ลิงค์ตอนที่แล้ว (ภาค 6) :
http://ppantip.com/topic/31832361
หมายเหตุ : เนื้อหาในบทความนี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว
ของผมเท่านั้น และในเนื้อหามีการสปอยล์เนื้อหาสำคัญในการ์ตูน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
เจาะลึก "โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ :
Part 7 Steel Ball Run" (ฉบับสมบูรณ์)
มันมีความเข้าใจที่ต่างกันไป 2 อย่างเกี่ยวกับโจโจ้ภาคนี้ คือ อ.อารากิ ตั้งใจให้ SBR
(ขอเรียกย่อๆแบบนี้นะครับ) เป็นภาคที่ 7 ของโจโจ้อยู่แล้ว หรือ เป็นการเอาชื่อโจโจ้
มาใช้อีกครั้งเพราะเรตติ้งช่วงแรกๆตกกันแน่? จะว่าไปมันก็จริงทั้ง 2 ทางนั่นแหละครับ
สำหรับการจะนับว่า SBR เป็นภาคที่ 7 ของโจโจ้หรือไม่? เพราะต้องยอมรับว่าเรื่องเรต
ติ้งก็มีส่วน คนอ่านรายสัปดาร์ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ที่หลงเข้ามาก็มีกันเยอะเลย เลยเกิด
ความกังขาหรือ อ.อารากิ จะหมดมุขไปต่อไม่ได้หรือเปล่า? ของแบบนี้มันขึ้นอยู่กับมุม
มองของแต่ละท่านเองจริงๆว่าคิดเห็นกันยังไงบ้าง?
แต่ส่วนตัวผมนั้น ผมว่ามันก็สามารถเป็นได้ทั้ง 2 ทางนะครับ คือมันสามารถเป็นโจโจ้ก็ได้
แต่อีกทางหนึ่ง SBR ก็ไม่ใช่ภาคต่อโจโจ้โดยตรงเหมือนกัน เป็นโลกคู่ขนานก็ไม่ได้ด้วย
(เพราะ อ.อารากิ อธิบายความหมายของโลกคู่ขนานไว้เสร็จสรรพแล้วในความสามารถ
ของ D4C) เอาจริงๆแล้ว SBR ก็คือผลงานที่เริ่มต้นใหม่ ภายใต้ชื่อ
"โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ"
(ที่ อ.อารากิ อุตส่าร์หลีกเลี่ยงที่จะใช้ชื่อโจโจ้แล้วในตอนแรกๆ แต่สุดท้ายก็ต้องแปะชื่อ
โจโจ้ลงไปเหมือนเดิม เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมต่อกัน) แต่ก็จะไม่มีอะไรที่เกี่ยวพัน
หรือต่อเนื่องอะไรกับโจโจ้ 6 ภาคก่อนเลย ถ้าเรียกเป็นภาษาหนังในยุคปัจจุบัน มันก็คือ
"โจโจ้ภาครีบู้ท" นี่เองครับ เป็นการสร้างเรื่องราวใหม่ๆในโลกโจโจ้โดยมีชื่อ
"โจโจ้" เป็นแค่ชื่อสร้อยเล็กๆเท่านั้น..
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
September 25, 1890 Sand Diego Beach
เรื่องราวใน SBR เกิดขึ้นอเมริกายุค 1890 ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนของยุคสมัยทั้งการปกครองและ
การพัฒนาประเทศ เมื่อมีการแข่งขันขี่ม้าข้ามทวีปครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์เกิดขึ้น
นั่นคือ
"สตีล บอล รัน เรซ" ด้วยระยะทางยาวไกลตั้งแต่ ซานดิเอโก้บีช จนถึง นิวยอร์ค
ด้วยเงินรางวัลถึง 50 ล้านเหรียญ ..ซึ่งเรื่องราวจะเล่าผ่านสองหนุ่ม
"โจนี่ โจสตาร์"
และ
"ไจโร่ เซเปลี่" ที่รู้ถึงจุดประสงค์ของการแข่งในการรวบรวมชิ้นส่วนของ
"ซากศพศักดิ์สิทธิ์ของนักบุญลึกลับ" ที่กระจายอยู่ทั่วอเมริกา ทำให้ชะตากรรม
ของทั้งคู่และโลกไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป...
