คิดถึงวิทยา
นานทีปีหนที่จะมาเขียนเล่าเรื่องราวของหนังที่ได้ดู เพราะหลังจากดูแล้วเหมือนโดนชกที่หน้าท้องดังตุ๊บ! เพราะหลายเรื่องราวในหนังมีข้อให้ขบคิดและที่สำคัญคือมันช่างเกี่ยวพันกับตัวเองจนแอบน้ำตาซึม
ในยุคที่เรียกได้ว่าเทคโนโลยีก้าวหน้าไปจนเด็กยุคนี้เขียนหนังสือกันแทบจะไม่ถูกแล้ว อย่าว่าแต่เด็กเลย ผู้ใหญ่อย่างเราๆ เองที่พึ่งพาแต่คอมพิวเตอร์ลองกลับมาเขียนหนังสือด้วยมือสิ แล้วจะรู้ว่าลายมือเรานั้นเลวร้ายขนาดไหน (อย่าเถียง) คนสมัยนี้ต่างพึ่งพาเทคโนโลยีมากจนเกินไปจนหลายสิ่งหลายอย่างค่อยๆ ถูกลืมเลือนไป อย่างการเขียนไดอารี่สักเล่มนึง
หนังจงใจให้ตัวละครเอกของเราไปอยู่ ณ สถานที่ที่เทคโนโลยีอย่างสัญญาณโทรศัพท์มือถือไปไม่ถึง ไม่มีคอมพิวเตอร์ให้ใช้ การกลับจากจุดสูงสุดสู่สามัญกับการเขียนระบายสารพัดความรู้สึกลงไดอารี่สักเล่มจึงทำให้บรรยากาศเก่าๆ ค่อยๆ กระจ่างขึ้นมาหลังจากที่เกือบจะลืมเลือนไปแล้ว หนังไม่ได้ย้อนกลับไปหลายสิบปีหรอก อยู่ในยุคปัจจุบันนี่หล่ะ ดังนั้นภาพรวมจึงยังคงทันสมัยแต่ไดอารี่นี่คลาสสิคเหลือเกิน
โดยส่วนตัวเป็นคนที่มีอดีตผูกพันกับการเขียนจดหมายตั้งแต่เด็ก แต่ที่จดจำได้เป็นอย่างดีคือสมัยที่ทำอยู่นิตยสารฉบับหนึ่งซึ่งหนึ่งในหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบคือเขียนคอลัมน์ประจำฉบับทุกเดือน จะเนื่องด้วยเหตุผลกลใดก็ตามมีผู้อ่านทางบ้านติดตามและเขียนจดหมายเข้ามาคุยมากมาย จนทำให้มีสนิทๆ อยู่สองสามคน
จากการเขียนสัพเพเหระเกี่ยวกับหนัง ค่อยๆ คุยเรื่อยเปื่อยไปจนถึงเรื่องในชีวิตทั่วๆไป ตามประสาคนสนิทคุ้นเคยแต่ไม่เคยเจอหน้ากันสักครั้งจนกระทั่งหนังสือปิดตัวไป แต่เราก็ยังคงเขียนจดหมายคุยกันตลอด มาตอนนี้สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะเราบ้าเขียนด้วยกันทั้งคู่!!! เพราะเขียนทีไม่ต่ำกว่า 4 หน้ากระดาษ เอามารวมๆ กันก็คงหนาเท่าหนังสือสักเล่ม
สารพัดเรื่องราวที่เขียนมีทั้งปรึกษาเรื่องการเรียนต่อ การวางแผนชีวิตในอนาคต ซึ่งตัวเองซึ่งนิสัย “เยอะ” ก็ชอบตอบคำถาม ก็ร่ายยาวสารพัดคำปรึกษามากมาย ซึ่งทำได้บ้าง ทำไม่ได้บ้าง ล้มลุกคลุกคลานกันไป
แต่วันที่ไม่อยากให้มาถึงก็มาจนได้ วันที่อีกฝ่ายอยากมาเจอตัวจริงเสียงจริงของคนที่เขียนจดหมายคุยกันมาหลายปี ที่ผ่านมาก็ไม่ได้คิดว่าจะมีโอกาสได้เจอเพราะเค้าอยู่ต่างจังหวัด เราอยู่กรุงเทพฯ โอกาสเจอคงลำบาก แต่วันดีคืนดีอีกฝ่ายเข้ากรุงเทพฯ มาและหนึ่งในโปรแกรมเด็ดคือมาพบตัวเป็นๆ ของที่ปรึกษากิติมศักดิ์ ปัญหาจะไม่เกิดขึ้นเลยถ้าในจดหมายไม่ได้ใช้สำนวนและชื่อผู้หญิง!!!
