The Miracle of Wheat grass
กามีละห์ ยะโกะ, สุวิชชา ดาวิไล และรุ่งนภา สารศักดิ์
นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรโภชนศาสตร์
โครงการร่วมคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
Wheat grass คือ ต้นอ่อนหรือต้นกล้าที่เจริญมาจากเมล็ดข้าวสาลี มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Triticum aestivum ต้นกล้าข้าวสาลีหรือ wheat grass จะมีสีเขียวเข้ม ซึ่งพบว่าในระยะต้น หรือ young grass stage นี้มีสารอาหาร เช่น vitamin แร่ธาตุ และโปรตีน มากกว่าในช่วงที่เป็นเมล็ด wheat grass เป็นที่รู้จักกันมานานแล้วตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณกว่า 5000 ปี ชาวอียิปต์นำ wheat grass มาใช้เพื่อการดูแลสุขภาพและใช้ในการบำบัดโรค นอกจากนี้ wheat grass ยังได้รับการบันทึกในตำรายาของกรีก โรมัน และจีน ชาวจีนเชื่อว่า chlorophyll ใน wheatgrass สามารถฟอกเลือดและทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น
การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จาก wheat grass เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1930 โดย Dr. Schnabel ซึ่งทดลองให้อาหารที่มีส่วนผสมของ wheat grass และ oat grass กับแม่ไก่ พบว่าแม่ไก่ผลิตไข่ได้เพิ่มขึ้น เปลือกไข่มีความแข็งแรงมากขึ้น รวมทั้งลูกไก่ที่ฟักออกมามีสุขภาพดี และยังทำให้แม่ไก่ไม่ป่วยเป็น โรคอีกด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1960 Dr. Ann Wigmore เป็นนักธรรมชาติบำบัด ได้สนใจในเรื่องของ natural food และการบำบัดรักษาโรค ทำการศึกษาโดยเริ่มนำ wheat grass มาใช้ในการรักษาโรค พบว่า wheat grass เป็น therapeutic agent ที่ดี และ Dr. Ann Wigmore ยังเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันสุขภาพ ชื่อว่า The Hippocrates Health Institute โดยให้การรักษาผู้ป่วย chronic degenerative disease ด้วย wheat grass และ wheat grass juice รวมทั้งยังเขียนหนังสือเกี่ยวกับ wheat grass อีกด้วย ซึ่งเขาได้รับการขนานนามว่าเป็น “บิดาของ wheat grass” สำหรับในประเทศไทย wheat grass ได้รับความสนใจไม่น้อย ในหมู่ดารา นางแบบ เนื่องจากเชื่อว่าจะทำให้มีสุขภาพดี มีผิวพรรณสดใส เปล่งปลั่ง รวมทั้งช่วยลดคอเลสเตอรอล ด้วยเหตุนี้ wheat grass จึงเป็นที่นิยมดื่มกันมาก ปัจจุบันมีการนำ wheat grass มาใช้ประโยชน์มากขึ้น โดยมี products หลากหลายรูปแบบที่ขายทั่วไปในท้องตลาด อาจอยู่ในรูปน้ำสกัดสด เป็น tablet เป็นผงชงดื่มกับน้ำ นอกจากนี้ยังมีโลชั่นบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของ wheat grass ด้วย เนื่องจากเชื่อว่าใน wheat grass มี chlorophyll สารอาหาร antioxidant ปริมาณมากและยังมีการประยุกต์นำ wheat grass มาผสมกับน้ำผึ้ง เป็นส่วนผสมในกาแฟ ชา น้ำผักผลไม้รวม หรือแม้กระทั่งนำ wheat grass ไปเป็นส่วนผสมในสบู่ ทำให้เพิ่มมูลค่าของสินค้าได้การปลูก wheat grass สามารถทำได้ง่าย โดยนำเมล็ดใส่ภาชนะ รินน้ำใส่ให้ท่วม แช่ทิ้งไว้ 6-8 ชั่วโมง เมื่อครบกำหนดแล้ว รินน้ำออกให้เหลือเพียงหมาดๆ จากนั้นหากระดาษมาปิดไว้อีก 24 ชั่วโมง เตรียมภาชนะและดินสำหรับปลูก นำเมล็ดมาโรยลงบนดินที่เตรียมไว้ แล้วใช้กระบอกฉีด ฉีดน้ำให้ชุ่ม จากนั้นประมาณวันที่ 