สวัสดีครับ เพื่อนๆพี่ๆชาวพันทิปทุกคน
เมื่อวันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา พาพันได้มีโอกาสไปเปิดหูเปิดตาชมของตกแต่งบ้านดีไซน์เท่ที่ผลิตจากเศษวัสดุเหลือใช้ที่บูธ Upcycling ในงาน TIFF 2014 หลายคนอาจสงสัยว่างาน TIFF คืองานอะไร พาพันมีคำตอบมาให้ งาน TIFF หรือ Thailand International Furniture Fair เป็นงานแสดงสินค้าประเภทเฟอร์นิเจอร์ครับ และในปีนี้งาน TIFF 2014 จัดแสดงที่อิมแพคเมืองทองธานี ตั้งแต่วันที่ 12-16 มีนาคมครับ และแน่นอนครับว่าพาพันไม่พลาดที่จะเก็บข่าวสารกรีนๆมาเล่าให้พี่ๆชาวพันทิปฟัง
เมื่อปีที่แล้วพาพันก็มาเดินงานนี้และได้เก็บภาพบรรยากาศไปฝากเพื่อนๆ ซึ่งบูธที่พาพันสนใจคือบูธ
Waste to wealth หรือโครงการเปลี่ยนขยะเป็นทองครับ โครงการนี้เป็นโครงการที่ช่วยให้ผู้ประกอบการจัดการกับขยะในอุตสาหกรรม โดยนำขยะเหล่านั้นมาทำให้เป็นผลิตภัณฑ์ โครงการนี้ iTap, TMC และสวทช.เป็นผู้ให้การสนับสนุน โดยร่วมมือกับคณะผู้เชี่ยวชาญจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อร่วมศึกษาและพัฒนาผลงาน หัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญก็คุ้นหน้าคุ้นตากันดีครับ พาพันได้มีโอกาสเจออาจารย์บ่อยๆเลย นั่นก็คือ ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต ครับ ซึ่งในปีนี้โครงการนี้ได้ต่อยอดมาเป็นโครงการที่ชื่อว่า อัพไซคลิ่ง : สร้างคุณค่าให้วัสดุเหลือใช้ด้วยการออกแบบ
ขยะจากภาคอุตสาหกรรมนั้นมีจำนวนมหาศาล แต่ถ้าเราหาวิธีจัดการได้ ก็จะทำให้ทั้งผู้ประกอบการและสังคมก็ได้รับประโยชน์ทั้งคู่ครับ ซึ่งถือว่าโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ประกอบการรู้จักกระบวนการอัพไซคลิ่งซึ่งเป็นวิธีการจัดการขยะและเป็นการสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการด้วย ในปีนี้มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการนี้ทั้งหมด 4 บริษัทครับ
บริษัทแรกที่พาพันจะนำเสนอคือ บริษัทโฟว์สตาร์ การ์เมนท์ แอนด์เท็กไทล์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตเสื้อผ้าเด็กครับ ที่โรงงานนี้มีของเศษเหลือใช้ คือเศษผ้าจากการผลิตและเศษผ้าจาก dead stock ซึ่งเศษเหล่านี้มีปริมาณ 3-4 ตันต่อเดือนเลยทีเดียว เศษผ้าเหล่านี้ล้วนเป็นผ้าคุณภาพดี หากนำไปชั่งกิโลขายก็จะคงจะได้ราคาไม่มาก
Before เศษผ้าที่เหลือจากการผลิตครับ
After แต่เมื่อคิดทดลองออกแบบและใส่ไอเดียใหม่ๆเข้าไป เศษผ้าเหล่านั้นกลายมาเป็น
เบาะใหญ่ๆน่านั่ง ดีไซน์เก๋ ที่มีคุณภาพดีและปลอดภัยเพราะเป็นผ้าที่ใช้ในการผลิตเสื้อผ้าเด็ก
หรือจะเป็นพรมนุ่มๆ ที่ดีไซเนอร์ตั้งชื่อว่า :: ด่างแกะ :: พรมที่ให้ผิวสัมผัสทดแทนขนแกะจริงๆ พาพันอยากลงไปกลิ้งเล่นเพราะนุ่มจริงๆครับ
บริษัทต่อมาชื่อบริษัทอีลิทดีไซน์ เป็นบริษัทผลิตโซฟาหนังแท้และหนังเทียม ที่นี่ก็มีเศษหนังที่เหลือจากการผลิตประมาณ 2-3 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่า 1-2 ล้านบาทเลยครับ
Before เศษหนังที่เหลือจากการผลิต
After ออกแบบให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ไฉไลน่านั่ง แถมนั่งสบายด้วยครับ
Blume : ดอกไม้
Zen : แรงบันดาลใจจากก้อนหิน
บริษัทที่ 3 คือ วิสาหกิจชุมชนเรือนสมุทร ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ของเสียจากการผลิตของบริษัทนี้คือกากมะพร้าว ขุยมะพร้าว ไขกะทิที่เหลือจากการสกัดเย็น เมืองไทยเรามีมากมายเลยครับ