เนื่องจากในการเขียนคอลัมน์ครั้งกระนู้นตัวเองใช้วิธีเขียนสำนวนผู้หญิงแบบแซ่บๆ บ้าๆ ตามที่ บอกอ ขอมาทำให้การตอบจดหมายต่างๆ ก็ใช้สำนวนเดียวกันนี้ จนกลายเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนเป็นระยะเวลาหลายปี และหนึ่งในนั้นคือการเขียนตอบจดหมายของเค้าคนนั้น ซึ่งเค้าคงคิดเสมอมาว่าคนที่เขียนจดหมายตอบเค้าเป็นผู้หญิง
เหตุการณ์ที่เหลือจะเป็นอย่างไร ปล่อยให้เป็นปริศนา ให้ผู้ชมคิดกันเอง .................................................................................................
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
................ถ้าขืนปล่อยไว้แบบนี้คาดว่าสารพัดเท้าจะระดมมากระทืบแน่ๆ เนื่องในโอกาสที่เขียนให้อยากแล้วจากไป 555 อ่ะมาอ่านกันต่อว่าหลังจากนั้นเป็นอย่างไร
หลังจากนั่งคิดนอนคิดแผนว่าจะทำอย่างไรดี หลักๆ คือกลัวว่าเจ้าตัวมาเจอตัวจริงแล้วจะช็อคตายตรงนั้น (กับสารรูปตัวเอง) แต่ในที่สุดก็นัดให้มาเจอกันที่ทำงานเก่าแถวๆ สีลม โดยค่อยๆ บ่ายเบี่ยงไปเรื่อย อ้างว่าเป็นเพื่อนของสนิท เค้าส่งมาพบ คุยไปคุยมาจนจะกลับนั่นล่ะ ถึงจะยอมบอกว่านี่คือคนที่เธออยากจะเจอมาตลอด (ภายหลังทราบมาว่าเจ้าตัวจินตนาการว่าเราน่าจะเป็นผู้หญิงมีอายุ ค่อนข้างกร้านโลก...... เอิ่ม ขอโทษนะที่ไม่ใช่อย่างที่คิด ใครว่าเหมือนโดนตบ!)
หลังจากนั้นก็เริ่มโทรคุยกันบ้าง (ถึงตอนนี้ก็จะรู้เลยว่าทำไมถึงไม่โทรศัพท์กันตั้งแต่แรก ก็เพราะฟังเสียงปุ๊บก็ความแตกสิ) เจอกันบ้าง แล้วก็หายไปเพราะอีกฝ่ายต้องไปรับใช้ชาติ และโทรศัพท์พัง ทำเบอร์หายเกลี้ยง จากนั้นก็คิดว่าคงไม่ได้เจอกันอีกแล้วเพราะที่อยู่ที่กรุงเทพฯของเค้าเราก็ไม่มี
วันเวลาผ่านไปจนถึงยุคที่เทคโนโลยีนำพาให้กำเนิด เฟสบุ๊ค แล้ววันดีคืนดี คนที่เราคุ้นเคยก็แอดมาขอเป็นเพื่อน ทำเอาตัวเองแปลกใจมาก ถามไปทางนั้นบอกว่าพอมีเฟสบุ๊คก็ไปหาอีเมลจากนิตยสารที่เราเคยเขียน (เมื่อนานมาแล้ว) แล้วลองหาในเฟสบุ๊ค ปรากฏว่าเจอ ซึ่งเจ้าตัวดีใจมากพร้อมกับคำต่อว่าหนึ่งยกโทษฐานที่ไม่ติดต่อกลับไปเลย
หลังจากนั้นก็ติดต่อกันเรื่อยมาตามช่องทางต่างๆ เท่าที่เทคโนโลยีจะเอื้ออำนวยอย่าง เฟสบุ๊ค ไลน์ หรือโทรศัพท์ จนมีไปทานข้าว ดูหนัง แล้วแต่โอกาส แต่ระยะหลังพอสนิทมากขึ้นก็มีเรื่องที่ไม่เข้าใจกันบ้าง จนตัวเองหนีปัญหาด้วยการไม่ติดต่อกลับไปอีก จนถึงตอนนี้เกือบปีแล้วสินะ
ถึงบอกตั้งแต่ต้นเรื่องไงว่าดูหนังเรื่องนี้แล้วเหมือนโดนต่อย เพราะมันจี๊ดเหลือเกินกับการอ่านตัวหนังสือผ่านกระดาษโดยไม่เคยเห็นตัวจริงของคนที่เขียนตัวอักษรเหล่านั้น เสน่ห์ของหนังสือคือการจินตนาการเอาเองตามประสบการณ์ของผู้อ่านเท่าที่จะมโนออกมาเป็นภาพในใจ หลายคนอาจสมหวังในสิ่งที่มโนไว้ แต่หลายๆ คนก็ไม่อาจไปถึงจุดนั้น....
