คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ผมขอไม่เห็นด้วยกับ คห. 1 นะครับ ผมว่าเงินได้ที่จะได้รับการยกเว้นภาษีบุคคลธรรมดาตามข้อที่คุณยกขึ้นมา หมายถึงเฉพาะในกรณีที่เป็นเงินได้ที่นักเรียน นักศึกษา ได้รับจากเนื่องจากการทำงานในช่วงเวลาปิดภาคการศึกษา เช่นในช่วงซัมเมอร์ ช่วงฤดุร้อน และต้องเป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน (ซึ่งต้องไปดูหรือพิสูจน์ว่า อีกประเทศหนึ่งเค้ายกเว้นภาษีตามกฎหมายภายในของเค้าให้แก่นักศึกษา นักเรียนไทยที่ออกหางานทำในช่วงปิดเทอมด้วยหรือเปล่า?)
ขอที่ผมเห็นว่าน่าจะเข้าข่ายได้รับการยกเว้นภาษีตามกฎหมายภายในของไทย (โดยที่ยังไม่ต้องไปดูอนุสัญญาภาษีซ้อนเลย) ก็คือ เงินได้ตามมาตรา 42 (11) คือ ถือเป็น "รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ"
ทุนวิจัยที่ได้รับ เพื่อการวิจัยในประเทศไทย ก็ถือได้ว่า เป็นรางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการได้
คำว่า "รางวัลเพื่อการค้นคว้าในวิทยาการ" ชื่อมันก็บอกชัดในตัวของมันเองอยู่แล้วว่า ทุนวิจัยที่ได้รับมาเพื่อการค้นคว้าในวิทยาการ ถือเป็นรางวัลเพื่อการค้นคว้าในวิทยาการที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
หรือถ้าจะมีคนแย้งว่าข้อนี้ไม่เข้า สุดท้ายก็ไปดูอนุสัญญาภาษีซ้อนไทย-ญี่ปุ่น ข้อ 19 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า "บุคคลธรรมดาซึ่งในทันทีทันใดก่อนหน้าที่จะไปเยือนรัฐผู้ทําสัญญารัฐหนึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทําสัญญาอีกรัฐหนึ่งและการไปเยือนรัฐผู้ทำสัญญาที่กล่าวถึงรัฐแรกนั้นเพียงเพื่อความุ่งประสงค์ที่จะ
(ค) เข้าศึกษาหรือทำการค้นคว้าวิจัยโดยเป็นผู้รับทุนจากองค์การรัฐบาล การศาสนา การกุศล วิทยาศาสตร์ วรรณคดี หรือการศึกษา จะได้รับยกเว้นภาษีในรัฐผู้ทำสัญญาที่กล่าวถึงรัฐแรกที่เก็บจาก
(1) เงินที่ส่งจากต่างประเทศเพื่อความมุ่งประสงค์ในการครองชีพ การศึกษา การเล่าเรียน การค้นคว้าวิจัย หรือการฝึกอบรมของผู้นั้นเอง
(2) ทุน เงินอุดหนุน หรือเงินรางวัล และ
(3) เงินได้จากบริการส่วนบุคคลที่กระทำในรัฐผู้ทำสัญญารัฐนั้น สำหรับชั่วระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี ถ้าเงินได้นั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการครองชีพ และการศึกษาของผู้นั้นเอง
ถ้าใช้สิทธิตามอนุสัญญาภาษีซ้อนฯ จะเห็นว่า จะได้รับการยกเว้นรวมถึงเงินได้จาการรับจ้างทำงานในประเทศไทย (เช่น เป็นลูกจ้างหรือพนักงานบริษัทฯลฯ) ในช่วงเวลาไม่เกิน 5 ปีด้วย ถ้าจำเป็นต้องทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพไปด้วย
ขอที่ผมเห็นว่าน่าจะเข้าข่ายได้รับการยกเว้นภาษีตามกฎหมายภายในของไทย (โดยที่ยังไม่ต้องไปดูอนุสัญญาภาษีซ้อนเลย) ก็คือ เงินได้ตามมาตรา 42 (11) คือ ถือเป็น "รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ"
ทุนวิจัยที่ได้รับ เพื่อการวิจัยในประเทศไทย ก็ถือได้ว่า เป็นรางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการได้
คำว่า "รางวัลเพื่อการค้นคว้าในวิทยาการ" ชื่อมันก็บอกชัดในตัวของมันเองอยู่แล้วว่า ทุนวิจัยที่ได้รับมาเพื่อการค้นคว้าในวิทยาการ ถือเป็นรางวัลเพื่อการค้นคว้าในวิทยาการที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
หรือถ้าจะมีคนแย้งว่าข้อนี้ไม่เข้า สุดท้ายก็ไปดูอนุสัญญาภาษีซ้อนไทย-ญี่ปุ่น ข้อ 19 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า "บุคคลธรรมดาซึ่งในทันทีทันใดก่อนหน้าที่จะไปเยือนรัฐผู้ทําสัญญารัฐหนึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทําสัญญาอีกรัฐหนึ่งและการไปเยือนรัฐผู้ทำสัญญาที่กล่าวถึงรัฐแรกนั้นเพียงเพื่อความุ่งประสงค์ที่จะ
(ค) เข้าศึกษาหรือทำการค้นคว้าวิจัยโดยเป็นผู้รับทุนจากองค์การรัฐบาล การศาสนา การกุศล วิทยาศาสตร์ วรรณคดี หรือการศึกษา จะได้รับยกเว้นภาษีในรัฐผู้ทำสัญญาที่กล่าวถึงรัฐแรกที่เก็บจาก
(1) เงินที่ส่งจากต่างประเทศเพื่อความมุ่งประสงค์ในการครองชีพ การศึกษา การเล่าเรียน การค้นคว้าวิจัย หรือการฝึกอบรมของผู้นั้นเอง
(2) ทุน เงินอุดหนุน หรือเงินรางวัล และ
(3) เงินได้จากบริการส่วนบุคคลที่กระทำในรัฐผู้ทำสัญญารัฐนั้น สำหรับชั่วระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี ถ้าเงินได้นั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการครองชีพ และการศึกษาของผู้นั้นเอง
ถ้าใช้สิทธิตามอนุสัญญาภาษีซ้อนฯ จะเห็นว่า จะได้รับการยกเว้นรวมถึงเงินได้จาการรับจ้างทำงานในประเทศไทย (เช่น เป็นลูกจ้างหรือพนักงานบริษัทฯลฯ) ในช่วงเวลาไม่เกิน 5 ปีด้วย ถ้าจำเป็นต้องทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพไปด้วย
แสดงความคิดเห็น
สอบถามเรื่องการเสียภาษีของชาวต่างชาติที่มาทำงานวิจัยหลังปริญญาเอก (post doc) ที่ไทยค่ะ