SBR เป็นผลงานแรกของ อ.อารากิ ที่ย้ายมาลงในนิตยสาร อัลตร้าจัมป์ รายเดือนหลัง
จากลงโชเนนจัมป์มานานเป็นสิบปี เหตุผลเพราะวัยที่มากขึ้น และจะได้มีอิสระในการ
ทำงานใส่ไอเดียที่เป็นตัวของตัวเองได้มากขึ้นในผลงานนั่นเองครับ ทำให้ SBR ไม่ใช่
มังงะโชเนนเอามันส์อีกต่อไป แต่เป็นมังงะสำหรับผู้ใหญ่เต็มตัวที่หนักหน่วงทั้งดราม่า
การเมือง ศาสนา และทฤษฎีที่น่าปวดหัว ถ้าเปรียบกับคอมิคของฝรั่ง SBR ก็ไม่น่าจะ
ถูกจัดอยู่ในหมวดการ์ตูนได้ครับ น่าจะจัดอยู่ในหมวดของ
"นิยายภาพ (Graphic Novel)"
ซะมากกว่า
แต่ SBR ก็เริ่มต้นสิ่งต่างๆในเรื่องด้วยความ
อิหลักอิเหลื่อและไม่ลงตัวมากเหมือนกัน...
เพราะด้วยความที่ต้องการปูพื้นสิ่งพื้นฐานต่างๆใหม่หมด ด้วยการให้เนื้อหาในช่วง
แรกๆไม่มีอะไรหวือหวา ไม่มีการต่อสู้ ไม่มีความสามารถแสตนด์ เป็นการแข่งขัน
วิ่งระยะสั้นธรรมดาๆจริงๆ (ที่เกือบจะเป็นการต่อสู้แล้วกลายๆ) ก่อนจะค่อยๆสร้าง
สิ่งพื้นฐานต่างๆที่เคยมีในโจโจ้ภาคก่อนๆขึ้นมาตามลำดับ ค่อยๆดึงตัวละครฝั่ง
ธรรมมะ ฝั่งอธรรม ความสามารถสแตนด์ต่างๆมาทีละเล็กละน้อย จนกลายเป็น
ภาพการต่อสู้ของผู้ใช้แสตนด์ที่คุ้นตาแบบในภาคก่อนๆไปในที่สุด ...แต่กว่าจะได้
สำผัสอารมณ์แบบนั้นกันจริงๆ เนื้อหาก็ปาไป 5-6 เล่มแล้ว และยังมีรายละเอียดต่างๆ
ที่ดูแล้วขัดหูขัดตาคนอ่านเยอะมาก เช่น แซนด์แมน ที่โดนเปลี่ยนชื่อและบทโดน
พลิกไปเป็นตัวร้ายเฉยๆ ทั้งๆที่เปิดตัวมาอย่างกะพระเอก หรือแกนเรื่องที่จู่ๆก็เปลี่ยน
จากแข่งม้าและสู้กับผู้ก่อการร้าย มาเป็นชิงซากศพกันหน้าตาเฉย ซึ่งมันทำให้ภาพ
รวมของ SBR ออกมาไม่สมบูรณ์และลงตัวเหมือนภาคก่อนๆ จนช่วงต้นๆของเรื่อง
กลายเป็นส่วนเกินของโครงเรื่องใหญ่ของภาคไปซะได้
แต่ถ้าหากทำเป็นลืมๆไปถึงความไม่ลงตัวในช่วง 5 เล่มแรกไปนั้น อีก 19 เล่มต่อ
มาของ SBR นั้นถือว่าเป็นมังงะดีๆที่มีอะไรให้พูดถึงเยอะแยะไม่น้อยครับ เพราะมี
หลายๆอย่างเลยที่เติบโตขึ้นจากผลงานในอดีต เหมือนอย่างที่ อ.อารากิ บอกไว้
เพียงแต่มันเติบโตจากอดีตไปในอีกทางหนึ่งที่ต่างจากเดิมมากๆก็เท่านั้นเอง..
