อัตราส่งมอบข้าว อีกจุดของความล้มเหลว (3) : ตอบประเด็นคุณ BlueDelphi

จากกระทู้ ภาคแรก คุณ BlueDelphi ตอบกระทู้ในคห. 12 พอดีผมไม่ได้กลับไปอ่าน ก็ขออภัย

http://ppantip.com/topic/31785035

เมื่อเช้ามีคนถามถึงในกระทู้ภาคสอง ว่ารอคำตอบ ผมก็เลยขอตั้งเป็นกระทู้ตอบแล้วกันครับ

http://ppantip.com/topic/31793748

__________________________________

แนวโน้มในอนาคต....
โครงการนี้ยังไปได้ทั้งแนวคิดและ การปฏิบัติ  


ประเด็นนี้ เป็นข้อสรุป ที่คงต้องรอเวลาพิสูจน์ แต่โดยส่วนตัวผมคิดว่า แนวคิดโครงการจะเป็นไปได้ ต้องสามารถยืนยันได้ว่า สามารถควบคุมกลไกราคาข้าวในตลาดโลกได้จริง เสียก่อน ถ้าทำไม่ได้จริง ผลก็คงไม่ต่างกับช่วงสองปีที่ผ่านมา

ตอนไทยกักข้าวไว้ ไม่ยอมขาย ราคาก็ปรับตัวสูงขึ้น แต่พอเริ่มขาย ราคาก็ต่ำลงมา และเนื่องจากกักไว้นาน พอถึงเวลาปล่อยต้องปล่อยมาก ทำให้ราคายิ่งตกไปมากกว่าตอนเริ่มโครงการเสียอีก

_________________________________

การขายขาดทุนก็ไม่เป็นไรอยู่แล้ว เปอร์เซ็นต์รายจ่ายในข้อนี้ดูไปไม่ต่างจากการรับประกันราคามากหรอก
อาศัยปริมาณเยอะขึ้น ตัวเลขเลยโตตามไปด้วย และนั่นหมายถึงชาวนาได้รับการช่วยเหลือเยอะขึ้นด้วย
แค่จ่ายไปในชื่อไหนรูปแบบไหนเท่านั้นเอง



รายจ่ายในโครงการจำนำข้าว และประกันรายได้ แยกได้เป็นสี่ส่วนคือ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ดอกเบี้ยเงินกู้ ผลประโยชน์ที่ชาวนาได้รับ และส่วนอื่น ๆ ที่เหลือ (น่าจะเป็นกำไรของกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ชาวนา)

1.ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ในส่วนของประกันรายได้ มีสองหน่วยงาน คือ กรมส่งเสริมการเกษตร ที่เป็นผู้ขึ้นทะเบียนชาวนา กับ ธกส.ที่ทำหน้าที่จ่ายเงินให้ชาวนา โดยค่าขึ้นทะเบียนมีค่าใช้จ่าย หลักร้อยล้านบาทเท่านั้น ส่วน ธกส.คิดค่าใช้จ่ายในอัตรา 2.25% (5 เดือน) ของยอดเงินกู้

ส่วนของการจำนำข้าว มีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากประกันรายได้ คือ ในส่วนของขั้นตอนการรับจำนำ ค่าใช้จ่ายของเจ้าหน้าที่ประจำจุดรับจำนำ ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้าว ค่าประกันภัย และในส่วนของธกส. ก็ต้องเสียมากกว่า เพราะจ่ายในวงเงินสูงกว่า

ในส่วนประกันรายได้ มีค่าใช้จ่ายรวม ๆ เป็นเงินประมาณ 1,000 ล้านต่อปี ส่วนของจำนำข้าว อย่างต่ำก็ 10,000 ล้านบาทต่อปี

2. ดอกเบี้ยเงินกู้ ก็แน่นอน จากการใช้เงินประมาณปีละ 70,000 ล้าน กับ 330,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยก็ต้องจ่ายมากกว่ากันเกือบ 5 เท่าตัว หรือต่างกันอีกเกือบ 10,000 ล้านต่อปี