Before : ไขกะทิและกากมะพร้าว
After : เมื่อผ่านกระบวนการวิจัยศึกษา แล้วกลายเป็น
พลาสติกบรรจุภัณฑ์ที่รักษ์สิ่งแวดล้อม
มีการทดลองสูตรหลายสูตรเลย โดยชิ้นที่เข้มที่สุดจะมีส่วนผสมของกากมะพร้าว 50% แล้วค่อยๆลดลงมาเป็น 40%, 30%, 20% และเปรียบเทียบกับชิ้นที่ไม่ผสมกากมะพร้าวเลย
บริษัทสุดท้าย บริษัทไอเดีย อินไซด์ ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด เป็นบริษัทตบแต่งภายใน เศษวัสดุเหลือใช้ คือ เศษพลาสวูดที่เหลือใช้ 40-50% เลยครับ
Before : เศษพลาสวูดที่เหลือจากใช้งาน
After : โคมไฟเก๋ๆ สุดเท่ ที่มีมูลค่าสูงจากการใส่ไอเดียเข้าไป
โคมไฟที่ออกแบบให้ถอดประกอบได้ เพื่อประหยัดสำหรับ Packaging และสนุกกับคนซื้อได้ไปประกอบต่อเล่นเองที่บ้าน เป็นแนวคิดออกแบบองค์รวมครับ
Elf : ช้างไทย
Rhino : แร้ด-แรด
Plastobot : Plastwood + robot
พาพันได้มีโอกาสคุยกับพี่ธีรศักดิ์กับพี่กมลวรรณ กรรมการและรองกรรมการของบริษัทไอเดีย อินไซด์ ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ครับ พี่ๆเล่าให้พาพันฟังว่าที่มาเข้าโครงการนี้เพราะเมื่อปีที่แล้วก็มาเดินงานนี้เหมือนกันและได้มาเจอบูธ Waste to wealth ซึ่งเห็นว่าโครงการนี้น่าสนใจเพราะที่บริษัทของพี่ๆก็มีเศษวัสดุจำนวนมาก ซึ่งพี่ๆไม่รู้วิธีจัดการและต้องปล่อยเศษวัสดุเหล่านั้นทิ้งเป็นขยะ พอมาเห็นโครงการนี้พี่ๆจึงสนใจเข้าร่วมในปีนี้
พี่ธีรศักดิ์บอกว่าในการผลิตนั้นใช้วัสดุเพียง 50 % ส่วนอีก 50% ที่เหลือคือทิ้ง และด้วยงานตบแต่งภายในที่มีโจทย์ไม่เหมือนกัน จึงทำให้มีเศษวัสดุหลากหลายขนาด ซึ่งเมื่อเข้าโครงการนี้แล้วก็สามารถลดขยะ ทั้งยังได้ผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ได้รายได้ด้วยครับ
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับที่พาพันเก็บภาพมาฝากพี่ๆ พาพันขอบอกเลยครับว่าถ้ามาเห็นของจริงแล้วจะอู้หูยิ่งกว่าที่เห็นในภาพนี้อีก ตามมาดูงานรักษ์โลกแบบเจ๋งๆฝีมือคนไทยได้ที่บูธ Upcycling นะครับ อ้อ! อาจารย์สิงห์บอกว่า สนใจชิ้นไหน ซื้อได้ในบูธเลยคร้าบบบบ
บันทึกของพาพัน@pantip ตอน อัพไซคลิ่ง : สร้างคุณค่าให้วัสดุเหลือใช้ด้วยการออกแบบ
เมื่อวันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา พาพันได้มีโอกาสไปเปิดหูเปิดตาชมของตกแต่งบ้านดีไซน์เท่ที่ผลิตจากเศษวัสดุเหลือใช้ที่บูธ Upcycling ในงาน TIFF 2014 หลายคนอาจสงสัยว่างาน TIFF คืองานอะไร พาพันมีคำตอบมาให้ งาน TIFF หรือ Thailand International Furniture Fair เป็นงานแสดงสินค้าประเภทเฟอร์นิเจอร์ครับ และในปีนี้งาน TIFF 2014 จัดแสดงที่อิมแพคเมืองทองธานี ตั้งแต่วันที่ 12-16 มีนาคมครับ และแน่นอนครับว่าพาพันไม่พลาดที่จะเก็บข่าวสารกรีนๆมาเล่าให้พี่ๆชาวพันทิปฟัง
เมื่อปีที่แล้วพาพันก็มาเดินงานนี้และได้เก็บภาพบรรยากาศไปฝากเพื่อนๆ ซึ่งบูธที่พาพันสนใจคือบูธ Waste to wealth หรือโครงการเปลี่ยนขยะเป็นทองครับ โครงการนี้เป็นโครงการที่ช่วยให้ผู้ประกอบการจัดการกับขยะในอุตสาหกรรม โดยนำขยะเหล่านั้นมาทำให้เป็นผลิตภัณฑ์ โครงการนี้ iTap, TMC และสวทช.เป็นผู้ให้การสนับสนุน โดยร่วมมือกับคณะผู้เชี่ยวชาญจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อร่วมศึกษาและพัฒนาผลงาน หัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญก็คุ้นหน้าคุ้นตากันดีครับ พาพันได้มีโอกาสเจออาจารย์บ่อยๆเลย นั่นก็คือ ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต ครับ ซึ่งในปีนี้โครงการนี้ได้ต่อยอดมาเป็นโครงการที่ชื่อว่า อัพไซคลิ่ง : สร้างคุณค่าให้วัสดุเหลือใช้ด้วยการออกแบบ
