แนวข้อสอบ สรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่ะ เป็นแนวข้อสอบที่เราสรุปเองก่อนสอบ ปี 62-63
ทุกความสำเร็จ อยู่ที่ความมุ่งมั่นและตั้งใจ อ่านหนังสือให้มาก ทำแนวข้อสอบให้บ่อย ตอนอ่านพยายามตั้งคำถามและคำตอบ จะทำให้จำได้มากขึ้นค่ะ
กว่าเราจะสอบได้อย่างที่ตั้งใจก็สอบหลายครั้งอยู่ค่ะกว่าจะสอบติด แต่ก็ไม่ละความตั้งใจ เพียรพยายาม คอยติดตามข่าวสารการสอบ และอ่านหนังสือ ขยันหัดทำแนวข้อสอบ ก็หาในเน็ตเอานี้ละค่ะ จนสอบติดและบรรจุเป็นข้าราชการอย่างที่ตั้งใจ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ
อีกอย่างคอยติดตามข้อมูลหน้าเว็ปกรมสรรพากร ส่วนมากข้อสอบจะมีบนหน้าเว็ปที่อัพเดทข่าวสารกรมสรรพากรนั้นแหละค่ะ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนที่ผ่านเข้ามาอ่านนะค่ะ ขอให้โชคดีสอบติด และได้รับราชการอย่างที่ตั้งใจค่ะ ^^
***แจกฟรีนะค่ะ กรุณาอย่า copy ไปขาย ถ้า copy ไปอ่านเอง หรือแจก ก็ยินดีแบ่งปันค่ะ***
1. ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นคําขอจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกี่วันนับตั้งแต่วันที่มีรายรับเกิน ?
ตอบ ให้ยื่นคําขอจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน
2. ผู้ประกอบกิจการตามข้อใดที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ?
ตอบ ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร
3. ผู้ประกอบการที่มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากประกอบกิจการโดยไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องถูกดําเนินการตามข้อใด ?
ตอบ จําคุกไม่เกิน 1 เดือน/ปรับ 5,000.- บาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
4.ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งมีแผนงาน ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้มีการดำเนินการ และเตรียมการ ประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้า หรือรับ บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้าง โรงงาน ก่อสร้างอาคารสานักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภายในกี่วัน
ตอบ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภายในกำหนด 6 เดือน ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ เว้นแต่ มีสัญญาหรือหลักฐานจะดำเนินการ ก่อสร้าง ภายในเวลาที่เหมาะสม
5. ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ข้อใด
ตอบ 1.ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
2.ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
3.การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน
4.การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
5.การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร
อธิบายเพิ่มเติม
1. การขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
2. การขายพืชผลทางการเกษตรภายในราชอาณาจักร เช่น ข้าว ข้าวโพด ปอ มันสำปะหลัง ผักและผลไม้ เป็นต้น ( คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป .28/2535 ฯ )
3. การขายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตภายในราชอาณาจักร เช่น โค กระบือ ไก่หรือเนื้อสัตว์ กุ้ง ปลา เป็นต้น (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.29/2535ฯ)
4. การขายปุ๋ย
5. การขายปลาป่น อาหารสัตว์
6. การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษาป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์
7. การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
6. ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เข้าระบบ vat ไม่ได้) คือข้อใด
ตอบ 1.ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
2.ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
3.ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
4.ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 43) ฯ ลงวันที่ 29 มกราคม พ . ศ . 2536
5.ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร
อธิบายเพิ่มเติม
- การนำเข้าสินค้าสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน.
- การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
- การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำหรือทางอากาศ อย่างไรก็ดี หากเป็นการให้บริการขนส่งโดยอากาศยาน และการให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ ผู้ประกอบการมีสิทธิเลือกเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้
- การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศทางบกและทางเรือซึ่งมิใช่เรือเดินทะเล
- การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลทางราชการและเอกชน
- การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์
- การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น
- การให้บริการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ
- การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ
- การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรม ในสาขาและลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
- การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ซึ่งต้องมีลักษณะการประกอบกิจการตามที่กรมสรรพากรกำหนด คือ ต้องเป็นการวิจัยหรือบริการทางวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์และสาขาสังคมศาสตร์ แต่ต้องมิใช่เป็นการกระทำในทางธุรกิจ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือมูลนิธิ
- การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน
- การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์
- การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ไม่รวมถึงบริการที่เป็นการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นการหารายได้ หรือผลประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นกิจการสาธารณูปโภคหรือไม่ก็ตาม