3.ผลประโยชน์ที่ชาวนาได้รับ อันนี้ โครงการประกันรายได้ ชาวนาที่ขึ้นทะเบียนทั้งหมด (มี 3 ล้านกว่าราย) ได้ประโยชน์ทั้งหมด จ่ายชดเชยไปปีแรก 40,000 ล้าน ปีที่สอง 70,000 ล้าน ถ้าตัดเรื่องการทุจริตออกไปก่อน (เพราะจำนำข้าวก็มีเหมือนกัน ถ้าจะคิดแยกให้ออก คงจะไม่จบง่าย) สองปีก็มีเงินถึงมือชาวนารวม 110,000 ล้านบาท

ส่วนในโครงการจำนำข้าว สองปีรัฐบาลจ่ายเงินค่าข้าวไป 680,000 ล้านบาท เป็นการจ่ายให้ชาวนาไม่ถึง 2 ล้านราย เป็นข้าว 44 ล้านตันข้าวเปลือก โดยเงินที่จ่ายถ้ามองให้ชัดเจน ก็จะเป็นเงินค่าข้าว (ราคาตลาด) กับส่วนเพิ่มที่รัฐบาลเพิ่มให้

โดยราคาตลาดในช่วงสองปี ถ้าหากอยู่ที่ 10,000 บาท (ถ้าหักความชื้น ก็จะเหลือประมาณ 7,000 บาท) เทียบกับที่รัฐบาลรับจำนำ 15,000 บาท ก็หมายความว่า ผลประโยชน์ที่ชาวนาได้รับ คือตันละ 5,000 บาท คิดเป็นมูลค่าก็ 220,000 ล้านบาท

4.ผลประโยชน์ของกลุ่มที่ไม่ใช่ชาวนา

เวลาสองปีเหมือนกัน ประกันรายได้ รัฐจ่ายเงินไป 120,000 ล้าน (รวมทุกอย่าง) ถึงมือชาวนา 110,000 ล้านบาท (เรื่องทุจริตไม่คิดนะครับ เพราะไม่คิดทั้งสองโครงการ)

จำนำข้าว รัฐจ่ายเงินไป 720,000 ล้านบาท เป็นผลประโยชน์ของชาวนา 220,000 ล้าน ค่าใช้จ่ายอื่นประมาณ 60,000 ล้าน รัฐบาลขายข้าวไปแล้วครึ่งนึง ได้เงินประมาณ 150,000 ล้านบาท (ถ้าขายอีกครึ่งก็น่าจะได้น้อยกว่าเดิม แต่คิดให้เท่าเดิม) หมายความว่า มีส่วนต่าง 140,000 ล้านบาท อันนี้ผลประโยชน์ตกอยู่ที่ใครก็ไม่รู้


ในส่วนความเข้าใจผิดที่คิดว่า จำนำข้าวช่วยชาวนามากรายกว่า เลยจ่ายมากกว่า อันนี้ก็คิดว่าตอบไปแล้ว คือมันชัดเจนว่า ประกันรายได้ มีชาวนาได้ประโยชน์มากกว่าจำนำข้าว หนึ่งเท่าตัว และชาวนาครึ่งที่ไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการจำนำข้าว เป็นชาวนาที่ด้อยโอกาสกว่า คือปลูกข้าวน้อยกว่า (เอาไว้กินเอง) อยู่ห่างไกลระบบชลประทาน(นั่นคือไกลแหล่งรับจำนำด้วย) เมื่อมีข้าวน้อย ต้องขนไกล สุดท้ายก็ไม่สามารถเอาไปจำนำได้ ก็ไม่ได้ประโยชน์จากโครงการนี้


________________________________________


จุดอ่อนของจริงอยู่ที่ ข้าวเสื่อมสภาพ ขายไม่ทัน
รวมไปถึงการขยายโครงการจนสต็อคสูง โดนกดราคาขายต่ำ
ขายสิบขาดทุนสิบ ขายร้อยก็ขายทุนร้อย ไม่ขายไม่ขาดทุนแต่ไปจบตรงสินค้าเสื่อมสภาพเร็ว ก็ขาดทุนอยู่ดี
แถมถ้าขายผิดจังหวะ ผิดราคา ขายด้วยแรงกดดันอื่นๆ ก็กลายเป็นทำลายตลาดที่อุตส่าห์หามาได้อีก....
.... อันนี้เงินหายไปเลย 555
มันเป็นเรื่องของการค้าเมื่อเล่นแบบนี้ก็ต้องว่ากันแบบนี้... และรัฐบาลยังทำได้ไม่ดีก็ต้องยอมรับความจริง


