พรบ.2ล้านๆ ตกไป สิ่งที่ผมเสียดายไม่ใช้รถไฟความเร็วสูงแต่เป็นรางคู่

กระทู้สนทนา
มานั่งวิเคราะห์ข้อเสนอที่ว่า ไม่ให้กู้ 2 ล้านๆ มาปรับปรุงระบบขนส่งแต่ให้ใช้ร่างงบประมาณประจำปีค่อยๆทำไปแทน ทำให้คิดออกว่า

เรื่องไม่ทำรถไฟความเร็วสูง-มอเตอร์เวย์-ท่าเรือน้ำลึก-ด่านศุลกากร ผมไม่ได้รู้สึกเสียดายมากเท่าไหร่

ที่น่าสนใจและน่าเสียดายมากๆคือรถไฟรางคู่ เพราะการทำให้เป็นรางคู่ทั้งระบบนอกจากจะหมายถึงการเพิ่มรางมาคู่กันไม่ต้องมีการมาจอดรอสับรางแล้วยังรวมถึงการปรับขนาดรางรถไฟด้วย

โดยขนาดรางรถไฟประมาณ 60% ของทั่วทั้งโลก จะใช้ขนาดมาตรฐาน 1,435 มม. (เรียกว่า Standard guage) แต่รางรถไฟของประเทศไทยส่วนใหญ่ของทั้งระบบในไทยเป็นขนาดที่อยู่ในกลุ่ม narrow guage (รางแคบ) และเป็นขนาดที่เกือบจะเล็กที่สุดสำหรับรถไฟระยะทางไกลอีกด้วย (1 เมตร) ขนาดเท่าๆนี้ก็จะมีหลายๆประเทศใช้อยู่บ้างเช่นประเทศเพื่อนบ้านเรา รวมถึง ประเทศอินเดีย(รถไฟตกรางบ่อยมาก) แอฟริกาตะวันออก อเมริกาใต้ ยุโรปกลาง(ออสเตรีย,เช็ก,เยอรมนี,ฮังการี,ลิกเตนสไตน์,โปแลนด์,สโลวาเกีย,สโลวีเนีย,สวิตเซอร์แลนด์,โครเอเชีย,โรมาเนีย,เซอร์เบีย,ยูเครนและบางครั้งรวมทางตอนเหนือของอิตาลีด้วย)

อาจจะมีคำถามว่าความแตกต่างของความกว้างรางจะเปลี่ยนแปลงประเทศได้เลย?ทำไมต้องเสียดาย?
รางคู่ก็ไม่ต้องมีการจอดรอสับรางแบ่งๆกันใช้ - สามารถลดเวลาได้ ไม่มีมา delay
รางคู่ก็มีโอกาสมากขึ้นในจัดการไห้มีประสิทธิภาพมากขึ้น - สามารถลดเวลาได้อีก
รางคู่ก็ลดความเสี่ยงเรื่องรถไฟชนกัน? - ปลอดภัยมากขึ้น(อันนี้โม้ เสี่ยงเท่าเดิมแหละ)
รางกว้างขึ้น - ฐานล้อรถไฟกว้างขึ้น โอกาสที่จุดศูนย์ถ่วงจะเลยออกจากฐานเป็นไปได้ยากขึ้น ตกรางพลิกคว่ำก็น้อยลง (ยกเว้นแต่โกงคุณภาพเหล็กรางรถ)
รางกว้างขึ้น - ฐานล้อรถไฟกว้างขึ้น รถทำความเร็วได้มากกว่าเดิม เพราะถ้ารางแคบจะทำความเร็วได้น้อยกว่า(กลัวตกราง)
สามารถกำหนดเวลาเดินรถไฟได้แม่นยำมากขึ้น - ปัจจุบันกำหนดถึง 5 โมง ถึงจริง 3 ทุ่ม
อีกอย่าง-มีเงินก้อนโตไว้มาโมเมปรับปรุงห้องน้ำรถไฟ =D
จากข้างต้น เวลาลดลง-ทำเวลาได้ดีขึ้น-ตรงเวลามากขึ้น-จัดการง่ายขึ้น-เพิ่มเที่ยวได้มากกว่าเดิม
ในแง่ขนส่งก็จะสามารถเพิ่มการขนส่งทางรถไฟได้มากขึ้นเยอะซึ่งขนทีเดียวเยอะๆจะดีกว่าขนด้วยรถบรรทุกทีละคันไปไกลๆ ลดจำนวนรถบรรทุกทั้ง 4 ล้อถึง 16 ล้อ บนท้องถนน=ลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิง(ดีเซล-LPG-NGV) ยิ่งขนกลางคืนไม่ต้องวิ่งเร็วมากก็จะสามารถเพิ่มปริมาณได้อีก
ในแง่การเดินทางคมนาคม รถไฟวิ่งตรงเวลาและทำความเร็วได้ราคาตั๋วไม่แพงมากนักหรือเท่าๆกับรถทัวร์ ก็จะต้องมีคนบางส่วนเปลี่ยนมาใช้รถไฟกันเยอะมากขึ้น ลดจำนวนรถทัวร์ขนาดใหญ่บนถนน=ลดการใช้เชื่อเพลิง ลดโอกาสอุบัติเหตุบนท้องถนน พอถนนโล่งขึ้นก็ขับรถกันสบายมากขึ้น ถึงปลายทางเร็วขึ้น
รวมๆ ลดปริมาณการบริโภคพลังงานเชื้อเพลิงได้ปริมาณมากเลยครับ
ซึ่งหมายถึง ปตท จะขายเชื้อเพลิงในประเทศได้น้อยลง นำเข้าน้อยลง อาจจะสามารถเพิ่มสัดส่วนส่งออกได้ นำรายได้เข้ามาหมุนเวียนในประเทศเพิ่มได้อีก ลดค่าครองชีพได้อีกเพราะต้นทุนด้านเชื้อเพลิงลดลง
พอการใช้ปริมาณลดลง ค่าครองชีพต่ำ รัฐจะสามารถปรับเปลี่ยนนโยบายจัดเก็บกองทุนน้ำมันได้ สามารถลดการนำเงินที่เก็บจากผู้ใช้เบนซินมาหนุนราคา ดีเซลได้ = ราคาน้ำมันเบนซินลดได้ = ลดความเหลื่อมล้ำ = ลดการบิดเบือนกลไกราคาเชื้อเพลิงในตลาด

สามารถคาดหวังได้ว่า รฟท จะสามารถจัดเก็บรายได้ได้มากขึ้นจนสามารถเลี้ยงตัวเองได้และสามารถนำรายได้ส่งเข้าอุดหนุนรัฐได้อีก

ถ้าเปลี่ยนมาใช้ระบบงบประมาณประจำปีในการพัฒนาแล้วคุณคิดว่าจะเป็นยังไงครับ กับ 100 ปีที่ผ่านมาของการรถไฟไทย ด้วยการดำเนินงานด้วยงบประมาณประจำปี เราจะค่อยๆเป็นค่อยๆไป ใช้เวลาสัก 20 ปี?ก็จะมีรางคู่ครบแล้ว หรือทุ่มเงินมหาศาลเพื่อเร่งเวลาให้เหลือสัก 7 ปีก็ครบทั้งระบบ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่