- การขายสินค้าหรือการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย
- การขายสินค้าหรือการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการสาธารณกุศลภายในประเทศ ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น
- การขายสินค้า หรือการให้บริการตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาฯ
( พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 239) พ.ศ.2534 )
7. หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ 1.เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
2.ออกใบกำกับภาษี
3.จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่
3.1 รายงานภาษีซื้อ
3.2 รายงานภาษีขาย
3.3 รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
4.ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
8. ข้อใดคือความหมายของ ใบกำกับภาษี
ตอบ ใบกำกับภาษี คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้า หรือรับบริการในแต่ละครั้ง
9. ข้อใดถูกต้อง
ตอบ - กรณีการขายสินค้า ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องออกใบกากับภาษีพร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อในทันทีที่มีการส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อ
- กรณีการให้บริการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องออกใบกากับภาษีพร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้รับบริการในทันทีที่ได้รับชำระราคาค่าบริการ
10. ผู้ประกอบการจดทะเบียน ต้องจัดทำใบกากับภาษีอย่างน้อย กี่ฉบับ
ตอบ อย่างน้อย 2 ฉบับ ดังนี้
- ต้นฉบับ ส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
- สำเนา เก็บรักษาไว้เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการลงรายงานภาษีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ทำรายงาน
11. ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียน ไม่ใช้สิทธินำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไป มีสิทธิตามข้อใด
ตอบ มีสิทธิขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้น
12.ใบกำกับภาษี หมายความรวมถึงข้อใด
ตอบ ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ใบเสร็จรับเงินที่ส่วนราชการออกให้ในการขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่นตามมาตรา 83/5 และใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรของกรมศุลกากร หรือกรมสรรพสามิต เฉพาะส่วนที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม
13.การลงวันที่ในรายงานภาษีขาย การส่งออกสินค้า ให้กรอกวันที่ตามข้อใด
ตอบ วันที่ชำระอากรขาออก หรือวันที่กรมศุลกากรออกใบขนสินค้าขาออก ฯลฯ แล้วแต่กรณี
14. อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มแบ่งได้กี่อัตรา
ตอบ 2 อัตราคือ อัตราร้อยละ 10 ซึ่งปัจจุบันใช้อัตราร้อยละ 7 และอัตราร้อยละ 0
15. ข้อใดคือการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
16. ปัจจุบันเราจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ในอัตราเท่าใด
ตอบ อัตราคงที่ 7% (ซึ่งคำนวณมาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม 6.3% + ภาษีท้องถิ่น 0.7%)
17. เสียอัตราภาษีท้องถิ่นเท่าใดของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ 1/9 ของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat 6.3 % x 1/9 = 0.7 )
18. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ตอบ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็น "ภาษีทางอ้อม" หรือ ภาษีที่สามารถผลัก "ภาระ" ไปให้กับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคเป็นผู้ชำระแทน
19. ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีจัดเก็บจากข้อใด
ตอบ เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการบริโภค
20. กิจการประเภทใด ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ก. การขายหนังสือการ์ตูน ข การขายผลไม้
ค. การขายสุนัข ง. การขายไอโฟนนำเข้าจากต่างประเทศ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กำหนดโทษการปฏิบัติฝ่าฝืนเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยนะค่ะ
แนวข้อสอบ สรรพากร หมวดภาษีมูลค่าเพิ่ม (4)
ทุกความสำเร็จ อยู่ที่ความมุ่งมั่นและตั้งใจ อ่านหนังสือให้มาก ทำแนวข้อสอบให้บ่อย ตอนอ่านพยายามตั้งคำถามและคำตอบ จะทำให้จำได้มากขึ้นค่ะ
กว่าเราจะสอบได้อย่างที่ตั้งใจก็สอบหลายครั้งอยู่ค่ะกว่าจะสอบติด แต่ก็ไม่ละความตั้งใจ เพียรพยายาม คอยติดตามข่าวสารการสอบ และอ่านหนังสือ ขยันหัดทำแนวข้อสอบ ก็หาในเน็ตเอานี้ละค่ะ จนสอบติดและบรรจุเป็นข้าราชการอย่างที่ตั้งใจ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ
อีกอย่างคอยติดตามข้อมูลหน้าเว็ปกรมสรรพากร ส่วนมากข้อสอบจะมีบนหน้าเว็ปที่อัพเดทข่าวสารกรมสรรพากรนั้นแหละค่ะ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนที่ผ่านเข้ามาอ่านนะค่ะ ขอให้โชคดีสอบติด และได้รับราชการอย่างที่ตั้งใจค่ะ ^^
***แจกฟรีนะค่ะ กรุณาอย่า copy ไปขาย ถ้า copy ไปอ่านเอง หรือแจก ก็ยินดีแบ่งปันค่ะ***
1. ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นคําขอจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกี่วันนับตั้งแต่วันที่มีรายรับเกิน ?
ตอบ ให้ยื่นคําขอจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน
2. ผู้ประกอบกิจการตามข้อใดที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ?
ตอบ ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร
3. ผู้ประกอบการที่มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากประกอบกิจการโดยไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องถูกดําเนินการตามข้อใด ?
