วาทกรรม "กบฏ" ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้เป็นข้อกล่าวหาทางการเมืองอีกครั้ง หลัง กปปส.ลุกขึ้นมาต่อสู้กับรัฐบาล ตั้งแต่ปลายปี 2556
ตามกฎหมาย "กบฏ" ถือเป็นความผิดทางอาญา ฐานกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ
โดยนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 102 ปี มีการก่อกบฏรวม 13 ครั้ง
ครั้ง ที่ 1 "กบฏ ร.ศ.130" เกิดขึ้นในปี 2455 (ร.ศ.130) ในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยคณะผู้ก่อการ 7 คน นำโดย หมอเหล็ง ศรีจันทร์ เพื่อก่อการให้
พระ มหากษัตริย์พระราชทานรัฐธรรมนูญ ทว่าแผนการแตกเสียก่อน และนำมาสู่การจับกุมและพิพากษาลงโทษรวม 91 คน แต่ท้ายที่สุดก็ได้รับการอภัยโทษ
ครั้งที่ 2 "กบฏบวรเดช" เกิดขึ้นในปี 2476 โดยมีพลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นหัวหน้า ช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่า-ใหม่ หลังจากมีการเผยแพร่ "สมุดปกเหลือง" โดย "ปรีดี พนมยงค์"
เนื้อหาสาระที่มุ่งเน้นไปสู่การเปลี่ยนแปลงเค้าโครงเศรษฐกิจถูกตีความว่าเป็นแนวคิดแบบ "คอมมิวนิสต์" นำไปสู่การรัฐประหาร-ก่อกบฏขึ้น ในที่สุด โดยเวลานั้น นายปรีดีถูกกดดันให้ไปอยู่ประเทศฝรั่งเศสชั่วคราว
ต่อ มาการก่อกบฏถูกปราบปรามโดยรัฐบาล พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ส่วนพระองค์เจ้าบวรเดช หัวหน้าคณะ และพระชายาได้หนีไปยังประเทศกัมพูชา ครั้งที่ 3 "กบฏนายสิบ" นำโดยสิบเอกสวัสดิ์ มะหะหมัด ซึ่งมุ่งหวังสังหารนายทหาร-บุคคลสำคัญในขณะนั้น ซึ่งโดยเฉพาะ "ปรีดี" ที่ถูกคำสั่งให้จับตาย
แผนดังกล่าวกำหนดให้ก่อการในคืนวันที่ 5 สิงหาคม 2478 แต่ทว่ารัฐบาลสามารถจับกุมผู้ก่อการได้ก่อน อันเป็นผลให้ ส.อ.สวัสดิ์ มะหะหมัด ถูกตัดสินประหารชีวิต
ครั้งที่ 4 กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือ "กบฏ 18 ศพ" เกิดขึ้นสมัยรัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม
การ ก่อกบฏของพระยาทรงสุรเดชถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเพียงคำกล่าวหาตามคำประกาศ ของรัฐบาล เพราะยังไม่มีเหตุร้ายแรงใด ๆ เกิดขึ้น มีเพียงแต่การลอบสังหารหลวงพิบูลสงครามถึง 3 ครั้งเท่านั้น
แต่หลัง เหตุการณ์มีผู้ต้องหาถูกประหารชีวิต อันเป็นที่มาของชื่อ "กบฏ 18 ศพ" ส่วนพระยาทรงสุรเดชถูกบังคับให้เดินทางออกนอกประเทศ (เขมร) ในทันที
ต่อมาหลังการรัฐประหาร 2490 โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ก็ได้เกิดการก่อกบฏขึ้นอีกหลายครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 5 "กบฏเสนาธิการ" ก่อการโดยพลตรีหลวงศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน กำหนดแผนก่อการในวันงานเลี้ยงสมรสของ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์-น.ส.วิจิตรา ชลทรัพย์ ที่ทำเนียบรัฐบาล แต่รัฐบาลทราบแผนล่วงหน้าก่อน และมีการต่อสู้ สุดท้ายผู้ก่อการกบฏตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ จนยอมมอบตัวในเวลาต่อมา