3 ต้นกล้าจะเริ่มงอกเขียวขึ้นมา รดน้ำเช้า-เย็น เหมือนเดิม แล้วนำออกไปวางในที่ที่มีแสงแดดรำไร ต้นกล้าอายุประมาณ 7 -10 วัน สามารถนำมาคั้นน้ำได้ ซึ่งมีกลิ่นฉุน เหม็นเขียว โดยทั่วไปแนะนำให้ดื่มวันละ 1-2 ออนซ์ ส่วนบางคนที่เพิ่งเริ่มต้นดื่ม ควรดื่มวันละ 1 ออนซ์ก่อน พร้อมดื่มน้ำตาม เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัว จากนั้นจึงค่อยๆ เพิ่มปริมาณ หากต้องการดื่มเพื่อรักษาโรคหรือขจัดสารพิษในร่างกายแนะนำให้ดื่มเพิ่มเป็น วันละ 4-8 ออนซ์
สำหรับ wheat grass ที่อยู่ในรูปของ tablet มีการ recommend ไว้ ควรกิน 1-3 serving/d โดย 1 serving size ประมาณ 5-10 tablets/d โดยผสมในน้ำดื่ม หรือน้ำผลไม้ และควรดื่มในขณะท้องว่าง เนื่องจากร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารได้ดีที่สุดในช่วงนี้ ส่วน wheat grass ที่อยู่ในรูปผง recommend 1-3 servings/d โดย 1 serving size เท่ากับ 8 กรัม นำมาละลายในน้ำดื่ม หรือน้ำผลไม้เช่นเดียวกันกับ wheat grass ที่อยู่ในรูปของ tablet สำหรับบางคนที่ดื่มน้ำ wheatgrass เข้าไป อาจจะมี side effects บ้างในช่วงแรก คือมีอาการแพ้ อาการปวดหัว คลื่นไส้เกิดขึ้นคุณค่าทางโภชนาการ wheat grass อุดมไปด้วยสารอาหาร vitamin, mineral, protein และ fiber สูง จากการศึกษาพบว่า wheat grass 1 ออนซ์ มี protein ประมาณ 860 mg, Beta carotene 120 IU, vitamin C 1 mg, Calcium ประมาณ 7 mg และ potassium 42 mg และเมื่อนำ wheat grass มาเปรียบเทียบกับ whole wheat flour ปริมาณ 100 g พบว่า wheat grass มีปริมาณสารอาหารที่มากกว่า มี fiber, chlorophyll สูง ซึ่งในส่วนของ chlorophyll ที่พบใน wheat grass จะมีปริมาณมากถึง 70%
มีการศึกษาถึงประโยชน์ของ wheat grass เป็นงานการศึกษาของ Ben Arye และคณะ ในปี 2002 โดยได้ศึกษาถึงผลของ wheat grass ในการรักษาโรคลำไส้อักเสบ (Ulcerative colitis) ทำการศึกษาใน subject 23 คน ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคลำไส้อักเสบ(Ulcerative colitis) โดยการส่องกล้อง และแบ่ง subject ออกเป็น 2 กลุ่มก็คือ กลุ่มแรกจะได้รับ wheat grass juice 100ml ส่วนอีกกลุ่มจะได้เป็น placebo ผลพบว่า wheat grass juice มีผลช่วยในการรักษาโรค และช่วยลดภาวะเลือดออกทางทวารหนัก ซึ่งเป็นอาการสำคัญของโรคลำไส้อักเสบ(Ulcerative colitis) นอกจากนี้ก็ยังไม่พบผลข้างเคียงของการดื่ม wheat grass juiceในกลุ่ม subject ดังกล่าวอีกด้วย และก็ยังมีงานการศึกษาในปี 1911 เกี่ยวกับโครงสร้างของ chlorophyll ซึ่งก็พบว่า chlorophyll มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคล้ายคลึงกับโครงสร้างของ hemoglobin ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง แต่มีสิ่งที่แตกต่างกันก็คือ อะตอมของธาตุที่ประกอบเป็น hemoglobin เป็น Fe ส่วนใน chlorophyll เป็น Mg และก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ของประโยชน์ของ chlorophyll ต่อระบบการไหลเวียนเลือดม, ระบบการย่อยอาหาร และประโยชน์ในเรื่องของการล้างสารพิษ (Detoxification)
