ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตั้งข้อสังเกตการพิจารณาคดีของ ป.ป.ช. คดีรับจำนำข้าวเป็นไปอย่างเร่งรีบ และทำตัวเป็นคู่กรณีไม่ใช่คนกลาง เผย ป.ป.ช. ให้เวลาจำกัดในการชี้แจง ล่าสุดเพิ่งได้เอกสาร 280 หน้า ให้เวลาอ่าน 3 วัน ผิดกับการดำเนินคดีรายอื่นโดยเฉพาะคดีสลายการชุมนุมปี 2553 ก็ไม่ได้คืบหน้าขนาดนี้
(28 มี.ค.) วันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คกรณีการพิจารณาคดีโครงการรับจำนำข้าวของ ป.ป.ช. โดยมีรายละเอียดดังนี้
000
กราบเรียนพี่น้องประชาชนที่เคารพ
กรณีคดีโครงการรับจำนำข้าว ที่ดิฉันถูกกล่าวหาโดยการยื่นคำร้องถอดถอนจากพรรคฝ่ายค้านส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นการกล่าวหาโดยตรงจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งที่โดยกระบวนการปกติตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ควรจะเป็นคนกลางในการพิจารณาคดีคำร้องถอดถอน
และเมื่อคดีนี้มีความพิเศษกว่าปกติ คือ การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กลับมาเป็นคู่กรณีเสียเองเช่นนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมิใช่คนกลางที่จะอำนวยความยุติธรรม ดังนั้น ในเบื้องต้นดิฉันขอตั้งข้อสังเกต ดังนี้
1. มาตรฐานของการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติให้ไต่สวนคดีโดยเร็วและยึดหลักนิติธรรมนั้น ใช้กับบุคคลทุกกลุ่มในบรรดาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่อยู่ในระดับบริหารด้วยกันอย่างเท่าเทียม หรือมีเงื่อนไขที่จะใช้กับบุคคลหรือคณะบุคคลบางกลุ่มอย่างไม่เท่าเทียมกัน เท่านั้น ดังจะเห็นได้จากหลายเรื่อง เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองถูกกล่าวหา จะมีการตั้งอนุกรรมการไต่สวนก่อน ซึ่งปัจจุบันแต่ละคดีไม่มีความคืบหน้า แต่ประการใด เช่น คดีสลายการชุมนุมที่ทำให้ประชาชนบาดเจ็บล้มตาย เมื่อปี พ.ศ. 2553 หรือคดีทุจริตอื่น ในปี พ.ศ. 2553 ก็ไม่ปรากฏว่า มีความคืบหน้าไปอย่างรวดเร็วเหมือนคดีของดิฉัน
2. ตามบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาที่มีต่อดิฉัน ซึ่งใช้เวลาเพียง 21 วัน ในการจัดเตรียมข้อกล่าวซึ่งมีมากมายหลายประเด็นที่อ้างว่า มีการทุจริตและมีความเสียหาย ซึ่งหากคำนึงถึงความเป็นธรรมแล้ว จำเป็นที่ดิฉันจะได้ใช้สิทธิตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองเพื่อตรวจสอบว่า มีพยานหลักฐานใดที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ใช้ในการกล่าวหา หรือมีข้อสงสัยที่ไม่ชัดเจน เพื่อดิฉันจะได้ชี้แจงได้ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.เสียด้วยซ้ำ เรื่องนี้ ทำให้สรุปได้ชัดเจนว่า “การตรวจพยานหลักฐานในคดีนี้ ดิฉันไม่ได้รับการอำนวยความยุติธรรม” ตามสมควร
3. การขอเลื่อนคดีของดิฉัน มีความสมเหตุสมผลหรือไม่ และการที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่ให้ดิฉันเลื่อนคดีมีเหตุผลมากน้อยเพียงใด ในเรื่องนี้เมื่อตรวจสอบจากบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาว่า “โครงการรับจำนำข้าว” เกิดความเสียหาย โดยดิฉันรับรู้ รับทราบแล้วทำไมไม่ระงับ ยับยั้ง เพื่อยุติโครงการรับจำนำเสีย