ตอบ จําคุกไม่เกิน 1 เดือน/ปรับ 5,000.- บาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
4.ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งมีแผนงาน ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้มีการดำเนินการ และเตรียมการ ประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้า หรือรับ บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้าง โรงงาน ก่อสร้างอาคารสานักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภายในกี่วัน
ตอบ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภายในกำหนด 6 เดือน ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ เว้นแต่ มีสัญญาหรือหลักฐานจะดำเนินการ ก่อสร้าง ภายในเวลาที่เหมาะสม
5. ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ข้อใด
ตอบ 1.ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
2.ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
3.การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน
4.การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
5.การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร
อธิบายเพิ่มเติม
1. การขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
2. การขายพืชผลทางการเกษตรภายในราชอาณาจักร เช่น ข้าว ข้าวโพด ปอ มันสำปะหลัง ผักและผลไม้ เป็นต้น ( คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป .28/2535 ฯ )
3. การขายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตภายในราชอาณาจักร เช่น โค กระบือ ไก่หรือเนื้อสัตว์ กุ้ง ปลา เป็นต้น (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.29/2535ฯ)
4. การขายปุ๋ย
5. การขายปลาป่น อาหารสัตว์
6. การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษาป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์
7. การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
6. ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เข้าระบบ vat ไม่ได้) คือข้อใด
ตอบ 1.ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
2.ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
3.ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
4.ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 43) ฯ ลงวันที่ 29 มกราคม พ . ศ . 2536
5.ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร
อธิบายเพิ่มเติม
- การนำเข้าสินค้าสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน.
- การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
- การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำหรือทางอากาศ อย่างไรก็ดี หากเป็นการให้บริการขนส่งโดยอากาศยาน และการให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ ผู้ประกอบการมีสิทธิเลือกเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้
- การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศทางบกและทางเรือซึ่งมิใช่เรือเดินทะเล
- การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลทางราชการและเอกชน
- การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์
- การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น
- การให้บริการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ
- การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ
- การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรม ในสาขาและลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
- การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ซึ่งต้องมีลักษณะการประกอบกิจการตามที่กรมสรรพากรกำหนด คือ ต้องเป็นการวิจัยหรือบริการทางวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์และสาขาสังคมศาสตร์ แต่ต้องมิใช่เป็นการกระทำในทางธุรกิจ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือมูลนิธิ
- การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน
- การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์
- การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ไม่รวมถึงบริการที่เป็นการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นการหารายได้ หรือผลประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นกิจการสาธารณูปโภคหรือไม่ก็ตาม
- การขายสินค้าหรือการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย
- การขายสินค้าหรือการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการสาธารณกุศลภายในประเทศ ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น
- การขายสินค้า หรือการให้บริการตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาฯ
( พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 239) พ.ศ.2534 )
7. หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ 1.เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
2.ออกใบกำกับภาษี
3.จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่
3.1 รายงานภาษีซื้อ
3.2 รายงานภาษีขาย
3.3 รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
4.ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
8. ข้อใดคือความหมายของ ใบกำกับภาษี
ตอบ ใบกำกับภาษี คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้า หรือรับบริการในแต่ละครั้ง
9. ข้อใดถูกต้อง
ตอบ - กรณีการขายสินค้า ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องออกใบกากับภาษีพร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อในทันทีที่มีการส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อ
- กรณีการให้บริการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องออกใบกากับภาษีพร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้รับบริการในทันทีที่ได้รับชำระราคาค่าบริการ
10. ผู้ประกอบการจดทะเบียน ต้องจัดทำใบกากับภาษีอย่างน้อย กี่ฉบับ
ตอบ อย่างน้อย 2 ฉบับ ดังนี้
- ต้นฉบับ ส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
- สำเนา เก็บรักษาไว้เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการลงรายงานภาษีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ทำรายงาน
11. ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียน ไม่ใช้สิทธินำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไป มีสิทธิตามข้อใด
ตอบ มีสิทธิขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้น
12.ใบกำกับภาษี หมายความรวมถึงข้อใด
ตอบ ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ใบเสร็จรับเงินที่ส่วนราชการออกให้ในการขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่นตามมาตรา 83/5 และใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรของกรมศุลกากร หรือกรมสรรพสามิต เฉพาะส่วนที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม
13.การลงวันที่ในรายงานภาษีขาย การส่งออกสินค้า ให้กรอกวันที่ตามข้อใด
ตอบ วันที่ชำระอากรขาออก หรือวันที่กรมศุลกากรออกใบขนสินค้าขาออก ฯลฯ แล้วแต่กรณี
14. อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มแบ่งได้กี่อัตรา
ตอบ 2 อัตราคือ อัตราร้อยละ 10 ซึ่งปัจจุบันใช้อัตราร้อยละ 7 และอัตราร้อยละ 0
15. ข้อใดคือการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
16. ปัจจุบันเราจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ในอัตราเท่าใด
ตอบ อัตราคงที่ 7% (ซึ่งคำนวณมาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม 6.3% + ภาษีท้องถิ่น 0.7%)
17. เสียอัตราภาษีท้องถิ่นเท่าใดของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ 1/9 ของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat 6.3 % x 1/9 = 0.7 )
18. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ตอบ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็น "ภาษีทางอ้อม" หรือ ภาษีที่สามารถผลัก "ภาระ" ไปให้กับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคเป็นผู้ชำระแทน
19. ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีจัดเก็บจากข้อใด
ตอบ เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการบริโภค
20. กิจการประเภทใด ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ก. การขายหนังสือการ์ตูน ข การขายผลไม้
ค. การขายสุนัข ง. การขายไอโฟนนำเข้าจากต่างประเทศ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กำหนดโทษการปฏิบัติฝ่าฝืนเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยนะค่ะ