มีงานศึกษาของ Fahey และคณะในปี 2005 ได้ทำการศึกษา chlorophyll ธรรมชาติที่มีอยู่ในผักต่อการเหนี่ยวนำ phase 2 cytoprotective gene ซึ่งผลก็พบว่า คลอโรฟิลล์ และ แคโรทีนอยด์ มีความสามารถที่จะเหนี่ยวนำ phase 2 enzymes ได้ ซึ่งในส่วนนี้สามารถอธิบายผลการบริโภคผักว่าสามารถช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง ได้ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาของ Vogel และคณะ ในปี 2005 ได้ศึกษาเกี่ยวกับ chlorophyll ในการป้องกัน Heme induced cytotoxic และ hyperproliferative effect ในลำไส้หนูโดยอาหารที่มีเนื้อแดงในปริมาณที่สูง และมีปริมาณผักใบเขียวต่ำ จะมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ สำหรับในการทดลองในหนูอาหารจำพวกเนื้อแดงจะไปเพิ่ม Colonic cytotoxicity และ proliferation ของ colonocyte ซึ่งในการทดลองนี้ก็ได้แบ่งหนูออกเป็นหลายกลุ่มกลุ่มแรกจะได้รับอาหาร Control diet กลุ่มที่2 จะได้อาหาร Control diet และheme กลุ่มที่ 3 ได้รับ Control diet, hemeและ chlorophyll สังเคราะห์ และกลุ่มสุดท้ายจะได้รับ Control diet, heme และ chlorophyll ธรรมชาติที่ได้จากผัก ผลก็พบว่า หนูกลุ่มที่2 ที่ได้อาหาร Control diet และheme มีการเกิด proliferation และ Cytotoxicity ในลำไส้หนูสูงเมื่อเทียบกับหนูกลุ่ม control สำหรับหนูกลุ่มที่ 3 ที่ได้รับ Control diet, hemeและ chlorophyll สังเคราะห์ การเกิด proliferation และ การเกิด Cytotoxicity ในลำไส้หนูจะลดลงเล็กน้อย ส่วนในหนูกลุ่มที่ได้รับ Control diet, heme และ chlorophyll ธรรมชาติที่ได้จากผักพบว่าจะไปช่วยลดการเกิด proliferation และ การเกิด Cytotoxicity ในลำไส้หนูได้มาก แสดงให้เห็นว่า heme induce จะถูกยับยั้งโดยchlorophyll ธรรมชาติ เพราะฉะนั้นการป้องกันความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้จากการบริโภคเนื้อแดงสามารถ ทำได้โดยการบริโภคผักใบเขียวตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นchlorophyll ธรรมชาติ ที่ไม่ได้มาจากการสังเคราะห์
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ wheat grass กับผู้ป่วยทาลัสซีเมีย ในการช่วยลดการถ่ายเลือด ศึกษาโดย Marwaha ตีพิมพ์ใน Indiarediatric ในปี 2004 ซึ่งการศึกษานี้มี subject ทั้งหมด 16 คน ซึ่งได้กล่าวสรุปผลการศึกษาไว้ว่า สามารถถ่ายเลือด ได้ 8 คน คิดเป็น 50% ของ subject ทั้งหมด ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า wheatgrass สามารถช่วยลดการถ่ายเลือดในผู้ป่วยทาลัสซีเมียนั้นเนื่องจาก wheatgrass มี chlorophyll vitamin E และ enzyme ที่เป็น antioxidant
เนื่องจากผู้ป่วยทาลัสซีเมีย เม็ดเลือดแดงจะมีอายุสั้น มีการทำลายเม็ดเลือดแดงสูง จึงมีเหล็กสะสมอยู่ในปริมาณมาก และเหล็กนั้นเป็น free radical ทำให้ผู้ป่วยทาลัสซีเมียนั้นมี free radical สะสมอยู่เป็นจำนวนมาก การรับประทาน wheat grass ซึ่งมี antioxidant จึงมีผลช่วยลดความถี่ในการถ่ายเลือดได้ แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาที่กล่าวมานี้ ยังเป็นการศึกษาแบบ pilot study และยังมีการศึกษาที่มาสนับสนุนอยู่น้อย ยังต้องการการศึกษาต่อไป และยังไม่สามารถสรุปได้ว่า wheat grass จะมีผลต่อการรักษาผู้ป่วยทาลัสซีเมียได้
สำหรับ wheat grass ที่มีผลกับการทำหน้าที่เป็น antioxidant เนื่องจาก wheat grass เป็นแหล่งที่มี enzyme อยู่หลายชนิด ตัวอย่าง antioxidant enzyme ที่สำคัญได้แก่ superoxide dismutase(SOD), glutathione peroxidase catalase จากปฏิกิริยาการกำจัด free radical ของ enzyme
