เคยอ่านผ่านๆในเฟซ เวลามีวิวาทะหรือดราม่าเกี่ยวกับเรื่องเครื่องแบบนักเรียน ว่ามีไปทำไม ฝ่ายที่สนับสนุนการมีเครื่องแบบ จะยกพระราชดำรัสของรัชกาลที่ ๕ มาประกอบว่า "ที่ทรงให้มีเครื่องแบบนักเรียน นอกจากจะเพื่อความเป็นระเบียบแล้ว ยังเพื่อมิให้เป็นการแบ่งแยกระหว่างคนรวยกับคนจน"
โดยส่วนตัว จขกท. เป็นคนสนับสนุนการมีเครื่องแบบนักเรียน และนักศึกษา เพื่อความเป็นระเบียบ แต่คำพูดที่ว่า "เพื่อจะได้ไม่แบ่งแยกคนรวยคนจน"
นี่ จขกท.ขอแสดงความคิดเห็นเป็นการส่วนตัวดังนี้
สมัยนั้น ที่การศึกษาไทยเริ่มพัฒนาระบบโรงเรียนขึ้นมา จะมีโรงเรียนสักกี่โรง เครื่องแบบนักเรียนที่มีในสมัยนั้น ย่อมเหมือนกันหมด และที่สำคัญคือ นักเรียนในสมัยนั้นจะมาจากไหนบ้าง ก็มีเพียงแค่ลูกผู้มีตระกูล ลูกพระน้ำหลานพระยา เชื้อพระวงศ์หรือราชนิกูล (กลุ่มหลังๆบางท่าน,องค์ก็เรียนหนังสือหรือทรงพระอักษรในวัง) ลูกเจ้าสัว ในขณะที่ลูกสามัญชนคนราษฎรทั่วๆไปนั้น ส่วนใหญ่ยังคงเรียนหนังสือจากพระที่วัด หรือเรียนที่บ้าน ส่วนน้อยมากๆที่เหลืออาจได้เรียนหนังสือในโรงเรียนของมิชชันนารี แต่โดยมากราษฎรในยุคนั้นส่วนมาก โดยเฉพาะผู้หญิงก็ไม่รู้หนังสือ เพราะต้องทำงาน
เพราะฉะนั้น เรื่องรวยจนในโรงเรียนสมัยก่อนนี้ น่าจะตัดทิ้งไปได้เลย ร.๕ ท่านทรงมีพระราชดำรัสเช่นนี้ อาจจะเพื่อเป็นการเตือนเชื้อพระวงศ์ เวลาที่ต้องไปเรียนหนังสือในโรงเรียนเดียวกับราษฎร (แต่ก็ยังมีฐานะทางสังคมสูงกว่าคนทั่วไปอยู่ดี) มิให้ถือพระองค์มากกว่า
อีกทั้งในยุคต่อๆมาจนปัจจุบัน โรงเรียนมีหลายโรงมากขึ้น และมีหลากหลายมากขึ้น การมีเครื่องแบบที่ต่างกันนั้น ก็แสดงถึงความแตกต่างทางสัมคมที่เด่นชัดมากขึ้นไปอีก เช่น คนใส่เครื่องแบบนี้ เรียนเอกชน แบบนี้เป็นโรงเรียนรัฐ อย่างนี้เป็นต้น
(ปล.ทั้งหมดล้วนเป็นความเห็นส่วนตัวจ้า แต่โดยส่วนตัว จขกท.ก็ยังต้องการให้มีเครื่องแบบต่อไป)
เกี่ยวกับเรื่องที่ว่า "มีเครื่องแบบ เพื่อจะได้ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างคนรวยและคนจน"
โดยส่วนตัว จขกท. เป็นคนสนับสนุนการมีเครื่องแบบนักเรียน และนักศึกษา เพื่อความเป็นระเบียบ แต่คำพูดที่ว่า "เพื่อจะได้ไม่แบ่งแยกคนรวยคนจน"
นี่ จขกท.ขอแสดงความคิดเห็นเป็นการส่วนตัวดังนี้
สมัยนั้น ที่การศึกษาไทยเริ่มพัฒนาระบบโรงเรียนขึ้นมา จะมีโรงเรียนสักกี่โรง เครื่องแบบนักเรียนที่มีในสมัยนั้น ย่อมเหมือนกันหมด และที่สำคัญคือ นักเรียนในสมัยนั้นจะมาจากไหนบ้าง ก็มีเพียงแค่ลูกผู้มีตระกูล ลูกพระน้ำหลานพระยา เชื้อพระวงศ์หรือราชนิกูล (กลุ่มหลังๆบางท่าน,องค์ก็เรียนหนังสือหรือทรงพระอักษรในวัง) ลูกเจ้าสัว ในขณะที่ลูกสามัญชนคนราษฎรทั่วๆไปนั้น ส่วนใหญ่ยังคงเรียนหนังสือจากพระที่วัด หรือเรียนที่บ้าน ส่วนน้อยมากๆที่เหลืออาจได้เรียนหนังสือในโรงเรียนของมิชชันนารี แต่โดยมากราษฎรในยุคนั้นส่วนมาก โดยเฉพาะผู้หญิงก็ไม่รู้หนังสือ เพราะต้องทำงาน
เพราะฉะนั้น เรื่องรวยจนในโรงเรียนสมัยก่อนนี้ น่าจะตัดทิ้งไปได้เลย ร.๕ ท่านทรงมีพระราชดำรัสเช่นนี้ อาจจะเพื่อเป็นการเตือนเชื้อพระวงศ์ เวลาที่ต้องไปเรียนหนังสือในโรงเรียนเดียวกับราษฎร (แต่ก็ยังมีฐานะทางสังคมสูงกว่าคนทั่วไปอยู่ดี) มิให้ถือพระองค์มากกว่า
อีกทั้งในยุคต่อๆมาจนปัจจุบัน โรงเรียนมีหลายโรงมากขึ้น และมีหลากหลายมากขึ้น การมีเครื่องแบบที่ต่างกันนั้น ก็แสดงถึงความแตกต่างทางสัมคมที่เด่นชัดมากขึ้นไปอีก เช่น คนใส่เครื่องแบบนี้ เรียนเอกชน แบบนี้เป็นโรงเรียนรัฐ อย่างนี้เป็นต้น
(ปล.ทั้งหมดล้วนเป็นความเห็นส่วนตัวจ้า แต่โดยส่วนตัว จขกท.ก็ยังต้องการให้มีเครื่องแบบต่อไป)