เรื่องที่ดิฉันถูกกล่าวหานี้ มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพยานเอกสาร และพยานบุคคลจำนวนมากที่ดิฉันต้องรวบรวม บางรายการต้องสืบค้นจากหลายหน่วยงาน เพื่อหักล้างข้อกล่าวหา แต่หน่วยงานต่างๆมีระยะเวลาไม่เพียงพอ จึงแจ้งเหตุขัดข้องมาหลายหน่วยงาน ซึ่งดิฉัน ได้ให้ทนายความนำไปให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตรวจสอบถึงเหตุขัดข้อง เพื่อขอเลื่อนคดีสักระยะหนึ่ง ซึ่งจากที่ให้แล้ว 15 วัน และดิฉันขอขยายอีก 45 วันตามที่ได้ร้องขอไป
แต่คำขออำนวยความยุติธรรมดังกล่าว แม้สักวันเดียวยังไม่ได้รับ ทั้งๆ ที่ฝ่ายกรรมการ ป.ป.ช. ที่ถือเป็นคู่กรณีอ้างว่า ได้ใช้เวลาตรวจสอบเรื่องของดิฉันมาปีเศษแล้ว ทั้งๆ ที่คณะกรรมการ ปปช. ชุดใหญ่ มีมติภายใน 21 วันเพื่อแจ้งข้อกล่าวหา แต่เมื่อดิฉันจะใช้เวลาตามสมควรบ้าง กลับถูกปฏิเสธความยุติธรรมจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ไต่สวน
ดิฉันเห็นว่า คดีนี้เมื่อตัวดิฉันมีสถานะเป็นนายกรัฐมนตรี การถูกดำเนินคดีเป็นเรื่องที่สาธารณะชนทั่วไปควรต้องการรับรู้และถือเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะที่จะรับรู้ทั้งฝ่ายดิฉัน และเหตุผลของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเสมือนมิใช่คนกลางไต่สวนพิจารณาคดี หากแต่ถือเป็นคู่กรณีที่กล่าวหาดิฉันด้วยว่า ระหว่างการไต่สวนพิจารณาคดีของกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ไต่สวนกับดิฉันในฐานะผู้ถูกกล่าวหา มีการปฏิบัติต่อกันในการดำเนินคดีโดยถูกต้อง เที่ยงธรรมหรือไม่ มิใช่มีเจตนามากล่าวหาต่อกันว่าใครผิดใครถูก ซึ่งไม่ถูกต้อง และกรณีของดิฉันคงเป็นบทเรียนของการใช้อำนาจของแต่ละฝ่ายว่า เป็นไปตามหลักนิติธรรมหรือไม่
แต่กรรมการ ป.ป.ช. กลับชี้แจงโดยกล่าวหาดิฉันว่า เป็นเพราะดิฉันไม่มารับทราบข้อกล่าวหาด้วยตนเองซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก เพราะการรับทราบข้อกล่าวหา ดิฉันตรวจสอบจากบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาที่เป็นลายลักษณ์อักษรได้อยู่แล้ว
เอกสารหลายรายการที่นำไปใช้กล่าวอ้าง และพาดพิงดิฉันรวมถึงบทสัมภาษณ์ ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจของ นายวิชา มหาคุณ ที่อ้างว่าดิฉันต้องรับผิดนั้น ทำไมไม่ให้ดิฉันตรวจพยานหลักฐานก่อน เพื่อให้ดิฉันได้มีโอกาสชี้แจงให้ถูกต้องและตรงประเด็น แต่กลับอ้างว่า ไม่สามารถให้ดูเอกสารหลักฐานได้เนื่องจากเป็นเอกสารสำคัญกลัวจะเสียรูปคดีซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิของดิฉันตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิคุ้มครอง ซึ่งดิฉันได้รับเอกสารแจ้งข้อกล่าวหาในครั้งแรก 49 แผ่น และในภายหลังเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมาได้รับเอกสารเพิ่มเติมอีก 280 แผ่น ซึ่งนั่นหมายความว่า ดิฉันจะต้องแก้ข้อกล่าวหาหลังได้รับเอกสารทั้ง 280 แผ่นนั้นภายในเวลาเพียงแค่ 3 วันเท่านั้น
