พูดถึง รามายณะ แล้วก็คงจะนึกออกถึงตำนานอันยิ่งใหญ่ของแดนภารตะ
ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเรื่องที่เล่าสืบทอดต่อๆกันมาในพื้นที่ชมพูทวีปยาวนานกว่า 2,400 ปี
โดยผู้ที่รจนาเรื่องราวนี้คือ ฤาษีวาลมิกิ
นำมาร้อยเรียงเป็นบทประพันธ์ ประเภทฉันท์ภาษาสันสฤต เรียกว่า โศลก จำนวน 24,000 โศลกด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 7 ภาค
แต่ในขณะที่เรามักจะคุ้นเคยกับ รามเกียรติ์ ในรูปแบบ "โขน" กันเสียมากกว่า
ในท่วงท่า จีบรำ ประดับองค์ทรงเครื่อง สวมมงกุฎ ครบหัวโขน กระทืบเท้า ตามด้วยเสียงพากษ์ .....
" เฮ้ยยยยยยยย !!! "
นักแสดงต่างนุ่งห่มเครื่องทรงแบบไทย อนึ่งชื่อและเนื้อหาที่ถูกดัดแปลงไปให้กลืนเข้ากับวัฒนธรรมของไทย
อย่างเช่นฤาษีก็ต้องมีภาพแบบ พระเจ้าตา ในหนังจักรๆวงศ์
จึงทำให้ นึกภาพตัวละคร พระราม พระลักษณ์ นางสีดา หนุมาน ทศกัณฐ์ นางมณโฑ ฯลฯ แบบอินเดียแทบจะไม่ออก
วันนี้มีโอกาสได้ไปชมการแสดงในรูปแบบ "นาฎศิลป์อินเดีย" ที่มาของเรื่องราวดั้งเดิมที่เป็นอิทธิพลนำความเชื่อไปสู่ดินแดนอื่นๆ
ในงาน เทศกาลอินเดีย ซึ่งจัดโดยสถานเอกอัครราชทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย และกระทรวงวัฒนธรรมของอินเดีย
โดยจัดที่ ศาลาเฉลิมกรุง เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ที่ผ่านมา (จัดรอบเดียวเสียด้วย)
ก่อนการแสดงก็จะมีการยืนทำความเคารพในเพลงสดุดีมหาราชา และเสียงร้องในบทเพลง ที่คาดว่าจะเป็นเพลงชาติอินเดีย คือ Jaya Gana Mana
หลังจากการมีกล่าวนำของ ท่านเอกอัครราชทูตอินเดียฯ นาย หรรษ วรรธน ศฤงคลา (Harsh Vardhan Shringla) ไฟบนเวทีก็เริ่มหรี่ลง
เสียงเพลงที่เริ่มบรรเลงมาจากมุมของนักดนตรีทางฝั่งซ้าย ร้องกล่าวสรรสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า(ตามคติของฮินดู)
และเริ่มขับร้องตามท้องเรื่องในห้วงทำนองเพลงอันเป็นเอกลักษณ์ ผสมผสานนาฎลีลาจากผู้แสดง
เน้นจังหวะการย่ำเท้า กระโดดไปมา ใช้สีหน้าแววตาประกอบ
คณะนักแสดง มาจาก มูลนิธิกาลักเชตรา เมืองเจนไน ประเทศอินเดีย
โดยจะแสดงตอนพิธี Mahakumbabishekam : ขึ้นครองราชย์
(ขอกล่าวเนื้อเรื่องตามในสูจิบัตรเลยนะคะ)
ซึ่งเป็นตอนที่ ภิเภกผู้เป็นน้องชายของทศกัณฑ์ยอมศิโรราบต่อพระราม
หลังจากที่ไม่สามารถหว่านล้อมทศกัณฑ์เห็นผลร้ายของการลักพาตัวนางสีดา
พระรามพร้อมเหล่ากองทัพวานรได้สร้างสะพานข้ามมหาสมุทรและได้ต่อสู้กับทศกัณฑ์ ในวันแรกของการสู้รบ พระลักษณ์ได้รับบาดเจ็บสาหัส
แต่ก็ปลอดภัยเพราะได้รับการรักษาจากสมุนไพรวิเศษ หลังจากที่สู้รบกันอย่างดุเดือด ในที่สุด ทศกัณฑ์ก็ถูกฆ่าตาย
นางสีดาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเองโดยการเดินลุยเข้ากองไฟต่อหน้าพระราม และพวกเขาได้กลับไปยังกรุงอโยธยาโดยพระรามตกลงที่จะครองบัลลังก์ตามคำขอของพระภรต
นี่เป็นครั้งแรกสำหรับการมอง รามายณะ ผ่านรากเหง้าเดิมสำหรับผู้เขียน
ในระบบความคิดของชาวอินเดียที่ดูเรื่องราวอันศักดิ์สิทธิ์นี้ เพื่อปลุกวิญญาณของผู้ฟังให้หวนคืนสู่สัจจะธรรม
จึงต่างจากสิ่งที่เคยมองเห็นจาก รามเกียรติ์ มากมาย
"เจี๊ยก......พระรามหล่อ"
หนุมานมิได้กล่าวไว้
เกาะขอบเวที ดู รามายณะ
พูดถึง รามายณะ แล้วก็คงจะนึกออกถึงตำนานอันยิ่งใหญ่ของแดนภารตะ
ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเรื่องที่เล่าสืบทอดต่อๆกันมาในพื้นที่ชมพูทวีปยาวนานกว่า 2,400 ปี
โดยผู้ที่รจนาเรื่องราวนี้คือ ฤาษีวาลมิกิ
นำมาร้อยเรียงเป็นบทประพันธ์ ประเภทฉันท์ภาษาสันสฤต เรียกว่า โศลก จำนวน 24,000 โศลกด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 7 ภาค
แต่ในขณะที่เรามักจะคุ้นเคยกับ รามเกียรติ์ ในรูปแบบ "โขน" กันเสียมากกว่า
ในท่วงท่า จีบรำ ประดับองค์ทรงเครื่อง สวมมงกุฎ ครบหัวโขน กระทืบเท้า ตามด้วยเสียงพากษ์ .....
