เอกภพวิทยา (Cosmology)

กระทู้สนทนา
เอกภพวิทยา

มนุษย์มีความพยายามในการอธิบายจุดกำเนิดและ
จุดสิ้นสุดของเอกภพมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล  ตั้งแต่
โลกบนหลังเต่าของชาวอินเดียไปจนต้นไม้ใหญ่
ในตำนานของยุโรป  ความรู้เกี่ยวกับเอกภพใน
ดาราศาสตร์สมัยใหม่ก็มีพัฒนาการมายาวนาน
ตามการค้นพบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น

    
    เนื่องจากเอกภพประกอบด้วยทุกสิ่งทุกอย่าง เอกภพวิทยา (cosmology)  จึงเป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาสรรพสิ่งทั้งมวลในเอกภพ  อย่างไรก็ตามในบทนี้เราจะมุ่งศึกษาถึงต้นกำเนิดของตัวเอกภพเอง  และคาดการณ์การดำเนินไปของเอกภพบนพื้นฐานของทฤษฏีเอกภพวิทยาในปัจจุบัน

    เนื้อหาในบทนี้จะแบ่งออกเป็นสองส่วน  ส่วนแรกจะกล่าวถึงพัฒนาการของทฤษฏีเกี่ยวกับเอกภาพสมัยใหม่เพื่ออธิบายที่มาของทฤษฏีเกี่ยวกับเอกภพในปัจจุบันและส่วนที่สองกล่าวถึงเหตุการณ์ต่างๆตั้งแต่เอกภพถือกำเนิดขึ้นตามทฤษฏีกำเนิดเอกภพในปัจจุบัน

พัฒนาการของทฤษฏีเกี่ยวกับเอกภพ

    เพราะว่าเอกภพมีขนาดใหญ่เป็นเกินกว่าจะสังเกตลักษณะโดยรวมได้โดยตรงนักดาราศาสตร์จึงต้องสร้างแบบจำลองของเอกภพตามข้อมูลจากการสังเกต เหมือนกับที่นักเคมีสร้างแบบจำลองอะตอมซึ่งเล็กเกินกว่าจะสังเกตได้ตามข้อมูลจากการทดลอง

    เนื่องจากทฤษฏีเกี่ยวกับเอกภพเป็นการต่อยอดจากทฤษฏีเดิมด้วยผลการสังเกตใหม่ๆ การศึกษาในหัวข้อนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาเรียงลำดับไปเพื่อความเข้าใจถึงที่มาของแนวคิดแต่ละอย่างถ่องแท้และลำดับความคิดได้อย่างชัดเจนไม่สับสน

1. เอกภพไม่มีขอบ :  ข้อตกลงพื้นฐาน

    การไมมีขอบเป็นลักษณะแรกของเอกภพที่ต้องตกลงกัน  การตอบคำถามทำไมเอกภพจึงไม่มีขอบอกาจเป็นทั้งเรื่องง่ายที่สุดและยากที่สุดในเวลาเดียวกัน คำตอบของคำถามนี้ตั้งอยู่บนนิยามที่ว่า  เอกภพคือทุกสิ่งทุกอย่าง  ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีขอบของเอกภพ เพราะเมื่อทำเช่นนั้น จะเกิดคำอธิบายที่ขัดแย้งในตัวเองขึ้น  เช่น  ถ้ากล่าวว่าขอบของเอกภพเป็นที่ว่างก็จะเกิดข้อขัดแย้งที่ว่างก็เป็นส่วนหนึ่งของเอกภพหรือถ้ากล่าวว่าขอบของเอกภพเป็นกำแพงสสารก็จะเกิดข้อขัดแย้งว่าสสารก็เป็นส่วนหนึ่งของเอกภพเช่นเดียวกัน

    การไม่มีขอบของเอกภพทำให้เอกภพไม่มีจุดศูนย์กลาง  และทุกจุดในเอกภพมีความเท่าเทียมกัน  ซึ่งทำให้เอกภพมีคุณสมบัติอีกสองประการ คือ  มีความเป็นเนื้อเดียวกัน (Homogeneity)  และมีความเหมือนกันในทุกทิศทาง (Isotropy)  ซึ่งรวมเรียกว่าหลักพื้นฐานของเอกภพวิทยา (Cosmological principle)

    นอกจากหลักพื้นฐานสองข้อดังกล่าวแล้ว เรายังจำเป็นต้องมีสมมติฐานเกี่ยวกับเอกภพอีกหนึ่งอย่างเพื่อให้สามารถศึกษาเกี่ยวกับเอกภพได้ คือ ความเป็นสากล (Universality)  ที่กำหนดให้กฎทางฟิสิกส์เหมือนกันในทุกตำแหน่งในเอกภพและไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา ซึ่งทำให้เราสามารถนำกฎทางฟิสิกส์ที่ใช้บนโลกปัจจุบันไปใช้ในส่วนอื่น เวลาอื่นของเอกภพได้