เขียนมาถึงตรงนี้ อารมณ์เจ็บแปล๊บยังคงไม่หายไปไหน เรื่องราวต่อไปข้างหน้าระหว่างตัวเองกับเค้าคนนั้นจะเป็นอย่างไรต่อไปคงไม่มีใครให้คำตอบได้ แต่อย่างน้อยก็ขอขอบคุณเขาคนนั้นสำหรับความรู้สึกดีๆ ที่มีให้ และที่สำคัญคือยอมรับในตัวตนจริงๆ ของเรา และให้เกียรติในสิ่งที่เราเป็น
ขอบคุณจากใจ
ปล. ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าขนาดไหน ก็สู้ฮาร์ดก๊อปปี้โบราณๆ แบบจดหมายไม่ได้หรอก รูปแบบกระดาษ ลายมือ ลูกเล่นต่างๆ ที่เขียนมา มันย่อมสื่อถึงสิ่งที่อยู่ภายในใจดีกว่าการเขียนอีเมล ไลน์ หรือเฟสบุ๊คแน่ๆ จะมีสักกี่คนที่มีคนที่เราไม่เคยแม้แต่เห็นหน้าค่าตา เขียนจดหมายมาคุยกันได้มากมายขนาดนี้ จริงไหม?
+++ คิดถึงวิทยา ฤๅจะสู้ ชีวิตจริงยิ่งกว่าในหนัง +++
นานทีปีหนที่จะมาเขียนเล่าเรื่องราวของหนังที่ได้ดู เพราะหลังจากดูแล้วเหมือนโดนชกที่หน้าท้องดังตุ๊บ! เพราะหลายเรื่องราวในหนังมีข้อให้ขบคิดและที่สำคัญคือมันช่างเกี่ยวพันกับตัวเองจนแอบน้ำตาซึม
ในยุคที่เรียกได้ว่าเทคโนโลยีก้าวหน้าไปจนเด็กยุคนี้เขียนหนังสือกันแทบจะไม่ถูกแล้ว อย่าว่าแต่เด็กเลย ผู้ใหญ่อย่างเราๆ เองที่พึ่งพาแต่คอมพิวเตอร์ลองกลับมาเขียนหนังสือด้วยมือสิ แล้วจะรู้ว่าลายมือเรานั้นเลวร้ายขนาดไหน (อย่าเถียง) คนสมัยนี้ต่างพึ่งพาเทคโนโลยีมากจนเกินไปจนหลายสิ่งหลายอย่างค่อยๆ ถูกลืมเลือนไป อย่างการเขียนไดอารี่สักเล่มนึง
หนังจงใจให้ตัวละครเอกของเราไปอยู่ ณ สถานที่ที่เทคโนโลยีอย่างสัญญาณโทรศัพท์มือถือไปไม่ถึง ไม่มีคอมพิวเตอร์ให้ใช้ การกลับจากจุดสูงสุดสู่สามัญกับการเขียนระบายสารพัดความรู้สึกลงไดอารี่สักเล่มจึงทำให้บรรยากาศเก่าๆ ค่อยๆ กระจ่างขึ้นมาหลังจากที่เกือบจะลืมเลือนไปแล้ว หนังไม่ได้ย้อนกลับไปหลายสิบปีหรอก อยู่ในยุคปัจจุบันนี่หล่ะ ดังนั้นภาพรวมจึงยังคงทันสมัยแต่ไดอารี่นี่คลาสสิคเหลือเกิน
โดยส่วนตัวเป็นคนที่มีอดีตผูกพันกับการเขียนจดหมายตั้งแต่เด็ก แต่ที่จดจำได้เป็นอย่างดีคือสมัยที่ทำอยู่นิตยสารฉบับหนึ่งซึ่งหนึ่งในหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบคือเขียนคอลัมน์ประจำฉบับทุกเดือน จะเนื่องด้วยเหตุผลกลใดก็ตามมีผู้อ่านทางบ้านติดตามและเขียนจดหมายเข้ามาคุยมากมาย จนทำให้มีสนิทๆ อยู่สองสามคน
