คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ประเทศทางยุโรปที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ เท่าที่ทราบเห็น พยายามแปลกัน เท่าที่จะทำได้ ไม่ค่อยเห็นมีปัญหาสงสัยกันมาก..หรือผมไม่รู้
ภาษาไทย ทับศัพท์เยอะมาก คงเพราะเราเป็น สังคมที่ตั้งรับ รับศิลปวิทยาการต่างๆ เหมือนเรารับ คำบาลี - สันสกฤต - ภาษายุโรป - ภาษาจีน
เหมือนเรา นั่งสวดภาษาบาลี ไม่รู้เนื้อความคำแปล คำภีร์เหล่านี้หากไม่ได้รับการไขความเป็นภาษาท้องถิ่นที่สื่อสารได้ทันที โดยผู้รับอาจไม่จำเป็นต้องมีทักษะภาษาต้นแบบได้ การเผยแพร่อาจกระทำได้อย่างไม่ทั่วถึง ไม่รวดเร็ว ทั้งองค์ความรู้ก็อาจถูกสงวนเก็บไว้เป็นของศักดิ์สิทธิ์ที่มีไว้เฉพาะ คนชั้นสูง คนในวงการ คนที่มีหรือเข้าใจว่าตัวเองมีทักษะดีพอในภาษาต้นขององค์ความรู้ ไม่สามารถถ่ายทอด สืบทอดได้โดยสะดวก
คนทั่วไปในสังคมที่คิดจะค้นคว้าเข้าถึงเนื้อหา กลับกลายเป็นต้องไปใช้เวลากับเรื่องภาษาเสียก่อน ทำให้การใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ไม่มีประสิทธิผล เท่าไหร่ กลายเป็น นกแก้วนกขุนทองไป นอกจากนี้ ในวงการหนึ่ง การทำงานไม่ได้เป็นการทำงานแต่ในสายงานตัวเอง แต่ต้องทำงานร่วมกับผู้มาจากสายวิชาชีพอื่น และ คนในระดับปฏิบัติงานที่ต่างออกไปด้วย เช่น งานก่อสร้างโครงการต่างๆ ที่ประกอบด้วย คนจากสายวิชชีพต่างๆ วิศวกร สถาปนิก บริหารธุรกิจ นายทุน ผู้รับจ้าง ผู้รับสั่งงาน คนงาน กรรมกร
ประเทศพวก จีนญี่ปุ่น ตามความเข้าใจ น่าจะได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำให้วิทยาการสามารถเข้าถึงได้โดยคนทุกระดับชั้นคนหมู่มาก คนส่วนใหญ่ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาจากทุกส่วนของสังคมพร้อมๆกัน ไม่กระจุกตัวแต่ในหมู่ผู้รู้โดยตรง คนส่วนน้อย การต่อยอด แตกหน่อ ความคิดจึงน่าจะได้รับอานิสงค์ให้รุดหน้าไปเร็วกว่า เพราะบางครั้ง การศึกษาแบบข้ามสายวิชา ผสมผสานวิชาแขนงต่างๆเข้าด้วยกัน จำเป็นต้องเข้าถึงองค์ความรู้ต่างสาขาที่ใช้งานได้โดยตรงและทันทีเพื่อนำมาผสมผสานเป็นความรู้จากหลายภาคส่วน ด้วยตัวคนที่ศึกษาเอง ซึ่งในความจริง ศัพท์ในวงการ ลักษณะต่างๆ ก็คงมีอยู่ แต่การเข้าถึงใช้งานข้อมูล น่าจะมีประสิทธิภาพดีกว่าหากเป็นภาษาถิ่นภาษาเดียวหรือส่วนใหญ่
ในส่วนแปลดี สื่อได้ เข้าใจ เป็นปัญหาปลีกย่อยที่ต้องแก้ไขโดยผู้รู้ทั้งหลายโดยเฉพาะในวงการที่คำนั้นๆจะถูกบัญญัติ ไม่ใช่ยกเลิกไม่ให้มีการแปล
