สถานการณ์ราคาข้าวตั้งแต่ต้นปี ปรับตัวลดลงอย่างหนักและต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน
มิอาจปฏิเสธได้ว่า
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากโครงการรับจำนำภายใต้การนำของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ประกอบกับข้าวของเวียดนามออกสู่ตลาดในช่วงเดียวกันและการเร่งระบายข้าวของรัฐบาล
เพื่อต้องการนำเงินมาใช้หนี้ชาวนาในโครงการรับจำนำปี 56/57
ที่ยังคงติดหนี้ชาวนาอยู่ร่วมแสนล้านบาท
ขณะที่ข้าวทยอยออกสู่ตลาดในปริมาณที่มากขึ้น เป็นโอกาสของโรงสี
พ่อค้าข้าวที่เลือกซื้อในราคาที่ถูกใจ เลือกกำหนดราคาที่ชาวนาปฏิเสธไม่ได้
สำนักเศรษฐกิจการเกษตร หรือ สศก.ให้ข้อมูลว่า
ราคาข้าวเปลือกความชื้น 15 %
เดือนม.ค.อยู่ที่ตันละ 7,914 บาท
ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่าน ซึ่งอยู่ที่ตันละ 10,526 บาท
เดือน ก.พ.ราคาอยู่ที่ตันละ 7,827 บาท
ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาอยู่ที่ตันละ 10,559 บาท
และใน
สัปดาห์แรกของ
เดือน มี.ค.ราคาอยู่ที่ ตันละ 7,800 บาท
สัปดาห์ที่ 2 ตันละ 7,641 บาท
และ
สัปดาห์ที่ 3 อยู่ที่ตันละ 7,490 บาท
หรือเฉลี่ยที่ตันละ 7,644 บาท
ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านที่มีราคาตันละ 10,158 บาท
อันนั้นเป็นราคาของสศก.หรือสำรวจและวิเคราะห์ จากหน่วยงานรัฐ
ที่ใช้เฉลี่ยเอาจากหลายพื้นที่ทั่วประเทศ
แต่ราคาจริงจากปากคำชาวนาร่วงไปที่ 5,300 บาทตัน
ไม่คุ้มกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจิปาถะ ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรง ค่ารถไถ
ค่าน้ำมัน
เบ็ดเสร็จตก 6-7 พันบาทต่อไร่
ชาวนาเหนื่อยฟรี 3-4 เดือนที่ลงข้าว
"เลี่ยงไม่ได้ ไม่มีทางเลือก"
อาชีพที่ตกทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
ชาวนาจริงๆเกือบทุกรายออกปาก
"ไม่ปลูกข้าว ก็ไม่รู้ไปทำอะไร"
ผลพวงจากนโยบายจำนำราคาสูงๆ เก็บสต็อกไว้เยอะๆ
แล้วม้วนเสื่อ ปิดฉาก ลาโรงไม่บอกกล่าว
ผลพวงนี้ยังส่งต่อไปยังวงจรการบริโภคทุกห่วงโซ่
ชาวนาไม่มีเงิน พ่อค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า รถไถ หมู เห็ด เป็ด ไก่ ขายไม่ออก
วงจรเศรษฐกิจช็อกกะทันหัน
สถานการณ์ผลิตข้าวในช่วงเดือน ก.พ. ประสบภาวะหนาวและแล้งจัด
เมื่อสีออกมา ต้นข้าวที่ได้จะลดลง ความชื้นไม่มี เป็นโอกาสของผู้ส่งออก
ราคาข้าวที่ลดลงจะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันมีมากขึ้น ส่งออกได้มากขึ้น
ราคาที่โค้ดกัน 450 ดอลลาร์ต่อตัน หากทอนกลับมาเป็นราคาข้าวไทย
เกษตรกรควรจะได้รับราคาที่ตันละ 8,000-9,000 บาท
โรงสี ผู้ส่งออกควรต้องเห็นใจและให้ความเป็นธรรมชาวนา
โดยการไม่กดราคารับซื้อที่เกินกว่าเหตุ
แน่นอนชาวนาย่อมตกใจกับราคาที่เห็นและรับสถานการณ์แบบนี้ได้ยาก
เพราะที่ผ่านมาได้รับราคาสูงมาก
ที่สำคัญเป็นราคาที่เริ่มยกแรกของราคาขาลงเท่านั้น
หากมองไปข้างหน้าสถานการณ์เดือนเม.ย.-พ.ค.ข้าวจะลงราคาหนักกว่านี้
เพราะจะมีผลผลิตนาปรังเข้าสู่ตลาดมากขึ้น
ขณะที่สต็อกที่รัฐแบกอยู่แม้พยายามระบายแต่ยังคงสูงถึงกว่า 16 ล้านตันข้าวสาร
ยังไม่เห็นทิศทางดีขึ้น สถานการณ์ราคาข้าวของประเทศ สถานะภาพของชาวนา
นโยบายที่พลาดผิด ปู้ยี่ปู้ยำจนตลาดข้าวพังพาบ
ถ้าบ้านอื่นเมืองอื่น เขาออกมาแสดงความเสียใจและขอโทษแสดงความรับผิดชอบกันแล้ว
แต่บ้านนี้เมืองนี้ คงไม่ได้เห็นนักการเมือง ผู้กำหนดนโยบาย
สำนึก สำเหนียกในความรับผิดชอบแต่อย่างใด
..................................................................................