ครั้งที่ 6 "กบฏวังหลวง" เกิดขึ้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2492 ก่อการโดย นายปรีดี พนมยงค์ นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง เพื่อประกาศถอดถอนรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม หลังมีการปะทะกันหลายจุด ฝ่ายกบฏตกเป็นฝ่ายแพ้ และนายปรีดีต้องหลบหนีออกนอกประเทศอีกครั้ง และผู้ร่วมก่อการหลายคนก็ถูกสังหารในเวลาต่อมา
และหนึ่งกลุ่มบุคคล ทางการเมืองที่ถูกสังหารถูกยกให้เป็นการก่อกบฏครั้งที่ 7 หรือ "กบฏแบ่งแยกดินแดน" เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2492 หลังมีการ กล่าวหา ส.ส.อีสานกลุ่มหนึ่งร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกภาคอีสานออกจากประเทศไทยนำมาซึ่งการเข้าจับกุม 4 อดีตรัฐมนตรีจากภาคอีสาน และถูกยิงเสียชีวิตอย่างปริศนาบนรถขนนักโทษ โดยตำรวจชี้แจงว่าเป็นการปะทะกับโจรมลายูที่มาชิงตัวนักโทษ
ครั้งที่ 8 "กบฏแมนฮัตตัน" ในปี 2494 ก่อการโดยนาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา วางแผนจี้ตัว จอมพล ป.พิบูลสงคราม ระหว่างเดินทางไปเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือสัญชาติอเมริกันชื่อ "แมนฮัตตัน" หลังจากมีการต่อสู้กันอย่างหนักระหว่างทหารฝ่าย รัฐบาล-กบฏ กระทั่งมีการทิ้งระเบิดจากเครื่องบินใส่เรือหลวงศรีอยุธยา ที่ใช้เป็นสถานที่คุมขัง "จอมพล ป." แต่สุดท้ายก็ล้มเหลวจนผู้ก่อการได้แยกย้ายกันหลบหนีไปยังพม่าและสิงคโปร์
ครั้ง ที่ 9 "กบฏสันติภาพ" เกิดขึ้นในปี 2495 เมื่อ "รัฐบาลจอมพล ป." จับกุมประชาชนจำนวนมาก โดยอ้างเหตุว่ามีบุคคลสมคบกันเพื่อยุยงให้เกิดการเกลียดชังระหว่างคนไทย ทั้งนักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ถูกจับจำนวนมาก และท้ายที่สุดมีผู้ต้องหารวม 54 ราย แต่ได้รับการประกันตัวและพ้นโทษตาม พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
ครั้งที่ 10 "กบฏ 2507" เป็นเหตุการณ์ที่มีข้อมูลการบันทึกในประวัติศาสตร์ค่อนข้างน้อย เป็นแผนก่อการโดยพลอากาศเอกนักรบ บิณศรี ที่ดำเนินการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2507 โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ก่อการกบฏได้ทั้งหมด 10 คน ส่วนใหญ่เป็นทหารอากาศ ทหารเรือ ตำรวจ
ครั้ง ที่ 11 "กบฎ 26 มีนาคม 2520" ก่อการโดยพลเอกฉลาด หิรัญศิริ นำกองกำลังทหารเข้ายึดสถานที่สำคัญ เพื่อก่อการรัฐประหารรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ฝ่ายรัฐบาล นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ รมว.กลาโหม ได้เข้าปราบปรามฝ่ายกบฏได้เป็นผลสำเร็จ และนำมาสู่การประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าพล.อ.ฉลาด ที่นับว่าเป็นกบฏคนสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตตราบจนบัดนี้