2. เอกภพมีจุดเริ่มต้น :  ปฏิทรรศน์ของโอลเบอร์

    เมื่อเราได้ข้อสรุปแล้วว่เอกภพไม่มีขอบและมีขนาดเป็นอนันต์  เอกภพก็จำเป็นต้องมีจุดเริ่มต้น เพราะหากเอกภพไม่มีทั้งขอบและจุดเริ่มต้น ก็จะเกิดข้อขัดแย้งกับสภาพความเป็นจริง  ซึ่งข้อขัดแย้งนี้รู้จักกันในชื่อปฏิทรรศน์ของโอลเบอร์ (Olber’s paradox)

    เมื่อปีคริสต์ศักราช  1826  นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ชาวออสเตรียชื่อไฮน์วิช  โอลเบอร์  (Heinrich Olber)  ได้เสนอปัญหาดังกล่าวไว้ว่า “ถ้าเอกภพมีขนาดเป็นอนันต์ และเสถียร  ไม่ว่าจะมองไปจุดใดจะต้องมองเห็นดาวเต็มไปหมดโดยไม่มีช่องว่าง”  ซึ่งจะทำให้ท้องฟ้าในตอนกลางคืนสว่างพอๆ กับดวงอาทิตย์ ซึ่งขัดแย้งกับความเป็นจริง

    บางคนอาจแย้งว่าดาวจะปรากฏริบหรี่ลงเมื่อปรากฏห่างไกลออกไป แต่อย่าลืมว่าเมื่อดาวอยู่ไกลออกไปจะปรากฏขนาดเล็กลงไปด้วย  ซึ่งจะทำให้มองเห็นดวงดาวในบริเวณนั้นมากขึ้น  และมีผลหักล้างกับความริบหรี่ได้

    ในคริสต์ศักราช 1848  เอ็ดการ์  อัลลัน โพ (Edgar Allan Poe)  สามารถอธิบายปฏิทรรศน์นี้ได้โดยกล่าวว่า เอกภพมีอายุขณะหนึ่งทำให้แสงจากดาวที่อยู่ไกลมาๆ มีเวลาไม่พอที่จะเดินทางมาถึงเรา  ดังนั้นเอกภพที่สังเกตได้ (Observable universe) จึงมีขนาดจำกัด

3. เอกภพกำลังขยายตัว :  การค้นพบของฮับเบิล


    คริสต์ศักราช 1929  เอ็ดวิน  พี  ฮับเบิล (Edwin P. Hubble)  ได้วัดระยะห่างและอัตราการเคลื่อนที่ของดาราจักรต่างๆ  การวัดอัตราการเคลื่อนที่โดยใช้ปรากฏการณ์

    ดอปเปลอร์ของเขาพบว่า ดาราจักรที่อยู่ห่างไกลออกไปจะมีสเปกตรัมที่เลื่อนไปในทางคลื่นยาว (Redshift) มากขึ้น  การค้นพบของเขาสามารถอธิบายได้ว่าเอกภพกำลังขยายตัว

    อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์เกิดขึ้นกับดาจักรเหล่านี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ เพราะมีกระบวนการที่แตกต่างกัน  กล่าวคือ ดาราจักรปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ความยาวคลื่นหนึ่งออกมา และความยาวคลื่นนี้จะถูกยืดออกเพราะการขยายตัวของเอกภพระหว่างเดินทางผ่านอวกาศ  อัตราการเพิ่มความยาวคลื่นจึงขึ้นกับระยะเวลาที่คลื่นนั้นเดินทางผ่านอวกาศซึ่งก็ขึ้นกับระยะทางนั้นเอง   ดังนั้นการที่ดาราจักรที่อยู่ไกลมีการเลื่อนของความยาวคลื่นมากจึงมิได้หมายความว่าเอกภพในอดีตมีการขยายตัวเรียกว่าเอกภพในปัจจุบันการตีความแบบปรากฏการณ์ดอปเปลอร์  ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับดาราจักรเหล่านี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่าการเลื่อนทางแดงทางเอกภพวิทยา (Cosmolgical redshifts)

    เราอาจเปรียบเทียบการเลื่อนทางแดงทางเอกภพวิทยาว่าเหมือนใบไม้ที่ลอยออกห่างกันในน้ำที่เอ่อล้น  ในขณะที่ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์เปรียบเสมือนปลาที่ว่ายออกจากกันในน้ำนิ่ง

    เนื่องจากยังไม่มีผู้ค้นพบความสัมพันธ์ที่แน่นอนระหว่างการเลื่อนทางแดงทางเอกภพวิทยากับความเร็ว  การคำนวณความเร็วการเคลื่อนที่ของดาราจักรจากการเลื่อนทางแดงทางเอกภพวิทยาจึงยังไม่สามารถทำได้ แต่เมื่อครั้งที่ฮับเบิลค้นพบนั้นกระบวนการของการเลื่อนทางแดงทางเอกภพวิทยายังไม่เป็นที่เข้าใจ  ฮับเบิล