http://prachatai.com/journal/2014/03/52496?utm_source=feedburner&utm_medium=feed&utm_campaign=Feed%3A+prachatai+%28%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97+Prachatai.com%29
นายกรัฐมนตรีตั้งข้อสังเกต ป.ป.ช. พิจารณาคดีเร่งรีบ-ไม่เปิดโอกาสให้ชี้แจง
(28 มี.ค.) วันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คกรณีการพิจารณาคดีโครงการรับจำนำข้าวของ ป.ป.ช. โดยมีรายละเอียดดังนี้
000
กราบเรียนพี่น้องประชาชนที่เคารพ
กรณีคดีโครงการรับจำนำข้าว ที่ดิฉันถูกกล่าวหาโดยการยื่นคำร้องถอดถอนจากพรรคฝ่ายค้านส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นการกล่าวหาโดยตรงจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งที่โดยกระบวนการปกติตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ควรจะเป็นคนกลางในการพิจารณาคดีคำร้องถอดถอน
และเมื่อคดีนี้มีความพิเศษกว่าปกติ คือ การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กลับมาเป็นคู่กรณีเสียเองเช่นนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมิใช่คนกลางที่จะอำนวยความยุติธรรม ดังนั้น ในเบื้องต้นดิฉันขอตั้งข้อสังเกต ดังนี้
1. มาตรฐานของการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติให้ไต่สวนคดีโดยเร็วและยึดหลักนิติธรรมนั้น ใช้กับบุคคลทุกกลุ่มในบรรดาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่อยู่ในระดับบริหารด้วยกันอย่างเท่าเทียม หรือมีเงื่อนไขที่จะใช้กับบุคคลหรือคณะบุคคลบางกลุ่มอย่างไม่เท่าเทียมกัน เท่านั้น ดังจะเห็นได้จากหลายเรื่อง เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองถูกกล่าวหา จะมีการตั้งอนุกรรมการไต่สวนก่อน ซึ่งปัจจุบันแต่ละคดีไม่มีความคืบหน้า แต่ประการใด เช่น คดีสลายการชุมนุมที่ทำให้ประชาชนบาดเจ็บล้มตาย เมื่อปี พ.ศ. 2553 หรือคดีทุจริตอื่น ในปี พ.ศ. 2553 ก็ไม่ปรากฏว่า มีความคืบหน้าไปอย่างรวดเร็วเหมือนคดีของดิฉัน
2. ตามบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาที่มีต่อดิฉัน ซึ่งใช้เวลาเพียง 21 วัน ในการจัดเตรียมข้อกล่าวซึ่งมีมากมายหลายประเด็นที่อ้างว่า มีการทุจริตและมีความเสียหาย ซึ่งหากคำนึงถึงความเป็นธรรมแล้ว จำเป็นที่ดิฉันจะได้ใช้สิทธิตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองเพื่อตรวจสอบว่า มีพยานหลักฐานใดที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ใช้ในการกล่าวหา หรือมีข้อสงสัยที่ไม่ชัดเจน เพื่อดิฉันจะได้ชี้แจงได้ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.เสียด้วยซ้ำ เรื่องนี้ ทำให้สรุปได้ชัดเจนว่า “การตรวจพยานหลักฐานในคดีนี้ ดิฉันไม่ได้รับการอำนวยความยุติธรรม” ตามสมควร
3. การขอเลื่อนคดีของดิฉัน มีความสมเหตุสมผลหรือไม่ และการที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่ให้ดิฉันเลื่อนคดีมีเหตุผลมากน้อยเพียงใด ในเรื่องนี้เมื่อตรวจสอบจากบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาว่า “โครงการรับจำนำข้าว” เกิดความเสียหาย โดยดิฉันรับรู้ รับทราบแล้วทำไมไม่ระงับ ยับยั้ง เพื่อยุติโครงการรับจำนำเสีย
