สังคมจะเป็นอย่างไร ถ้าคนไทยกลายเป็นแบบ "Banished"

กระทู้สนทนา
Banished เป็นเกมก่อสร้าง/ควบคุมหมู่บ้าน คล้าย Simcity แต่เป็นอัตราส่วนที่เล็กกว่า ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งถูกเฉดหัวออกจากสังคมใหญ่จึงต้องมาเปิดหมู่บ้านใหม่ของตัวเอง รวมถึงผมก็ได้รับ nomads (คนเร่ร่อน) เข้ามาเป็น citizen ด้วย และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องนี้

เมื่อหมู่บ้านขยายได้สักพัก ก็เกิดไฟไหม้ขึ้น ซึ่งในเกมนี้มีให้สร้างบ่อน้ำเพื่อใช้ดับไฟ
เริ่มต้นไหม้อยู่หลังเดียวใกล้ๆบ่อน้ำ คิดว่าเดี๋ยวก็ดับ จึงชะล่าใจ

ต่อมา ไฟเริ่มลุกลามและลุกโชนไปยังบริเวณใกล้เคียงเหมือนไร้การควบคุม



ผมจึงสงสัยว่าประชาชนทำอะไรกันทำไมไฟถึงไม่ดับเสียที ทั้งๆที่อุปกรณ์ดับไฟ (บ่อน้ำ) มีเต็มไปหมด ปรากฎว่าเป็นดังนี้ครับ

กลุ่มตัวอย่างสามคน คนนึงกำลังหาของกิน คนนึงกำลังหาที่อุ่นๆอยู่พอดี อีกคนกำลังไปเอาเชื้อเพลิง
โดยไม่สนใจกับไฟที่กำลังโหมไหม้แม้แต่น้อย และทุกคนไม่มีความคิดที่จะช่วยกันดับมัน

ไม่มีใครคิดจะเอาถังตักน้ำจากบ่อแล้วไปราดไฟสักคนเดียว

งอมืองอตีน เอาแต่โวยวายว่า ไม่มีบ้านอยู่ (ก็ปล่อยให้ไฟไหม้เอง) และ ไม่มีอาหาร (ก็ปล่อยให้ไฟไหม้ยุ้งฉางเก็บอาหารเอง)
ด่าผู้นำหมู่บ้าน (ผู้เล่น) ว่าทำให้ไม่พอใจ ไม่อยู่ดีกินดี



ปล่อยให้ไหม้ไปเรื่อย จนเข้าหน้าหนาว ไฟเริ่มมอดไปเอง ก็ยังไม่มีใครทำอะไรที่เป็นสำนึกต่อสังคม จนแล้วจนรอดก็มีแต่เพียงคนเดินผ่านไปผ่านมา ปล่อยให้มันไหม้ไป



สุดท้าย ภาพที่ได้ก็คือสิ่งนี้
ศาลากลาง โรงเก็บไม้ เก็บฟืน โรงล่าสัตว์ ที่เก็บสมุนไพร ตลาดกลาง โรงพยาบาล โรงเก็บของป่า ศูนย์ปลูกป่า หมู่บ้านเกือบทั้งหมดถูกไฟเผาวอด... เรียกได้ว่าไหม้ไปเกือบทั้งเมืองนั่นละ จากจุดเริ่มต้นบ้านเดียว

...เหลือแต่สุสานด้านซ้ายและโบสถ์ทางด้านขวาที่ยังไม่โดนเผา
ทั้งๆที่บ่อน้ำมีรอบเมืองและในเมืองเต็มไปหมด!!


(เกมนี้บังคับให้แต่ละคนทำอะไรๆ (เช่นสั่ง "ไปดับไฟ") ไม่ได้ครับ)

ครับ ผมคิดว่าเหตุการณ์นี้สามารถเปรียบเทียบกับสังคมไทยเราได้หลายอย่าง

ส่วนของผม ผมขอเปรียบไฟที่กำลังเผาบ้านเผาเมือง เป็นเหมือนไฟความเกลียดชัง ไฟเชิงจิตวิทยา ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยม็อบ (ที่มีการเติมเชื้อเพลิงอยู่ตลอด) ที่ถูกส่งเสริมแบบ passive ด้วยการเพิกเฉย (แม้กระทั่งสนับสนุนโดยตรงด้วยการขนน้ำมันเข้าไปราด) ต่อการโหมของมัน ทั้งโดยศาล ตุลาการ ทหาร และประชาชน

สุดท้ายก็คงจะเหลือเพียงสุสานไว้ให้ซุกหัวนอน ครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่