จุดอ่อนของโครงการจำนำข้าวนั้น ชัดเจนมาตั้งแต่ต้นคือ ไม่ยอมขายข้าว เอาแต่โม้ว่าขายได้ ปี 55 ทั้งปี ขายข้าวได้แค่ 3 ล้านตันเศษเท่านั้น จากที่ปีแรกรับจำนำมาได้ข้าวสาร 14 ล้านตัน หรือแค่ปีแรก ก็มีสต๊อกเพิ่มขึ้นประมาณ 10 ล้านตันแล้ว

ความเห็นนี้เป็นความเห็นเก่าของผมตั้งแต่ 5 ตุลาคม 55 มันเป็นจุดอ่อนที่คนเป็นรัฐมนตรีจะไม่รู้เลยเหรอครับ ถ้ารู้แล้วทำไมไม่เร่งระบาย ดังนั้นตรงนี้ยังไงรัฐบาลก็คงต้องรับผิดชอบเต็ม ๆ





ประเด็นอาจจะอยู่ที่ว่า อยากขายได้ราคาสูง ก็เลยดึงข้าวไว้ ราคาก็เลยสูงขึ้น แต่พอเริ่มจะขายก็ลด ก็ไม่ขายอีก ทำแบบนี้ปีเศษ ข้าวในมือรัฐบาลเพิ่มขึ้น ราคาไม่ไปไหน สุดท้ายต้องขาย กลายเป็นว่าต้องขายถูกกว่าเมื่อสองปีที่แล้วอีก

ปี 55 ในการประมูลข้าวของรัฐบาลนี้ครั้งแรก (ก่อนหน้านั้นประมูลข้าวที่เหลือจากรัฐบาลก่อน ๆ) ราคาข้าวขาวที่ประมูลได้ อยู่ที่ 16,300 บาท แล้วหลังจากนั้น ก็ไม่มีการประมูลข้าวขาวอีกเลย จนกระทั่งกลางปี 56 ตอนเปลี่ยนเป็นคุณนิวัฒน์ธำรง

ซึ่งราคาประมูลก็ลดลงไปอยู่ในราคาตลาด คือไม่เกิน 13,000 บาท ทั้ง ๆ ตอนปี 55 ก็ยังมีการแย่งประมูล แต่รัฐไม่ยอมขาย แล้วต้องมาขายในราคาถูกลง จนถึงวันนี้ข้าวปี 54/55 ก็ยังขายได้ไม่หมดเลย

สรุปทั้งหมดคือ รัฐบาลรู้ว่าต้องขาย แต่ไม่ขาย เพราะเชื่อในทฤษฎีโลกมีภัยพิบัติ ข้าวจะขาดตลาด ราคาจะขึ้น

ถ้าอ่านในความเห็นที่ผมยกมา ก็มีประเด็นนี้อยู่ ซึ่งตอนนี้ ก็ยังเล่นประเด็นนี้อยู่เหมือนเดิม คือภาวนาให้โลกมีภัยพิบัติ ผลผลิตน้อยลง ทำให้ความต้องการข้าวมีมากขึ้น ไทยจะได้ระบายข้าวได้ราคาดี

แต่ไม่รู้ว่า ปีนี้จะสมหวังหรือไม่ ก็หวังว่า จะไม่ขายข้าวออกไปหมดก่อนที่ราคาจะดีก็แล้วกัน เพราะตอนนี้ขายข้าวที่มีทั้งหมด ในราคาตลาดเวลานี้ คิดว่าแค่จะพอจ่ายหนี้ 120,000 ล้านบาท ได้หมดเท่านั้น (อาจจะเหลือสัก 30,000 ล้านบาท)

________________________________


ขอสามย่อหน้าแค่นี้ก่อนแล้วกันครับ เดี๋ยวค่อยพิมพ์เพิ่มเติมในความเห็นต่อ ๆ ไปครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่