จากปากกาของ "วอร์เรน บัฟเฟตต์"
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1395308628
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นนักลงทุนที่ผู้อยู่ในวงการเศรษฐกิจ การเงิน และการลงทุนในอเมริกายกย่องว่าประสบความสำเร็จสูงสุดในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา
ตั้งแต่ ปีที่เขาเข้าไปซื้อหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัท เบิร์กไช ฮัทธะเวย์ ด้วยราคาหุ้นละ 18 ดอลลาร์ ทุกปีเขาถือเป็นประเพณีปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คือ แนบจดหมายไปกับรายงานผลประกอบการของบริษัทต่อผู้ถือหุ้น เนื้อหาของจดหมายเป็นคำอธิบายแนวคิดของเขาและสิ่งต่าง ๆแบบง่าย ๆ ตามที่เขาต้องการจะให้ผู้ถือหุ้นรับทราบ
หลังจากเวลาผ่านไป 50 ปี วอร์เรน บัฟเฟตต์ มีชื่อเสียงกระฉ่อน และตอนนี้หุ้นของบริษัทนั้นราคาเพิ่มขึ้นไปใกล้ถึง 2 แสนดอลลาร์ ส่งผลให้เขาเป็น มหาเศรษฐีอันดับ 3 ของโลก และผู้ถือครองหุ้นด้วยกันมา ตั้งแต่เริ่มแรกส่วนใหญ่ได้กลายเป็นมหาเศรษฐีด้วย เนื่องจากจดหมายเหล่านั้นเป็นที่สนใจของหลายวงการ โดยเฉพาะในด้านการลงทุน จึงมีการนำมารวมกันเป็นหนังสือชื่อ Berkshire Hathaway Letters to Shareholders 1965-2012 เมื่อไม่กี่สัปดาห์มานี้
บริษัทนั้นได้นำ ฉบับล่าสุดออกมาเผยแพร่ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางเช่นกัน จดหมายฉบับนั้นค่อนข้างยาว วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้นำบางส่วนมาเล่าไว้ในนิตยสาร Fortune ประจำวันที่ 17 มีนาคม ขอนำเนื้อหาของบทความนั้นมาปันกับผู้ที่อาจไม่มีโอกาสอ่าน
ในบทความ นั้น วอร์เรน บัฟเฟตต์ กลั่นบทเรียนสำหรับนักลงทุนจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ 2 ชิ้นของเขา ซึ่งประกอบด้วยไร่ในรัฐเนแบรสกา และอาคารศูนย์การค้าในใจกลางมหานครนิวยอร์ก
เขา ซื้อที่ดินขนาด 1,000 ไร่ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านราว 80 กม. เมื่อปี 2529 ทั้งที่เขาไม่มีความรู้เรื่องการทำไร่มากไปกว่าการมีลูกชายที่สนใจในการทำ ไร่เท่านั้น เขาเรียนรู้จากลูกชายว่าพืชไร่ควรจะขายได้ปีละประมาณเท่าไร
ใน ขณะนั้นไร่ที่เขาสนใจกำลังอยู่ในกระบวนการล้มละลาย และขายด้วยราคาที่ต่ำกว่าราคาโดยทั่วไปในท้องตลาด เขาประเมินคร่าว ๆ ว่า ไร่จะให้ค่าตอบแทนต่อเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 10% ต่อปี และมีโอกาสสูงที่จะให้ในอัตราสูงกว่านั้น
หลัง เวลาผ่านไป 28 ปี ผลปรากฏว่าไร่ให้ค่าตอบแทนเกิน 3 เท่าของอัตราที่เขาคาดไว้ และราคาของมันเพิ่มขึ้นไปกว่า5 เท่า ส่วนตัวเขาออกไปเยี่ยมไร่เพียง 2 ครั้งและก็ยังไม่มีความรู้เรื่องการทำไร่