superoxide dismutase จะเปลี่ยน อนุมูลซุปเปอร์ออกไซด์ (O-2•) ให้กลายเป็น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2 ) ที่มีความเสถียรมากกว่า แต่ก็ยังเป็นอันตรายอยู่ จึงมีการเปลี่ยนให้เป็นน้ำและออกซิเจนโดยใช้เอนไซม์ catalase และ glutathione peroxidase ดังนั้น wheat grass จึงเป็นแหล่งของ antioxidant ที่ดี และได้มีการวัด ค่า antioxidant capacity โดยวิธีการ ORAC ซึ่งเป็นค่าวัดความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ และการวัด antioxidant power โดยวิธีการ FRAP ซึ่งเป็นการวัดความสามารถในการเป็นตัวริดิวซ์ของ antioxidant พบว่าช่วงเวลาที่มีปริมาณ antioxidant มากที่สุดคือช่วงที่ ต้นอ่อนข้าวสาลีมีอายุ 10-15 วัน
แต่การแนะนำสำหรับการรับประทานเพื่อให้ได้ antioxidant นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องรับประทานเฉพาะ wheat grass เท่านั้นเพราะผักชนิดอื่นๆ นั้นมี enzyme เหล่านี้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ควรรับประทานผักให้มีความหลากหลายน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
เมื่อเปรียบเทียบ wheat grass กับผักชนิดอื่นๆ เช่นกะหล่ำปลี แครอท ต้นหอม ขี้เหล็ก บร็อคโคลี ปวยเล้ง ผักขแยง พบว่า ปริมาณโปรตีน เกลือแร่ วิตามิน ส่วนใหญ่จะมีปริมาณที่ไม่แตกต่างกัน ในความคิดเห็นการรับประทานผักอื่นๆ ก็จะได้ประโยชน์จากสารอาหารที่คล้ายกัน ยกเว้นผักเหล่านี้จะไม่ใช่แหล่งของวิตามินอี และเอนไซม์เหมือนกับใน wheat grass ดังนั้นการจะบริโภคเพื่อให้ได้สารอาหารและเอนไซม์ครบถ้วนควรรับประทานผัก ให้หลากหลายและรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินอี เช่น น้ำมันชนิดต่างๆ ถั่วลิสง ที่เป็นแหล่งที่มีวิตามินอีสูง น่าจะได้ประโยชน์อย่างแท้จริง
กล่าวโดยสรุป wheat grass เป็นพืชที่อุดมไปด้วยวิตามินเกลือแร่ และเอนไซม์ที่เป็น antioxidant สำคัญหลายชนิด ดังนั้น การรับประทาน wheat grass ก็น่าที่จะเป็นประโยชน์ แต่อย่างไรก็ตามสุขภาพจะดีได้นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอาหารเพียงชนิดเดียว แต่จะต้องรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามธงโภชนาการ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สำหรับอาหารที่บริโภคเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่าง wheatgrass นั้นการเลือกรับประทานก็ต้องอยู่บนพื้นฐานความต้องการของร่างกาย ถ้าร่างกายได้รับอาหารอย่างเพียงพอแล้วผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็อาจจะไม่จำเป็น สำหรับ wheatgrass ที่มีการปลุกกระแสโดยนักแสดงที่มีชื่อเสียง และบางครั้งอาจจะมีการกล่าวอ้างเกินจริง เนื่องจาก มีเรื่องธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องทำให้ต้องมีการโฆษณาเพื่อยอดขาย โดยที่ยังมีผลการวิจัยที่มาสนับสนุน ยังไม่เพียงพอที่จะสรุปว่าสามารถช่วยได้จริง และมีความปลอดภัยเมื่อใช้ระยะยาว ดังนั้นในการเลือกซื้อควรดูให้ดี ถึงการได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา และความคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป