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
The Victor's Rights
เมื่อสิ่งต่างๆเข้าที่เข้าทาง สิ่งที่ตามมาก็คือ เรื่องราวในจักรวาลใหม่ที่ อ.อารากิ สร้างสรรค์
ออกมาได้มีสไตส์และน่าจดจำ ไม่น้อยไปกว่าภาคก่อนๆ ซึ่งสิ่งที่ SBR เด่นมากที่สุด
หนีไม่พ้นเรื่องเดียวเท่านั้นครับนั่นคือ
"ทักษะการเล่าเรื่อง" และ
"การสร้างพื้นที่สีเทาให้กับตัวละคร"
จะว่าไป ตั้งแต่อ่านโจโจ้มา 6 ภาค SBR คงถือเป็นภาคแรกนะครับที่โจโจ้มี
"พล็อตรอง"
...เพราะปกติเนื้อหาจะเกาะอยู่แค่ตัวละครกลุ่มเดียวไปทั้งเรื่อง (ภาค 4 จะเรียกว่าพล็อตรองคง
ไม่ได้ เพราะเนื้อหาของตัวละครแต่ละตัวก็ยังเดินเป็นเส้นเดียวอยู่คือ การตามล่าคิระ ไม่มีอย่างอื่นอีก)
ถือว่าเป็นการพัฒนาการเล่าเรื่องที่ดีขึ้นไปของ อ.อารากิ จากเดิมที่มักจะเล่าเรื่องเรียบง่าย
ไม่ได้หวือหวา แต่จะโดดเด่นมากกับองค์ประกอบรายล้อมซะมากกว่า (ภาค 3 เป็นตัวอย่าง
ที่ดีครับ ที่พล็อตไม่เด่น แต่องค์ประกอบเด่นจนคนอ่านลืมไปเลยว่าพล็อตจริงๆมันมีแค่กระจึ๋ง
เดียวคือเดินทางไปปราบดีโอเท่านั้นแหละ) ซึ่งเนื้อหาหลักๆคือการต่อสู้ของโจนี่กับเฮียไจโร่
ส่วนพล็อตรองอื่นๆก็เช่นภารกิจลุยเดี่ยวของลูซี่ เป็นต้น ...ทำให้พล็อตภาคนี้ค่อนข้างเดาทาง
ได้ยาก และมีจุดพลิกผลันมากขึ้นจากภาคก่อนๆ เพราะไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ อ.อารากิ แกจะเล่น
พิเรนท์อะไรขึ้นมาอีกบ้าง XD
ที่เด่นที่สุดใน SBR จริงๆเลยก็คือ เมื่อโลกโจโจ้ไม่ใช่ธรรมะปะทะอธรรมอีกแล้ว แต่เป็น
โลกสีเทา ที่คนที่ต่อสู้กันไม่ใช่ผ่ายดีหรือฝ่ายร้ายชัดเจน แต่เป็นแค่คนธรรมดาๆที่มีเป้า
หมายต่างกันเท่านั้น คนดีก็ไม่ได้ดีไปซะทุกอย่าง แต่ละคนต่างมีทางเลือกที่ตัวเองเลือก
จัดเอาไว้พร้อมแล้ว ในสายตาคนอีกกลุ่ม เขาอาจจะมองโจนี่กับไจโร่เป็นตัวร้ายก็ได้
...ที่ผมค่อนข้างจะชอบเป็นการส่วนตัวอีกอย่างในโจโจ้คงเป็น การที่พวกเขามีพลังสแตนด์
เป็นพลังพิเศษประจำตัว มันไม่ได้ทำให้เขามีความเป็นมนุษย์น้องลงแต่อย่างใดเลย แถม
พลังสแตนด์นี่แหละ ที่เป็นตัวขับความเป็นมนุษย์ออกมาได้มากที่สุด ทั้งด้านดีและชั่ว
(ขาจรทั่วๆไป มักจะสนใจกันแค่สแตนด์เท่านั้น เราเลยได้เห็นกระทู้ที่จับเอาสแตนด์
มาไขว้กันว่าตัวไหนเจ๋งกว่ากัน ออกมาเสมอๆ แต่ไม่เคยมีกระทู้ในพันทิปอันไหน
เลยที่พูดถึงความน่าสนใจของมิติตัวละคร ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมเสียดายเอามากๆเลย...)
แต่ยังไงก็ตามสิ่งที่หายไปจากโจโจ้ที่น่าเสียดายก็มีเหมือนกัน เช่น งานออกแบบ
สแตนด์ที่ในภาค 4-5 ออกแบบได้เท่ห์เก๋ทุกตัว แต่มาภาคหลังๆสแตนด์จะไม่ค่อย
เท่ห์เหมือนภาคก่อนๆแล้ว แต่จะเน้นการใช้งานมากกว่าเข้าไปอัดโอร่าๆเหมือนเมื่อ
ก่อน แถมสแตนด์ดูจะไม่ค่อยเป็นส่วนสำคัญอะไรกับตัวละครเท่าภาคก่อนๆแล้ว
