“รัฏฐาธิปัตย์” คืออะไร
รัฏฐาธิปัตย์ หมายความว่า
๑) รัฏฐาธิปัตย์
เมื่อกล่าวถึง ปรัชญากฎหมายก็ต้องกล่าวถึง “กฎหมาย” และเมื่อกล่าวถึง กฎหมาย ก็จำเป็นต้องกล่าวถึงรัฏฐาธิปัตย์ (soverign) ซึ่งสำนักความคิดกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองอธิบายว่าเป็นผู้ทำให้เกิดกฎหมายดังที่ จอห์น ออสติน (John Ausyin) อธิบายว่ากฎหมาย คือ คำสั่งคำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์
ความหมายของรัฏฐาธิปัตย์
สำนัก ฝ่ายกฎหมายบ้านเมืองให้ความสำคัญมากโดยอธิบายว่า รัฏฐาธิปัตย์ คือผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ส่วนจะเป็นใครก็สุดแท้แต่ว่าเป็นผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินหรือบ้านเมืองใด มีระบอบการปกครองอย่างไร ถ้าเป็นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัฏฐาธิปัตย์ คือ พระมหากษัตริย์
อำนาจของรัฏฐาธิปัตย์ ก็คือการมีอำนาจอธิปไตยนั่นเอง ซึ่งก่อให้เกิดผลดังนี้ คือ
๑. ผลของการมีอำนาจอธิปไตยทำให้ รัฏฐาธิปัตย์ อยู่ในฐานะสูงสุดในแผ่นดิน และไม่ต้องเชื่อฟังผู้อื่นอีก
ข้อ นี้อาจไม่ถูกต้องในเวลานี้แล้วก็เป็นได้ เพราะในระบบประชาธิปไตย รัฏฐาธิปัตย์ อาจอยู่ใต้ข้อจำกัดอำนาจบางประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามทฤษฎีว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั้น เมื่อประชาชนแต่ละคนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ประชาชนแต่ละคนย่อมเป็น รัฏฐาธิปัตย์ แต่ไม่มีประชาชนคนใดอยู่ในฐานะสูงสุดโดยไม่ต้องฟังคำสั่งผู้อื่น
๒. ผลประการแรกทำให้เกิดผลประการที่สองขึ้นมา กฎหมายระหว่างประเทศอันเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ ไม่มีสภาพเป็นกฎหมาย เพราะเมื่อรัฐต่างๆ มีฐานะเท่าเทียมกันก็ไม่มีรัฏฐาธิปัตย์ผู้ใดมีอำนาจบังคับบัญชาให้รัฏ ฐาธิปัตย์ผู้อื่นอยู่ในฐานะจำยอมได้ และจะเอาผิดถ้ามีการฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศก็มิได้ ความผูกพันระหว่างรัฐต่อรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องถ้อยที่ถ้อย อาศัยกันเท่านั้น
ปัจจุบันทฤษฎีดังกล่าวของ ออสตินเสื่อมความนิยมแล้ว
๓. ข้อจำกัดอำนาจของรัฏฐาธิปัตย์
ใน สมัยที่เชื่อกันว่าอำนาจสูงสุดเป็นของพระผู้เป็นเจ้าหรือพระผู้ทรงเป็นใหญ่ เพราะทรงเป็น “ที่สุดของสิ่งที่สุดทั้งปวง” (The Absoluteness) หรือสมบูรณัตถ์ จึงไม่มีข้อจำกัดขัดขวางของอำนาจของพระองค์แต่อย่างใด ครั้นต่อมาเชื่อกันว่าพระสันตะปาปาทรงเป็นใหญ่ หรือองค์อธิปัตย์อยู่เหนือกษัตริย์ทั้งหลายแต่อำนาจของอธิปัตย์องค์นี้ย่อม ถูกจำกัดเพราะพระสันตะปาปาจะออกกฎหมายใดให้ขัดหรือแย้งกับกฎของพระผู้เป็น เจ้ามิได้
นักกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองต่างถือกันว่า กษัตริย์ทรงเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดอย่างแท้จริงโดยไม่อยู่ใต้อำนาจรัฏฐาธิปัต ย์ หากถือว่าแม้กษัตริย์เป็นรัฏฐาธิปัตย์แต่ก็เป็นรัฏฐาธิปัตย์ที่เกิดจากความ ยินยอมหรือการยอมรับนับถือของประชาชน ฉะนั้น จะใช้อำนาจผิดทำนองคลองธรรมมิได้ เพราะถ้าใช้อำนาจผิดธรรมนองคลองธรรมราษฎรก็จะเสื่อศรัทธา และคลายความจงรักภักดี ซึ่งในที่สุดอาจนำไปสู่การล้มล้างอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ก็เป็นได้
สำหรับ ทฤษฎีที่ถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั้นประชาชนย่อมเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แต่รัฏฐาธิปัตย์เช่นนี้ย่อมถูกจำกัดด้วยอำนาจรัฏฐาธิปัตย์คนอื่นๆ ซึ่งก็มีอำนาจอธิปไตยเท่าเทียมกัน เช่น พระเจ้าแผ่นดินของรัฐ ก. จะทำการใดก้าวก่ายอำนาจอธิปไตยของพระเจ้าแผ่นดินแห่งรัฐ ข. มิได้ เพราะต่างมีอำนาจอธิปไตยเช่นกันฉันใด ราษฎร ก. จะใช้อำนาจอธิปไตยของตนก้าวก่ายอธิปไตยของรัฐ ข. ไม่ได้ฉันนั้น
http://easylaw4u.blogspot.com/2011/07/blog-post_3982.html