วีทกราส์, ออกานิคส์วีทกราส์,อาหารสุขภาพ วีทกราส์ ผง ผงข้าวสาลีอ่อน วีทกราส
กามีละห์ ยะโกะ, สุวิชชา ดาวิไล และรุ่งนภา สารศักดิ์
นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรโภชนศาสตร์
โครงการร่วมคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
Wheat grass คือ ต้นอ่อนหรือต้นกล้าที่เจริญมาจากเมล็ดข้าวสาลี มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Triticum aestivum ต้นกล้าข้าวสาลีหรือ wheat grass จะมีสีเขียวเข้ม ซึ่งพบว่าในระยะต้น หรือ young grass stage นี้มีสารอาหาร เช่น vitamin แร่ธาตุ และโปรตีน มากกว่าในช่วงที่เป็นเมล็ด wheat grass เป็นที่รู้จักกันมานานแล้วตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณกว่า 5000 ปี ชาวอียิปต์นำ wheat grass มาใช้เพื่อการดูแลสุขภาพและใช้ในการบำบัดโรค นอกจากนี้ wheat grass ยังได้รับการบันทึกในตำรายาของกรีก โรมัน และจีน ชาวจีนเชื่อว่า chlorophyll ใน wheatgrass สามารถฟอกเลือดและทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น
การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จาก wheat grass เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1930 โดย Dr. Schnabel ซึ่งทดลองให้อาหารที่มีส่วนผสมของ wheat grass และ oat grass กับแม่ไก่ พบว่าแม่ไก่ผลิตไข่ได้เพิ่มขึ้น เปลือกไข่มีความแข็งแรงมากขึ้น รวมทั้งลูกไก่ที่ฟักออกมามีสุขภาพดี และยังทำให้แม่ไก่ไม่ป่วยเป็น โรคอีกด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1960 Dr. Ann Wigmore เป็นนักธรรมชาติบำบัด ได้สนใจในเรื่องของ natural food และการบำบัดรักษาโรค ทำการศึกษาโดยเริ่มนำ wheat grass มาใช้ในการรักษาโรค พบว่า wheat grass เป็น therapeutic agent ที่ดี และ Dr. Ann Wigmore ยังเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันสุขภาพ ชื่อว่า The Hippocrates Health Institute โดยให้การรักษาผู้ป่วย chronic degenerative disease ด้วย wheat grass และ wheat grass juice รวมทั้งยังเขียนหนังสือเกี่ยวกับ wheat grass อีกด้วย ซึ่งเขาได้รับการขนานนามว่าเป็น “บิดาของ wheat grass” สำหรับในประเทศไทย wheat grass ได้รับความสนใจไม่น้อย ในหมู่ดารา นางแบบ เนื่องจากเชื่อว่าจะทำให้มีสุขภาพดี มีผิวพรรณสดใส เปล่งปลั่ง รวมทั้งช่วยลดคอเลสเตอรอล ด้วยเหตุนี้ wheat grass จึงเป็นที่นิยมดื่มกันมาก ปัจจุบันมีการนำ wheat grass มาใช้ประโยชน์มากขึ้น โดยมี products หลากหลายรูปแบบที่ขายทั่วไปในท้องตลาด อาจอยู่ในรูปน้ำสกัดสด เป็น tablet เป็นผงชงดื่มกับน้ำ นอกจากนี้ยังมีโลชั่นบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของ wheat grass ด้วย เนื่องจากเชื่อว่าใน wheat grass มี chlorophyll สารอาหาร antioxidant ปริมาณมากและยังมีการประยุกต์นำ wheat grass มาผสมกับน้ำผึ้ง เป็นส่วนผสมในกาแฟ ชา น้ำผักผลไม้รวม หรือแม้กระทั่งนำ wheat grass ไปเป็นส่วนผสมในสบู่ ทำให้เพิ่มมูลค่าของสินค้าได้การปลูก wheat grass สามารถทำได้ง่าย โดยนำเมล็ดใส่ภาชนะ รินน้ำใส่ให้ท่วม แช่ทิ้งไว้ 6-8 ชั่วโมง เมื่อครบกำหนดแล้ว รินน้ำออกให้เหลือเพียงหมาดๆ จากนั้นหากระดาษมาปิดไว้อีก 24 ชั่วโมง เตรียมภาชนะและดินสำหรับปลูก นำเมล็ดมาโรยลงบนดินที่เตรียมไว้ แล้วใช้กระบอกฉีด