เนื้อหาแปลมาจาก
https://www.nasa.gov/feature/goddard/2022/webb-captures-stellar-gymnastics-in-the-cartwheel-galaxy
ภาพ Cartwheel galaxy (ดาราจักรล้อเกวียน)
กล้องโทรทรรศน์อวกาศ JWST ได้บันทึกภาพที่แสดงถึงความปั่นป่วน
ของ Cartwheel galaxy (ดาราจักรล้อเกวียน) โดยสามารถเปิดเผยรายละเอียดใหม่
เกี่ยวกับการก่อตัวดาวฤกษ์ และหลุมดำใจกลางดาราจักรแห่งนี้
ด้วยความสามารถการเก็บภาพย่าน Infrared อันทรงพลังของ JWST
ทำให้เกิดภาพที่มีรายละเอียดของ Cartwheel และดาราจักรขนาดเล็กอีกสองแห่ง
ที่อยู่เคียงข้างกับฉากหลังของดาราจักรอื่น ๆ มากมาย ภาพนี้ให้มุมมองใหม่ว่า
กาแล็กซี่ล้อเกวียนเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในช่วงหลายพันล้านปี
ดาราจักรล้อเกวียน อยู่ห่างจากโลกประมาณ 500 ล้านปีแสง
อยู่ในทิศทางกลุ่มดาวประติมากร (Sculptor constellation)
ลักษณะที่ปรากฏในภาพคล้ายกับวงล้อเกวียน นี้ เป็นผลมาจาก
ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่รุนแรง คือการชนกันด้วยความเร็วสูง
ระหว่างดาราจักรชนิดก้นหอยขนาดใหญ่ กับ ดาราจักรขนาดเล็กที่มองไม่เห็นในภาพนี้
(มองไม่เห็นเพราะถูก "กลืน" จนไม่เหลือรูปร่างแล้ว)
การชนกันแบบเต็ม ๆ ของ 2 ดาราจักรอย่างนี้
จะส่งผลต่อรูปร่างและโครงสร้างของกาแลคซีผลลัพท์
นั่นก็คือ ผลลัพท์แห่งการชนกันได้กลายเป็นดาราจักรล้อเกวียนที่มีวงแหวนสองวง
คือ วงแหวนด้านในที่สว่าง และ วงแหวนวงนอกที่มีสีสันมากมาย
วงแหวนสองวงนี้ขยายออกไปด้านนอกจากจุดศูนย์กลางของการปะทะ
เหมือนกับคลื่นในสระน้ำที่เราโยนก้อนหินลงไป ด้วยลักษณะเด่นเหล่านี้เอง
นักดาราศาสตร์จึงเรียกสิ่งนี้ว่า "ดาราจักรวงแหวน" ซึ่งเป็นโครงสร้างที่
พบได้น้อยกว่าดาราจักรชนิดก้นหอยอย่างทางช้างเผือกของเรา
แกนกลางที่สว่างประกอบด้วยฝุ่นร้อนจำนวนมหาศาล
โดยบริเวณที่สว่างที่สุดคือ " บ้าน " ขนาดยักษ์ของกระจุกดาวอายุน้อย
และจะมีวงแหวนรอบนอกซึ่งใช้เวลาขยายออกไปจากศูนย์กลางดาราจักร
นานประมาณ 440 ล้านปี นั้น เป็นผลจากการก่อตัวดาวฤกษ์ และ Supernova
โดยกลไกของมันก็คือเมื่อวงแหวนนี้ขยายออกจากผลของ Supernova
มวลสารของวงแหวนจะเคลื่อนเข้าสู่ก๊าซโดยรอบและก่อให้เกิดดาวฤกษ์ดวงใหม่ได้
กล้องโทรทรรศน์ตัวอื่น ๆ (รวมถึงกล้อง Hubble) ได้เคยตรวจสอบดาราจักรนี้ไปแล้ว
แต่ดาราจักรอันน่าทึ่งแห่งนี้ได้ถูกปกคลุมไปด้วยความลึกลับ โดยปริมาณฝุ่นมวลสารหนาทึบ
ที่บดบังทัศนวิสัย ..... แต่ JWST ซึ่งมีความสามารถในงานแบบนี้ก็สามารถ
เปิดเผยข้อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของ Cartwheel
การเรียนรู้รายละเอียดปลีกย่อยของวัตถุอวกาศใด ๆ ที่มีฝุ่นหนาทีบบดบังอยู่
จะต้องใช้อุปกรณ์ Infrared ช่วงความยาวคลื่นกลางกลาง (MIRI) ของ JWST
ข้อมูลจาก MIRI
จะเป็นสีแดงในรูปภาพนี้ เผยให้เห็นบริเวณภายในดาราจักรล้อเกวียน
ที่อุดมไปด้วยไฮโดรคาร์บอน และ สารประกอบทางเคมีอื่น ๆ รวมทั้งฝุ่นซิลิเกต
(เช่นเดียวกับฝุ่นส่วนใหญ่บนโลก) บริเวณเหล่านี้ก่อตัวเป็นซี่ ๆ หมุนวนประกอบเป็น
โครงสร้างของ "โครงกระดูก" ดาราจักรแห่งนี้ ซี่งลักษณะโครงสร้างนี้ได้
ปรากฏชัดพอสมควรในการสังเกตการณ์ของ Hubble ในปี 2018 และ .....