หากในอนาคต ภาษาที่มีบทบาททางวิชาการเปลี่ยนไปเป็นภาษาที่ไม่คุ้นเคย โดยเฉพาะที่มีโครงสร้าง ภาษาศาสตร์ การออกเสียงที่แตกต่างจากภาษาไทยมาก ปัญหาการทับศัพท์อาจเกิดได้ง่าย เช่น การออกเสียงทับศัพท์คำจากภาษาต้นองค์ความรู้ มากกว่า 1 คำ ที่ภาษาไทยสะกด และ/หรือ ออกเสียงเหมือนกันทุกตัวประมาณ ภาษาอังกฤษ Team/Theme Lack/Lag ภาษาจีนกลาง Zi/Zhi Si/Ci Shi/Chi ภาษาเกาหลี K'/K/KK/G ภาษาบาลีถ้าจำไม่ผิด ก ข ค ฆ = K/Kh/G/Gh จ ฉ ช ฌ = C/Ch/J/J' ฯลฯ ภาษาไทยอาจสะกด คนไทยอาจออกเป็นเสียงเดียวกันหมดทำให้สับสนในความหมายและการใช้คำ
ความเป็นจริง คำที่ว่าแปลแปลกประหลาด เมื่อยอมรับว่ามันคือศัพท์วิชาการ ไม่นานความคุ้นเคยก็คงจะทำให้มันถูกยอมรับไป หากมันมีความคล่องตัวในการใช้งาน ซึ่งก็อาจมองได้ว่า ดีกว่าภาษาต่างประเทศที่จริงๆแล้วสำหรับคนทั่วไป ทำความคุ้นเคยได้ยากกว่าภาษาถิ่น ด้วยซ้ำ ยกเว้นการแปลศัพท์ที่ไม่สอดคล้องกับการใช้งาน เช่น แปลแล้ว ยาวยืด ใช้คำฟุ่มเฟือย หรือ อย่างที่ว่า ไม่สื่อ คือไม่ค่อยจะเข้าท่า ก็แก้ไข บัญญัติใหม่ ว่ากันไป แต่ที่สำคัญ การบัญญัติต้องมีความเป็นเอกภาพ ไม่เช่นนั้นในบางกรณี เช่น การค้นหา คำ ในการค้นหาฐานข้อมูลต่างๆ จะเกิดความสับสน ไม่สมบูรณ์
ภาษาไทย ทับศัพท์เยอะมาก คงเพราะเราเป็น สังคมที่ตั้งรับ รับศิลปวิทยาการต่างๆ เหมือนเรารับ คำบาลี - สันสกฤต - ภาษายุโรป - ภาษาจีน
เหมือนเรา นั่งสวดภาษาบาลี ไม่รู้เนื้อความคำแปล คำภีร์เหล่านี้หากไม่ได้รับการไขความเป็นภาษาท้องถิ่นที่สื่อสารได้ทันที โดยผู้รับอาจไม่จำเป็นต้องมีทักษะภาษาต้นแบบได้ การเผยแพร่อาจกระทำได้อย่างไม่ทั่วถึง ไม่รวดเร็ว ทั้งองค์ความรู้ก็อาจถูกสงวนเก็บไว้เป็นของศักดิ์สิทธิ์ที่มีไว้เฉพาะ คนชั้นสูง คนในวงการ คนที่มีหรือเข้าใจว่าตัวเองมีทักษะดีพอในภาษาต้นขององค์ความรู้ ไม่สามารถถ่ายทอด สืบทอดได้โดยสะดวก
คนทั่วไปในสังคมที่คิดจะค้นคว้าเข้าถึงเนื้อหา กลับกลายเป็นต้องไปใช้เวลากับเรื่องภาษาเสียก่อน ทำให้การใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ไม่มีประสิทธิผล เท่าไหร่ กลายเป็น นกแก้วนกขุนทองไป นอกจากนี้ ในวงการหนึ่ง การทำงานไม่ได้เป็นการทำงานแต่ในสายงานตัวเอง แต่ต้องทำงานร่วมกับผู้มาจากสายวิชาชีพอื่น และ คนในระดับปฏิบัติงานที่ต่างออกไปด้วย เช่น งานก่อสร้างโครงการต่างๆ ที่ประกอบด้วย คนจากสายวิชชีพต่างๆ วิศวกร สถาปนิก บริหารธุรกิจ นายทุน ผู้รับจ้าง ผู้รับสั่งงาน คนงาน กรรมกร
