คอลัมน์ เวิลด์มอนิเตอร์
บลูมเบิร์ก รายงานไว้อย่างน่าสนใจว่า มูลค่าหนี้รวมทั้งโลกพุ่งขึ้นสูงกว่า 40% ตั้งแต่มีสัญญาณจะเกิดวิกฤตจนมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านดอลลาร์ ก่อนหน้านี้ในระหว่างปี 2550 หนี้ทั้งโลกอยู่ที่ประมาณ 70 ล้านล้านดอลลาร์ และเพิ่มขึ้นอีก 30 ล้านล้านในช่วงปี 2556
บรานิเมียร์ กรูอิก นักวิเคราะห์ และอันเดรียส ชริมฟ์ นักเศรษฐศาสตร์จากบีไอเอส หรือธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ องค์กรที่มีธนาคารกลางกว่า 60 แห่งเป็นเจ้าของร่วม อีกทั้งยังเป็นตัวกำหนดกฎเกณฑ์สากลให้กับธนาคารกลางระบุว่า ด้วยค่าใช้จ่ายภาครัฐ ทั้งจากรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลกลางที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเร็วๆ นี้ ทำให้รัฐบาลหลายประเทศมีหนี้ี่สูงขึ้น อย่างหนี้สหรัฐที่ทำสถิติถึง 12 ล้านล้านดอลลาร์ พุ่งสูงขึ้นจาก 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงปลายปี 2550
ไม่เพียงแต่หนี้จากการใช้จ่ายภาครัฐที่สูงขึ้นเท่านั้น รัฐบาลหลายประเทศพยายามยืมเงินเข้ามาเพิ่มเติมสภาพคล่อง และเพื่อดึงเศรษฐกิจให้พ้นจากภาวะถดถอย และกลายเป็นอานิสงส์ให้กับหลายบริษัทที่อาศัยจังหวะรัฐบาลลดอัตราดอกเบี้ย ให้ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เพื่อสยายปีกทางธุรกิจ
หนี้สาธารณะที่สูง ย่อมเป็นข้อกังวลของนักลงทุนนานาชาติ ดังนั้นหลายชาติที่รู้ตัวว่ามีหนี้เยอะ เริ่มปรับตัวและหันมาใช้มาตรการรัดเข็มขัด อย่างการลดรายจ่ายภาครัฐ และเพิ่มภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ให้รัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการที่หลายชาติพยายามฟื้นฟูนโยบายทางการคลังที่แต่เดิมไม่เคยแยแสและใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย บ้างก็เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองอย่างกรีซและอาร์เจนตินา เป็นต้น
แต่ปัจจุบันการกู้ยืมเงินที่มาพร้อมกับเงื่อนไขรัดเข็มขัดก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ หากรัฐบาลหนี้ท่วมต้องการต่อสู้กับเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย
Credit : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ติดตามข้อคิดการเงินได้ที่ Maibat Fanpage
https://www.facebook.com/maibat.thailand
หนี้ท่วมโลกทะลุ 100 ล้านล้านดอลล์
บลูมเบิร์ก รายงานไว้อย่างน่าสนใจว่า มูลค่าหนี้รวมทั้งโลกพุ่งขึ้นสูงกว่า 40% ตั้งแต่มีสัญญาณจะเกิดวิกฤตจนมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านดอลลาร์ ก่อนหน้านี้ในระหว่างปี 2550 หนี้ทั้งโลกอยู่ที่ประมาณ 70 ล้านล้านดอลลาร์ และเพิ่มขึ้นอีก 30 ล้านล้านในช่วงปี 2556
บรานิเมียร์ กรูอิก นักวิเคราะห์ และอันเดรียส ชริมฟ์ นักเศรษฐศาสตร์จากบีไอเอส หรือธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ องค์กรที่มีธนาคารกลางกว่า 60 แห่งเป็นเจ้าของร่วม อีกทั้งยังเป็นตัวกำหนดกฎเกณฑ์สากลให้กับธนาคารกลางระบุว่า ด้วยค่าใช้จ่ายภาครัฐ ทั้งจากรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลกลางที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเร็วๆ นี้ ทำให้รัฐบาลหลายประเทศมีหนี้ี่สูงขึ้น อย่างหนี้สหรัฐที่ทำสถิติถึง 12 ล้านล้านดอลลาร์ พุ่งสูงขึ้นจาก 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงปลายปี 2550
ไม่เพียงแต่หนี้จากการใช้จ่ายภาครัฐที่สูงขึ้นเท่านั้น รัฐบาลหลายประเทศพยายามยืมเงินเข้ามาเพิ่มเติมสภาพคล่อง และเพื่อดึงเศรษฐกิจให้พ้นจากภาวะถดถอย และกลายเป็นอานิสงส์ให้กับหลายบริษัทที่อาศัยจังหวะรัฐบาลลดอัตราดอกเบี้ย ให้ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เพื่อสยายปีกทางธุรกิจ
หนี้สาธารณะที่สูง ย่อมเป็นข้อกังวลของนักลงทุนนานาชาติ ดังนั้นหลายชาติที่รู้ตัวว่ามีหนี้เยอะ เริ่มปรับตัวและหันมาใช้มาตรการรัดเข็มขัด อย่างการลดรายจ่ายภาครัฐ และเพิ่มภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ให้รัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการที่หลายชาติพยายามฟื้นฟูนโยบายทางการคลังที่แต่เดิมไม่เคยแยแสและใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย บ้างก็เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองอย่างกรีซและอาร์เจนตินา เป็นต้น
แต่ปัจจุบันการกู้ยืมเงินที่มาพร้อมกับเงื่อนไขรัดเข็มขัดก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ หากรัฐบาลหนี้ท่วมต้องการต่อสู้กับเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย
Credit : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ติดตามข้อคิดการเงินได้ที่ Maibat Fanpage
https://www.facebook.com/maibat.thailand