ปรากฏให้เห็นเด่นชัดมากขึ้นในภาพของ JWST นี้ครับ
ภาพเปรียบเทียบ Cartwheel galaxy จาก Hubble - JWST
ภาพล่าสุด " Cartwheel galaxy " จาก JWST
https://www.nasa.gov/feature/goddard/2022/webb-captures-stellar-gymnastics-in-the-cartwheel-galaxy
ภาพ Cartwheel galaxy (ดาราจักรล้อเกวียน)
กล้องโทรทรรศน์อวกาศ JWST ได้บันทึกภาพที่แสดงถึงความปั่นป่วน
ของ Cartwheel galaxy (ดาราจักรล้อเกวียน) โดยสามารถเปิดเผยรายละเอียดใหม่
เกี่ยวกับการก่อตัวดาวฤกษ์ และหลุมดำใจกลางดาราจักรแห่งนี้
ด้วยความสามารถการเก็บภาพย่าน Infrared อันทรงพลังของ JWST
ทำให้เกิดภาพที่มีรายละเอียดของ Cartwheel และดาราจักรขนาดเล็กอีกสองแห่ง
ที่อยู่เคียงข้างกับฉากหลังของดาราจักรอื่น ๆ มากมาย ภาพนี้ให้มุมมองใหม่ว่า
กาแล็กซี่ล้อเกวียนเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในช่วงหลายพันล้านปี
ดาราจักรล้อเกวียน อยู่ห่างจากโลกประมาณ 500 ล้านปีแสง
อยู่ในทิศทางกลุ่มดาวประติมากร (Sculptor constellation)
ลักษณะที่ปรากฏในภาพคล้ายกับวงล้อเกวียน นี้ เป็นผลมาจาก
ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่รุนแรง คือการชนกันด้วยความเร็วสูง
ระหว่างดาราจักรชนิดก้นหอยขนาดใหญ่ กับ ดาราจักรขนาดเล็กที่มองไม่เห็นในภาพนี้
(มองไม่เห็นเพราะถูก "กลืน" จนไม่เหลือรูปร่างแล้ว)
การชนกันแบบเต็ม ๆ ของ 2 ดาราจักรอย่างนี้
จะส่งผลต่อรูปร่างและโครงสร้างของกาแลคซีผลลัพท์
นั่นก็คือ ผลลัพท์แห่งการชนกันได้กลายเป็นดาราจักรล้อเกวียนที่มีวงแหวนสองวง
คือ วงแหวนด้านในที่สว่าง และ วงแหวนวงนอกที่มีสีสันมากมาย
วงแหวนสองวงนี้ขยายออกไปด้านนอกจากจุดศูนย์กลางของการปะทะ
เหมือนกับคลื่นในสระน้ำที่เราโยนก้อนหินลงไป ด้วยลักษณะเด่นเหล่านี้เอง
นักดาราศาสตร์จึงเรียกสิ่งนี้ว่า "ดาราจักรวงแหวน" ซึ่งเป็นโครงสร้างที่
พบได้น้อยกว่าดาราจักรชนิดก้นหอยอย่างทางช้างเผือกของเรา
แกนกลางที่สว่างประกอบด้วยฝุ่นร้อนจำนวนมหาศาล
โดยบริเวณที่สว่างที่สุดคือ " บ้าน " ขนาดยักษ์ของกระจุกดาวอายุน้อย
และจะมีวงแหวนรอบนอกซึ่งใช้เวลาขยายออกไปจากศูนย์กลางดาราจักร
นานประมาณ 440 ล้านปี นั้น เป็นผลจากการก่อตัวดาวฤกษ์ และ Supernova
โดยกลไกของมันก็คือเมื่อวงแหวนนี้ขยายออกจากผลของ Supernova
มวลสารของวงแหวนจะเคลื่อนเข้าสู่ก๊าซโดยรอบและก่อให้เกิดดาวฤกษ์ดวงใหม่ได้
กล้องโทรทรรศน์ตัวอื่น ๆ (รวมถึงกล้อง Hubble) ได้เคยตรวจสอบดาราจักรนี้ไปแล้ว
แต่ดาราจักรอันน่าทึ่งแห่งนี้ได้ถูกปกคลุมไปด้วยความลึกลับ โดยปริมาณฝุ่นมวลสารหนาทึบ
ที่บดบังทัศนวิสัย ..... แต่ JWST ซึ่งมีความสามารถในงานแบบนี้ก็สามารถ
เปิดเผยข้อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของ Cartwheel
การเรียนรู้รายละเอียดปลีกย่อยของวัตถุอวกาศใด ๆ ที่มีฝุ่นหนาทีบบดบังอยู่
จะต้องใช้อุปกรณ์ Infrared ช่วงความยาวคลื่นกลางกลาง (MIRI) ของ JWST
ข้อมูลจาก MIRI จะเป็นสีแดงในรูปภาพนี้ เผยให้เห็นบริเวณภายในดาราจักรล้อเกวียน
ที่อุดมไปด้วยไฮโดรคาร์บอน และ สารประกอบทางเคมีอื่น ๆ รวมทั้งฝุ่นซิลิเกต
(เช่นเดียวกับฝุ่นส่วนใหญ่บนโลก) บริเวณเหล่านี้ก่อตัวเป็นซี่ ๆ หมุนวนประกอบเป็น
โครงสร้างของ "โครงกระดูก" ดาราจักรแห่งนี้ ซี่งลักษณะโครงสร้างนี้ได้
ปรากฏชัดพอสมควรในการสังเกตการณ์ของ Hubble ในปี 2018 และ .....
ปรากฏให้เห็นเด่นชัดมากขึ้นในภาพของ JWST นี้ครับ
ภาพเปรียบเทียบ Cartwheel galaxy จาก Hubble - JWST