ครั้งที่ 12 "กบฏยังเติร์ก" ก่อการโดยพลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา ร่วมกับนายทหารโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 7 หรือ "รุ่นยังเติร์ก" เกิดขึ้นในวันที่ 1-3 เมษายน 2524 เพื่อยึดอำนาจรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ขณะ ที่พลเอกเปรมตั้งกองบัญชาการตอบโต้อยู่ที่ค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา และการกบฏสิ้นสุดลงแบบไม่มีการต่อสู้กัน และเหตุการณ์จบลงอย่างรวดเร็ว เสมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ครั้งที่ 13 "กบฏทหารนอกราชการ" เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2528 ก่อการโดยพันเอกมนูญ รูปขจร และมีพลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้า โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจาก
นายเอกยุทธ อัญชันบุตร(เสียชีวิตแล้วจากการฆาตรกรรมอันมีเงื่อนงำ) เพื่อก่อการยึดอำนาจพลเอกเปรมที่เดินทางไปราชการที่ประเทศอินโดนีเซีย
แม้ ฝ่ายกบฏจะได้เข้ายึดสถานที่สำคัญไว้หลายแห่ง และมีการโจมตีปะทะกันหลายจุด แต่เหตุการณ์ก็สงบลงในวันเดียวกัน หลังมีการเจรจาถอนกำลังจากสองฝ่าย พันเอกมนูญ รูปขจร ได้ลี้ภัยไปสิงคโปร์และเดินทางไปอยู่ในประเทศเยอรมนีตะวันตก ขณะที่คนอื่น ๆ ถูกดำเนินคดีรวม 39 คน และแผนการยึดอำนาจยังมีข่าวลืออีกว่า พันเอกมนูญเป็นเพียงหัวหอก เพื่อรอผู้มีอำนาจเข้ามาสมทบในภายหลัง แต่ต้องล้มเหลวจนมีวาทกรรมทางการเมืองเกิดขึ้นว่า "นัดแล้วไม่มา"
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNU5EUXpPREkxTVE9PQ==§ionid=
ย้อนตำนาน 102 ปี ที่มา-แผนการก่อกบฏ 13 ครั้ง (มาอ่านประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเรื่องน้ำเน่ากับหนทางสู่อำนาจ)
ตามกฎหมาย "กบฏ" ถือเป็นความผิดทางอาญา ฐานกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ
โดยนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 102 ปี มีการก่อกบฏรวม 13 ครั้ง
ครั้ง ที่ 1 "กบฏ ร.ศ.130" เกิดขึ้นในปี 2455 (ร.ศ.130) ในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยคณะผู้ก่อการ 7 คน นำโดย หมอเหล็ง ศรีจันทร์ เพื่อก่อการให้
พระ มหากษัตริย์พระราชทานรัฐธรรมนูญ ทว่าแผนการแตกเสียก่อน และนำมาสู่การจับกุมและพิพากษาลงโทษรวม 91 คน แต่ท้ายที่สุดก็ได้รับการอภัยโทษ
ครั้งที่ 2 "กบฏบวรเดช" เกิดขึ้นในปี 2476 โดยมีพลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นหัวหน้า ช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่า-ใหม่ หลังจากมีการเผยแพร่ "สมุดปกเหลือง" โดย "ปรีดี พนมยงค์"
เนื้อหาสาระที่มุ่งเน้นไปสู่การเปลี่ยนแปลงเค้าโครงเศรษฐกิจถูกตีความว่าเป็นแนวคิดแบบ "คอมมิวนิสต์" นำไปสู่การรัฐประหาร-ก่อกบฏขึ้น ในที่สุด โดยเวลานั้น นายปรีดีถูกกดดันให้ไปอยู่ประเทศฝรั่งเศสชั่วคราว
ต่อ มาการก่อกบฏถูกปราบปรามโดยรัฐบาล พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ส่วนพระองค์เจ้าบวรเดช หัวหน้าคณะ และพระชายาได้หนีไปยังประเทศกัมพูชา ครั้งที่ 3 "กบฏนายสิบ" นำโดยสิบเอกสวัสดิ์ มะหะหมัด ซึ่งมุ่งหวังสังหารนายทหาร-บุคคลสำคัญในขณะนั้น ซึ่งโดยเฉพาะ "ปรีดี" ที่ถูกคำสั่งให้จับตาย