ฉีดน้ำให้ชุ่ม จากนั้นประมาณวันที่ 3 ต้นกล้าจะเริ่มงอกเขียวขึ้นมา รดน้ำเช้า-เย็น เหมือนเดิม แล้วนำออกไปวางในที่ที่มีแสงแดดรำไร ต้นกล้าอายุประมาณ 7 -10 วัน สามารถนำมาคั้นน้ำได้ ซึ่งมีกลิ่นฉุน เหม็นเขียว โดยทั่วไปแนะนำให้ดื่มวันละ 1-2 ออนซ์ ส่วนบางคนที่เพิ่งเริ่มต้นดื่ม ควรดื่มวันละ 1 ออนซ์ก่อน พร้อมดื่มน้ำตาม เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัว จากนั้นจึงค่อยๆ เพิ่มปริมาณ หากต้องการดื่มเพื่อรักษาโรคหรือขจัดสารพิษในร่างกายแนะนำให้ดื่มเพิ่มเป็น วันละ 4-8 ออนซ์
สำหรับ wheat grass ที่อยู่ในรูปของ tablet มีการ recommend ไว้ ควรกิน 1-3 serving/d โดย 1 serving size ประมาณ 5-10 tablets/d โดยผสมในน้ำดื่ม หรือน้ำผลไม้ และควรดื่มในขณะท้องว่าง เนื่องจากร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารได้ดีที่สุดในช่วงนี้ ส่วน wheat grass ที่อยู่ในรูปผง recommend 1-3 servings/d โดย 1 serving size เท่ากับ 8 กรัม นำมาละลายในน้ำดื่ม หรือน้ำผลไม้เช่นเดียวกันกับ wheat grass ที่อยู่ในรูปของ tablet สำหรับบางคนที่ดื่มน้ำ wheatgrass เข้าไป อาจจะมี side effects บ้างในช่วงแรก คือมีอาการแพ้ อาการปวดหัว คลื่นไส้เกิดขึ้นคุณค่าทางโภชนาการ wheat grass อุดมไปด้วยสารอาหาร vitamin, mineral, protein และ fiber สูง จากการศึกษาพบว่า wheat grass 1 ออนซ์ มี protein ประมาณ 860 mg, Beta carotene 120 IU, vitamin C 1 mg, Calcium ประมาณ 7 mg และ potassium 42 mg และเมื่อนำ wheat grass มาเปรียบเทียบกับ whole wheat flour ปริมาณ 100 g พบว่า wheat grass มีปริมาณสารอาหารที่มากกว่า มี fiber, chlorophyll สูง ซึ่งในส่วนของ chlorophyll ที่พบใน wheat grass จะมีปริมาณมากถึง 70%
มีการศึกษาถึงประโยชน์ของ wheat grass เป็นงานการศึกษาของ Ben Arye และคณะ ในปี 2002 โดยได้ศึกษาถึงผลของ wheat grass ในการรักษาโรคลำไส้อักเสบ (Ulcerative colitis) ทำการศึกษาใน subject 23 คน ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคลำไส้อักเสบ(Ulcerative colitis) โดยการส่องกล้อง และแบ่ง subject ออกเป็น 2 กลุ่มก็คือ กลุ่มแรกจะได้รับ wheat grass juice 100ml ส่วนอีกกลุ่มจะได้เป็น placebo ผลพบว่า wheat grass juice มีผลช่วยในการรักษาโรค และช่วยลดภาวะเลือดออกทางทวารหนัก ซึ่งเป็นอาการสำคัญของโรคลำไส้อักเสบ(Ulcerative colitis) นอกจากนี้ก็ยังไม่พบผลข้างเคียงของการดื่ม wheat grass juiceในกลุ่ม subject ดังกล่าวอีกด้วย และก็ยังมีงานการศึกษาในปี 1911 เกี่ยวกับโครงสร้างของ chlorophyll ซึ่งก็พบว่า chlorophyll มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคล้ายคลึงกับโครงสร้างของ hemoglobin ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง แต่มีสิ่งที่แตกต่างกันก็คือ อะตอมของธาตุที่ประกอบเป็น hemoglobin เป็น Fe ส่วนใน chlorophyll เป็น Mg และก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ของประโยชน์ของ chlorophyll ต่อระบบการไหลเวียนเลือดม, ระบบการย่อยอาหาร และประโยชน์ในเรื่องของการล้างสารพิษ (Detoxification)
