แท้จริงแล้วภาษาอังกฤษจำเป็นแค่ไหนในชีวิตประจำวันของคนไทยโดยเฉลี่ย และจำเป็นแค่ไหนสำหรับ AEC

ถ้าตัดเรื่องการโหมประชาสัมพันธ์เรื่องภาษาอังกฤษ กับการทำความรู้จักข้อมูลพื้นฐานของชาติต่าง ๆ ในอาเซียนแล้ว เดี๊ยนสงสัยค่ะว่ามันจำเป็นแค่ไหน กรณีประเทศที่มีการแปลเยอะ และได้ชื่อว่าภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง (ในแง่ไหนก็ไม่รู้นะ แต่ได้ยินว่าไวยากรณ์จะแน่นกัน) อย่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่น (สงสัยไต้หวันค่ะ ไม่เคยได้ยินเรื่องนี้)

คนไทยจำเป็นแค่ไหน เช่น อยู่เมืองท่องเที่ยว เป็นประชากรเมืองท่องเที่ยว เป็นคนทำงานด้านบริการ อาจจะเรียนพวกบทสนทนา หรือถ้าเป็นวิชาชีพ ศัพท์เฉพาะทาง เฉพาะสาขา เป็นศัพท์วิชาการที่แปลโดยใช้ความหมายที่เป็นของอาชีพนั้น ๆ โดยเฉพาะ แบบนี้ควรจะต้องเรียนเชิงลึก หรือถ้าเป็นความรู้สำหรับผู้สนใจทั่วไป แบบนี้ก็อาจจะหาคนมาแปลให้ หรือแปลขาย

มีเพื่อนสมาชิกหลายท่านบอกว่า การอ่อนภาษาอังกฤษ ทำให้วัยทำงานของไทยไปได้ไม่ไกลเท่าชาติอื่น ๆ ในอาเซียน เรื่องนี้จริงเท็จแค่ไหนคะ ต้องรู้ภาษาอังกฤษลึกแค่ไหน หรือหมายถึงคนที่ภาษาอังกฤษไม่กระดิก มียกตัวอย่างเป็นกรณีไหม ถ้าไม่นับการสอบแล้วเอาคะแนนมาสมัครแข่งกันน่ะค่ะ

ชาวฟิลิปปินส์และชาวอินเดียที่มาทำงานในบ้านเรา เขาเรียนอะไรกันมาบ้างในเรื่องของภาษาอังกฤษ แล้วเขาได้งานตำแหน่งอะไรไปบ้าง ที่คนไทยที่ไม่ได้ภาษาจะพลาดตำแหน่งงานนั้น

สรุปคำถามคือ เดี๊ยนกำลังสงสัยว่า คนไทยโดยเฉลี่ย มีภาษาอังกฤษที่ต้องรู้แค่ไหนกันแน่ค่ะ ศัพท์กี่คำ ไวยากรณ์ วากยสัมพันธ์ ความคุ้นชินในการใช้งาน มีความรู้สึกว่าเวลาเราพูดถึงความอ่อนด้อยภาษาอังกฤษของคนไทย เรามักจะพูดแบบเหมารวมน่ะค่ะ ควรจะแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ดีไหม แบ่งโดยอะไรดีคะ แล้วแต่ละกลุ่มต้องรู้แค่ไหนดี

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่