คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
1. หลังจากจดทะเบียนบุคคลธรรมดาแล้วนั้น จะมีพันธะผูกพัน เสียภาษี หรือค่าใช้จ่ายใดๆเพิ่มขึ้นมาบ้าง
<> เรื่องสำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้น... ภาษี.... ไม่ว่าจะจดทะเบียน หรือไม่จด ก็ต้องเสียภาษีเหมือนกัน (กรณีบุคคลธรรมดา) ดังนี้
1.1 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ..... ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีปีละ 2 ครั้ง :-
> ภาษีครึ่งปี (แบบ ภ.ง.ด.94) รวบรวม รายได้สำหรับงวด ม.ค.-มิ.ย. ยื่นภายในเดือน ก.ย.
> ภาษีประจำปี (แบบ ภ.ง.ด.90) รวบรวม รายได้สำหรับงวด ม.ค.-ธ.ค. ยื่นภายในเดือน มี.ค. ของปีถัดไป
( สามารถนำภาษีที่เสียครึ่งปี มาเครดิต )
1.2 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีค่าจ้างพนักงานถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี
> ต้องหักภาษี และนำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป (แบบ ภ.ง.ด.1)
> สิ้นปี ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.1ก ภายในเดือน ก.พ.ของปีถัดไป เพื่อแจ้งยอดค่าจ้างที่จ่ายให้พนักงานทั้งปี (เป็นรายบุคคล)
1.3 ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กรณีมียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี (ไม่ว่าจะจดทะเบียนพาณิชย์หรือไม่ก็ตาม)
> ต้องจดทะเบียน VAT
> ต้องนำส่ง VAT ( คำนวณโดยนำ VAT-ขาย หัก VAT-ซื้อ) นำส่งด้วยแบบ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 ทุกเดือน ไม่ว่าจะมีภาษีที่ต้องชำระหรือไม่ก็ตาม
2. จะต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายหรือไม่
> ตาม พ.ร.บ.การบัญชี 2543 .... บุคคลธรรมดาไม่ต้องจัดทำบัญชี (ยกเว้นบางกรณีต้องจัดทำ)
> ตาม กรมสรรพากร เพื่อประโยชน์ในการเสียภาษี ต้องจัดทำรายรับ-รายจ่าย (แบบง่าย ไม่ใช่แบบมาตรฐานบัญชี) ดูตาม link :-
http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/images/image_law/images/prob.pdf
3. มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง
> แล้วแต่มุมมอง.... คห.ส่วนตัว ควรทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย.... อนึ่ง หากรายได้สูงมาก ควรจดเป็นนิติบุคคล ส่วนใหญ่จะประหยัด
ภาษีกว่า แต่จะมีภาระค่าทำบัญชี และค่าสอบบัญชี
4. อย่างพวกภาษีมูลค่าเพิ่ม มันเกี่ยวกับพวกนี้หรือไม่
> ตอบในข้อ 1.3 แล้ว
5. อย่างร้านชาวบ้านๆธรรมดา ควรจะทำอะไรเพิ่มบ้างค่ะ ทีเป็นพื้นฐานเลย นอกจาก ภาษีโรงเรือน ภาษีป้าย
> หากต้องการความสบายใจ.... ควรให้ความสำคัญเรื่องภาษีให้มาก ....
<> เรื่องสำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้น... ภาษี.... ไม่ว่าจะจดทะเบียน หรือไม่จด ก็ต้องเสียภาษีเหมือนกัน (กรณีบุคคลธรรมดา) ดังนี้
1.1 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ..... ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีปีละ 2 ครั้ง :-
> ภาษีครึ่งปี (แบบ ภ.ง.ด.94) รวบรวม รายได้สำหรับงวด ม.ค.-มิ.ย. ยื่นภายในเดือน ก.ย.
> ภาษีประจำปี (แบบ ภ.ง.ด.90) รวบรวม รายได้สำหรับงวด ม.ค.-ธ.ค. ยื่นภายในเดือน มี.ค. ของปีถัดไป
( สามารถนำภาษีที่เสียครึ่งปี มาเครดิต )
1.2 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีค่าจ้างพนักงานถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี
> ต้องหักภาษี และนำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป (แบบ ภ.ง.ด.1)
> สิ้นปี ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.1ก ภายในเดือน ก.พ.ของปีถัดไป เพื่อแจ้งยอดค่าจ้างที่จ่ายให้พนักงานทั้งปี (เป็นรายบุคคล)
1.3 ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กรณีมียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี (ไม่ว่าจะจดทะเบียนพาณิชย์หรือไม่ก็ตาม)
> ต้องจดทะเบียน VAT
> ต้องนำส่ง VAT ( คำนวณโดยนำ VAT-ขาย หัก VAT-ซื้อ) นำส่งด้วยแบบ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 ทุกเดือน ไม่ว่าจะมีภาษีที่ต้องชำระหรือไม่ก็ตาม
2. จะต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายหรือไม่
> ตาม พ.ร.บ.การบัญชี 2543 .... บุคคลธรรมดาไม่ต้องจัดทำบัญชี (ยกเว้นบางกรณีต้องจัดทำ)
> ตาม กรมสรรพากร เพื่อประโยชน์ในการเสียภาษี ต้องจัดทำรายรับ-รายจ่าย (แบบง่าย ไม่ใช่แบบมาตรฐานบัญชี) ดูตาม link :-
http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/images/image_law/images/prob.pdf
3. มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง
> แล้วแต่มุมมอง.... คห.ส่วนตัว ควรทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย.... อนึ่ง หากรายได้สูงมาก ควรจดเป็นนิติบุคคล ส่วนใหญ่จะประหยัด
ภาษีกว่า แต่จะมีภาระค่าทำบัญชี และค่าสอบบัญชี
4. อย่างพวกภาษีมูลค่าเพิ่ม มันเกี่ยวกับพวกนี้หรือไม่
> ตอบในข้อ 1.3 แล้ว
5. อย่างร้านชาวบ้านๆธรรมดา ควรจะทำอะไรเพิ่มบ้างค่ะ ทีเป็นพื้นฐานเลย นอกจาก ภาษีโรงเรือน ภาษีป้าย
> หากต้องการความสบายใจ.... ควรให้ความสำคัญเรื่องภาษีให้มาก ....
แสดงความคิดเห็น
ขอจดทะเบียนกับพาณิชย์นะค่ะ มีขั้นตอนดำเนินการอย่างไรบ้างค่ะ
1. หลังจากจดทะเบียนบุคคลธรรมดาแล้วนั้น จะมีพันธะผูกพัน เสียภาษี หรือค่าใช้จ่ายใดๆเพิ่มขึ้นมาบ้างค่ะ
2. จะต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายหรือไม่ค่ะ
3. มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้างค่ะ
4. อย่างพวกภาษีมูลค่าเพิ่ม มันเกี่ยวกับพวกนี้หรือไม่ค่ะ
5. อย่างร้านชาวบ้านๆธรรมดา ควรจะทำอะไรเพิ่มบ้างค่ะ ทีเป็นพื้นฐานเลย นอกจาก ภาษีโรงเรือน ภาษีป้าย น่ะค่ะ
ขอบคุณทุกความเห็นค่ะ ไม่มีความรู้เรื่องพวกนี้เลย ช่วยหน่อยน่ะค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ _/\_