หลัง จากซื้อไร่ 7 ปี มีผู้นำอาคารศูนย์การค้ามาเสนอ อาคารนั้นกำลังอยู่ในกระบวนการล้มละลาย เขาประเมินว่าถ้าใช้เงินสดซื้อจะได้ค่าตอบแทนราว 10% เช่นกัน
ในขณะ นั้นอาคารยังมีห้องว่างอยู่บ้าง และผู้เช่าเจ้าใหญ่ที่สุดซึ่งเช่าราว 20% ของพื้นที่เช่าตามสัญญาเก่าที่จ่ายค่าเช่าเพียง 5 ดอลลาร์ต่อตารางฟุต ในขณะที่ผู้เช่าใหม่จ่าย 70 ดอลลาร์ต่อตารางฟุต สัญญาเก่านั้นจะสิ้นสุดในเวลา 9 ปี อาคารนั้นอยู่ในทำเลที่ไม่น่าจะมีทางเสื่อมโทรมง่าย เพราะอยู่ติดกับมหาวิทยาลัยนิวยอร์กอันโด่งดัง
วอร์เรน บัฟเฟตต์ กับนักลงทุนกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง ซึ่งรวมทั้งเพื่อนที่มีความเชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์จึงร่วมกันซื้อ
เขา บอกว่า เขาได้ทุนคืนมาในเวลาไม่กี่ปี และตอนนี้เขายังได้ค่าตอบแทนปีละ 35% ของเงินที่ลงทุนไปครั้งแรก ทั้งที่เขายังไม่มีโอกาสไปดูอาคารนั้นแม้แต่ครั้งเดียว
วอร์เรน บัฟเฟตต์ กลั่นบทเรียนออกมา5 บท จากการลงทุนในไร่และในศูนย์การค้า นั่นคือ 1.ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านที่จะลงทุน แต่ในกรณีที่ตนไม่มีความเชี่ยวชาญ จะต้องรู้ข้อจำกัดของตนเอง และเดินตามแนวที่แน่ใจว่าจะได้ผลดี จงทำทุกอย่างแบบง่าย ๆ และไม่พยายามแสวงหาค่าตอบแทนในอัตราที่เกินกว่าที่น่าจะเป็นไปได้ หากมีใครให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้ค่าตอบแทนสูงแบบทันทีทันใดจะต้องไม่หลงกล
2.มุ่งเน้นเรื่องผลิตภาพในอนาคตของสิ่งที่คิดจะซื้อ หากไม่สามารถประเมินค่าตอบแทนแบบง่าย ๆ ได้ จงเลิกสนใจในสิ่งนั้น ไม่มีใครสามารถประเมินทุกอย่างได้
สิ่งที่ต้องยึดมั่นไว้คือ ต้องเข้าใจในสิ่งที่ตนกำลังทำอยู่ 3.การมุ่งเน้นไปที่ราคาในอนาคตของสิ่งที่จะซื้อคือการเก็งกำไร จริงอยู่การเก็งกำไรมิใช่ความชั่วร้าย แต่มันไม่น่าเป็นไปได้ว่าใครจะทำให้ได้ผลตอบแทนสูงอย่างต่อเนื่อง ครึ่งหนึ่งของผู้เล่นปั่นแปะจะทายถูกในการปั่นครั้งแรก แต่ถ้าเล่นต่อไปจะไม่มีทางทายถูกตลอดเวลาการที่ราคาของสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพิ่ง พุ่งขึ้นไปมิใช่เหตุผลอันดีที่จะซื้อสิ่งนั้น
4.มองไปที่ผลผลิตที่ สิ่งที่จะซื้อผลิตออกมาอย่าสนใจในราคาของมันที่เปลี่ยนไปรายวันผู้ชนะในการ แข่งขันคือผู้ที่มองดูสนามแข่งขันโดยรวม มิใช่ผู้ที่จ้องดูอยู่เฉพาะที่ป้ายของคะแนนเท่านั้น ทางที่ควรทำคือไม่ติดตามราคาหุ้นเป็นรายวัน 5.อย่าเสียเวลากับการอ่านเหตุการณ์ใหญ่ ๆ หรือการคาดเดาความเป็นไปในตลาดของผู้อื่น เพราะมันอาจทำให้สายตาเราพร่ามัวต่อการมองสิ่งที่สำคัญจริง ๆ