ที่มา : ฑิฆัมพร ศรีจันทร์ , bangkokbiznews 24/03/2014
๐๐๐๐๐ ยิ่งลักษณ์กับสำนึกรับผิดชอบจำนำข้าว ๐๐๐๐๐
สถานการณ์ราคาข้าวตั้งแต่ต้นปี ปรับตัวลดลงอย่างหนักและต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน
มิอาจปฏิเสธได้ว่า
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากโครงการรับจำนำภายใต้การนำของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ประกอบกับข้าวของเวียดนามออกสู่ตลาดในช่วงเดียวกันและการเร่งระบายข้าวของรัฐบาล
เพื่อต้องการนำเงินมาใช้หนี้ชาวนาในโครงการรับจำนำปี 56/57
ที่ยังคงติดหนี้ชาวนาอยู่ร่วมแสนล้านบาท
ขณะที่ข้าวทยอยออกสู่ตลาดในปริมาณที่มากขึ้น เป็นโอกาสของโรงสี
พ่อค้าข้าวที่เลือกซื้อในราคาที่ถูกใจ เลือกกำหนดราคาที่ชาวนาปฏิเสธไม่ได้
สำนักเศรษฐกิจการเกษตร หรือ สศก.ให้ข้อมูลว่า
ราคาข้าวเปลือกความชื้น 15 % เดือนม.ค.อยู่ที่ตันละ 7,914 บาท
ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่าน ซึ่งอยู่ที่ตันละ 10,526 บาท
เดือน ก.พ.ราคาอยู่ที่ตันละ 7,827 บาท
ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาอยู่ที่ตันละ 10,559 บาท
และในสัปดาห์แรกของเดือน มี.ค.ราคาอยู่ที่ ตันละ 7,800 บาท
สัปดาห์ที่ 2 ตันละ 7,641 บาท
และสัปดาห์ที่ 3 อยู่ที่ตันละ 7,490 บาท
หรือเฉลี่ยที่ตันละ 7,644 บาท
ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านที่มีราคาตันละ 10,158 บาท
อันนั้นเป็นราคาของสศก.หรือสำรวจและวิเคราะห์ จากหน่วยงานรัฐ
ที่ใช้เฉลี่ยเอาจากหลายพื้นที่ทั่วประเทศ
แต่ราคาจริงจากปากคำชาวนาร่วงไปที่ 5,300 บาทตัน
ไม่คุ้มกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจิปาถะ ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรง ค่ารถไถ
ค่าน้ำมัน เบ็ดเสร็จตก 6-7 พันบาทต่อไร่
ชาวนาเหนื่อยฟรี 3-4 เดือนที่ลงข้าว "เลี่ยงไม่ได้ ไม่มีทางเลือก"
อาชีพที่ตกทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
ชาวนาจริงๆเกือบทุกรายออกปาก"ไม่ปลูกข้าว ก็ไม่รู้ไปทำอะไร"
ผลพวงจากนโยบายจำนำราคาสูงๆ เก็บสต็อกไว้เยอะๆ
แล้วม้วนเสื่อ ปิดฉาก ลาโรงไม่บอกกล่าว
ผลพวงนี้ยังส่งต่อไปยังวงจรการบริโภคทุกห่วงโซ่
ชาวนาไม่มีเงิน พ่อค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า รถไถ หมู เห็ด เป็ด ไก่ ขายไม่ออก
วงจรเศรษฐกิจช็อกกะทันหัน
สถานการณ์ผลิตข้าวในช่วงเดือน ก.พ. ประสบภาวะหนาวและแล้งจัด
เมื่อสีออกมา ต้นข้าวที่ได้จะลดลง ความชื้นไม่มี เป็นโอกาสของผู้ส่งออก
ราคาข้าวที่ลดลงจะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันมีมากขึ้น ส่งออกได้มากขึ้น
ราคาที่โค้ดกัน 450 ดอลลาร์ต่อตัน หากทอนกลับมาเป็นราคาข้าวไทย
เกษตรกรควรจะได้รับราคาที่ตันละ 8,000-9,000 บาท
โรงสี ผู้ส่งออกควรต้องเห็นใจและให้ความเป็นธรรมชาวนา
โดยการไม่กดราคารับซื้อที่เกินกว่าเหตุ
แน่นอนชาวนาย่อมตกใจกับราคาที่เห็นและรับสถานการณ์แบบนี้ได้ยาก
เพราะที่ผ่านมาได้รับราคาสูงมาก
ที่สำคัญเป็นราคาที่เริ่มยกแรกของราคาขาลงเท่านั้น
หากมองไปข้างหน้าสถานการณ์เดือนเม.ย.-พ.ค.ข้าวจะลงราคาหนักกว่านี้
เพราะจะมีผลผลิตนาปรังเข้าสู่ตลาดมากขึ้น
ขณะที่สต็อกที่รัฐแบกอยู่แม้พยายามระบายแต่ยังคงสูงถึงกว่า 16 ล้านตันข้าวสาร
ยังไม่เห็นทิศทางดีขึ้น สถานการณ์ราคาข้าวของประเทศ สถานะภาพของชาวนา
นโยบายที่พลาดผิด ปู้ยี่ปู้ยำจนตลาดข้าวพังพาบ
ถ้าบ้านอื่นเมืองอื่น เขาออกมาแสดงความเสียใจและขอโทษแสดงความรับผิดชอบกันแล้ว
แต่บ้านนี้เมืองนี้ คงไม่ได้เห็นนักการเมือง ผู้กำหนดนโยบาย
สำนึก สำเหนียกในความรับผิดชอบแต่อย่างใด
..................................................................................
ที่มา : ฑิฆัมพร ศรีจันทร์ , bangkokbiznews 24/03/2014