(ใน SBR สแตนด์มักจะโผล่มาเป็นแค่เงาข้างๆตัวร่างต้นเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนสำคัญ
อะไรกับการต่อสู้เลย เพราะจะเน้นแค่การใช้งานได้เลยจากตัวร่างต้นเองมากกว่า)
หรือ ตัวละครที่เป็นกลุ่มใหญ่ๆ เพราะตัวละครหลักในภาคนี้ไม่ได้รวมกันเป็นกลุ่ม
ทีมแล้ว เป็นสเน่ห์ในภาคก่อนๆที่ไม่มีในภาคนี้
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
Break My Heart, Break Your Heart
นี่ก็เป็นภาคแรกเหมือนกันนะครับ ที่เรื่องทั้งหมดจะเล่าเรื่องผ่านตัวเอกสองคน
ทำให้เกิดโมเมนท์อีกอย่างคือมิตรภาพแบบคู่หู ซึ่งก็เหมาะกับธีมเรื่องการแข่งขัน
เสี่ยงชีวิตในภาคนี้มาก มิตรภาพชายสองคนที่เดินทางด้วยกันอย่างยาวนาน
ให้ความรู้อบอุ่นแบบคลาสสิคได้ดีครับ (แต่บางคนก็ล้อว่าโมเมนท์แบบนี้มัน
เหมือน Brokeback Mountain ..ฮาาา) และประเด็นเรื่องศีลธรรมขาวดำใน
SBR ถูกสะท้อนออกมาผ่านตัวเอกทั้งสองคน
โจนี่ โจสตาร์ เป็นตัวเอกที่ผิดแผกไปจากโจสตาร์ทุกคนที่ผ่านมาโดยสิ้นเชิง
อาจจะผิดแผกจากพระเอกมังงะแอ็คชั่นเรื่องอื่นๆด้วยนะครับ เพราะนอกจากจะ
พิการแล้ว ยังเป็นคนที่จิตใจอ่อนแอ แพ้ต่อด้านมืดในจิตใจได้ง่าย ส่งผลให้โจนี่
เป็นพระเอกที่อ่อนแอที่สุด อันเกิดจากความบอบช้ำทางจิตใจชัดเจน เพราะเรา
ไม่เคยเห็นโจนี่ลุกขึ้นมาเอาชนะความกลัวของตัวเองด้วยความกล้าหาญเลย
เพราะโจนี่มักจะรับมือด้วยการเสียน้ำตาร้องไห้ฟูมฟายซะมากกว่า ซึ่งเป็นสิ่งที่
ไม่เกิดขึ้นกับตัวเอกภาคก่อนๆแน่นอน (ถึงเกิดขึ้นก็ไม่ใช่อารมณ์แบบโจนี่คุงแน่ๆ)
ส่วนเฮียไจโร่ เซเปลี่ พระรอง (ที่บทโคตรจะส่งให้เป็นพระเอกพอๆกับบูจาราตี้)
ก็เป็นเสมือนอีกด้านหนึ่งโจนี่ แต่เปลี่ยนจากการรับมือกับความบอบช้ำทางจิตใจ
มาเป็นการได้ซึ่ง การยอมรับได้ แทน เพราะไจโร่เกิดมาในครอบครัวที่ต้องทำ
ตามกฏอย่างเคร่งครัด แม้แต่เรื่องที่ไม่อยากทำก็ต้องทำอย่างเลี่ยงไม่ได้ ...ด้วย
เหตุนี้ไจโร่จึงอยากต้องการการยอมรับได้ หากเขาเชื่อว่ามันคือเส้นทางที่ถูกต้อง
เป็นสิ่งที่ต่างจากโจนี่คือ ไจโร่ไม่ใช่คนอ่อนแอ เขาเป็นคนแข็งแกร่งแต่ก็อ่อนโยน
มากไป ส่วนโจนี่ก็เป็นคนอ่อนแอที่มีความเด็ดขาด และโหดเหี้ยมอยู่ลึกๆ.. เป็นสิ่ง
ที่เราไม่เคยเห็นในโจโจ้จริงๆจังซะที คือการที่คนสองคนที่มีด้านที่เหมือนและต่าง
กันไปคนละแบบ ที่เรียนรู้และเติมเต็มซึ่งกันและกัน โจนี่ก็เรียนรู้เรื่องความเข้มแข็ง
จากไจโร่ ไจโร่ก็เรียนรู้ที่จะเผชิญกับความเจ็บปวดจากโจนี่ เป็นความสัมพันธุ์ลูกผู้
ชาย (ลูกผู้ชายนะครับ ย้ำว่าลูกผู้ชาย ไม่มีมา Brokeback อะไร XD) ที่เล่าได้อย่าง
เป็นธรรมชาติและสำผัสได้จริง เพราะมีการให้เวลาพัฒนาความสำพันธุ์ของทั้งคู่ได้
นานพอที่จะเสียน้ำตาหรือดีใจไปกับทั้งคู่ด้วยจริงๆ...
