ภาพวาดต้นประดู่ริมชายหาดดูมีชีวิตชีวา เมื่อทาบส่วนโคนต้นบนกำแพง พอดีกับต้นจริงที่เติบโตอยู่นอกกำแพงของอีกแดนหนึ่ง ภาพวาดต่างๆ ที่ อวดโฉมอยู่บนกำแพงด้านในแดนการศึกษา(แดน 14) เรือนจำกลางบางขวางสะท้อนจิตใต้สำนึกของกลุ่มผู้ต้องขัง ที่ต้องโทษสูงสุดและโทษประหารชีวิต พวกเขาโหยหาอิสรภาพ ในวันนี้แม้กายจะถูกจองจำในพื้นที่คุมขัง แต่เขาไม่ปล่อยให้จินตนาการถูกจำกัดไว้ในพื้นที่เหล่านี้
ภาพตรงหน้าที่ปรากฏบนกำแพง เป็นผลงานต่อยอดของกลุ่มนักเรียน ที่เรียนรู้ปรัชญาชีวิตผ่านการวาดภาพในห้องเรียนศิลปะ “โครงการห้องเรียนศิลปะ Art for all ประตูสู่จินตนาการ” ที่นักเรียนในโครงการได้ร่วมมือร่วมใจรังสรรค์ขึ้นมา ผลงานความคิดของกลุ่มผู้ต้องขังรุ่น 1-4 ที่ลงแรงช่วยกันลบรอยหมองหม่นของกำแพงให้สดใส แทนที่ด้วยภาพวาดต่างๆ เพื่อสะท้อนความรู้สึกนึกคิด และเล่าเรื่องราวชีวิตของพวกเขาไว้บนผืนกำแพงแห่งนี้
ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของโครงการฯ นี้ ด้วยพระเมตตาของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่มีสายพระเนตรมองเห็นความทุกข์ยากทางใจของผู้ต้องขัง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ต้องโทษหนักประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต ทรงมีพระราชดำริอยากเห็นคนเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น โดยใช้งานศิลปะเข้ามาช่วยบำบัดจิตใจ เป็นเครื่องมือในการลดทอนความคิดวนเวียนกับความผิดของตนเอง ส่งผลตอบรับในเชิงบวก เพราะผู้ต้องขังเหล่านี้คลายความเครียด ลดการใช้ยาเพื่อรักษาอาการดังกล่าว
แต่นั่นยังไม่เท่ากับความรู้สึกตระหนักต่อทุกลมหายใจตนเอง มีความประณีตในการดำเนินชีวิตมากยิ่งขึ้น พวกเขาเห็นคุณค่าของตนเองของตนเองและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามลำดับ
อาจารย์ไศล วาระวรรณ์ อาจารย์สอนวาดภาพและที่ปรึกษาภาพวาดบนกำแพงของเรือนจำกลางบางขวาง ได้กล่าวว่า การสอนงานศิลปะให้กับผู้ต้องขังที่ได้รับโทษหนักและโทษสูงสุด ตนได้สอดแทรกการคิดเชิงจิตวิทยาไว้ในบทเรียนด้วย เริ่มต้นจากการฝึกวาดภาพโดยใช้ถ่านชาร์โคล ที่นักเรียนทุกคนจะได้เรียนรู้ปรัชญาจากสิ่งนี้ ถ่านวาดรูปชนิดนี้เมื่อจับแล้วจะติดมือเปรอะเปื้อนได้ง่าย ลบไม่ออก เปรียบเหมือนการกระทำของเราที่มีต่อตนเองและเพื่อนร่วมสังคม ทุกคนต้องระมัดระวังในการก้าวเดินทุกจังหวะชีวิต เพื่อไม่ให้สิ่งที่ตนเองทำกระทบคนรอบข้างในเชิงลบ นี่เป็นอีกหนึ่งวิธีสอนที่มากกว่าสอนให้วาดรูป แต่สอนปรัชญาเพื่อให้พวกเขานำไปปรับใช้ในชีวิตได้