วอร์เรน บัฟเฟตต์ บอกว่า การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ทั้งสองของเขานั้นต่างกับการลงทุนในหุ้นของบริษัทต่าง ๆ เพียงอย่างเดียว
นั่นคือ เรารู้ราคาของหุ้นอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่มีใครตีราคาอสังหาริมทรัพย์เป็นรายวัน
จริง อยู่ การรู้ราคาอยู่ตลอดเวลาอาจมีประโยชน์ แต่นักลงทุนทั่วไปมักหวั่นไหวกับพฤติกรรมของคนรอบด้านที่ตอบสนองต่อการ เปลี่ยนแปลงของราคา นักลงทุนที่แท้จริงจะไม่เป็นเช่นนั้น
หากจะยึดมั่นอยู่ในหลักการอย่างเหนียวแน่น ยกเว้นในกรณีที่ราคาของหุ้นบางตัวตกลงมาต่ำกว่าค่าจริงของมันมาก ๆ
และนักลงทุนมีเงินสดอยู่ในมือจึงควรซื้อหุ้นนั้นทันที
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เขียนต่อไปว่า ตามธรรมดาคนทั่วไปมิได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษาว่ากิจการต่าง ๆ จะเป็นไปอย่างไร แต่นั่นมิใช่ปัญหา เขาเสนอแนะว่าในกรณีเช่นนั้นจงฝากเงินไว้กับกองทุนรวมจำพวก S&P 500 index fund ซึ่งเก็บค่าบริการเพียงเล็กน้อย เนื่องจากกองทุนจำพวกนั้นกระจายเงินทุนไปซื้อหุ้นในบริษัทต่าง ๆ จำนวนมาก
ฉะนั้น ความเสี่ยงที่จะขาดทุนหรือสูญเงินจึงมีน้อย แต่ให้ค่าตอบแทนในระดับที่ยอมรับได้
https://www.facebook.com/#!/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376
จากปากกาของ "วอร์เรน บัฟเฟตต์"
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1395308628
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นนักลงทุนที่ผู้อยู่ในวงการเศรษฐกิจ การเงิน และการลงทุนในอเมริกายกย่องว่าประสบความสำเร็จสูงสุดในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา
ตั้งแต่ ปีที่เขาเข้าไปซื้อหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัท เบิร์กไช ฮัทธะเวย์ ด้วยราคาหุ้นละ 18 ดอลลาร์ ทุกปีเขาถือเป็นประเพณีปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คือ แนบจดหมายไปกับรายงานผลประกอบการของบริษัทต่อผู้ถือหุ้น เนื้อหาของจดหมายเป็นคำอธิบายแนวคิดของเขาและสิ่งต่าง ๆแบบง่าย ๆ ตามที่เขาต้องการจะให้ผู้ถือหุ้นรับทราบ
หลังจากเวลาผ่านไป 50 ปี วอร์เรน บัฟเฟตต์ มีชื่อเสียงกระฉ่อน และตอนนี้หุ้นของบริษัทนั้นราคาเพิ่มขึ้นไปใกล้ถึง 2 แสนดอลลาร์ ส่งผลให้เขาเป็น มหาเศรษฐีอันดับ 3 ของโลก และผู้ถือครองหุ้นด้วยกันมา ตั้งแต่เริ่มแรกส่วนใหญ่ได้กลายเป็นมหาเศรษฐีด้วย เนื่องจากจดหมายเหล่านั้นเป็นที่สนใจของหลายวงการ โดยเฉพาะในด้านการลงทุน จึงมีการนำมารวมกันเป็นหนังสือชื่อ Berkshire Hathaway Letters to Shareholders 1965-2012 เมื่อไม่กี่สัปดาห์มานี้