" เฮ้ยยยยยยยย !!! "
นักแสดงต่างนุ่งห่มเครื่องทรงแบบไทย อนึ่งชื่อและเนื้อหาที่ถูกดัดแปลงไปให้กลืนเข้ากับวัฒนธรรมของไทย
อย่างเช่นฤาษีก็ต้องมีภาพแบบ พระเจ้าตา ในหนังจักรๆวงศ์
จึงทำให้ นึกภาพตัวละคร พระราม พระลักษณ์ นางสีดา หนุมาน ทศกัณฐ์ นางมณโฑ ฯลฯ แบบอินเดียแทบจะไม่ออก
วันนี้มีโอกาสได้ไปชมการแสดงในรูปแบบ "นาฎศิลป์อินเดีย" ที่มาของเรื่องราวดั้งเดิมที่เป็นอิทธิพลนำความเชื่อไปสู่ดินแดนอื่นๆ
ในงาน เทศกาลอินเดีย ซึ่งจัดโดยสถานเอกอัครราชทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย และกระทรวงวัฒนธรรมของอินเดีย
โดยจัดที่ ศาลาเฉลิมกรุง เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ที่ผ่านมา (จัดรอบเดียวเสียด้วย)
ก่อนการแสดงก็จะมีการยืนทำความเคารพในเพลงสดุดีมหาราชา และเสียงร้องในบทเพลง ที่คาดว่าจะเป็นเพลงชาติอินเดีย คือ Jaya Gana Mana
หลังจากการมีกล่าวนำของ ท่านเอกอัครราชทูตอินเดียฯ นาย หรรษ วรรธน ศฤงคลา (Harsh Vardhan Shringla) ไฟบนเวทีก็เริ่มหรี่ลง
เสียงเพลงที่เริ่มบรรเลงมาจากมุมของนักดนตรีทางฝั่งซ้าย ร้องกล่าวสรรสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า(ตามคติของฮินดู)
และเริ่มขับร้องตามท้องเรื่องในห้วงทำนองเพลงอันเป็นเอกลักษณ์ ผสมผสานนาฎลีลาจากผู้แสดง
เน้นจังหวะการย่ำเท้า กระโดดไปมา ใช้สีหน้าแววตาประกอบ
คณะนักแสดง มาจาก มูลนิธิกาลักเชตรา เมืองเจนไน ประเทศอินเดีย
โดยจะแสดงตอนพิธี Mahakumbabishekam : ขึ้นครองราชย์
(ขอกล่าวเนื้อเรื่องตามในสูจิบัตรเลยนะคะ)
ซึ่งเป็นตอนที่ ภิเภกผู้เป็นน้องชายของทศกัณฑ์ยอมศิโรราบต่อพระราม
หลังจากที่ไม่สามารถหว่านล้อมทศกัณฑ์เห็นผลร้ายของการลักพาตัวนางสีดา
พระรามพร้อมเหล่ากองทัพวานรได้สร้างสะพานข้ามมหาสมุทรและได้ต่อสู้กับทศกัณฑ์ ในวันแรกของการสู้รบ พระลักษณ์ได้รับบาดเจ็บสาหัส
แต่ก็ปลอดภัยเพราะได้รับการรักษาจากสมุนไพรวิเศษ หลังจากที่สู้รบกันอย่างดุเดือด ในที่สุด ทศกัณฑ์ก็ถูกฆ่าตาย
นางสีดาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเองโดยการเดินลุยเข้ากองไฟต่อหน้าพระราม และพวกเขาได้กลับไปยังกรุงอโยธยาโดยพระรามตกลงที่จะครองบัลลังก์ตามคำขอของพระภรต
นี่เป็นครั้งแรกสำหรับการมอง รามายณะ ผ่านรากเหง้าเดิมสำหรับผู้เขียน
ในระบบความคิดของชาวอินเดียที่ดูเรื่องราวอันศักดิ์สิทธิ์นี้ เพื่อปลุกวิญญาณของผู้ฟังให้หวนคืนสู่สัจจะธรรม
จึงต่างจากสิ่งที่เคยมองเห็นจาก รามเกียรติ์ มากมาย
หนุมานมิได้กล่าวไว้