"เป้าหมายของอาจารย์ผู้สอน อยากเห็นทุกคนได้เรียนรู้ภายในของตนเอง ยอมรับตนเอง ยอมรับผม ยอมรับเพื่อน ทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ การใช้ศิลปะบวกจิตวิทยาทำให้เขามีพัฒนาการทางความคิด เห็นความงดงามจากภายใน รู้จักตัวเองและสามารถใช้ชีวิตอย่างสุข สงบ สันติภาพ ซึ่งการใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการร้อยเรียงชีวิต เป็นอีกหนึ่งแขนงในการดูแลใจกายให้สมดุล นอกจากศาสนา ดนตรี กีฬา สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์พื้นฐานกับคนรอบข้างในเชิงสร้างสรรค์ การใช้ศิลปะกับการสอนแบบจิตวิทยา เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือ ที่จะช่วยให้แต่ละคนมีความสุขสมบูรณ์ในจิตวิญญาณได้ด้วยตนเอง”
“ส่วนภาพวาดบนกำแพงนั้น เกิดจากนักเรียนทั้ง 4 รุ่นรวมตัวกันสร้างสรรค์ศิลปะต่อยอดด้วยตัวเขาเอง โดยใช้กำแพงแทนผืนผ้าใบ ผมเป็นที่ปรึกษาโครงการภาพวาดบนกำแพงรวมกับพวกเขา ช่วยกันคิดและตกผลึกหัวข้อ “ต้องจำ” ออกมา จากนั้นให้พวกเขาตีโจทย์จากคำๆ นี้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดอิสระในการคิด และเปิดประตูสู่จินตนาการของแต่ละคน ตามเจตนารมณ์ที่มูลนิธิตั้งหวังไว้ ภาพที่ปรากฏเกิดจากการร่วมมือร่วมใจ ในหนึ่งภาพมีนักเรียนช่วยกันวาด ร่างโครง ลงสี แม้ว่าจะดูเหมือนคนละภาพในผืนกำแพงเดียวกัน แต่เรื่องราวที่ถ่ายทอด พวกเขาพยายามให้สอดคล้องกัน ทั้งนี้เราต้องเข้าใจก่อนว่า พวกเขาแต่ละคนยังขาดประสบการณ์วาดภาพบนกำแพง แต่นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการนำเสนอ”
สะท้อนวิธีคิดและชีวิต "ต้องจำ" ฝีมือวาดภาพจากผู้ต้องขังในบางขวาง
ภาพตรงหน้าที่ปรากฏบนกำแพง เป็นผลงานต่อยอดของกลุ่มนักเรียน ที่เรียนรู้ปรัชญาชีวิตผ่านการวาดภาพในห้องเรียนศิลปะ “โครงการห้องเรียนศิลปะ Art for all ประตูสู่จินตนาการ” ที่นักเรียนในโครงการได้ร่วมมือร่วมใจรังสรรค์ขึ้นมา ผลงานความคิดของกลุ่มผู้ต้องขังรุ่น 1-4 ที่ลงแรงช่วยกันลบรอยหมองหม่นของกำแพงให้สดใส แทนที่ด้วยภาพวาดต่างๆ เพื่อสะท้อนความรู้สึกนึกคิด และเล่าเรื่องราวชีวิตของพวกเขาไว้บนผืนกำแพงแห่งนี้
ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของโครงการฯ นี้ ด้วยพระเมตตาของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่มีสายพระเนตรมองเห็นความทุกข์ยากทางใจของผู้ต้องขัง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ต้องโทษหนักประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต ทรงมีพระราชดำริอยากเห็นคนเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น โดยใช้งานศิลปะเข้ามาช่วยบำบัดจิตใจ เป็นเครื่องมือในการลดทอนความคิดวนเวียนกับความผิดของตนเอง ส่งผลตอบรับในเชิงบวก เพราะผู้ต้องขังเหล่านี้คลายความเครียด ลดการใช้ยาเพื่อรักษาอาการดังกล่าว