จากการเขียนสัพเพเหระเกี่ยวกับหนัง ค่อยๆ คุยเรื่อยเปื่อยไปจนถึงเรื่องในชีวิตทั่วๆไป ตามประสาคนสนิทคุ้นเคยแต่ไม่เคยเจอหน้ากันสักครั้งจนกระทั่งหนังสือปิดตัวไป แต่เราก็ยังคงเขียนจดหมายคุยกันตลอด มาตอนนี้สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะเราบ้าเขียนด้วยกันทั้งคู่!!! เพราะเขียนทีไม่ต่ำกว่า 4 หน้ากระดาษ เอามารวมๆ กันก็คงหนาเท่าหนังสือสักเล่ม
สารพัดเรื่องราวที่เขียนมีทั้งปรึกษาเรื่องการเรียนต่อ การวางแผนชีวิตในอนาคต ซึ่งตัวเองซึ่งนิสัย “เยอะ” ก็ชอบตอบคำถาม ก็ร่ายยาวสารพัดคำปรึกษามากมาย ซึ่งทำได้บ้าง ทำไม่ได้บ้าง ล้มลุกคลุกคลานกันไป
แต่วันที่ไม่อยากให้มาถึงก็มาจนได้ วันที่อีกฝ่ายอยากมาเจอตัวจริงเสียงจริงของคนที่เขียนจดหมายคุยกันมาหลายปี ที่ผ่านมาก็ไม่ได้คิดว่าจะมีโอกาสได้เจอเพราะเค้าอยู่ต่างจังหวัด เราอยู่กรุงเทพฯ โอกาสเจอคงลำบาก แต่วันดีคืนดีอีกฝ่ายเข้ากรุงเทพฯ มาและหนึ่งในโปรแกรมเด็ดคือมาพบตัวเป็นๆ ของที่ปรึกษากิติมศักดิ์ ปัญหาจะไม่เกิดขึ้นเลยถ้าในจดหมายไม่ได้ใช้สำนวนและชื่อผู้หญิง!!!
เนื่องจากในการเขียนคอลัมน์ครั้งกระนู้นตัวเองใช้วิธีเขียนสำนวนผู้หญิงแบบแซ่บๆ บ้าๆ ตามที่ บอกอ ขอมาทำให้การตอบจดหมายต่างๆ ก็ใช้สำนวนเดียวกันนี้ จนกลายเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนเป็นระยะเวลาหลายปี และหนึ่งในนั้นคือการเขียนตอบจดหมายของเค้าคนนั้น ซึ่งเค้าคงคิดเสมอมาว่าคนที่เขียนจดหมายตอบเค้าเป็นผู้หญิง
เหตุการณ์ที่เหลือจะเป็นอย่างไร ปล่อยให้เป็นปริศนา ให้ผู้ชมคิดกันเอง .................................................................................................
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
................ถ้าขืนปล่อยไว้แบบนี้คาดว่าสารพัดเท้าจะระดมมากระทืบแน่ๆ เนื่องในโอกาสที่เขียนให้อยากแล้วจากไป 555 อ่ะมาอ่านกันต่อว่าหลังจากนั้นเป็นอย่างไร
หลังจากนั่งคิดนอนคิดแผนว่าจะทำอย่างไรดี หลักๆ คือกลัวว่าเจ้าตัวมาเจอตัวจริงแล้วจะช็อคตายตรงนั้น (กับสารรูปตัวเอง) แต่ในที่สุดก็นัดให้มาเจอกันที่ทำงานเก่าแถวๆ สีลม โดยค่อยๆ บ่ายเบี่ยงไปเรื่อย อ้างว่าเป็นเพื่อนของสนิท เค้าส่งมาพบ คุยไปคุยมาจนจะกลับนั่นล่ะ ถึงจะยอมบอกว่านี่คือคนที่เธออยากจะเจอมาตลอด (ภายหลังทราบมาว่าเจ้าตัวจินตนาการว่าเราน่าจะเป็นผู้หญิงมีอายุ ค่อนข้างกร้านโลก...... เอิ่ม ขอโทษนะที่ไม่ใช่อย่างที่คิด ใครว่าเหมือนโดนตบ!)