ขยะจากภาคอุตสาหกรรมนั้นมีจำนวนมหาศาล แต่ถ้าเราหาวิธีจัดการได้ ก็จะทำให้ทั้งผู้ประกอบการและสังคมก็ได้รับประโยชน์ทั้งคู่ครับ ซึ่งถือว่าโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ประกอบการรู้จักกระบวนการอัพไซคลิ่งซึ่งเป็นวิธีการจัดการขยะและเป็นการสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการด้วย ในปีนี้มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการนี้ทั้งหมด 4 บริษัทครับ
บริษัทแรกที่พาพันจะนำเสนอคือ บริษัทโฟว์สตาร์ การ์เมนท์ แอนด์เท็กไทล์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตเสื้อผ้าเด็กครับ ที่โรงงานนี้มีของเศษเหลือใช้ คือเศษผ้าจากการผลิตและเศษผ้าจาก dead stock ซึ่งเศษเหล่านี้มีปริมาณ 3-4 ตันต่อเดือนเลยทีเดียว เศษผ้าเหล่านี้ล้วนเป็นผ้าคุณภาพดี หากนำไปชั่งกิโลขายก็จะคงจะได้ราคาไม่มาก
Before เศษผ้าที่เหลือจากการผลิตครับ
After แต่เมื่อคิดทดลองออกแบบและใส่ไอเดียใหม่ๆเข้าไป เศษผ้าเหล่านั้นกลายมาเป็น
บริษัทต่อมาชื่อบริษัทอีลิทดีไซน์ เป็นบริษัทผลิตโซฟาหนังแท้และหนังเทียม ที่นี่ก็มีเศษหนังที่เหลือจากการผลิตประมาณ 2-3 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่า 1-2 ล้านบาทเลยครับ
Before เศษหนังที่เหลือจากการผลิต
After ออกแบบให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ไฉไลน่านั่ง แถมนั่งสบายด้วยครับ
บริษัทที่ 3 คือ วิสาหกิจชุมชนเรือนสมุทร ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ของเสียจากการผลิตของบริษัทนี้คือกากมะพร้าว ขุยมะพร้าว ไขกะทิที่เหลือจากการสกัดเย็น เมืองไทยเรามีมากมายเลยครับ
Before : ไขกะทิและกากมะพร้าว
After : เมื่อผ่านกระบวนการวิจัยศึกษา แล้วกลายเป็น
บริษัทสุดท้าย บริษัทไอเดีย อินไซด์ ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด เป็นบริษัทตบแต่งภายใน เศษวัสดุเหลือใช้ คือ เศษพลาสวูดที่เหลือใช้ 40-50% เลยครับ
Before : เศษพลาสวูดที่เหลือจากใช้งาน
After : โคมไฟเก๋ๆ สุดเท่ ที่มีมูลค่าสูงจากการใส่ไอเดียเข้าไป
Rhino : แร้ด-แรด
พาพันได้มีโอกาสคุยกับพี่ธีรศักดิ์กับพี่กมลวรรณ กรรมการและรองกรรมการของบริษัทไอเดีย อินไซด์ ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ครับ พี่ๆเล่าให้พาพันฟังว่าที่มาเข้าโครงการนี้เพราะเมื่อปีที่แล้วก็มาเดินงานนี้เหมือนกันและได้มาเจอบูธ Waste to wealth ซึ่งเห็นว่าโครงการนี้น่าสนใจเพราะที่บริษัทของพี่ๆก็มีเศษวัสดุจำนวนมาก ซึ่งพี่ๆไม่รู้วิธีจัดการและต้องปล่อยเศษวัสดุเหล่านั้นทิ้งเป็นขยะ พอมาเห็นโครงการนี้พี่ๆจึงสนใจเข้าร่วมในปีนี้
พี่ธีรศักดิ์บอกว่าในการผลิตนั้นใช้วัสดุเพียง 50 % ส่วนอีก 50% ที่เหลือคือทิ้ง และด้วยงานตบแต่งภายในที่มีโจทย์ไม่เหมือนกัน จึงทำให้มีเศษวัสดุหลากหลายขนาด ซึ่งเมื่อเข้าโครงการนี้แล้วก็สามารถลดขยะ ทั้งยังได้ผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ได้รายได้ด้วยครับ
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับที่พาพันเก็บภาพมาฝากพี่ๆ พาพันขอบอกเลยครับว่าถ้ามาเห็นของจริงแล้วจะอู้หูยิ่งกว่าที่เห็นในภาพนี้อีก ตามมาดูงานรักษ์โลกแบบเจ๋งๆฝีมือคนไทยได้ที่บูธ Upcycling นะครับ อ้อ! อาจารย์สิงห์บอกว่า สนใจชิ้นไหน ซื้อได้ในบูธเลยคร้าบบบบ