ประเทศพวก จีนญี่ปุ่น ตามความเข้าใจ น่าจะได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำให้วิทยาการสามารถเข้าถึงได้โดยคนทุกระดับชั้นคนหมู่มาก คนส่วนใหญ่ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาจากทุกส่วนของสังคมพร้อมๆกัน ไม่กระจุกตัวแต่ในหมู่ผู้รู้โดยตรง คนส่วนน้อย การต่อยอด แตกหน่อ ความคิดจึงน่าจะได้รับอานิสงค์ให้รุดหน้าไปเร็วกว่า เพราะบางครั้ง การศึกษาแบบข้ามสายวิชา ผสมผสานวิชาแขนงต่างๆเข้าด้วยกัน จำเป็นต้องเข้าถึงองค์ความรู้ต่างสาขาที่ใช้งานได้โดยตรงและทันทีเพื่อนำมาผสมผสานเป็นความรู้จากหลายภาคส่วน ด้วยตัวคนที่ศึกษาเอง ซึ่งในความจริง ศัพท์ในวงการ ลักษณะต่างๆ ก็คงมีอยู่ แต่การเข้าถึงใช้งานข้อมูล น่าจะมีประสิทธิภาพดีกว่าหากเป็นภาษาถิ่นภาษาเดียวหรือส่วนใหญ่
ในส่วนแปลดี สื่อได้ เข้าใจ เป็นปัญหาปลีกย่อยที่ต้องแก้ไขโดยผู้รู้ทั้งหลายโดยเฉพาะในวงการที่คำนั้นๆจะถูกบัญญัติ ไม่ใช่ยกเลิกไม่ให้มีการแปล
หากในอนาคต ภาษาที่มีบทบาททางวิชาการเปลี่ยนไปเป็นภาษาที่ไม่คุ้นเคย โดยเฉพาะที่มีโครงสร้าง ภาษาศาสตร์ การออกเสียงที่แตกต่างจากภาษาไทยมาก ปัญหาการทับศัพท์อาจเกิดได้ง่าย เช่น การออกเสียงทับศัพท์คำจากภาษาต้นองค์ความรู้ มากกว่า 1 คำ ที่ภาษาไทยสะกด และ/หรือ ออกเสียงเหมือนกันทุกตัวประมาณ ภาษาอังกฤษ Team/Theme Lack/Lag ภาษาจีนกลาง Zi/Zhi Si/Ci Shi/Chi ภาษาเกาหลี K'/K/KK/G ภาษาบาลีถ้าจำไม่ผิด ก ข ค ฆ = K/Kh/G/Gh จ ฉ ช ฌ = C/Ch/J/J' ฯลฯ ภาษาไทยอาจสะกด คนไทยอาจออกเป็นเสียงเดียวกันหมดทำให้สับสนในความหมายและการใช้คำ
ความเป็นจริง คำที่ว่าแปลแปลกประหลาด เมื่อยอมรับว่ามันคือศัพท์วิชาการ ไม่นานความคุ้นเคยก็คงจะทำให้มันถูกยอมรับไป หากมันมีความคล่องตัวในการใช้งาน ซึ่งก็อาจมองได้ว่า ดีกว่าภาษาต่างประเทศที่จริงๆแล้วสำหรับคนทั่วไป ทำความคุ้นเคยได้ยากกว่าภาษาถิ่น ด้วยซ้ำ ยกเว้นการแปลศัพท์ที่ไม่สอดคล้องกับการใช้งาน เช่น แปลแล้ว ยาวยืด ใช้คำฟุ่มเฟือย หรือ อย่างที่ว่า ไม่สื่อ คือไม่ค่อยจะเข้าท่า ก็แก้ไข บัญญัติใหม่ ว่ากันไป แต่ที่สำคัญ การบัญญัติต้องมีความเป็นเอกภาพ ไม่เช่นนั้นในบางกรณี เช่น การค้นหา คำ ในการค้นหาฐานข้อมูลต่างๆ จะเกิดความสับสน ไม่สมบูรณ์
แสดงความคิดเห็น
สงสัยครับ ทำไมชื่ออุปกรณ์ทางวิทยาสาสตร์หลายๆอย่างถึงต้องตั้งชื่อภาษาไทย
เเล้วทำไมเราไม่ปลูกฝังให้เรียกทับศัพท์ไปตั้งเเต่สมัยเรียนตอนประถมหรือมัธยมอะครับ?
เพราะเชื่อว่าช่วงเเรกๆ หลายๆคนก็คงมึนกับชื่ออุปกรณ์ต่างๆ