุนในอาเซียนอีกด้วย
"ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทศบาลต่างๆ ในจังหวัดภาคกลาง ที่จะเป็นผู้จัดหาขยะชุมชนป้อนโรงไฟฟ้า รวมทั้งพันธมิตรร่วมทุนไม่ต่ำกว่า 5 ราย ทั้งในและต่างประเทศ คาดว่าจะได้ข้อยุติก่อนที่จะยื่นเรื่องเสนอต่อ กฟผ.ได้ และจะสามารถลงนามซื้อขายไฟฟ้าหรือพีพีเอได้ประมาณไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ หลังจากนั้นจะเริ่มศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ ก่อนจะดำเนินการก่อสร้าง และคาดว่าจะแล้วเสร็จขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ภายในปี 2560"
ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าดังกล่าวจะใช้เงินลงทุนประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ใช้ขยะประมาณวันละ 1 พันตัน หรือปีละ 3.5 แสนตัน แหล่งเงินทุนจะมาจากบริษัทแม่ที่อยู่อังกฤษส่วนหนึ่งและจากพันธมิตรร่วมทุน ซึ่งบริษัทจะเป็นผู้บริหารโดยนำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่าพลาสมาก๊าซซิฟิเคชั่น ของบริษัท อัลเตอร์ เอ็นอาร์จี คอร์ปอเรชั่นฯ และเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงของบริษัท เอเอฟซี เอ็นเนอยี จำกัด มาใช้ที่เป็นการหลอมขยะด้วยความร้อนสูงอุณหภูมิตั้งแต่ 1,000 -10,000 องศาเซลเซียส เพื่อเปลี่ยนก๊าซ ผ่านกระบวนการทำความสะอาดและนำไปผลิตเป็นไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ในปริมาณมากกว่าเตาเผาขยะทั่วไป และสามารถลดมลพิษที่จะปล่อยออกมาได้เกือบทั้งหมด จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นางสาวเพียงขวัญ กล่าวอีกว่า แม้ว่าการลงทุนของโรงไฟฟ้าดังกล่าว จะสูงกว่าโรงไฟฟ้าขยะทั่วไป แต่เทคโนโลยีที่นำมาใช้จะช่วยให้ผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้นเกือบเท่าตัว เมื่อเทียบกับปริมาณขยะที่เท่ากัน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ออกมาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3.22 บาทต่อหน่วย เมื่อรวมกับ Adder ที่ภาครัฐให้แล้ว ค่าไฟฟ้าที่ขายให้ กฟผ.จะอยู่ประมาณ 6.72 บาทต่อหน่วย ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาเพียง 6 ปีเท่านั้น
ดังนั้น หากโครงการแรกนี้ประสบความสำเร็จทางบริษัทแม่ที่อังกฤษ มีแผนที่จะขยายโครงการโรงไฟฟ้าขยะในไทยต่อไปปีละ 3-4 แห่ง ขนาดขึ้นกับปริมาณขยะที่จะมีในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้ภาครัฐบรรลุเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากขยะตามที่วางไว้ได้ ขณะเดียวกันบริษัทก็ยังสนใจที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศแถบอาเซียนด้วย ซึ่งขณะนี้ก็เริ่มมีการวิจัยและศึกษาการเข้าไปลงทุนบ้างแล้ว
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การตั้งโรงไฟฟ้าขยะขนาด 60 เมกะวัตต์ ถือว่าเป็นโรงไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่มาก เกรงว่าจะเกิดขึ้นได้ยาก เพราะต้องใช้ปริมาณขยะจำนวนมาก ซึ่งจะมีปัญหาต่อการรวบรวมขยะให้ได้ตามที่ต้องการ เนื่องจากขยะแต่ละพื้นที่มีเจ้าของที่บริหารงานโดยท้องถิ่น แต่หากภาคเอกชนดำเนินการได้จริง ก็จะเป็นเรื่องดีที่จะทำให้การผลิตไฟฟ้าจากขยะไปสู่เป้าหมายได้ ซึ่งการจะอนุมัติให้ค่า Adder หรือไม่นั้นก็ต้องพิจารณาจากสถานที่ ปริมาณขยะที่แน่นอน และมีแหล่งเงินทุนที่น่าเชื่อถือหรือไม่ เป็นต้น
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,925 วันที่ 23 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ปล. วัตถุดิบที่ไม่มีวันหมด นับวันมีแต่จะมากขึ้น สงครามแย่งชิงขยะอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตก็ได้ เคยเห็นแต่ adder จากพลังงานแสงอาทิตย์ ผมเพิ่งรู้ว่ามี adder จากการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะด้วย