เรื่องที่ดิฉันถูกกล่าวหานี้ มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพยานเอกสาร และพยานบุคคลจำนวนมากที่ดิฉันต้องรวบรวม บางรายการต้องสืบค้นจากหลายหน่วยงาน เพื่อหักล้างข้อกล่าวหา แต่หน่วยงานต่างๆมีระยะเวลาไม่เพียงพอ จึงแจ้งเหตุขัดข้องมาหลายหน่วยงาน ซึ่งดิฉัน ได้ให้ทนายความนำไปให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตรวจสอบถึงเหตุขัดข้อง เพื่อขอเลื่อนคดีสักระยะหนึ่ง ซึ่งจากที่ให้แล้ว 15 วัน และดิฉันขอขยายอีก 45 วันตามที่ได้ร้องขอไป
แต่คำขออำนวยความยุติธรรมดังกล่าว แม้สักวันเดียวยังไม่ได้รับ ทั้งๆ ที่ฝ่ายกรรมการ ป.ป.ช. ที่ถือเป็นคู่กรณีอ้างว่า ได้ใช้เวลาตรวจสอบเรื่องของดิฉันมาปีเศษแล้ว ทั้งๆ ที่คณะกรรมการ ปปช. ชุดใหญ่ มีมติภายใน 21 วันเพื่อแจ้งข้อกล่าวหา แต่เมื่อดิฉันจะใช้เวลาตามสมควรบ้าง กลับถูกปฏิเสธความยุติธรรมจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ไต่สวน
ดิฉันเห็นว่า คดีนี้เมื่อตัวดิฉันมีสถานะเป็นนายกรัฐมนตรี การถูกดำเนินคดีเป็นเรื่องที่สาธารณะชนทั่วไปควรต้องการรับรู้และถือเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะที่จะรับรู้ทั้งฝ่ายดิฉัน และเหตุผลของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเสมือนมิใช่คนกลางไต่สวนพิจารณาคดี หากแต่ถือเป็นคู่กรณีที่กล่าวหาดิฉันด้วยว่า ระหว่างการไต่สวนพิจารณาคดีของกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ไต่สวนกับดิฉันในฐานะผู้ถูกกล่าวหา มีการปฏิบัติต่อกันในการดำเนินคดีโดยถูกต้อง เที่ยงธรรมหรือไม่ มิใช่มีเจตนามากล่าวหาต่อกันว่าใครผิดใครถูก ซึ่งไม่ถูกต้อง และกรณีของดิฉันคงเป็นบทเรียนของการใช้อำนาจของแต่ละฝ่ายว่า เป็นไปตามหลักนิติธรรมหรือไม่
แต่กรรมการ ป.ป.ช. กลับชี้แจงโดยกล่าวหาดิฉันว่า เป็นเพราะดิฉันไม่มารับทราบข้อกล่าวหาด้วยตนเองซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก เพราะการรับทราบข้อกล่าวหา ดิฉันตรวจสอบจากบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาที่เป็นลายลักษณ์อักษรได้อยู่แล้ว
เอกสารหลายรายการที่นำไปใช้กล่าวอ้าง และพาดพิงดิฉันรวมถึงบทสัมภาษณ์ ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจของ นายวิชา มหาคุณ ที่อ้างว่าดิฉันต้องรับผิดนั้น ทำไมไม่ให้ดิฉันตรวจพยานหลักฐานก่อน เพื่อให้ดิฉันได้มีโอกาสชี้แจงให้ถูกต้องและตรงประเด็น แต่กลับอ้างว่า ไม่สามารถให้ดูเอกสารหลักฐานได้เนื่องจากเป็นเอกสารสำคัญกลัวจะเสียรูปคดีซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิของดิฉันตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิคุ้มครอง ซึ่งดิฉันได้รับเอกสารแจ้งข้อกล่าวหาในครั้งแรก 49 แผ่น และในภายหลังเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมาได้รับเอกสารเพิ่มเติมอีก 280 แผ่น ซึ่งนั่นหมายความว่า ดิฉันจะต้องแก้ข้อกล่าวหาหลังได้รับเอกสารทั้ง 280 แผ่นนั้นภายในเวลาเพียงแค่ 3 วันเท่านั้น
http://prachatai.com/journal/2014/03/52496?utm_source=feedburner&utm_medium=feed&utm_campaign=Feed%3A+prachatai+%28%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97+Prachatai.com%29