มีงานศึกษาของ Fahey และคณะในปี 2005 ได้ทำการศึกษา chlorophyll ธรรมชาติที่มีอยู่ในผักต่อการเหนี่ยวนำ phase 2 cytoprotective gene ซึ่งผลก็พบว่า คลอโรฟิลล์ และ แคโรทีนอยด์ มีความสามารถที่จะเหนี่ยวนำ phase 2 enzymes ได้ ซึ่งในส่วนนี้สามารถอธิบายผลการบริโภคผักว่าสามารถช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง ได้ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาของ Vogel และคณะ ในปี 2005 ได้ศึกษาเกี่ยวกับ chlorophyll ในการป้องกัน Heme induced cytotoxic และ hyperproliferative effect ในลำไส้หนูโดยอาหารที่มีเนื้อแดงในปริมาณที่สูง และมีปริมาณผักใบเขียวต่ำ จะมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ สำหรับในการทดลองในหนูอาหารจำพวกเนื้อแดงจะไปเพิ่ม Colonic cytotoxicity และ proliferation ของ colonocyte ซึ่งในการทดลองนี้ก็ได้แบ่งหนูออกเป็นหลายกลุ่มกลุ่มแรกจะได้รับอาหาร Control diet กลุ่มที่2 จะได้อาหาร Control diet และheme กลุ่มที่ 3 ได้รับ Control diet, hemeและ chlorophyll สังเคราะห์ และกลุ่มสุดท้ายจะได้รับ Control diet, heme และ chlorophyll ธรรมชาติที่ได้จากผัก ผลก็พบว่า หนูกลุ่มที่2 ที่ได้อาหาร Control diet และheme มีการเกิด proliferation และ Cytotoxicity ในลำไส้หนูสูงเมื่อเทียบกับหนูกลุ่ม control สำหรับหนูกลุ่มที่ 3 ที่ได้รับ Control diet, hemeและ chlorophyll สังเคราะห์ การเกิด proliferation และ การเกิด Cytotoxicity ในลำไส้หนูจะลดลงเล็กน้อย ส่วนในหนูกลุ่มที่ได้รับ Control diet, heme และ chlorophyll ธรรมชาติที่ได้จากผักพบว่าจะไปช่วยลดการเกิด proliferation และ การเกิด Cytotoxicity ในลำไส้หนูได้มาก แสดงให้เห็นว่า heme induce จะถูกยับยั้งโดยchlorophyll ธรรมชาติ เพราะฉะนั้นการป้องกันความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้จากการบริโภคเนื้อแดงสามารถ ทำได้โดยการบริโภคผักใบเขียวตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นchlorophyll ธรรมชาติ ที่ไม่ได้มาจากการสังเคราะห์
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ wheat grass กับผู้ป่วยทาลัสซีเมีย ในการช่วยลดการถ่ายเลือด ศึกษาโดย Marwaha ตีพิมพ์ใน Indiarediatric ในปี 2004 ซึ่งการศึกษานี้มี subject ทั้งหมด 16 คน ซึ่งได้กล่าวสรุปผลการศึกษาไว้ว่า สามารถถ่ายเลือด ได้ 8 คน คิดเป็น 50% ของ subject ทั้งหมด ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า wheatgrass สามารถช่วยลดการถ่ายเลือดในผู้ป่วยทาลัสซีเมียนั้นเนื่องจาก wheatgrass มี chlorophyll vitamin E และ enzyme ที่เป็น antioxidant
เนื่องจากผู้ป่วยทาลัสซีเมีย เม็ดเลือดแดงจะมีอายุสั้น มีการทำลายเม็ดเลือดแดงสูง จึงมีเหล็กสะสมอยู่ในปริมาณมาก และเหล็กนั้นเป็น free radical ทำให้ผู้ป่วยทาลัสซีเมียนั้นมี free radical สะสมอยู่เป็นจำนวนมาก การรับประทาน wheat grass ซึ่งมี antioxidant จึงมีผลช่วยลดความถี่ในการถ่ายเลือดได้ แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาที่กล่าวมานี้ ยังเป็นการศึกษาแบบ pilot study และยังมีการศึกษาที่มาสนับสนุนอยู่น้อย ยังต้องการการศึกษาต่อไป และยังไม่สามารถสรุปได้ว่า wheat grass จะมีผลต่อการรักษาผู้ป่วยทาลัสซีเมียได้
สำหรับ wheat grass ที่มีผลกับการทำหน้าที่เป็น antioxidant เนื่องจาก wheat grass เป็นแหล่งที่มี enzyme อยู่หลายชนิด ตัวอย่าง antioxidant enzyme ที่สำคัญได้แก่ superoxide dismutase(SOD), glutathione peroxidase catalase จากปฏิกิริยาการกำจัด free radical ของ enzyme