ส่วนตัวละครที่ถือว่าเป็นอีกคนที่บอกถึงพัฒนาการ
"การสร้างตัวละครหญิง"
ที่เก่งขึ้นมากของ อ.อารากิ คือ
"ลูซี่ สตีล" นี่เองครับ ที่เป็นตัวละครหญิงที่
เด็ดเดี่ยวและกล้าจะเผชิญอันตราย ทั้งๆที่ตัวเองก็อายุแค่ 14 เป็นการสร้างตัวละคร
หญิงที่แข็งแกร่งในบริบทของเด็กสาวธรรมดาๆที่เยี่ยมมากๆ
[JOJO] บทความพิเศษ : เจาะลึก "โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ : Part 7 Steel Ball Run (ฉบับสมบูรณ์)
หมายเหตุ : เนื้อหาในบทความนี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว
ของผมเท่านั้น และในเนื้อหามีการสปอยล์เนื้อหาสำคัญในการ์ตูน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
Part 7 Steel Ball Run" (ฉบับสมบูรณ์)
มันมีความเข้าใจที่ต่างกันไป 2 อย่างเกี่ยวกับโจโจ้ภาคนี้ คือ อ.อารากิ ตั้งใจให้ SBR
(ขอเรียกย่อๆแบบนี้นะครับ) เป็นภาคที่ 7 ของโจโจ้อยู่แล้ว หรือ เป็นการเอาชื่อโจโจ้
มาใช้อีกครั้งเพราะเรตติ้งช่วงแรกๆตกกันแน่? จะว่าไปมันก็จริงทั้ง 2 ทางนั่นแหละครับ
สำหรับการจะนับว่า SBR เป็นภาคที่ 7 ของโจโจ้หรือไม่? เพราะต้องยอมรับว่าเรื่องเรต
ติ้งก็มีส่วน คนอ่านรายสัปดาร์ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ที่หลงเข้ามาก็มีกันเยอะเลย เลยเกิด
ความกังขาหรือ อ.อารากิ จะหมดมุขไปต่อไม่ได้หรือเปล่า? ของแบบนี้มันขึ้นอยู่กับมุม
มองของแต่ละท่านเองจริงๆว่าคิดเห็นกันยังไงบ้าง?
แต่ส่วนตัวผมนั้น ผมว่ามันก็สามารถเป็นได้ทั้ง 2 ทางนะครับ คือมันสามารถเป็นโจโจ้ก็ได้
แต่อีกทางหนึ่ง SBR ก็ไม่ใช่ภาคต่อโจโจ้โดยตรงเหมือนกัน เป็นโลกคู่ขนานก็ไม่ได้ด้วย
(เพราะ อ.อารากิ อธิบายความหมายของโลกคู่ขนานไว้เสร็จสรรพแล้วในความสามารถ
ของ D4C) เอาจริงๆแล้ว SBR ก็คือผลงานที่เริ่มต้นใหม่ ภายใต้ชื่อ "โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ"
(ที่ อ.อารากิ อุตส่าร์หลีกเลี่ยงที่จะใช้ชื่อโจโจ้แล้วในตอนแรกๆ แต่สุดท้ายก็ต้องแปะชื่อ
โจโจ้ลงไปเหมือนเดิม เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมต่อกัน) แต่ก็จะไม่มีอะไรที่เกี่ยวพัน
หรือต่อเนื่องอะไรกับโจโจ้ 6 ภาคก่อนเลย ถ้าเรียกเป็นภาษาหนังในยุคปัจจุบัน มันก็คือ
"โจโจ้ภาครีบู้ท" นี่เองครับ เป็นการสร้างเรื่องราวใหม่ๆในโลกโจโจ้โดยมีชื่อ
"โจโจ้" เป็นแค่ชื่อสร้อยเล็กๆเท่านั้น..
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
September 25, 1890 Sand Diego Beach
เรื่องราวใน SBR เกิดขึ้นอเมริกายุค 1890 ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนของยุคสมัยทั้งการปกครองและ
การพัฒนาประเทศ เมื่อมีการแข่งขันขี่ม้าข้ามทวีปครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์เกิดขึ้น
นั่นคือ "สตีล บอล รัน เรซ" ด้วยระยะทางยาวไกลตั้งแต่ ซานดิเอโก้บีช จนถึง นิวยอร์ค
ด้วยเงินรางวัลถึง 50 ล้านเหรียญ ..ซึ่งเรื่องราวจะเล่าผ่านสองหนุ่ม "โจนี่ โจสตาร์"
และ "ไจโร่ เซเปลี่" ที่รู้ถึงจุดประสงค์ของการแข่งในการรวบรวมชิ้นส่วนของ
"ซากศพศักดิ์สิทธิ์ของนักบุญลึกลับ" ที่กระจายอยู่ทั่วอเมริกา ทำให้ชะตากรรม
ของทั้งคู่และโลกไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป...