แผนดังกล่าวกำหนดให้ก่อการในคืนวันที่ 5 สิงหาคม 2478 แต่ทว่ารัฐบาลสามารถจับกุมผู้ก่อการได้ก่อน อันเป็นผลให้ ส.อ.สวัสดิ์ มะหะหมัด ถูกตัดสินประหารชีวิต
ครั้งที่ 4 กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือ "กบฏ 18 ศพ" เกิดขึ้นสมัยรัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม
การ ก่อกบฏของพระยาทรงสุรเดชถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเพียงคำกล่าวหาตามคำประกาศ ของรัฐบาล เพราะยังไม่มีเหตุร้ายแรงใด ๆ เกิดขึ้น มีเพียงแต่การลอบสังหารหลวงพิบูลสงครามถึง 3 ครั้งเท่านั้น
แต่หลัง เหตุการณ์มีผู้ต้องหาถูกประหารชีวิต อันเป็นที่มาของชื่อ "กบฏ 18 ศพ" ส่วนพระยาทรงสุรเดชถูกบังคับให้เดินทางออกนอกประเทศ (เขมร) ในทันที
ต่อมาหลังการรัฐประหาร 2490 โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ก็ได้เกิดการก่อกบฏขึ้นอีกหลายครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 5 "กบฏเสนาธิการ" ก่อการโดยพลตรีหลวงศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน กำหนดแผนก่อการในวันงานเลี้ยงสมรสของ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์-น.ส.วิจิตรา ชลทรัพย์ ที่ทำเนียบรัฐบาล แต่รัฐบาลทราบแผนล่วงหน้าก่อน และมีการต่อสู้ สุดท้ายผู้ก่อการกบฏตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ จนยอมมอบตัวในเวลาต่อมา
ครั้งที่ 6 "กบฏวังหลวง" เกิดขึ้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2492 ก่อการโดย นายปรีดี พนมยงค์ นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง เพื่อประกาศถอดถอนรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม หลังมีการปะทะกันหลายจุด ฝ่ายกบฏตกเป็นฝ่ายแพ้ และนายปรีดีต้องหลบหนีออกนอกประเทศอีกครั้ง และผู้ร่วมก่อการหลายคนก็ถูกสังหารในเวลาต่อมา
และหนึ่งกลุ่มบุคคล ทางการเมืองที่ถูกสังหารถูกยกให้เป็นการก่อกบฏครั้งที่ 7 หรือ "กบฏแบ่งแยกดินแดน" เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2492 หลังมีการ กล่าวหา ส.ส.อีสานกลุ่มหนึ่งร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกภาคอีสานออกจากประเทศไทยนำมาซึ่งการเข้าจับกุม 4 อดีตรัฐมนตรีจากภาคอีสาน และถูกยิงเสียชีวิตอย่างปริศนาบนรถขนนักโทษ โดยตำรวจชี้แจงว่าเป็นการปะทะกับโจรมลายูที่มาชิงตัวนักโทษ
ครั้งที่ 8 "กบฏแมนฮัตตัน" ในปี 2494 ก่อการโดยนาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา วางแผนจี้ตัว จอมพล ป.พิบูลสงคราม ระหว่างเดินทางไปเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือสัญชาติอเมริกันชื่อ "แมนฮัตตัน" หลังจากมีการต่อสู้กันอย่างหนักระหว่างทหารฝ่าย รัฐบาล-กบฏ กระทั่งมีการทิ้งระเบิดจากเครื่องบินใส่เรือหลวงศรีอยุธยา ที่ใช้เป็นสถานที่คุมขัง "จอมพล ป." แต่สุดท้ายก็ล้มเหลวจนผู้ก่อการได้แยกย้ายกันหลบหนีไปยังพม่าและสิงคโปร์
