อันเต๋อไห่
อันเต๋อไห่ เป็นหัวหน้าขันทีในราชสำนักราชวงศ์ชิง เขาดำรงตำแหน่งหัวหน้าขันทีมาตั้งแต่ยุค 1860s เป็นขันทีผู้สนิทกับพระนางซูสีไทเฮา และมีส่วนในการแย่งชิงอำนาจของพระนางและเจ้าชายกง ดำรงตำแหน่งหัวหน้าขันที ควบคุมขันทีทุกคนในราชสำนัก
แต่วันหนึ่ง อันเต๋อไห่เดินทางไปที่โรงทอผ้าที่หนานจิง ตามพระราชเสาวนีย์ของพระนางซูสีไทเฮา ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฏขั้นร้ายแรงที่ห้ามขันทีออกจากวังหลวงด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันการใช้อำนาจของขันที
ต่อมา อันเต๋อไห่และพรรคพวกเดินทางไปที่ซานตง และแสดงอิทธิพลในที่นั้น ติง เป่าเจิ้น ผู้ว่ามณฑลจึงรายงานความหยาบคายของอันเต๋อไห่ให้เจ้าชายกง และทำให้เจ้าชายกงส่งรายงานไปให้พระนางซูอันไทเฮา ความจริงแล้วพระนางซูอันต้องปรึกษาร่วมกับพระนางซูสี แต่เนื่องจากพระนางซูสีทรงแสดงงิ้วอยู่ทำให้พระนางซูอันรับสั่งประหารในทันที
อันเต๋อไห่กับขันทีอีก 6 คน ถูกประหารที่วัดกวนตี้ที่จี้หนาน พรรคพวกที่เหลือของอันเต๋อไห่ถูกจับเป็นทาสและเนรเทศไปยังเฮยหลงเจียง
เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้หลี่เหลี่ยนอิงขึ้นครองอำนาจแทนในเวลาต่อมา และยังทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งของความไม่พอพระทัยของพระนางซูสีไทเฮา
หลี่เหลียนอิง
หลี่เหลียนอิงเป็นหัวหน้าขันทีคนต่อมาในราชสำนัก เขาทำงานให้กับพระนางซูสีไทเฮาและใกล้ชิดเรื่อยกันมานาน ตลอดเวลาการเป็นหัวหน้าขันที เขาควบคุมกิจการขันทีและพัวพันกับสินบนจำนวนมากจากข้าราชการที่ต้องการพบพระนางซูสี และถือเป็นบุคคลหนึ่งที่นำพาซึ่งการล่มสลายของราชวงศ์ชิง
เชื่อกันว่าหลี่เหลียนอิงกับหยวนซื่อไข่ร่วมกันปลงพระชนม์จักรพรรดิกวางซวี่ และในเวลาต่อมาถูกถอดออกจากตำแหน่งในปี 1908 และถูกฆ่าทิ้งในวังในปี 1911 เชื่อกันว่าหยวนซื่อไข่ต้องการปิดปากเรื่องการปลงพระชนม์
เสี่ยวเต๋อจาง
เสี่ยวเต๋อจางเป็นหัวหน้าขันทีต่อจากหลี่เหลียนอิง และถือเป็นหัวหน้าขันทีคนสุดท้าย เพราะเขาสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งเมื่อเกิดการปฏิวัติ
เขาถูกตัดเมื่อในปี 1888 อายุได้ 12 ปี และถูกส่งมาวังเมื่อปี 1891 และได้เรียนงิ้วจากหวู่เสี่ยวเฉิงและได้รับคำชมจากพระนางซูสีไทเฮา
ปี 1909 ภายหลังจากการถูกปลดของหลี่เหลียนอิง เขาได้ขึ้นเป็นหัวหน้าขันทีและควบคุมฝ่ายใน และได้ใกล้ชิดกับพระนางหลงหยู่ ภายหลังการปฏิวัติและการสิ้นพระชนม์ของพระนาง เขาถูกไล่ให้ไปทำงานสัมปทานให้กับอังกฤษในเทียนจินและตายที่นั้นในวันที่ 19 เมษายน 1957 ขณะอายุ 81 ปี
ซุนเหย่าถิง
ซุนเหย่าถิงไม่ใช่ขันทีที่ถูกตัดเป็นคนสุดท้าย แต่เป็นขันทีที่มีชีวิตเป็นคนสุดท้าย เขาเกิดในเทียนจิน เมื่ออายุได้ 8 ปี เขาถูกพ่อตัดด้วยมีดโกน และส่งไปอยู่วังตั้งแต่นั้น
เมื่อจักรพรรดิผู่อี๋ไปอยู่แมนจูกัว เขาได้รับใช้พระจักรพรรดิ แต่ก็หนีมาที่ปักกิ่งก่อนสงครามสิ้นสุดไม่นาน
ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม เขาถูกประณามว่าเป็นทาสของจักพรรดิและระบบศักดินา แต่ในยุคต่อมา เขาได้รับการยกย่องให้เป็น "ประวัติศาสตร์ที่มีลมหายใจ" โดย เจีย เย่อหัวได้เข้าไปสัมภาษณ์และเขียนหนังสือจนโด่งดัง
ซุนเสียชีวิตในปี 1996 อายุได้ 94 ปี