SBR เป็นผลงานแรกของ อ.อารากิ ที่ย้ายมาลงในนิตยสาร อัลตร้าจัมป์ รายเดือนหลัง
จากลงโชเนนจัมป์มานานเป็นสิบปี เหตุผลเพราะวัยที่มากขึ้น และจะได้มีอิสระในการ
ทำงานใส่ไอเดียที่เป็นตัวของตัวเองได้มากขึ้นในผลงานนั่นเองครับ ทำให้ SBR ไม่ใช่
มังงะโชเนนเอามันส์อีกต่อไป แต่เป็นมังงะสำหรับผู้ใหญ่เต็มตัวที่หนักหน่วงทั้งดราม่า
การเมือง ศาสนา และทฤษฎีที่น่าปวดหัว ถ้าเปรียบกับคอมิคของฝรั่ง SBR ก็ไม่น่าจะ
ถูกจัดอยู่ในหมวดการ์ตูนได้ครับ น่าจะจัดอยู่ในหมวดของ "นิยายภาพ (Graphic Novel)"
ซะมากกว่า
แต่ SBR ก็เริ่มต้นสิ่งต่างๆในเรื่องด้วยความ
อิหลักอิเหลื่อและไม่ลงตัวมากเหมือนกัน...
เพราะด้วยความที่ต้องการปูพื้นสิ่งพื้นฐานต่างๆใหม่หมด ด้วยการให้เนื้อหาในช่วง
แรกๆไม่มีอะไรหวือหวา ไม่มีการต่อสู้ ไม่มีความสามารถแสตนด์ เป็นการแข่งขัน
วิ่งระยะสั้นธรรมดาๆจริงๆ (ที่เกือบจะเป็นการต่อสู้แล้วกลายๆ) ก่อนจะค่อยๆสร้าง
สิ่งพื้นฐานต่างๆที่เคยมีในโจโจ้ภาคก่อนๆขึ้นมาตามลำดับ ค่อยๆดึงตัวละครฝั่ง
ธรรมมะ ฝั่งอธรรม ความสามารถสแตนด์ต่างๆมาทีละเล็กละน้อย จนกลายเป็น
ภาพการต่อสู้ของผู้ใช้แสตนด์ที่คุ้นตาแบบในภาคก่อนๆไปในที่สุด ...แต่กว่าจะได้
สำผัสอารมณ์แบบนั้นกันจริงๆ เนื้อหาก็ปาไป 5-6 เล่มแล้ว และยังมีรายละเอียดต่างๆ
ที่ดูแล้วขัดหูขัดตาคนอ่านเยอะมาก เช่น แซนด์แมน ที่โดนเปลี่ยนชื่อและบทโดน
พลิกไปเป็นตัวร้ายเฉยๆ ทั้งๆที่เปิดตัวมาอย่างกะพระเอก หรือแกนเรื่องที่จู่ๆก็เปลี่ยน
จากแข่งม้าและสู้กับผู้ก่อการร้าย มาเป็นชิงซากศพกันหน้าตาเฉย ซึ่งมันทำให้ภาพ
รวมของ SBR ออกมาไม่สมบูรณ์และลงตัวเหมือนภาคก่อนๆ จนช่วงต้นๆของเรื่อง
กลายเป็นส่วนเกินของโครงเรื่องใหญ่ของภาคไปซะได้
แต่ถ้าหากทำเป็นลืมๆไปถึงความไม่ลงตัวในช่วง 5 เล่มแรกไปนั้น อีก 19 เล่มต่อ
มาของ SBR นั้นถือว่าเป็นมังงะดีๆที่มีอะไรให้พูดถึงเยอะแยะไม่น้อยครับ เพราะมี
หลายๆอย่างเลยที่เติบโตขึ้นจากผลงานในอดีต เหมือนอย่างที่ อ.อารากิ บอกไว้
เพียงแต่มันเติบโตจากอดีตไปในอีกทางหนึ่งที่ต่างจากเดิมมากๆก็เท่านั้นเอง..