ครั้ง ที่ 9 "กบฏสันติภาพ" เกิดขึ้นในปี 2495 เมื่อ "รัฐบาลจอมพล ป." จับกุมประชาชนจำนวนมาก โดยอ้างเหตุว่ามีบุคคลสมคบกันเพื่อยุยงให้เกิดการเกลียดชังระหว่างคนไทย ทั้งนักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ถูกจับจำนวนมาก และท้ายที่สุดมีผู้ต้องหารวม 54 ราย แต่ได้รับการประกันตัวและพ้นโทษตาม พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
ครั้งที่ 10 "กบฏ 2507" เป็นเหตุการณ์ที่มีข้อมูลการบันทึกในประวัติศาสตร์ค่อนข้างน้อย เป็นแผนก่อการโดยพลอากาศเอกนักรบ บิณศรี ที่ดำเนินการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2507 โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ก่อการกบฏได้ทั้งหมด 10 คน ส่วนใหญ่เป็นทหารอากาศ ทหารเรือ ตำรวจ
ครั้ง ที่ 11 "กบฎ 26 มีนาคม 2520" ก่อการโดยพลเอกฉลาด หิรัญศิริ นำกองกำลังทหารเข้ายึดสถานที่สำคัญ เพื่อก่อการรัฐประหารรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ฝ่ายรัฐบาล นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ รมว.กลาโหม ได้เข้าปราบปรามฝ่ายกบฏได้เป็นผลสำเร็จ และนำมาสู่การประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าพล.อ.ฉลาด ที่นับว่าเป็นกบฏคนสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตตราบจนบัดนี้
ครั้งที่ 12 "กบฏยังเติร์ก" ก่อการโดยพลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา ร่วมกับนายทหารโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 7 หรือ "รุ่นยังเติร์ก" เกิดขึ้นในวันที่ 1-3 เมษายน 2524 เพื่อยึดอำนาจรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ขณะ ที่พลเอกเปรมตั้งกองบัญชาการตอบโต้อยู่ที่ค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา และการกบฏสิ้นสุดลงแบบไม่มีการต่อสู้กัน และเหตุการณ์จบลงอย่างรวดเร็ว เสมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ครั้งที่ 13 "กบฏทหารนอกราชการ" เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2528 ก่อการโดยพันเอกมนูญ รูปขจร และมีพลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้า โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากนายเอกยุทธ อัญชันบุตร(เสียชีวิตแล้วจากการฆาตรกรรมอันมีเงื่อนงำ) เพื่อก่อการยึดอำนาจพลเอกเปรมที่เดินทางไปราชการที่ประเทศอินโดนีเซีย
แม้ ฝ่ายกบฏจะได้เข้ายึดสถานที่สำคัญไว้หลายแห่ง และมีการโจมตีปะทะกันหลายจุด แต่เหตุการณ์ก็สงบลงในวันเดียวกัน หลังมีการเจรจาถอนกำลังจากสองฝ่าย พันเอกมนูญ รูปขจร ได้ลี้ภัยไปสิงคโปร์และเดินทางไปอยู่ในประเทศเยอรมนีตะวันตก ขณะที่คนอื่น ๆ ถูกดำเนินคดีรวม 39 คน และแผนการยึดอำนาจยังมีข่าวลืออีกว่า พันเอกมนูญเป็นเพียงหัวหอก เพื่อรอผู้มีอำนาจเข้ามาสมทบในภายหลัง แต่ต้องล้มเหลวจนมีวาทกรรมทางการเมืองเกิดขึ้นว่า "นัดแล้วไม่มา"
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNU5EUXpPREkxTVE9PQ==§ionid=