บริษัทนั้นได้นำ ฉบับล่าสุดออกมาเผยแพร่ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางเช่นกัน จดหมายฉบับนั้นค่อนข้างยาว วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้นำบางส่วนมาเล่าไว้ในนิตยสาร Fortune ประจำวันที่ 17 มีนาคม ขอนำเนื้อหาของบทความนั้นมาปันกับผู้ที่อาจไม่มีโอกาสอ่าน
ในบทความ นั้น วอร์เรน บัฟเฟตต์ กลั่นบทเรียนสำหรับนักลงทุนจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ 2 ชิ้นของเขา ซึ่งประกอบด้วยไร่ในรัฐเนแบรสกา และอาคารศูนย์การค้าในใจกลางมหานครนิวยอร์ก
เขา ซื้อที่ดินขนาด 1,000 ไร่ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านราว 80 กม. เมื่อปี 2529 ทั้งที่เขาไม่มีความรู้เรื่องการทำไร่มากไปกว่าการมีลูกชายที่สนใจในการทำ ไร่เท่านั้น เขาเรียนรู้จากลูกชายว่าพืชไร่ควรจะขายได้ปีละประมาณเท่าไร
ใน ขณะนั้นไร่ที่เขาสนใจกำลังอยู่ในกระบวนการล้มละลาย และขายด้วยราคาที่ต่ำกว่าราคาโดยทั่วไปในท้องตลาด เขาประเมินคร่าว ๆ ว่า ไร่จะให้ค่าตอบแทนต่อเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 10% ต่อปี และมีโอกาสสูงที่จะให้ในอัตราสูงกว่านั้น
หลัง เวลาผ่านไป 28 ปี ผลปรากฏว่าไร่ให้ค่าตอบแทนเกิน 3 เท่าของอัตราที่เขาคาดไว้ และราคาของมันเพิ่มขึ้นไปกว่า5 เท่า ส่วนตัวเขาออกไปเยี่ยมไร่เพียง 2 ครั้งและก็ยังไม่มีความรู้เรื่องการทำไร่
หลัง จากซื้อไร่ 7 ปี มีผู้นำอาคารศูนย์การค้ามาเสนอ อาคารนั้นกำลังอยู่ในกระบวนการล้มละลาย เขาประเมินว่าถ้าใช้เงินสดซื้อจะได้ค่าตอบแทนราว 10% เช่นกัน
ในขณะ นั้นอาคารยังมีห้องว่างอยู่บ้าง และผู้เช่าเจ้าใหญ่ที่สุดซึ่งเช่าราว 20% ของพื้นที่เช่าตามสัญญาเก่าที่จ่ายค่าเช่าเพียง 5 ดอลลาร์ต่อตารางฟุต ในขณะที่ผู้เช่าใหม่จ่าย 70 ดอลลาร์ต่อตารางฟุต สัญญาเก่านั้นจะสิ้นสุดในเวลา 9 ปี อาคารนั้นอยู่ในทำเลที่ไม่น่าจะมีทางเสื่อมโทรมง่าย เพราะอยู่ติดกับมหาวิทยาลัยนิวยอร์กอันโด่งดัง
วอร์เรน บัฟเฟตต์ กับนักลงทุนกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง ซึ่งรวมทั้งเพื่อนที่มีความเชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์จึงร่วมกันซื้อ
เขา บอกว่า เขาได้ทุนคืนมาในเวลาไม่กี่ปี และตอนนี้เขายังได้ค่าตอบแทนปีละ 35% ของเงินที่ลงทุนไปครั้งแรก ทั้งที่เขายังไม่มีโอกาสไปดูอาคารนั้นแม้แต่ครั้งเดียว
วอร์เรน บัฟเฟตต์ กลั่นบทเรียนออกมา5 บท จากการลงทุนในไร่และในศูนย์การค้า นั่นคือ 1.ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านที่จะลงทุน แต่ในกรณีที่ตนไม่มีความเชี่ยวชาญ จะต้องรู้ข้อจำกัดของตนเอง และเดินตามแนวที่แน่ใจว่าจะได้ผลดี จงทำทุกอย่างแบบง่าย ๆ และไม่พยายามแสวงหาค่าตอบแทนในอัตราที่เกินกว่าที่น่าจะเป็นไปได้ หากมีใครให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้ค่าตอบแทนสูงแบบทันทีทันใดจะต้องไม่หลงกล