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
The Victor's Rights
เมื่อสิ่งต่างๆเข้าที่เข้าทาง สิ่งที่ตามมาก็คือ เรื่องราวในจักรวาลใหม่ที่ อ.อารากิ สร้างสรรค์
ออกมาได้มีสไตส์และน่าจดจำ ไม่น้อยไปกว่าภาคก่อนๆ ซึ่งสิ่งที่ SBR เด่นมากที่สุด
หนีไม่พ้นเรื่องเดียวเท่านั้นครับนั่นคือ "ทักษะการเล่าเรื่อง" และ
"การสร้างพื้นที่สีเทาให้กับตัวละคร"
จะว่าไป ตั้งแต่อ่านโจโจ้มา 6 ภาค SBR คงถือเป็นภาคแรกนะครับที่โจโจ้มี "พล็อตรอง"
...เพราะปกติเนื้อหาจะเกาะอยู่แค่ตัวละครกลุ่มเดียวไปทั้งเรื่อง (ภาค 4 จะเรียกว่าพล็อตรองคง
ไม่ได้ เพราะเนื้อหาของตัวละครแต่ละตัวก็ยังเดินเป็นเส้นเดียวอยู่คือ การตามล่าคิระ ไม่มีอย่างอื่นอีก)
ถือว่าเป็นการพัฒนาการเล่าเรื่องที่ดีขึ้นไปของ อ.อารากิ จากเดิมที่มักจะเล่าเรื่องเรียบง่าย
ไม่ได้หวือหวา แต่จะโดดเด่นมากกับองค์ประกอบรายล้อมซะมากกว่า (ภาค 3 เป็นตัวอย่าง
ที่ดีครับ ที่พล็อตไม่เด่น แต่องค์ประกอบเด่นจนคนอ่านลืมไปเลยว่าพล็อตจริงๆมันมีแค่กระจึ๋ง
เดียวคือเดินทางไปปราบดีโอเท่านั้นแหละ) ซึ่งเนื้อหาหลักๆคือการต่อสู้ของโจนี่กับเฮียไจโร่
ส่วนพล็อตรองอื่นๆก็เช่นภารกิจลุยเดี่ยวของลูซี่ เป็นต้น ...ทำให้พล็อตภาคนี้ค่อนข้างเดาทาง
ได้ยาก และมีจุดพลิกผลันมากขึ้นจากภาคก่อนๆ เพราะไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ อ.อารากิ แกจะเล่น
พิเรนท์อะไรขึ้นมาอีกบ้าง XD
ที่เด่นที่สุดใน SBR จริงๆเลยก็คือ เมื่อโลกโจโจ้ไม่ใช่ธรรมะปะทะอธรรมอีกแล้ว แต่เป็น
โลกสีเทา ที่คนที่ต่อสู้กันไม่ใช่ผ่ายดีหรือฝ่ายร้ายชัดเจน แต่เป็นแค่คนธรรมดาๆที่มีเป้า
หมายต่างกันเท่านั้น คนดีก็ไม่ได้ดีไปซะทุกอย่าง แต่ละคนต่างมีทางเลือกที่ตัวเองเลือก
จัดเอาไว้พร้อมแล้ว ในสายตาคนอีกกลุ่ม เขาอาจจะมองโจนี่กับไจโร่เป็นตัวร้ายก็ได้
...ที่ผมค่อนข้างจะชอบเป็นการส่วนตัวอีกอย่างในโจโจ้คงเป็น การที่พวกเขามีพลังสแตนด์
เป็นพลังพิเศษประจำตัว มันไม่ได้ทำให้เขามีความเป็นมนุษย์น้องลงแต่อย่างใดเลย แถม
พลังสแตนด์นี่แหละ ที่เป็นตัวขับความเป็นมนุษย์ออกมาได้มากที่สุด ทั้งด้านดีและชั่ว
(ขาจรทั่วๆไป มักจะสนใจกันแค่สแตนด์เท่านั้น เราเลยได้เห็นกระทู้ที่จับเอาสแตนด์
มาไขว้กันว่าตัวไหนเจ๋งกว่ากัน ออกมาเสมอๆ แต่ไม่เคยมีกระทู้ในพันทิปอันไหน
เลยที่พูดถึงความน่าสนใจของมิติตัวละคร ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมเสียดายเอามากๆเลย...)
แต่ยังไงก็ตามสิ่งที่หายไปจากโจโจ้ที่น่าเสียดายก็มีเหมือนกัน เช่น งานออกแบบ
สแตนด์ที่ในภาค 4-5 ออกแบบได้เท่ห์เก๋ทุกตัว แต่มาภาคหลังๆสแตนด์จะไม่ค่อย
เท่ห์เหมือนภาคก่อนๆแล้ว แต่จะเน้นการใช้งานมากกว่าเข้าไปอัดโอร่าๆเหมือนเมื่อ
ก่อน แถมสแตนด์ดูจะไม่ค่อยเป็นส่วนสำคัญอะไรกับตัวละครเท่าภาคก่อนๆแล้ว
(ใน SBR สแตนด์มักจะโผล่มาเป็นแค่เงาข้างๆตัวร่างต้นเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนสำคัญ
