รบกวนสอบถามผู้รู้กฎหมายค่ะ คดียาถ้าศาลชั้นต้นตัดสินตลอดชีวิต แต่ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง ต้องมีฎีกาตามมามั้ยคะ?

รบกวนหน่อยค่ะ เป็นคดียาเสพย์ติดค่ะ

คือน้องของจกขท.โดนจับคดียาเมื่อปี 2554

คดีแรก รับสารภาพ โทษจำคุก 3 ปี 6 เดือน และปรับ 300,000 บาท ซึ่งคดีแรกติดมาแล้ว 3 ปี  (ในกรณีนี้ หากเสียค่าปรับ สามแสนบาท ก็ไม่ต้อง
ติดคุกแทนอีก สองปี ถูกต้องมั้ยคะ??)

คดีที่สอง สู้คดี แพ้ศาลชั้นต้น ตัดสินตลอดชีวิต และเพิ่งฟังอุทธรณ์มาเมื่อวันอังคารที่แล้ว  ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง

อยากทราบว่าเมื่อเราไปจ่ายค่าปรับของคดีแรก สามแสนบาท และจำคุกของคดีที่หนึ่ง ครบ 3 ปี 6 เดือนแล้ว จะได้กลับบ้านเลยมั้ยคะ
ต้องถูกคุมขังระหว่างฎีกา ในคดีที่สองอีกหรือเปล่า

ตอนนี้เครียดมากเลยค่ะ หมดเงินไปกับการคดีเยอะมาก ถึงกับต้องขายที่ ขายรถ มาตอนนี้หากเสียค่าปรับอีกสามแสนบาท เพื่อแลกกับอิสรภาพ
ของน้อง ก็จะยอมทำค่ะ จะทำทุกวิถีทาง เพราะคดีที่สองเค้าไม่ได้ผิดจริงๆ เกลียดตำรวจ มันเลวมาก

ขอบคุณมากค่ะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
คห.3 ตำรวจเกี่ยวไรด้วยครับ.. หมดหน้าที่ไปชาตินึงแล้ว จะมาอายัดตัวได้ไง
ปกติ ศาลพิพากษายกฟ้อง ต้องปล่อยตัวอยู่แล้ว
แต่อัยการ (โจทก์) อาจมีคำขอหรือขอให้ขังไว้ในระหว่างฎีกา
แต่ส่วนมากแล้ว หากศาลพิพากษายกฟ้อง ศาลจะไม่สั่งขังในระหว่างฎีกาหรอก
เพราะคนไม่ผิด (มีคำพิพากษาแล้ว) จะไปขังเค้าได้ไง จริงอยู่กฎหมายให้อำนาจไว้
แต่ถ้าศาลพิพากษายกฟ้อง โดยไม่ได้ยกเพราะสงสัยว่าจำเลยกระทำผิดหรือไม่ ส่วนใหญ่ศาลจะไม่มีคำสั่งให้ขังไว้ก่อนในระหว่างฎีกา
เชื่อว่าศาลฎีกาคงยกคำร้องขอขังไว้ในระหว่างฎีกาแน่นอน

อีกอย่างขอขังไว้ก็ไม่มีผล เนื่องจากจำเลยถูกขังในคดีแรกอยู่แล้ว ยังไงก็ไม่อาจหลบหนีไปได้
จึงไม่มีเหตุออกหมายขังจำเลยไว้ก่อนนั่นเอง (ขังอยู่แล้วอีก 6 เดือน)

ใบเหลือง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่