หลังจากนั้นก็เริ่มโทรคุยกันบ้าง (ถึงตอนนี้ก็จะรู้เลยว่าทำไมถึงไม่โทรศัพท์กันตั้งแต่แรก ก็เพราะฟังเสียงปุ๊บก็ความแตกสิ) เจอกันบ้าง แล้วก็หายไปเพราะอีกฝ่ายต้องไปรับใช้ชาติ และโทรศัพท์พัง ทำเบอร์หายเกลี้ยง จากนั้นก็คิดว่าคงไม่ได้เจอกันอีกแล้วเพราะที่อยู่ที่กรุงเทพฯของเค้าเราก็ไม่มี
วันเวลาผ่านไปจนถึงยุคที่เทคโนโลยีนำพาให้กำเนิด เฟสบุ๊ค แล้ววันดีคืนดี คนที่เราคุ้นเคยก็แอดมาขอเป็นเพื่อน ทำเอาตัวเองแปลกใจมาก ถามไปทางนั้นบอกว่าพอมีเฟสบุ๊คก็ไปหาอีเมลจากนิตยสารที่เราเคยเขียน (เมื่อนานมาแล้ว) แล้วลองหาในเฟสบุ๊ค ปรากฏว่าเจอ ซึ่งเจ้าตัวดีใจมากพร้อมกับคำต่อว่าหนึ่งยกโทษฐานที่ไม่ติดต่อกลับไปเลย
หลังจากนั้นก็ติดต่อกันเรื่อยมาตามช่องทางต่างๆ เท่าที่เทคโนโลยีจะเอื้ออำนวยอย่าง เฟสบุ๊ค ไลน์ หรือโทรศัพท์ จนมีไปทานข้าว ดูหนัง แล้วแต่โอกาส แต่ระยะหลังพอสนิทมากขึ้นก็มีเรื่องที่ไม่เข้าใจกันบ้าง จนตัวเองหนีปัญหาด้วยการไม่ติดต่อกลับไปอีก จนถึงตอนนี้เกือบปีแล้วสินะ
ถึงบอกตั้งแต่ต้นเรื่องไงว่าดูหนังเรื่องนี้แล้วเหมือนโดนต่อย เพราะมันจี๊ดเหลือเกินกับการอ่านตัวหนังสือผ่านกระดาษโดยไม่เคยเห็นตัวจริงของคนที่เขียนตัวอักษรเหล่านั้น เสน่ห์ของหนังสือคือการจินตนาการเอาเองตามประสบการณ์ของผู้อ่านเท่าที่จะมโนออกมาเป็นภาพในใจ หลายคนอาจสมหวังในสิ่งที่มโนไว้ แต่หลายๆ คนก็ไม่อาจไปถึงจุดนั้น....
เขียนมาถึงตรงนี้ อารมณ์เจ็บแปล๊บยังคงไม่หายไปไหน เรื่องราวต่อไปข้างหน้าระหว่างตัวเองกับเค้าคนนั้นจะเป็นอย่างไรต่อไปคงไม่มีใครให้คำตอบได้ แต่อย่างน้อยก็ขอขอบคุณเขาคนนั้นสำหรับความรู้สึกดีๆ ที่มีให้ และที่สำคัญคือยอมรับในตัวตนจริงๆ ของเรา และให้เกียรติในสิ่งที่เราเป็น
ขอบคุณจากใจ
ปล. ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าขนาดไหน ก็สู้ฮาร์ดก๊อปปี้โบราณๆ แบบจดหมายไม่ได้หรอก รูปแบบกระดาษ ลายมือ ลูกเล่นต่างๆ ที่เขียนมา มันย่อมสื่อถึงสิ่งที่อยู่ภายในใจดีกว่าการเขียนอีเมล ไลน์ หรือเฟสบุ๊คแน่ๆ จะมีสักกี่คนที่มีคนที่เราไม่เคยแม้แต่เห็นหน้าค่าตา เขียนจดหมายมาคุยกันได้มากมายขนาดนี้ จริงไหม?