2.มุ่งเน้นเรื่องผลิตภาพในอนาคตของสิ่งที่คิดจะซื้อ หากไม่สามารถประเมินค่าตอบแทนแบบง่าย ๆ ได้ จงเลิกสนใจในสิ่งนั้น ไม่มีใครสามารถประเมินทุกอย่างได้
สิ่งที่ต้องยึดมั่นไว้คือ ต้องเข้าใจในสิ่งที่ตนกำลังทำอยู่ 3.การมุ่งเน้นไปที่ราคาในอนาคตของสิ่งที่จะซื้อคือการเก็งกำไร จริงอยู่การเก็งกำไรมิใช่ความชั่วร้าย แต่มันไม่น่าเป็นไปได้ว่าใครจะทำให้ได้ผลตอบแทนสูงอย่างต่อเนื่อง ครึ่งหนึ่งของผู้เล่นปั่นแปะจะทายถูกในการปั่นครั้งแรก แต่ถ้าเล่นต่อไปจะไม่มีทางทายถูกตลอดเวลาการที่ราคาของสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพิ่ง พุ่งขึ้นไปมิใช่เหตุผลอันดีที่จะซื้อสิ่งนั้น
4.มองไปที่ผลผลิตที่ สิ่งที่จะซื้อผลิตออกมาอย่าสนใจในราคาของมันที่เปลี่ยนไปรายวันผู้ชนะในการ แข่งขันคือผู้ที่มองดูสนามแข่งขันโดยรวม มิใช่ผู้ที่จ้องดูอยู่เฉพาะที่ป้ายของคะแนนเท่านั้น ทางที่ควรทำคือไม่ติดตามราคาหุ้นเป็นรายวัน 5.อย่าเสียเวลากับการอ่านเหตุการณ์ใหญ่ ๆ หรือการคาดเดาความเป็นไปในตลาดของผู้อื่น เพราะมันอาจทำให้สายตาเราพร่ามัวต่อการมองสิ่งที่สำคัญจริง ๆ
วอร์เรน บัฟเฟตต์ บอกว่า การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ทั้งสองของเขานั้นต่างกับการลงทุนในหุ้นของบริษัทต่าง ๆ เพียงอย่างเดียว
นั่นคือ เรารู้ราคาของหุ้นอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่มีใครตีราคาอสังหาริมทรัพย์เป็นรายวัน
จริง อยู่ การรู้ราคาอยู่ตลอดเวลาอาจมีประโยชน์ แต่นักลงทุนทั่วไปมักหวั่นไหวกับพฤติกรรมของคนรอบด้านที่ตอบสนองต่อการ เปลี่ยนแปลงของราคา นักลงทุนที่แท้จริงจะไม่เป็นเช่นนั้น
หากจะยึดมั่นอยู่ในหลักการอย่างเหนียวแน่น ยกเว้นในกรณีที่ราคาของหุ้นบางตัวตกลงมาต่ำกว่าค่าจริงของมันมาก ๆ
และนักลงทุนมีเงินสดอยู่ในมือจึงควรซื้อหุ้นนั้นทันที
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เขียนต่อไปว่า ตามธรรมดาคนทั่วไปมิได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษาว่ากิจการต่าง ๆ จะเป็นไปอย่างไร แต่นั่นมิใช่ปัญหา เขาเสนอแนะว่าในกรณีเช่นนั้นจงฝากเงินไว้กับกองทุนรวมจำพวก S&P 500 index fund ซึ่งเก็บค่าบริการเพียงเล็กน้อย เนื่องจากกองทุนจำพวกนั้นกระจายเงินทุนไปซื้อหุ้นในบริษัทต่าง ๆ จำนวนมาก
ฉะนั้น ความเสี่ยงที่จะขาดทุนหรือสูญเงินจึงมีน้อย แต่ให้ค่าตอบแทนในระดับที่ยอมรับได้
https://www.facebook.com/#!/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376