แต่นั่นยังไม่เท่ากับความรู้สึกตระหนักต่อทุกลมหายใจตนเอง มีความประณีตในการดำเนินชีวิตมากยิ่งขึ้น พวกเขาเห็นคุณค่าของตนเองของตนเองและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามลำดับ
อาจารย์ไศล วาระวรรณ์ อาจารย์สอนวาดภาพและที่ปรึกษาภาพวาดบนกำแพงของเรือนจำกลางบางขวาง ได้กล่าวว่า การสอนงานศิลปะให้กับผู้ต้องขังที่ได้รับโทษหนักและโทษสูงสุด ตนได้สอดแทรกการคิดเชิงจิตวิทยาไว้ในบทเรียนด้วย เริ่มต้นจากการฝึกวาดภาพโดยใช้ถ่านชาร์โคล ที่นักเรียนทุกคนจะได้เรียนรู้ปรัชญาจากสิ่งนี้ ถ่านวาดรูปชนิดนี้เมื่อจับแล้วจะติดมือเปรอะเปื้อนได้ง่าย ลบไม่ออก เปรียบเหมือนการกระทำของเราที่มีต่อตนเองและเพื่อนร่วมสังคม ทุกคนต้องระมัดระวังในการก้าวเดินทุกจังหวะชีวิต เพื่อไม่ให้สิ่งที่ตนเองทำกระทบคนรอบข้างในเชิงลบ นี่เป็นอีกหนึ่งวิธีสอนที่มากกว่าสอนให้วาดรูป แต่สอนปรัชญาเพื่อให้พวกเขานำไปปรับใช้ในชีวิตได้
"เป้าหมายของอาจารย์ผู้สอน อยากเห็นทุกคนได้เรียนรู้ภายในของตนเอง ยอมรับตนเอง ยอมรับผม ยอมรับเพื่อน ทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ การใช้ศิลปะบวกจิตวิทยาทำให้เขามีพัฒนาการทางความคิด เห็นความงดงามจากภายใน รู้จักตัวเองและสามารถใช้ชีวิตอย่างสุข สงบ สันติภาพ ซึ่งการใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการร้อยเรียงชีวิต เป็นอีกหนึ่งแขนงในการดูแลใจกายให้สมดุล นอกจากศาสนา ดนตรี กีฬา สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์พื้นฐานกับคนรอบข้างในเชิงสร้างสรรค์ การใช้ศิลปะกับการสอนแบบจิตวิทยา เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือ ที่จะช่วยให้แต่ละคนมีความสุขสมบูรณ์ในจิตวิญญาณได้ด้วยตนเอง”
“ส่วนภาพวาดบนกำแพงนั้น เกิดจากนักเรียนทั้ง 4 รุ่นรวมตัวกันสร้างสรรค์ศิลปะต่อยอดด้วยตัวเขาเอง โดยใช้กำแพงแทนผืนผ้าใบ ผมเป็นที่ปรึกษาโครงการภาพวาดบนกำแพงรวมกับพวกเขา ช่วยกันคิดและตกผลึกหัวข้อ “ต้องจำ” ออกมา จากนั้นให้พวกเขาตีโจทย์จากคำๆ นี้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดอิสระในการคิด และเปิดประตูสู่จินตนาการของแต่ละคน ตามเจตนารมณ์ที่มูลนิธิตั้งหวังไว้ ภาพที่ปรากฏเกิดจากการร่วมมือร่วมใจ ในหนึ่งภาพมีนักเรียนช่วยกันวาด ร่างโครง ลงสี แม้ว่าจะดูเหมือนคนละภาพในผืนกำแพงเดียวกัน แต่เรื่องราวที่ถ่ายทอด พวกเขาพยายามให้สอดคล้องกัน ทั้งนี้เราต้องเข้าใจก่อนว่า พวกเขาแต่ละคนยังขาดประสบการณ์วาดภาพบนกำแพง แต่นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการนำเสนอ”