ผลพวงตามเจตน์จำนงค์ของรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ทั้งนักวิชาการ นักกฎหมาย และฝ่ายการเมืองได้มีการวิพากษ์ วิจารณ์ไว้ค่อนข้างมากเกี่ยวกับการให้ตุลการเข้ามามีบทบาทในโครงสร้างทางอำนาจมากขึ้นจนถึงในระดับที่เป็นตุลาการภิวัฒน์นั้น กำลังผลิดอก ออกผล สร้างความเบิกบาน และชุ่มชื่นใจให้กับผู้สถาปนาอำนาจนั้นยิ่งนักในปัจจุบัน ที่หลายๆ เหตุการณ์มันแสดงให้เห็นถึงการใช้และการสถาปนาอำนาจของตนเองอย่างกว้างขวาง จนทำให้เสียสมดุล เกินความพอดีตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ การตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างอำนาจตุลาการ บริหาร และนิติบัญญัติ และในขณะเดียวกันเราก็ได้รับรู้ และมีบทเรียนที่นำมาซึ่งความเสียหาย และความย่อยยับของชาติจากการเสียสมดุลดังกล่าวจากกรณีของอียิปต์ จนถึงวันนี้หากกลุ่มคนชั้นนำในประเทศนี้ยังคงเดินหน้าที่จะใช้ตุลาการภิวัฒน์ในการสถาปนารัฐบาล และนายกคนกลาง บทเรียนของอียิปต์ คงตามมาหลอกหลอนเราในไม่ช้านี้
ตุลาการภิวัฒน์ ไม่ใช่ทางออก