อะไรกับการต่อสู้เลย เพราะจะเน้นแค่การใช้งานได้เลยจากตัวร่างต้นเองมากกว่า)
หรือ ตัวละครที่เป็นกลุ่มใหญ่ๆ เพราะตัวละครหลักในภาคนี้ไม่ได้รวมกันเป็นกลุ่ม
ทีมแล้ว เป็นสเน่ห์ในภาคก่อนๆที่ไม่มีในภาคนี้
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
Break My Heart, Break Your Heart
นี่ก็เป็นภาคแรกเหมือนกันนะครับ ที่เรื่องทั้งหมดจะเล่าเรื่องผ่านตัวเอกสองคน
ทำให้เกิดโมเมนท์อีกอย่างคือมิตรภาพแบบคู่หู ซึ่งก็เหมาะกับธีมเรื่องการแข่งขัน
เสี่ยงชีวิตในภาคนี้มาก มิตรภาพชายสองคนที่เดินทางด้วยกันอย่างยาวนาน
ให้ความรู้อบอุ่นแบบคลาสสิคได้ดีครับ (แต่บางคนก็ล้อว่าโมเมนท์แบบนี้มัน
เหมือน Brokeback Mountain ..ฮาาา) และประเด็นเรื่องศีลธรรมขาวดำใน
SBR ถูกสะท้อนออกมาผ่านตัวเอกทั้งสองคน
โจนี่ โจสตาร์ เป็นตัวเอกที่ผิดแผกไปจากโจสตาร์ทุกคนที่ผ่านมาโดยสิ้นเชิง
อาจจะผิดแผกจากพระเอกมังงะแอ็คชั่นเรื่องอื่นๆด้วยนะครับ เพราะนอกจากจะ
พิการแล้ว ยังเป็นคนที่จิตใจอ่อนแอ แพ้ต่อด้านมืดในจิตใจได้ง่าย ส่งผลให้โจนี่
เป็นพระเอกที่อ่อนแอที่สุด อันเกิดจากความบอบช้ำทางจิตใจชัดเจน เพราะเรา
ไม่เคยเห็นโจนี่ลุกขึ้นมาเอาชนะความกลัวของตัวเองด้วยความกล้าหาญเลย
เพราะโจนี่มักจะรับมือด้วยการเสียน้ำตาร้องไห้ฟูมฟายซะมากกว่า ซึ่งเป็นสิ่งที่
ไม่เกิดขึ้นกับตัวเอกภาคก่อนๆแน่นอน (ถึงเกิดขึ้นก็ไม่ใช่อารมณ์แบบโจนี่คุงแน่ๆ)
ส่วนเฮียไจโร่ เซเปลี่ พระรอง (ที่บทโคตรจะส่งให้เป็นพระเอกพอๆกับบูจาราตี้)
ก็เป็นเสมือนอีกด้านหนึ่งโจนี่ แต่เปลี่ยนจากการรับมือกับความบอบช้ำทางจิตใจ
มาเป็นการได้ซึ่ง การยอมรับได้ แทน เพราะไจโร่เกิดมาในครอบครัวที่ต้องทำ
ตามกฏอย่างเคร่งครัด แม้แต่เรื่องที่ไม่อยากทำก็ต้องทำอย่างเลี่ยงไม่ได้ ...ด้วย
เหตุนี้ไจโร่จึงอยากต้องการการยอมรับได้ หากเขาเชื่อว่ามันคือเส้นทางที่ถูกต้อง
เป็นสิ่งที่ต่างจากโจนี่คือ ไจโร่ไม่ใช่คนอ่อนแอ เขาเป็นคนแข็งแกร่งแต่ก็อ่อนโยน
มากไป ส่วนโจนี่ก็เป็นคนอ่อนแอที่มีความเด็ดขาด และโหดเหี้ยมอยู่ลึกๆ.. เป็นสิ่ง
ที่เราไม่เคยเห็นในโจโจ้จริงๆจังซะที คือการที่คนสองคนที่มีด้านที่เหมือนและต่าง
กันไปคนละแบบ ที่เรียนรู้และเติมเต็มซึ่งกันและกัน โจนี่ก็เรียนรู้เรื่องความเข้มแข็ง
จากไจโร่ ไจโร่ก็เรียนรู้ที่จะเผชิญกับความเจ็บปวดจากโจนี่ เป็นความสัมพันธุ์ลูกผู้
ชาย (ลูกผู้ชายนะครับ ย้ำว่าลูกผู้ชาย ไม่มีมา Brokeback อะไร XD) ที่เล่าได้อย่าง
เป็นธรรมชาติและสำผัสได้จริง เพราะมีการให้เวลาพัฒนาความสำพันธุ์ของทั้งคู่ได้
นานพอที่จะเสียน้ำตาหรือดีใจไปกับทั้งคู่ด้วยจริงๆ...
ส่วนตัวละครที่ถือว่าเป็นอีกคนที่บอกถึงพัฒนาการ "การสร้างตัวละครหญิง"
ที่เก่งขึ้นมากของ อ.อารากิ คือ "ลูซี่ สตีล" นี่เองครับ ที่เป็นตัวละครหญิงที่
เด็ดเดี่ยวและกล้าจะเผชิญอันตราย ทั้งๆที่ตัวเองก็อายุแค่ 14 เป็นการสร้างตัวละคร
หญิงที่แข็งแกร่งในบริบทของเด็กสาวธรรมดาๆที่เยี่ยมมากๆ