รวมชีวประวัติขันทียุคราชวงศ์ชิง
อันเต๋อไห่ เป็นหัวหน้าขันทีในราชสำนักราชวงศ์ชิง เขาดำรงตำแหน่งหัวหน้าขันทีมาตั้งแต่ยุค 1860s เป็นขันทีผู้สนิทกับพระนางซูสีไทเฮา และมีส่วนในการแย่งชิงอำนาจของพระนางและเจ้าชายกง ดำรงตำแหน่งหัวหน้าขันที ควบคุมขันทีทุกคนในราชสำนัก
แต่วันหนึ่ง อันเต๋อไห่เดินทางไปที่โรงทอผ้าที่หนานจิง ตามพระราชเสาวนีย์ของพระนางซูสีไทเฮา ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฏขั้นร้ายแรงที่ห้ามขันทีออกจากวังหลวงด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันการใช้อำนาจของขันที
ต่อมา อันเต๋อไห่และพรรคพวกเดินทางไปที่ซานตง และแสดงอิทธิพลในที่นั้น ติง เป่าเจิ้น ผู้ว่ามณฑลจึงรายงานความหยาบคายของอันเต๋อไห่ให้เจ้าชายกง และทำให้เจ้าชายกงส่งรายงานไปให้พระนางซูอันไทเฮา ความจริงแล้วพระนางซูอันต้องปรึกษาร่วมกับพระนางซูสี แต่เนื่องจากพระนางซูสีทรงแสดงงิ้วอยู่ทำให้พระนางซูอันรับสั่งประหารในทันที
อันเต๋อไห่กับขันทีอีก 6 คน ถูกประหารที่วัดกวนตี้ที่จี้หนาน พรรคพวกที่เหลือของอันเต๋อไห่ถูกจับเป็นทาสและเนรเทศไปยังเฮยหลงเจียง
เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้หลี่เหลี่ยนอิงขึ้นครองอำนาจแทนในเวลาต่อมา และยังทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งของความไม่พอพระทัยของพระนางซูสีไทเฮา
หลี่เหลียนอิง
หลี่เหลียนอิงเป็นหัวหน้าขันทีคนต่อมาในราชสำนัก เขาทำงานให้กับพระนางซูสีไทเฮาและใกล้ชิดเรื่อยกันมานาน ตลอดเวลาการเป็นหัวหน้าขันที เขาควบคุมกิจการขันทีและพัวพันกับสินบนจำนวนมากจากข้าราชการที่ต้องการพบพระนางซูสี และถือเป็นบุคคลหนึ่งที่นำพาซึ่งการล่มสลายของราชวงศ์ชิง
เชื่อกันว่าหลี่เหลียนอิงกับหยวนซื่อไข่ร่วมกันปลงพระชนม์จักรพรรดิกวางซวี่ และในเวลาต่อมาถูกถอดออกจากตำแหน่งในปี 1908 และถูกฆ่าทิ้งในวังในปี 1911 เชื่อกันว่าหยวนซื่อไข่ต้องการปิดปากเรื่องการปลงพระชนม์
เสี่ยวเต๋อจาง
เสี่ยวเต๋อจางเป็นหัวหน้าขันทีต่อจากหลี่เหลียนอิง และถือเป็นหัวหน้าขันทีคนสุดท้าย เพราะเขาสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งเมื่อเกิดการปฏิวัติ
เขาถูกตัดเมื่อในปี 1888 อายุได้ 12 ปี และถูกส่งมาวังเมื่อปี 1891 และได้เรียนงิ้วจากหวู่เสี่ยวเฉิงและได้รับคำชมจากพระนางซูสีไทเฮา
ปี 1909 ภายหลังจากการถูกปลดของหลี่เหลียนอิง เขาได้ขึ้นเป็นหัวหน้าขันทีและควบคุมฝ่ายใน และได้ใกล้ชิดกับพระนางหลงหยู่ ภายหลังการปฏิวัติและการสิ้นพระชนม์ของพระนาง เขาถูกไล่ให้ไปทำงานสัมปทานให้กับอังกฤษในเทียนจินและตายที่นั้นในวันที่ 19 เมษายน 1957 ขณะอายุ 81 ปี
ซุนเหย่าถิง
ซุนเหย่าถิงไม่ใช่ขันทีที่ถูกตัดเป็นคนสุดท้าย แต่เป็นขันทีที่มีชีวิตเป็นคนสุดท้าย เขาเกิดในเทียนจิน เมื่ออายุได้ 8 ปี เขาถูกพ่อตัดด้วยมีดโกน และส่งไปอยู่วังตั้งแต่นั้น
เมื่อจักรพรรดิผู่อี๋ไปอยู่แมนจูกัว เขาได้รับใช้พระจักรพรรดิ แต่ก็หนีมาที่ปักกิ่งก่อนสงครามสิ้นสุดไม่นาน
ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม เขาถูกประณามว่าเป็นทาสของจักพรรดิและระบบศักดินา แต่ในยุคต่อมา เขาได้รับการยกย่องให้เป็น "ประวัติศาสตร์ที่มีลมหายใจ" โดย เจีย เย่อหัวได้เข้าไปสัมภาษณ์และเขียนหนังสือจนโด่งดัง
ซุนเสียชีวิตในปี 1996 อายุได้ 94 ปี