“รัฏฐาธิปัตย์” _____หมายความว่าอย่างไร สาวก นกหวีด.. มาดูกัน
รัฏฐาธิปัตย์ หมายความว่า
๑) รัฏฐาธิปัตย์
เมื่อกล่าวถึง ปรัชญากฎหมายก็ต้องกล่าวถึง “กฎหมาย” และเมื่อกล่าวถึง กฎหมาย ก็จำเป็นต้องกล่าวถึงรัฏฐาธิปัตย์ (soverign) ซึ่งสำนักความคิดกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองอธิบายว่าเป็นผู้ทำให้เกิดกฎหมายดังที่ จอห์น ออสติน (John Ausyin) อธิบายว่ากฎหมาย คือ คำสั่งคำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์
ความหมายของรัฏฐาธิปัตย์
สำนัก ฝ่ายกฎหมายบ้านเมืองให้ความสำคัญมากโดยอธิบายว่า รัฏฐาธิปัตย์ คือผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ส่วนจะเป็นใครก็สุดแท้แต่ว่าเป็นผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินหรือบ้านเมืองใด มีระบอบการปกครองอย่างไร ถ้าเป็นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัฏฐาธิปัตย์ คือ พระมหากษัตริย์
อำนาจของรัฏฐาธิปัตย์ ก็คือการมีอำนาจอธิปไตยนั่นเอง ซึ่งก่อให้เกิดผลดังนี้ คือ
๑. ผลของการมีอำนาจอธิปไตยทำให้ รัฏฐาธิปัตย์ อยู่ในฐานะสูงสุดในแผ่นดิน และไม่ต้องเชื่อฟังผู้อื่นอีก
ข้อ นี้อาจไม่ถูกต้องในเวลานี้แล้วก็เป็นได้ เพราะในระบบประชาธิปไตย รัฏฐาธิปัตย์ อาจอยู่ใต้ข้อจำกัดอำนาจบางประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามทฤษฎีว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั้น เมื่อประชาชนแต่ละคนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ประชาชนแต่ละคนย่อมเป็น รัฏฐาธิปัตย์ แต่ไม่มีประชาชนคนใดอยู่ในฐานะสูงสุดโดยไม่ต้องฟังคำสั่งผู้อื่น
๒. ผลประการแรกทำให้เกิดผลประการที่สองขึ้นมา กฎหมายระหว่างประเทศอันเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ ไม่มีสภาพเป็นกฎหมาย เพราะเมื่อรัฐต่างๆ มีฐานะเท่าเทียมกันก็ไม่มีรัฏฐาธิปัตย์ผู้ใดมีอำนาจบังคับบัญชาให้รัฏ ฐาธิปัตย์ผู้อื่นอยู่ในฐานะจำยอมได้ และจะเอาผิดถ้ามีการฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศก็มิได้ ความผูกพันระหว่างรัฐต่อรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องถ้อยที่ถ้อย อาศัยกันเท่านั้น
ปัจจุบันทฤษฎีดังกล่าวของ ออสตินเสื่อมความนิยมแล้ว
๓. ข้อจำกัดอำนาจของรัฏฐาธิปัตย์
ใน สมัยที่เชื่อกันว่าอำนาจสูงสุดเป็นของพระผู้เป็นเจ้าหรือพระผู้ทรงเป็นใหญ่ เพราะทรงเป็น “ที่สุดของสิ่งที่สุดทั้งปวง” (The Absoluteness) หรือสมบูรณัตถ์ จึงไม่มีข้อจำกัดขัดขวางของอำนาจของพระองค์แต่อย่างใด ครั้นต่อมาเชื่อกันว่าพระสันตะปาปาทรงเป็นใหญ่ หรือองค์อธิปัตย์อยู่เหนือกษัตริย์ทั้งหลายแต่อำนาจของอธิปัตย์องค์นี้ย่อม ถูกจำกัดเพราะพระสันตะปาปาจะออกกฎหมายใดให้ขัดหรือแย้งกับกฎของพระผู้เป็น เจ้ามิได้
นักกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองต่างถือกันว่า กษัตริย์ทรงเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดอย่างแท้จริงโดยไม่อยู่ใต้อำนาจรัฏฐาธิปัต ย์ หากถือว่าแม้กษัตริย์เป็นรัฏฐาธิปัตย์แต่ก็เป็นรัฏฐาธิปัตย์ที่เกิดจากความ ยินยอมหรือการยอมรับนับถือของประชาชน ฉะนั้น จะใช้อำนาจผิดทำนองคลองธรรมมิได้ เพราะถ้าใช้อำนาจผิดธรรมนองคลองธรรมราษฎรก็จะเสื่อศรัทธา และคลายความจงรักภักดี ซึ่งในที่สุดอาจนำไปสู่การล้มล้างอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ก็เป็นได้
สำหรับ ทฤษฎีที่ถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั้นประชาชนย่อมเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แต่รัฏฐาธิปัตย์เช่นนี้ย่อมถูกจำกัดด้วยอำนาจรัฏฐาธิปัตย์คนอื่นๆ ซึ่งก็มีอำนาจอธิปไตยเท่าเทียมกัน เช่น พระเจ้าแผ่นดินของรัฐ ก. จะทำการใดก้าวก่ายอำนาจอธิปไตยของพระเจ้าแผ่นดินแห่งรัฐ ข. มิได้ เพราะต่างมีอำนาจอธิปไตยเช่นกันฉันใด ราษฎร ก. จะใช้อำนาจอธิปไตยของตนก้าวก่ายอธิปไตยของรัฐ ข. ไม่ได้ฉันนั้น
http://easylaw4u.blogspot.com/2011/07/blog-post_3982.html