    จึงคำนวณความเร็ว การเคลื่อนที่ของกาแล็กซี่ด้วยสูตรปรากฏการณ์ดอปเปลอร์แบบสัมพันธภาพของไอนสไตน์  และพบว่าเมื่อนำความเร็วที่คำนวณได้มาเขียนกราฟกับระยะห่างจะได้กราฟที่มีความชันคงที่  เรียกว่าความชันคงที่นี้ว่า ค่าคงที่ฮับเบิล (Hubble conslant : H ) และเรียกความสัมพันธ์อีกนี้ว่า กฎฮับเบิล (Hubble law)

    ตามกฎฮับเบิล ที่เวลา 1/H ในอดีต ดาราจักรทั้งหมดจะอยู่ ณ ตำแหน่งเดียวกัน เวลา 1/H จึงถือเป็นอายุของเอกภพตามกฎฮับเบิล เรียกว่า เวลาฮับเบิล (Hubble time) อย่างไรก็ดี โปรดระลึกไว้ว่า  เวลาฮับเบิลไม่ใช่อายุแท้จริงของเอกภพ  เพราะการเปลี่ยนแปลงสเปกตรัมในดาราจักรเหล่านี้ไม่ได้เป็นไปตามปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ และเอกภพก็ไม่ได้ขยายตัวด้วยอัตราคงที่

4. บิ๊กแบง  :  ข้อเสนอของฮอยล์

    จากการค้นพบของฮับเบิล  ทำให้ในปีคริสตศักราช 1950s เฟร็ด ฮอยล์ (Fred Hoyle)  นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเสนอว่า “ถ้าขณะนี้เอกภพกำลังขยายตัว ดังนั้นหากเราย้อนเวลากลับไป  นั่นหมายความว่าเอกภพต้องมีขนาดเล็กกว่าในปัจจุบันมากๆ”  เอกภพจึงจำเป็นต้องมีจุดเริ่มต้น  และที่จุดเริ่มต้นนั้นสสารและพลังงานจะอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น เรียกว่า บิ๊กแบง  

    บิ๊กแบง ไม่ใช่การระเบิด  เพราะเอกภพมีขนาดไม่จำกัด  จึงไม่สามารถเกิดขึ้นที่จุดใดจุดหนึ่งได้  และการขยายตัวของเอกภพ จึงไม่ใช่การที่เอกภพมีขนาดใหญ่ขึ้นแต่หมายถึงการที่สสารในเอกภพกระจายตัวออกห่างกัน

    หากเอกภพมีกำเนิดจากบิ๊กแบงตามทฤษฏี  เอกภพก็ควรมีลักษณะ 3 ประการที่สังเกตได้  คือ ดาราจักรจะต้องมีค่าการเลื่อนทางแดง (Red shift : Z)   ที่แปรผันตามระยะห่างองค์ประกอบทางเคมีของเอกภพจะต้องประกอบไปด้วยไฮโดรเจนร้อยละ  76  และฮีเลียมร้อยละ 25  โดยมวล และจะต้องมีผลของการเกิดบิ๊กแบงที่สังเกตได้ในทุกทิศทางของเอกภพ  ซึ่งในขณะนั้นลักษณะประการที่หนึ่งและสองได้รับการค้นพบแล้ว

    ส่วนลักษณะประการที่สามนั้นได้รับการยืนยันเมื่อคริสต์ศักราช 1965  เมื่อวิศวกรชาวอเมริกันสองคน คือ อาร์โน  เพสเซียส (Arno Penzlas) และโรเบิร์ต วิลสัน (Robert wilson)  ค้นพบสัญญาณกวนทั่วท้องฟ้าที่มีรูปแบบเหมือนกับการแผ่รังสีของวัตถุดำอุณหภูมิ 3 เดลวินที่เรียกว่าการแผ่รังสีพื้นหลังของเอกภพ (Cosmic microwave background : CMB)  โดยเราจะเรียกอุณหภูมิพื้นหลังของเอกภพนี้ว่าอุณหภูมิของเอกภพ

    จนถึงปัจจุบันก็ยังคงมีการศึกษาการแผ่รังสีพื้นหลังของเอกภพโดยละเอียดขึ้นเรื่อยๆ เช่น ดาวเทียมโคบี (Cosmic background explorer : COBE)  และดับเบิลแมป (Wikinson microwave anisotropy probe : WMAP)  ซึ่งตรวจพบความไม่สม่ำเสมอของการแผ่รังสีพื้นหลังของเอกภพที่แสดงถึงการก่อตัวของดาราจักรต่างๆ

    อย่างไรก็ตาม  แม้ว่าการแผ่รังสีพื้นหลังของเอกภพจะเป็นหลักฐานที่สำคัญในการยืนยันทฤษฏีบิ๊กแบง  แต่เมื่อสึกษษโดยละเอียดแล้วก็ยังเป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงถึงความไม่สมบูรณ์ของทฤษฏีบิ๊กแบงด้วย  ซึ่งจะได้กล่าวในหัวข้อถัดไป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่