superoxide dismutase จะเปลี่ยน อนุมูลซุปเปอร์ออกไซด์ (O-2•) ให้กลายเป็น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2 ) ที่มีความเสถียรมากกว่า แต่ก็ยังเป็นอันตรายอยู่ จึงมีการเปลี่ยนให้เป็นน้ำและออกซิเจนโดยใช้เอนไซม์ catalase และ glutathione peroxidase ดังนั้น wheat grass จึงเป็นแหล่งของ antioxidant ที่ดี และได้มีการวัด ค่า antioxidant capacity โดยวิธีการ ORAC ซึ่งเป็นค่าวัดความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ และการวัด antioxidant power โดยวิธีการ FRAP ซึ่งเป็นการวัดความสามารถในการเป็นตัวริดิวซ์ของ antioxidant พบว่าช่วงเวลาที่มีปริมาณ antioxidant มากที่สุดคือช่วงที่ ต้นอ่อนข้าวสาลีมีอายุ 10-15 วัน
แต่การแนะนำสำหรับการรับประทานเพื่อให้ได้ antioxidant นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องรับประทานเฉพาะ wheat grass เท่านั้นเพราะผักชนิดอื่นๆ นั้นมี enzyme เหล่านี้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ควรรับประทานผักให้มีความหลากหลายน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
เมื่อเปรียบเทียบ wheat grass กับผักชนิดอื่นๆ เช่นกะหล่ำปลี แครอท ต้นหอม ขี้เหล็ก บร็อคโคลี ปวยเล้ง ผักขแยง พบว่า ปริมาณโปรตีน เกลือแร่ วิตามิน ส่วนใหญ่จะมีปริมาณที่ไม่แตกต่างกัน ในความคิดเห็นการรับประทานผักอื่นๆ ก็จะได้ประโยชน์จากสารอาหารที่คล้ายกัน ยกเว้นผักเหล่านี้จะไม่ใช่แหล่งของวิตามินอี และเอนไซม์เหมือนกับใน wheat grass ดังนั้นการจะบริโภคเพื่อให้ได้สารอาหารและเอนไซม์ครบถ้วนควรรับประทานผัก ให้หลากหลายและรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินอี เช่น น้ำมันชนิดต่างๆ ถั่วลิสง ที่เป็นแหล่งที่มีวิตามินอีสูง น่าจะได้ประโยชน์อย่างแท้จริง
กล่าวโดยสรุป wheat grass เป็นพืชที่อุดมไปด้วยวิตามินเกลือแร่ และเอนไซม์ที่เป็น antioxidant สำคัญหลายชนิด ดังนั้น การรับประทาน wheat grass ก็น่าที่จะเป็นประโยชน์ แต่อย่างไรก็ตามสุขภาพจะดีได้นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอาหารเพียงชนิดเดียว แต่จะต้องรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามธงโภชนาการ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สำหรับอาหารที่บริโภคเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่าง wheatgrass นั้นการเลือกรับประทานก็ต้องอยู่บนพื้นฐานความต้องการของร่างกาย ถ้าร่างกายได้รับอาหารอย่างเพียงพอแล้วผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็อาจจะไม่จำเป็น สำหรับ wheatgrass ที่มีการปลุกกระแสโดยนักแสดงที่มีชื่อเสียง และบางครั้งอาจจะมีการกล่าวอ้างเกินจริง เนื่องจาก มีเรื่องธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องทำให้ต้องมีการโฆษณาเพื่อยอดขาย โดยที่ยังมีผลการวิจัยที่มาสนับสนุน ยังไม่เพียงพอที่จะสรุปว่าสามารถช่วยได้จริง และมีความปลอดภัยเมื่อใช้ระยะยาว ดังนั้นในการเลือกซื้อควรดูให้ดี ถึงการได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา และความคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป